อาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย


20,086 ผู้ชม

การอาบน้ำวันศุกร์ สุนัตให้อาบเฉพาะบุคคลที่จะไปละหมาดวันศุกร์ มีกำหนดเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงเวลาเข้าทำละหมาด เวลาที่ดียิ่งนั้นให้อาบใกล้เวลาที่จะไป...


อาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย

การอาบน้ำวันศุกร์

ทัศนะอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่า เริ่มเมื่อเข้าเวลาฟัจรฺ(ซุบฮฺ) ด้วยหลักฐานต่อไปนี้ (ถ้าอาบน้ำหลังอะซานก็ถือว่าใช้ได้) ที่ท่านนบีให้อาบน้ำในช่วงวันของวันศุกร์ ไม่ใช่เวลากลางคืน(ตั้งแต่มัฆริบวันพฤหัส) เพราะในหะดีษไม่มีระบุแบบนี้ เพราะเป้าหมายของการอาบน้ำวันศุกร์ คือการเตรียมตัวไปละหมาดญุมุอะฮฺ จึงควรอาบตั้งแต่เวลาซุบฮิ

การอาบน้ำเป็นวาญิบหรือไม่? มี 3 ทัศนะ

ทัศนะแรก: เห็นว่าวาญิบ ถ้าไม่อาบมีโทษ เพราะมีหะดีษบันทึกโดยอิมามมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

" غُسل الجمعة واجب على كل محتلم "

ความว่า “การอาบน้ำญุมุอะฮฺ วาญิบสำหรับทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว”

ทัศนะที่สอง: ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าไม่วาญิบ เพราะมีหลักฐานจากหะดีษอื่นว่าท่านนบีให้ผู้ที่จะไปละหมาดวันศุกร์เลือกจะอาบหรือไม่อาบก็ได้ แสดงว่าไม่วาญิบ

ทัศนะที่สาม:  เป็นทัศนะของอิบนุตัยมียะฮฺว่า การที่ท่านนบีให้อาบน้ำละหมาดวันศุกร์ เพราะวันศุกร์เปรียบเสมือนวันอีดซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลอง การจะไปละหมาดก็ควรจะเตรียมตัวให้เรียบร้อยสะอาดหมดจดมีกลิ่นหอมเพื่อให้เกียรติวันสำคัญนี้ ดังนั้นการอาบน้ำจึงจำเป็น(วาญิบ)สำหรับคนที่มีกลิ่นไม่ดีที่ตัว ซึ่งนี่เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก

มีหะดีษบทหนึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของการอาบน้ำวันศุกร์ ซึ่งอิมามสะยูฏียฺเห็นว่าสายรายงานน่าเชื่อถือ เป็นหะดีษที่รายงานโดยท่านอบูอุมามะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إن الغسل يوم الجمعة ليسل الخطايا من أصول الشعر استلا

ความว่า “การอาบน้ำวันศุกร์จะลบล้างความผิด มันจะดึงความผิดจากร่างกายจนกระทั่งถึงรากผม”

อาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย

วิธีการอาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย

การอาบน้ำวันศุกร์ สุนัตให้อาบเฉพาะบุคคลที่จะไปละหมาดวันศุกร์ มีกำหนดเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงเวลาเข้าทำละหมาด เวลาที่ดียิ่งนั้นให้อาบใกล้เวลาที่จะไป

คำเหนียตอาบน้ำวันศุกร์ นึกในใจว่า:  ( ข้าพเจ้าอาบน้ำเพื่อไปละหมาดวันศุกร์ซึ่งเป็นสุนัต ลิ้ลลาฮิตะอาลา )

หลังจากเหนียตด้วยใจแล้ว ให้กล่าวบิสมิลลาฮฺ และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ล้างมือถึงข้อมือ 3 ครั้ง

2. ล้างอวัยเพศและบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งทวาร (ด้วยสบู่) จนมั่นใจสะอาดและมั่นใจว่าไม่มีอะไรออกจากอวัยวะเพศ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องล้างบริเวณนี้อีกแล้ว

3. อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์เหมือนปกติด้วยการล้างมือถึงข้อมือ บ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูกพร้อมสั่งออก ล้างหน้า ล้างมือถึงข้อศอก เช็ดศีรษะและสองหู โดยไม่ต้องล้างสองเท้า

4. ล้างผม 3 ครั้ง ให้ทั่ว

5. ล้างกายด้านขวา (สีฟ้า) และไม่จำเป็นต้องล้างอวัยวะที่ได้ล้างแล้ว พร้อมให้มั่นใจว่าน้ำได้ไหลทุกซอกมุมของร่างกาย

6. ล้างกายด้านซ้ายดังรูปสีเขียว

7. สิ้นสุดการอาบน้ำด้วยการล้างเท้าทั้ง 2 ข้าง

ข้อสังเกต

1. ความแตกต่างระหว่างอาบน้ำญะนาบะฮฺกับอาบน้ำหลังมีประจำเดือนและนิฟาส คือ

- การอาบน้ำญะนาบะฮฺ สตรีไม่จำเป็นต้องคลี่ม้วยผม ในขณะที่อาบน้ำหลังมีประจำเดือนและนิฟาส สตรีวาญิบต้องคลี่ม้วยผมและทำให้เส้นผมคลายทีละเส้น

- การอาบน้ำหลังมีประจำเดือนหรือนิฟาส ต้องอาบน้ำหลังจากที่มั่นใจว่าเลือดหยุดแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเดือนละครั้งหรือมากกว่านั้น ซึ่งต่างจากญะนาบะฮฺ

2. ควรต้องระมัดระวังบริเวณร่างกายที่น้ำไหลไม่ทั่วถึงเช่นจุดซ่อนเร้น หรือกรณีผมดกสำหรับผู้ชาย

วันนี้วันศุกร์ ใครที่ยังไม่เคยอาบน้ำตามซุนนะฮฺ ก็สามารถเริ่มได้ในวันพรุ่งนี้ได้เลย....

ภาพการอาบน้ำวันศุกร์

อาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย

ที่มา: www.islaminthailand.org , Mazlan Muhammad

https://islamhouse.muslimthaipost.com/

อัพเดทล่าสุด