ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าคนตั้งครรภ์และการคลอดบุตรนั้น ตรงกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติอันเป็นที่รัก ณ ที่อัลลอฮ์ คือ การสร้างลูกหลานมุสลิมผู้ให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์...
เสียชีวิตขณะตั้งครรภ์เป็นชะฮีด
สตรีที่เสียชีวิตขณะตั้งครรภ์เป็นชะฮีด
قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " وَالْمَرْأَةُ تَمُوْتُ بِجُمْعٍ شَهِيدَةٌ "[ رواه النسائي (3194) ]
ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า : “และสตรีที่เสียชีวิตในขณะที่นางตั้งครรภ์นั้นเป็นชะฮีด” [ รายงานโดย อันนะซาอีย์ (3194) ]
**การตายชะฮีด เป็นสัญลักษณ์ของการตายที่ดี
ความประเสริฐของการตั้งครรภ์ในอิสลาม
ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าคนตั้งครรภ์และการคลอดบุตรนั้น ตรงกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติอันเป็นที่รัก ณ ที่อัลลอฮ์ คือ การสร้างลูกหลานมุสลิมผู้ให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ ให้เพิ่มจำนวนมาก เป็นการปฏิบัติตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และนี่คือสิ่งสำคัญยิ่งที่จำเป็นแก่ผู้หญิงที่กำลังตั้งภรรค์ให้มีเจตนาดังกล่าวในการตั้งครรภ์ของนาง
จากมุอ์ก็อล บิน ยะซ๊าร กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกล่าวว่า : ฉันถูกใจผู้หญิงคนหนึ่งนางทั้งมีต้นตระกูลที่ดีและหน้าตาสะสวย แต่นางตั้งครรภ์ไม่ได้ ผมจะแต่งงานกับเธอดีใหม?
ท่านนบีตอบว่า “ไม่”
หลังจากนั้นก็มีชายคนทีสองมาท่านนบีอีก ท่านก็ตอบทำนองเดียวกันว่า “ไม่”
หลังจากนั้นก็มีชายคนที่สามมาถามท่านนบีอีก ท่านนบีก็ตอบว่า : “พวกท่านทั้งหลายจงแต่งงานกับผู้หญิงที่น่ารักและลูกดก เพราะแท้จริงฉันจะเอาความมากของพวกท่านไปอวดกับประชาชาติอื่นๆ”
ด้วยกับเจตนารมณ์ดังกล่าวที่เราได้ชี้แจงไป คือการตั้งภรรค์ ได้สร้างความยากลำบาก จึงมีผลดีที่จะกลับมาหาผู้เป็นแม่ดังต่อไปนี้ :
1. การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจและความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งกว่ากระบวนการใดทั้งสิ้น ทั้งพ่อและแม่ต่างก็คิดว่าจะเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาบนจรรยามารยาทอันดีงามและอยู่ในศาสนาเพื่ออัลลอฮ์ ตะอาลา และทั้งสองก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความดีงามอันเนื่องจากการอบรมลูกให้เป็นคนดี เพื่อจะเป็นศอดาเกาะห์ ญารียะห์(เป็นดั่งทานถาวรที่ได้รับความดีไหลรินหลังจากเขาเสียชีวิตไป) และทั้งสองจะได้รับความดีงามอันยิ่งใหญ่ โดยไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮ์
2. ความยากลำบากที่ประสบกับผู้หญิงตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะความเจ็บปวด หรือ โรคภัยไข้เจ็บ ที่ตามมาทั้งด้านสุขภาพและสุขภาวะจิต และในด้านปัจจัยในหลายๆโอกาส ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผลบุญที่ถูกบันทึกให้แก่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์) ดังนั้นบ่าวผู้ยอมจำนน พระองค์อัลลอฮ์จะมอบผลบุญให้แก่เขาในทุกๆภัยพิบัติที่มาประสบแก่เขา แม้แต่กระทั่งหนามตำ อัลลอฮ์ก็จะลบล้างความผิดบาปให้แก่เขา ดังนั้นความเจ็บปวดของการคลอดบุตรและความยากลำบากของการตั้งครรภ์นั้นยิ่งใหญ่และหนักอึ้งกว่ามาก
3. ทว่าหากอัลลอฮ์ ทรงกำหนดให้นางเสียชีวิตขณะคลอดบุตร นางก็ตายชะฮี๊ด และนี่คือหลักฐานบ่งบอกถึงความประเสริฐที่นางจะได้รับ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮิอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการคลอดบุตรคือชะฮีด”
ท่านอิหม่ามนาวาวีย์กล่าวไว้ในชัรฮุรมุสลิมว่า ; ผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการคลอดบุตร หมายถึง นางเสียชีวิตพร้อมกับสิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในตัวของนางโดยยังไม่แยกออกจากตัวของนาง
ส่วนอิบาดะห์ที่คนตั้งครรภ์ สามารถที่จะทำได้ คือ ทุกอิบาดะห์ที่มุสลิมปฏิบัติทั้งกลางคืนและกลางวัน จากการละหมาด การถือศีลอด (ตราบใดที่ไม่มีอันตรายใดกับนาง) และการบริจาคทาน การอ่านอัลกุรอาน และการรักษาบทรำลึกตามบทบัญญัติ การปฏิบัติดีต่อเพื่อนมนุษย์ การเยี่ยมเยือนเครือญาติ การตรวจสอบจิตใจ การขัดเกลาหัวใจเพื่อนำไปสู่จรรยามารยาท การปฏิบัติ และคำพูดที่ดี
สิ่งที่สำคัญต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ที่นางควรให้ความสำคัญในช่วงนี้ คือ หมั่นศึกษาวิธีการที่ดีในการเลี้ยงดูบุตรหลาน และการอ่านตำรับตำราเฉพาะด้าน หรือฟังบรรยายที่มีประโยชน์จากอุละมาอ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการอบรมดูแลบุตร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการอบรมจรรยามารยาท หรือ ด้านสุขภาพ หรือ การสอนลูก ดังกล่าวนี้คือการเตรียมตัวที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งอัลลอฮ์ ได้ให้ผู้เป็นพ่อและแม่รับผิดชอบ มันคืออะมานะห์ในการอบรมดูแลการเอาใจใส่ และต้องเอาใจใส่ด้วยกับความรู้ความเข้าใจ เพื่อจะได้รับผลที่ยอดเยี่ยม และยังได้รับความพอพระทัยจากเอกองค์อัลลอฮ์ ตะอาลาทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
ส่วนพิธีกรรมเฉพาะ หรือ บทรำลึกเฉพาะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์นั้น เราไม่ทราบเลยว่าบทบัญญัติได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้แก่นาง
แท้จริงภรรยาที่ตั้งครรภ์จะได้ผลบุญเหมือนกับคนที่ถือศีลอดและยืนหยัดการละหมาดในหนทางของอัลลอฮ์ และยังมีผลบุญอื่นๆอีกมากมายต่อการคลอดบุตร การให้นมบุตร การหย่านม แต่ทว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนแต่เป็นฮะดิษที่กุขึ้นมาเพื่อการโกหก ไม่อนุญาตให้นำมารายงาน หรือนำมาบอกกล่าวต่อ เว้นแต่เพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง
ที่มา: www.islammore.com