พินัยกรรมอิสลาม การแบ่งมรดกในอิสลาม รู้ไว้เป็นเรื่องดี!
พินัยกรรมอิสลาม การแบ่งมรดกในอิสลาม รู้ไว้เป็นเรื่องดี!
พินัยกรรมอิสลาม มี 4 ประเภทด้วยกันดังนี้
1. การทำพินัยกรรมที่จำเป็นต้องกระทำ (วายิบ) เช่น การทำพินัยกรรมให้ส่งคืนทรัพย์สินที่รับฝากไว้ หนี้ที่ไม่มีเอกสารบอกจำนวน สิ่งที่เป็นหน้าที่ต้องกระทำเองการจ่ายซะกาต การบำเพ็ญหัจญ์ ค่าปรับในการขาดการถือศีลอด การละหมาดและสิทธิของผู้อื่นที่จะต้องชดใช้
2. พินัยกรรมที่ควรกระทำ (มุสตะหับบะฮฺ) เช่น การทำพินัยกรรมให้กับเครือญาติ ใกล้ชิด ที่ไม่มีสิทธิรับมรดก บุคคลที่มีความต้องการและขัดสน บุคคลที่มีหนี้สาธารณะประโยชน์
3. พินัยกรรมที่อนุญาตให้กระทำได้ (มุบาฮฺ) เช่น การทำพินัยกรรมให้กับทายาทและบุคคลอื่นที่ร่ำรวย
พินัยกรรมที่ไม่ควรกระทำ (มักรูฮะฮฺ) เช่น การทำพินัยกรรมให้บุคคลกระทำความ ชั่ว และ การทำพินัยกรรมของผู้ยากจนที่มีทายาทรับมรดก บางครั้งการทำพินัยกรรมเป็นสิ่งต้องห้ามหาก พินัยกรรมนั้นนำไปสู่การสร้างความเสื่อมเสียและเดือดร้อนแก่ทายาทและสังคม เช่น การทำพินัยกรรมในสิ่งที่ผิดหลักการอิสลาม (al-Jaziri, n.d. :126)
ทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรม อิสลามมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
ก. ทรัพย์สินพินัยกรรม จะต้องเป็นทรัพย์เปลี่ยนการปกครองได้ เพราะการทำพินัยกรรมนั้นเป็น การให้ปกครองกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินพินัยกรรมครอบคลุมถึงเงินตรา วัตถุ อาคาร บ้าน ต้นไม้ สินค้า สัตว์และสิ่งอื่นๆรวมถึงหนี้สิน สิทธิต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมที่มีอยู่ที่ผู้อื่นและผลประโยชน์ต่างๆ เพราะผลประ โยชน์ต่างๆก็เหมือนกับวัตถุในเรื่องของกรรมสิทธิ์โดยการทำสัญญาหรือการรับมรดก ฉะนั้นผลประ โยชน์ก็เหมือนวัตถุในการทำพินัยกรรมเช่น เดียวกัน
ข. เป็นสิ่งที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ตามหลักการของอัลอิสลาม การทำพินัยกรรมด้วยกับ สิ่งที่ไม่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ เช่นสุรา สุกร สุนัขและเสือที่ไม่ได้ฝึกไว้ใช้สำหรับล่า สัตว์ ถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะเพราะเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ในทัศนะของอิสลามและไม่อนุญาตให้ ทำพินัยกรรมในสิ่งที่ไม่สามารถโยกย้ายสิทธิได้ เช่น การฆ่าใช้ชาติ การลงโทษในการกล่าวหาและสิทธิในการบังคับขายในสิ่งที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
ค. เป็นทรัพย์ที่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ครอบครองได้ ถึงแม้ทรัพย์นั้นจะยังไม่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมก็ตาม หมายถึงเป็นสิ่งที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการทำนิติกรรมตอบแทน ได้จากการทำสัญญาต่างๆหรือเพราะรับมรดก เพราะการทำพินัยกรรมเป็นการโอนสิทธิให้ครอบครอง สิ่งใดที่ไม่สามารถโอนสิทธิให้ครอบครองได้ ก็ไม่สามรถทำพินัยกรรมได้ ฉะนั้นการทำพินัยกรรมด้วยทรัพย์สินที่เป็นเงินตราหรือสินค้าก็ตามถือว่ามีผลใช้ได้ เพราะได้กรรมสิทธิ์ในสิ่งดังกล่าวมา ด้วยการให้หรือด้วยการขาย การทำพินัยกรรมด้วยกับผลประโยชน์ของทรัพย์สิน เช่น การอาศัยอยู่ในบ้าน การขี่สัตว์พาหนะ เพราะได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการเช่าและการทำพินัยกรรมด้วยหนี้สินที่อยู่ที่ชายคนหนึ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้วก็คือการทำพินัยกรรมด้วยสิ่งที่เป็นวัตถุนั่นเอง หมายถึงการทำพินัยกรรมด้วยกับเงินตราที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ที่เป็นหนี้ (al-Zuhaili, 1987 : 46)
ง. เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำพินัยกรรม ในการทำพินัยกรรมเฉพาะสิ่งในขณะที่ทำพินัยกรรม เพราะการทำพินัยกรรมเฉพาะสิ่งนั้น จะทำให้มีผลในการปกครองกรรมสิทธิ์ในสิ่งนั้น จึงจำเป็นต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำพินัยกรรมขณะที่ทำพินัยกรรม ฉะนั้นการทำพินัยกรรมในสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นจึงเป็นโมฆะ
บุคคลที่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำ พินัยกรรมด้วยกับทรัพย์ของนาย ก. ถือว่าการทำพินัยกรรมเป็นโมฆะตามทัศนะของนักกฎหมายอิสลามส่วนใหญ่ ถึงแม้ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ครอบครองทรัพย์ของนาย ก.ภายหลังจากการทำพินัยกรรมก็ตาม เพราะถ้อยคำที่แสดงเจตนาในการทำพินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ เนื่องจากการกล่าวพาดพิงถึงพินัยกรรมด้วยทรัพย์ของ
บุคคลอื่น
จ. สิ่งที่ทำพินัยกรรม จะต้องอยู่ในขอบเขตหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ทำพินัยกรรม ในขณะที่เขาตายและชำระหนี้ประเภทต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมทั้งหมดแล้ว การกำหนดเช่นนี้ก็เพื่อการรักษาไว้ซึ่งสิทธิของทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดกตามสิทธิของแต่ละคนตามที่กฎหมายอิสลามได้ให้ความคุ้มครองไว้ กล่าวคือจะคุ้มครองไว้ภายในขอบเขตสองในสามจากกองมรดกทั้งหมดหลังจากหักค่าทำศพและชำระหนี้ (อิสมาแอ อาลี, 2546 : 205)
พินัยกรรมอิสลาม มีผลบังคับโดย
1. วาจา
นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นพ้องกันว่าพินัยกรรมมีผลบังคับโดยคำพูดที่ชัดถ้อยชัดคำ เช่น สิ่งนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของคนนั้น หรือคำพูดที่เป็นนัยแต่เข้าใจได้ว่าเป็นพินัยกรรมโดยมีพยานแวดล้อมประกอบ เช่น หลังจากฉันตายฉันให้เขาสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือจงเป็นพยานด้วยว่าฉันสั่งเสียสิ่งนี้แก่คนนั้น
2. ลายลักษณ์อักษร
ลายลักษณ์อักษรจากคนที่ไม่สามารถพูดได้ เช่นเป็นใบ้ หรือผู้ที่ลิ้นหนักพูดไม่ได้ หรือผู้ที่หมดหวังที่จะพูด
3. สัญญาณบ่งชี้ที่เข้าใจได้
คือ สัญญาณที่บ่งบอกถึงการสั่งเสีย และพินัยกรรมของคนเป็นใบ้ และคนที่พูดไม่ได้มีผลบังคับโดยสัญญาณที่เข้าใจได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเขาไม่สามารถพูด และหมดหวังที่จะพูดได้
พินัยกรรมอิสลาม ข้อชี้ขาดทางบทบัญญัติ
พินัยกรรมอิสลาม เป็นคำสั่งที่ถูกบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน
﴿يَٰٓأَيُّهَاٱلَّذِينَءَامَنُواْشَهَٰدَةُبَيۡنِكُمۡإِذَاحَضَرَأَحَدَكُمُٱلۡمَوۡتُحِينَٱلۡوَصِيَّةِٱثۡنَانِذَوَاعَدۡلٖمِّنكُمۡأَوۡءَاخَرَانِمِنۡغَيۡرِكُمۡإِنۡأَنتُمۡضَرَبۡتُمۡفِيٱلۡأَرۡضِفَأَصَٰبَتۡكُممُّصِيبَةُٱلۡمَوۡتِۚتَحۡبِسُونَهُمَامِنۢبَعۡدِٱلصَّلَوٰةِفَيُقۡسِمَانِبِٱللَّهِإِنِٱرۡتَبۡتُمۡلَانَشۡتَرِيبِهِۦثَمَنٗاوَلَوۡكَانَذَاقُرۡبَىٰوَلَانَكۡتُمُشَهَٰدَةَٱللَّهِإِنَّآإِذٗالَّمِنَٱلۡأٓثِمِينَ١٠٦﴾ [المائدة : 106]
“โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย!การเป็นพยานระหว่างพวกเจ้าเมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้าขณะมีการทำพินัยกรรมนั้นคือสองคนที่เป็นผู้เที่ยงธรรมในหมู่พวกเจ้าหรือคนอื่นสองคนที่มิใช่ในหมู่พวกเจ้าหากพวกเจ้าได้เดินทางไปในผืนแผ่นดินแล้วได้มีเหตุภัยแห่งความตายประสบกับพวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าจะต้องกักตัวเขาทั้งสองไว้หลังจากละหมาดแล้วทั้งสองนั้นก็จะสาบานต่ออัลลอฮฺหากพวกเจ้าคลางแคลงใจ ด้วยการให้พวกเขากล่าวว่าเราจะไม่นำการสาบานนั้นไปแลกเปลี่ยนกับราคาใด ๆและแม้ว่าเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดก็ตามและเราจะไม่ปกปิดหลักฐานของอัลลอฮฺมิเช่นนั้นแล้ว แน่นอนเราก็จะอยู่ในหมู่ผู้ที่กระทำบาป” (อัลมาอิดะฮฺ 106)
อัตราทรัพย์สินในการทำพินัยกรรมอิสลาม
ไม่อนุญาตให้ทำพินัยกรรมเกินกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สิน เนื่องจากหะดีษของสะอัด บิน อบี วักกอศ ที่ได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
أوصي بمالي كله؟ قال: «لا» قال: بالشطر؟ قال: «لا» قال: بالثلث؟ قال: «الثلث والثلث كثير»
“ได้หรือไม่ที่ฉันจะบริจาคทรัพย์สินทั้งหมด ?ท่านเราะสูลตอบว่า “ไม่” สะอัด ก็กล่าวว่า “ครึ่งหนึ่งล่ะ?” ท่านเราะสูลตอบว่า “ไม่ได้” สะอัดก็กล่าวว่า “หนึ่งในสามล่ะ?” ท่านเราะสูลก็ตอบว่า “ได้ และหนึ่งในสามนั้นก็มากแล้ว” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 2591, มุสลิม 1628, อัตติรมิซีย์ 2116, อันนะสาอีย์ 3628, อบูดาวูด 2864 และท่านอื่นๆ)
และไม่อนุญาตให้ทำพินัยกรรมให้กับผู้ที่ไม่ใช่ทายาท ในอัตรามากกว่าหนึ่งในสาม หรือทำพินัยกรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์ในมรดก เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากทายาทคนอื่นๆ
พินัยกรรมอิสลามจะสมบูรณ์โดย
1. พินัยกรรมต้องมีความชอบธรรม คือมีความเป็นธรรม
2. ต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติ
3. เจ้าของพินัยกรรมต้องกระทำอย่างบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ และตั้งใจว่าพินัยกรรมดังกล่าวขอให้เป็นการกระทำความดีและการกุศล
เงื่อนไขผู้ทำพินัยกรรม (เจ้าของพินัยกรรม) ในอิสลาม
1. เป็นผู้ที่อยู่ในวิสัยบริจาคได้ (มีสติสัมปชัญญะ ไม่เป็นทาส บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)
2. เป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์
3. ยินยอมและสมัครใจ (ไม่ถูกบังคับ)
เงื่อนไขผู้รับพินัยกรรมอิสลาม
1. รับพินัยกรรมไปใช้ในสิ่งที่ดี หรืออนุมัติ
2. ผู้รับพินัยกรรมต้องมีชีวิตขณะทำพินัยกรรม มีอยู่จริงหรือโดยการคาดการณ์ (เช่นเด็กในครรภ์) และตามเงื่อนไขนี้ พินัยกรรมแก่ผู้ที่ยังไม่มีอยู่ จะสมบูรณ์ใช้ได้
3. ระบุผู้รับอย่างชัดเจน
4. เป็นผู้ที่ครอบครองสิทธิ์ได้ (เช่น ไม่ใช่ญิน สัตว์ หรือคนตาย)
5. จะต้องไม่เป็นฆาตกรฆ่าเจ้าของพินัยกรรม
6. มิใช่ทายาท
เงื่อนไขสาระแห่งพินัยกรรม (สิ่งที่เป็นพินัยกรรม) ในอิสลาม
1. เป็นทรัพย์สินที่เป็นมรดกได้
2. ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตามนิยามของบทบัญญัติ
3. เป็นทรัพย์สินที่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ว่าไม่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมก็ตาม
4. เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของพินัยกรรมขณะที่ทำพินัยกรรม
5. จะต้องไม่เป็นสิ่งที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติ
การยืนยันพินัยกรรมอิสลาม
เป็นประเด็นที่มีมติเอกฉันท์ว่า ควรเขียนพินัยกรรมโดยเริ่มด้วยบิสมิลลาห์ และการสรรเสริญอัลลอฮฺ และศอลาวาตนบี และประกาศชื่อพยาน โดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร
ผู้รับผิดชอบพินัยกรรม (หรือผู้จัดการพินัยกรรม)
ผู้รับผิดชอบพินัยกรรมมี 3 ประเภท
1. ผู้ปกครองรัฐ หรือเจ้าหน้าที่
2. ผู้พิพากษา
3. สามัญชน
สิ่งที่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
1. การกลับคำ หรือ ยกเลิกพินัยกรรม โดยวาจา หรือพยานแวดล้อม
2. พินัยกรรมถูกวางเงื่อนไขไว้กับสิ่งที่ไม่เกิดขึ้น
3. ไม่มีมรดกให้ดำเนินตามพินัยกรรม
4. เจ้าของพินัยกรรมไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ (เช่นวิกลจริต ส่วนเด็กสามารถทำพินัยกรรมได้)
5. เจ้าของพินัยกรรมสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม (ตามทัศนะของบางส่วน)
6. ผู้รับพินัยกรรมปฏิเสธไม่ยอมรับพินัยกรรม (ส่งคืน)
7. ผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อนเจ้าของพินัยกรรม
8. ทรัพย์ที่ถูกระบุในพินัยกรรมเกิดชำรุด หรือส่งสัญญาณว่าจะชำรุด
9. ผู้รับพินัยกรรมเป็นฆาตกรฆ่าเจ้าของพินัยกรรม
10. ทำพินัยกรรมแก่ทายาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุก ๆ คน
การแบ่งมรดกในอิสลาม
มรดก คือ ทรัพย์สินหรือสิทธิที่ผู้ตายได้ทิ้งไว้ ซึ่งทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิได้รับด้วยการสิ้นชีวิตของผู้ตาย (อัลฟิกฮุล-อิสลามีย์ 8/243) การแบ่งมรดก เป็นระเบียบตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ได้รับการยืนยันด้วยตัวบทอัลกุรฺอาน อัลหะดีษ และอิจญ์มาอฺ ซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับหลักการที่ว่าด้วยการละหมาด การจ่ายซะกาฮฺ การทำธุรกรรมต่างๆและบทลงโทษตามลักษณะอาญา โดยจำเป็นในการบังคับใช้และนำมาปฏิบัติ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหรือฝ่าฝืน ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปนานเพียงใดก็ตาม (อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญีย์ 5/71,72) และผู้ใดปฏิเสธบัญญัติของศาสนาในเรื่องการแบ่งมรดก ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ออกนอกจากศาสนาอิสลาม (อ้างแล้ว 5/68)
ท่านนบีมุฮำหมัด (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า : “จงแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้สืบทอดตามนัยแห่งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ” (รายงานโดยบรรดาเจ้าของสุนัน)
องค์ประกอบของการแบ่งมรดกมี 3 ประการ คือ
- เจ้าของมรดกหรือผู้ตาย (อัล-มุวัชริซฺ)
- ผู้สืบ (รับ) มรดก (อัล-วาริซฺ)
- ทรัพย์สินหรือสิทธิของเจ้าของมรดกหรือผู้ตาย เรียกในภาษาอาหรับว่า อัลเมารูซฺ,อัล-มีรอซฺ และอัล-อิรซฺ (المَوْرُوْثُ ، اَلمِيْرَاثُ ، اَلإِرْثُ) เมื่อขาดองค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดจาก 3 ประการนี้ ก็ไม่มีการสืบมรดก (อัลฟิกฮุลอิสลามีย์ 8/248,249)
สิ่งที่ถือว่าเป็นมรดกในอิสลาม ได้แก่
- สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน ตึก อาคาร บ้าน สวน ไร่นา รถยนต์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
- เงินสดในมือ และในธนาคาร
- ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีสิทธิโดยชอบธรรม แต่ยังมิได้มีการส่งมอบ เช่น หนี้สินของผู้ตายที่ติดค้างอยู่ที่ผู้อื่น (ลูกหนี้) เงินค่าทำขวัญ เงินค่าทดแทน เงินค่าตอบแทน เป็นต้น
- สิทธิทางวัตถุ ซึ่งมิได้เกิดจากตัวทรัพย์สินโดยตรงแต่ทว่าเกิดจากการกระทำโดยทรัพย์สินนั้นหรือมีความผูกพันกับทรัพย์สินนั้น เช่น สิทธิในน้ำดื่ม สิทธิในการใช้ทางสัญจร สิทธิในการอาศัย สิทธิในที่ดินเพื่อการเพาะปลูก สิทธิในการเช่าช่วง เป็นต้น
บรรดาสิทธิที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายในอิสลาม
มีสิทธิ 5 ประการที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยมีความสำคัญก่อนหลังตามลำดับ ดังนี้ คือ
1. บรรดาหนี้สินที่เกี่ยวพันกับตัวของทรัพย์มรดกก่อนหน้าการเสียชีวิตของผู้ตาย อาทิ เช่น การจำนอง,การซื้อขาย และทรัพย์สินซึ่งจำเป็นต้องออกซะกาฮฺ
2. การจัดการศพ อันหมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดนับแต่การเสียชีวิตของผู้ตายจวบจนเสร็จสิ้นการฝังศพโดยไม่มีความสุรุ่ยสุร่ายหรือความตระหนี่ในการใช้จ่าย
3. บรรดาหนี้สินที่มีภาระผูกพันกับผู้ตาย ไม่ว่าบรรดาหนี้สินนั้นจะเป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ ()อาทิ เช่น ซะกาฮฺ,สิ่งที่ถูกบน (นะซัร) เอาไว้ และบรรดาค่าปรับ (กัฟฟาเราะฮฺ) หรือจะเป็นสิทธิของบ่าว อาทิ เช่น การยืมหนี้สิน เป็นต้น
4. พินัยกรรม (วะศียะฮฺ) ที่ผู้ตายทำไว้จากจำนวน 1 ใน 3 ของทรัพย์สินที่ผู้ตายละทิ้งไว้ หลังจากค่าใช้จ่ายในการจัดการศพและการชดใช้หนี้สินของผู้ตาย
5. ทรัพย์อันเป็นมรดก ซึ่งถือเป็นสิทธิที่เกี่ยวพันกับทรัพย์สินของผู้ตายในลำดับท้ายสุด โดยให้นำมาแบ่งระหว่างทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามสัดส่วนที่ศาสนากำหนด (อัลฟิกฮุล-มันฮะญี่ย์ 5/73,74)
การแบ่งมรดกนั้นจะมีเงื่อนไข ดังนี้
1. เจ้าของมรดกได้เสียชีวิตอย่างแน่นอน หรือด้วยคำสั่งของศาล (ว่าเสียชีวิตหรือสาบสูญ)
2. ผู้สืบมรดก (ทายาท) ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน หรือด้วยคำสั่งของศาล
3. จะต้องทราบว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องในการสืบมรดกอย่างไร เช่น เป็นสามี เป็นภรรยา ฯล
4. จะต้องไม่ถูกกันสิทธิในการสืบมรดกตามหลักศาสนบัญญัติ
ผู้ที่ไม่มีสิทธิสืบมรดกโดยเด็ดขาด ตามหลักอิสลาม มีดังนี้ คือ
1. ผู้ที่ทำการสังหารเจ้าของมรดก หรือมีส่วนร่วมในการสังหาร (สมรู้ร่วมคิด) ไม่ว่าจะเป็นการสังหารโดยเจตนาหรือผิดพลาด,จะด้วยสิทธิอันชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม หรือตัดสินให้ประหารชีวิตหรือเป็นพยานปรักปรำจนเป็นเหตุให้มีการประหารชีวิตหรือรับรองพยานในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้มีรายงานจากท่าน อัมร์ อิบนุ ชุอัยฺบ์ จากบิดาของเขาจากปู่ของเขาว่า แท้จริงท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า :
ความว่า: “สำหรับผู้สังหารย่อมไม่มีสิทธิใดๆเลยจากทรัพย์มรดก” (อบูดาวูด-4564-)
2. ทาส ทุกชนิด ทั้งนี้เพราะทาสไม่มีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน
3. ผู้สืบมรดกเป็นชนต่างศาสนิก หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม (มุรตัด) ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า :
ความว่า: “มุสลิมจะไม่สืบมรดกคนต่างศาสนิกและคนต่างศาสนิกก็จะไม่สืบมรดกคนมุสลิม” (รายงานโดย บุคอรี-6383-,มุสลิม-1614-)
ทาส ผู้มีสิทธิสืบมรดก اَلْوَارِثُ (อัล–วาริซฺ)
ทายาทผู้ตายที่เป็นชายซึ่งมีสิทธิในการสืบมรดก มีดังนี้
- บุตรชายของผู้ตาย
- หลานชาย เหลนชาย ฯลฯ
- บิดาของผู้ตาย
- ปู่ของผู้ตาย (บิดาของบิดา ฯลฯ)
- พี่ชายหรือน้องชาย (ทั้งที่ร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดา หรือร่วมมารดากับผู้ตาย
- บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย (ร่วมบิดามารดา)
- บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย (ร่วมบิดากับผู้ตาย)
- อาหรือลุง (พี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดามารดากับบิดาของผู้ตาย)
- อาหรือลุง (พี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดากับบิดาของผู้ตาย)
- บุตรชายของลุงหรือของอา (บุตรของพี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดามารดากับบิดาของผู้ตาย)
- บุตรชายของลุงหรือของอา (บุตรของพี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดากับบิดาของผู้ตาย)
- สามีของผู้ตาย
- ผู้ปลดปล่อยทาสให้เป็นไท (ในกรณีที่อดีตทาสที่เขาปล่อยนั้นเป็นเจ้าของมรดก)
อนึ่งถ้าบุคคลเหล่านี้ทั้งหมดมีชีวิตอยู่ในขณะแบ่งมรดกผู้มีสิทธิสืบมรดกมีเพียง บิดา ลูก และสามีของผู้ตายเท่านั้น
ทายาทผู้ตายที่เป็นหญิงซึ่งมีสิทธิในการสืบมรดก มีดังนี้
- บุตรีของผู้ตาย
- บุตรีของบุตรชาย (หลานสาว) หรือบุตรีของบุตรชายของบุตรชาย (เหลนสาว) ของผู้ตาย
- มารดาของผู้ตาย
- ย่า (มารดาของบิดา) ของผู้ตาย
- ยาย (มารดาของมารดา) ของผู้ตาย
- พี่สาวหรือน้องสาว (ร่วมบิดามารดาหรือร่วมมารดาหรือร่วมบิดากับผู้ตาย)
- ภรรยาของผู้ตาย
- นายหญิงผู้ปลดปล่อยทาสให้เป็นไท (ในกรณีที่อดีตทาสที่นางปลดปล่อยนั้นเป็นเจ้าของมรดก)
อนึ่ง ถ้าบุคคลเหล่านี้ทั้งหมดมีชีวิตอยู่ในขณะแบ่งมรดกผู้ที่มีสิทธิในการสืบมรดก คือ
- บุตรีของผู้ตาย
- หลานสาว (บุตรีของบุตรชาย) ของผู้ตาย
- ภรรยาของผู้ตาย
- มารดาของผู้ตาย
- พี่สาวหรือน้องสาวที่ร่วมบิดามารดากับผู้ตาย
และถ้าหากนำผู้สืบมรดกทั้งชายและหญิงมารวมกัน ผู้ที่มีสิทธิในการสืบมรดกนั้น คือ 1. บิดาของผู้ตาย 2. มารดาของผู้ตาย 3.บุตรชายของผู้ตาย 4.บุตรีของผู้ตาย 5.สามีหรือภรรยาของผู้ตาย
อนึ่ง เกี่ยวกับผู้สืบมรดกนี้ ยังแบ่งออกเป็นผู้ที่มีสิทธิสืบมรดกตามสัดส่วนที่ถูกกำหนดแน่นอน เรียกว่า อัศหาบุล-ฟัรฎ์ (أَصْحَابُ الْفِرْضَِ) และผู้มีสิทธิสืบมรดกในส่วนที่เหลือ เรียกว่า อะเศาะบะฮฺ (اَلْعَصَبَةُ) ซึ่งสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มเติมต่อไปทุกชนิด ทั้งนี้เพราะทาสไม่มีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน
ผู้สืบมรดกเป็นชนต่างศาสนิก หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม (มุรตัด) ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า :
ความว่า: “มุสลิมจะไม่สืบมรดกคนต่างศาสนิกและคนต่างศาสนิกก็จะไม่สืบมรดกคนมุสลิม” (รายงานโดย บุคอรี-6383-,มุสลิม-1614-)
อัตราหรือสัดส่วนการแบ่งมรดกอิสลาม ที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรฺอาน คือ
- 1/2 เรียกว่า นิศฟุ (نِصْفٌ)
- 1/4 เรียกว่า รุบฺอ์ (رُبْعٌ)
- 1/3 เรียกว่า สุลุสฺ (ثَلُثٌ)
- 2/3 เรียกว่า สุลุสานิ (ثُلُثَانِ)
- 1/6 เรียกว่า สุดุสฺ (سُدُسٌ)
- 1/8 เรียกว่า สุมุนฺ (ثُمُنٌ)
ขอบคุณข้อมูลจาก : มุร็อด บินหะซัน, ipoknowledge.com ,alisuasaming.org
- สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา หะดีษการทำความดีต่อพ่อแม่
- ทำซีนา ละหมาดยังถูกตอบรับหรือไม่?
- หนี้สินกับอิสลาม หากไม่ใช้หนี้ ระวัง..ไม่ได้เข้าสวรรค์!
- ดุอาอ์ปลดหนี้ หนี้เท่าภูเขาก็หมดลงได้ด้วยดุอาอ์บทนี้!
- "ทะเบียนสมรสซ้อน" กับ "การมีภรรยาหลายคน" ในศาสนาอิสลาม
- เตือน! การตัดสัมพันธ์เครือญาติ นรกรออยู่นะ (อิสลาม)