ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?


3,940 ผู้ชม

บางทีเราเองมักหลงลืมความเป็นประวัติศาสตร์อิสลามไปเสียฉิบ ด้วยเหตุผลใดก็ช่าง เราจะปฏิเสธประวัติศาสตร์อิสลามไม่ได้เลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์อิสลามในช่วงที่ท่านนบีมีชีวิตอยู่...


ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

บทความโดย อ.มุรีด ทิมะเสน

ท่านอิบนุ อับบาสเล่าว่า

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَمَّنِي جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلَام عِنْدَ الْبَيْتِ مَرَّتَيْنِ

“ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า ท่านญิบรีลมาเป็นอิมามนำละหมาด (ฟัรฺฎู) ณ บัยตุลลอฮฺ (มัสญิดหะรอม) ถึงสองครั้งสองคราด้วยกัน” [หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 393]

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

สิ่งที่ได้รับจากหะดีษ

บางทีเราเองมักหลงลืมความเป็นประวัติศาสตร์อิสลามไปเสียฉิบ ด้วยเหตุผลใดก็ช่าง เราจะปฏิเสธประวัติศาสตร์อิสลามไม่ได้เลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์อิสลามในช่วงที่ท่านนบีมีชีวิตอยู่
ประวัติศาสตร์อันสำคัญหนึ่ง คือ การลงมาของท่านญิบรีล เพื่อมาสอนเวลาละหมาดฟัรฺฎูว่าจะละหมาดในช่วงเวลาใดบ้าง? (ส่วนวิธีการละหมาดฟัรฺฎูท่านนบีขึ้นไปรับจากอัลลอฮฺช่วงอิสรออ์มิอฺรอจญ์แล้ว) ซึ่งท่านนบีเล่าให้ฟังว่า

ท่านญิบรีลมาหาท่านนบีสองครั้งสองคราเพื่อมาบอกถึงเวลาละหมาดฟัรฺฎูว่า เวลาละหมาดศุบหฺช่วงแสงอรุณขึ้น ละหมาดซุฮฺริตะวันคล้อยไปแล้ว ละหมาดอัสริคือช่วงเย็น ละหมาดมัฆริบดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และละหมาดอิชาอฺคือช่วงแสงสีแดงบนท้องฟ้าได้เลือนหายหมดแล้ว, เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เอามากๆ กล่าวคือ

ท่านญิบรีลมานำนมาซฟัรฺฎูโดยยืนเป็นอิมามนำละหมาดฟัรฺฎู ตรงบริเวณด้านขวาของประตูกะอฺบะฮฺ เรียกตรงนั้นว่า “อัลมิอฺญัน” อันมีหินอ่อนมูลค่ามหาศาลจำนวน 8 ก้อนวางตรงบริเวณด้านขวาของประตูกะอฺบะฮฺ ปัจจุบันถูกปกปิดไม่ให้ผู้คนทั่วไปได้แลเห็น แต่หากบุคคลใดทราบและแลเห็นอัลมิอฺญัน พึงทราบเถิดว่า ตรงนั่นหละคือ สถานที่ซึ่งท่านญิบรีลเคยยืนนมาซเป็นอิมามนำท่านนบีละหมาดฟัรฺฎูถึงสองคราด้วยกัน

ด้วยเหตุนี้แล เวลาเราไปทำหัจญ์ หรืออุมเราะฮฺ คราวใดที่เราเดินเฎาะวาฟหากสังเกตสังกาให้ดีๆ เราจะเห็นอัลมิอฺญันดังกล่าว ให้ได้ระลึกเลยว่า ตรงนั้นคือสถานที่ซึ่งท่านญิบรีลยืนละหมาดเป็นอิมามให้แก่ท่านนบีมุหัมมัดมาแล้วถึงสองครั้งด้วยกัน ความรู้สึกที่ได้ระลึกเยี่ยงนั้นหาสิ่งใดมาเทียบเคียงได้เลย ตรองดูเถิด ประวัติศาสตร์อิสลามนานนับพันสี่ร้อยกว่าปี สถานที่ซึ่งไม่เคยถูกลบเลือนหายไปไหน อีกทั้งไม่สามารถจะถูกลบเลือนไปได้อีกต่างหาก เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงรักษาศาสนาของพระองค์ตราบจนสิ้นโลกนั่นหละ

ด้วยเหตุนี้การกระตุ้นจิตสำนึกการเป็นบ่าวของพระองค์ย่อมได้รับการฟื้นฟูความศรัทธาให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลามิเสื่อมคลาย จึงมิต้องแปลกใจหรอก ทำไม? ผู้คนทั้งหลายภายหลังกลับจากการประกอบพิธีหัจญ์ หรือกลับจากทำอุมเราะฮฺ โหยหาปรารถนาจะกลับไปทำหัจญ์ หรืออุมเราะฮฺอีก ก็เพราะไม่ว่าพิธีกรรม หรือ สถานที่ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ก็ตาม ได้กระตุ้มต่อมจิตสำนึกแห่งการบ่าวทุกช่วงขณะประกอบพิธีกรรม อีกทั้งสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ นั้น เต็มเปี่ยมไปด้วยประวัติศาสตร์อันจับต้องได้ทั้งสิ้น ไม่มีสถานที่ใดอันบิดเบือนไปจากสมัยท่านนบีมีชีวิตอยู่เลยด้วยซ้ำ กี่มากน้อยแล้วบ่าวที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺมาทั้งชีวิต ครั้นเดินทางไปทำหัจญ์ หรือทำอุมเราะฮฺ กลับมายังภูมิลำเนาของตนเอง กลับกลายเป็นคนละคนชนิดที่เรียกว่าหน้ามือเป็นหลังมือ ก็เพราะความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) ของสถานที่จริงซึ่งท่านนบีเคยเดิน เคยยืน เคยนั่ง เคยประกอบพิธีกรรมไว้นั่นเอง

ท้ายนี้ขอดุอาอ์ให้โรคโควิดได้เลือนจางหายไปโดยเร็วด้วยเถิด เพราะผู้ศรัทธาทั่วโลกต่างนับวันรอคอยวันแห่งการเปิดให้เข้าไปทำอุมเราะฮฺ หรือทำหัจญ์ จักได้เข้าไปสูบฉีดพลังความศรัทธา และลิ้มรสดื่มด่ำกับสถานที่แห่งประวัติศาสตร์อันส่งผลตอกย้ำสำนึกความเป็นบ่าวที่มีความศรัทธาอันมั่นคงต่อพระองค์อัลลอฮฺจวบจนชีวิตจะหาไม่....ด้วยเถิด อามีน

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

ท่านญิบรีลยืนละหมาดบริเวณไหนของกะอฺบะฮฺ?

คุณเชื่อหรือไม่ว่า ประตูกะบะห์ เป็นฝีมือของช่างมุสลิมไทย

อัพเดทล่าสุด