สิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงอนุมัติ นั่นคือ สิ่งหะลาล และสิ่งใดที่พระองค์ทรงห้าม นั่นคือ สิ่งฮ่ารอม
จริงๆแล้ว คำถามนี้ ผมไม่พบว่ามีหลักฐานที่ชัดเจนใดๆมาระบุว่า ไข่มดนั้นเป็นสิ่งที่ฮ่ารอมในการรับประทาน ซึ่งสิ่งที่ไม่ระบุว่าฮ่ารอมในการรับประทานนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกผ่อนผันให้รับประทานได้ตามหลักการของศาสนา ดังที่ท่านอิบนุอับบาส(รด.)ได้กล่าวไว้ในหะดีษบทหนึ่งว่า
مَا أَحَلَّ اللهُ فِي كِتَابِهِ فَهُوَ حَلَالٌُ ، وَمَا حَرَّمَ فَهوَ حَرَامٌ ، وَمَا سَكَتَ عَنهُ فَهُوَ عَفْوٌ
ความว่า “สิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงอนุมัติ นั่นคือ สิ่งหะลาล และสิ่งใดที่พระองค์ทรงห้าม นั่นคือ สิ่งฮ่ารอม และสิ่งใดที่ไม่ได้ระบุไว้ ก็ที่เป็นอนุโลมให้(สำหรับพวกท่านที่จะรับประทานสิ่งนั้น)” (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ และอีหม่ามมุสลิม)
แต่เมื่อเราหมั่นค้นคว้า เราก็จะพบว่า มันมีหะดีษอยู่บทหนึ่ง ที่บันทึกโดยท่านอีหม่ามอะห์หมัด(รฮ.) ว่า ท่านนบี(ซล.)ทรงห้ามมิให้เราไปฆ่ามด ดังที่ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวว่า
نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم عن قتل أربعة من الدواب النملة و النحلة والهدهد والصرد
ความว่า “ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ 4 ประเภท คือ (1) มด (2) ผึ้ง (3) นกหัวขวาน และ (4) นกเหยี่ยว” (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอะห์หมัด ในมุสนัดของท่าน และท่านอบูดาวูด ท่านอิบนุมาญะห์ และท่านอัดดารีมีย์ ในสุนันของพวกเขา)
ส่วนในกรณีที่มดมันมากัดเรา หากเราได้ฆ่ามดตัวนั้นก็ไม่เป็นไรครับ เพราะถือว่า มันได้ทำอันตรายแก่เรา ส่วนกรณีที่ อยู่ดีๆก็ไปฆ่ามันโดยที่มันมิได้สร้างความรำคาญให้แก่เรา หรือ มันมิได้สร้างอันตรายใดๆแก่เรา การที่เราไปฆ่ามันเล่นๆแบบนี้ ถือว่ามีความผิดครับ เหมือนกันกับการที่เราไปทำลายชีวิตของสัตว๋อื่นๆที่ไม่ได้สร้างอันตรายใดๆแก่เรา เช่น ผีเสือที่บินมาตามธนรรมชาติ ตั๊กแตน หรือ สัตว์อื่นๆ ที่ไม่ได้สร้างอันตรายใดๆให้แก่เรา การไปฆ่ามันในลักษณะเช่นนี้ ก็ถือ ว่าห้าม(หะรอม)เช่นเดียวกัน
ส่วนในกรณีของการนำมาทำเป็นอาหารนั้น หากเรานำมันมารับประทานนั้น ก็ต้องถามว่า เราต้องฆ่ามันหรือไม่ ? คำตอบคือ ก็ต้องมีการฆ่ามดด้วยอยู่ดี และด้วยการฆ่าเช่นนี้แหละ ที่ถือว่า ฮ่ารอมในการรับประทาน เพราะมดนั้น ห้ามฆ่า ดังนั้น สัตว์ที่ห้ามฆ่า ก็ห้ามรับประทานไปด้วย ดังที่ท่านอับดุรเราะห์มานได้เล่าให้เราฟังว่า
أن طبيبا سأل النبي صلى الله عليه وسلم ، عن ضفدع يجعلها في دواء ، فنهاه النبي صلى الله عليه وسلم عن قتلها
ความว่า “แท้จริงแล้ว ได้มีนายแพทย์ท่านหนึ่ง ได้ถามท่านนบีมูฮำหมัด(ซล.)เกี่ยวกับเรื่องของกบ เพื่อนำมันมาสกัดเป็นยา ท่านนบี(ซล.)ก็ได้ห้ามเขาจากฆ่ากบ” (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอบูดาวูด)
จากหะดีษได้ระบุการห้ามอย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อกบห้ามฆ่า ไม่ว่าจะฆ่ากบมาสกัดเป็นยา หรือ เพื่อเป็นอาหารก็ถือว่าห้ามทั้งสิ้น
ผมจึงใช้หลักการเทียบ(กิยาส)ว่า สัตว์ที่ห้ามฆ่า ก็จะห้ามรับประทานไปด้วย
และหากเราใช้หลักวิชาอู่ซูลุ้ลฟิกห์ ตามกฎที่ว่า ซัดดุสซ่ารอเอี๊ยะอ์
( سد الذرائع )
อันได้แก่ “การปิดกั้นช่องทางที่จะนำไปสู่ความเสียหาย” เราก็จะพบว่า การรับประทานไข่มดนั้น ควรเป็นสิ่งที่หลีกให้ไกลไว้ก่อนเช่นกัน เพราะอาจจะตกไปอยู่ในการทำสิ่งที่ฮ่ารอมได้
และเมื่อผมได้ไปค้นดูจากรูปของอาหารที่เขานำมาทำ เช่น ยำไข่มดแดง ลาบไข่มด บางทีก็มีไข่เจียวผสมไข่มด หรือ อาหารอื่นๆ ผมพบว่า บางทีก็จะมีตัวมดเลย เข้าไปปะปนด้วย ดังนั้น เมื่อมีการรับประทานมดด้วย อาหารนั้นจึงถือว่าฮ่ารอม แม้ว่าตัวของมดจะไม่เป็นนะยิสก็ตาม ก็ห้ามรับประทาน เพราะถูกห้ามในการฆ่ามัน หรือ ไข่ของมันก็ตาม(หากว่าไม่เป็นนะยิส) ก็ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะเมื่อเรารับประทานแล้ว ก็หนีไม่พ้นการทานมดอยู่ดี และก็หนีไม่พ้นจากการฆ่ามดด้วย
ผมจึงขอสรุป ในเบื้องต้นก่อนว่า อาหารที่เราควรจะรับประทานนั้น ควรจะเป็นอาหารที่ดีๆและมีเกียรติ ดังที่อัลเลาะห์(ซบ.)ทรงดำรัสแก่เราว่า
يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الْأَرْضِ حَلَالًا طَيِّبًا
ความว่า “โอ้บรรดามนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงบริโภคจากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินอันเป็นสิ่งที่อนุมัติที่ดีๆเถิด” (ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 168)
ดังนั้น มดนั้น แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ห้ามรับประทาน แต่เมื่อต้องมีการฆ่ามด ซึ่งไข่ของมัน ก็ตือ ตัวอ่อนของมด ก็ถือว่า มดนั้นหะรอมในการฆ่าเพื่อนำไข่ของมันไปรับประทานครับ
ฉนั้น เท่าที่ผมได้วิเคราะห์และหาข้อสรุปของฮู่ก่มแล้ว ผมถือว่า มดและไข่มดนั้น ฮ่ารอมในการรับประทานครับ เพราะมีกฎของวิชาอุซู้ลุ้ลฟิกห์ ได้กล่าวว่า
“ถ้าทั้งหมดของสิ่งหนึ่งเป็นต้องห้าม(หะรอม) ฉนั้น ส่วนหนึ่งจากสิ่งนั้น ก็ถือว่า เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม)ด้วยเช่นเดียวกัน”
เมื่อมดเป็นสิ่งที่ฮ่ารอมในการฆ่า และการรับประทานไข่มด ก็หนีไม่พ้นจากการฆ่ามัน และบางครั้งอาจตั้องรับประทานมันเข้าไปด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ถือว่า อาหารที่ทำจากมดและไข่มดนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม ในการรับประทานมันอย่างไม่ต้องสงสัยครับ…
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ และจำเป็นที่สุด สำหรับบรรดามุสลิมนั้น ก็คือ การเลือกเดินตามแนวทางแห่งสัจธรรม ในสิ่งที่เกิดความชัดเจนแก่เขาจากการค้นคว้าและการวินิจฉัย ดังนั้น หากว่าผู้หนึ่งได้ใช้ความพยายามในการวิริจฉัยแล้ว แต่เขาไม่พบทางออกอื่นใดที่เป็นการกว้างขวางสำหรับเขาในเรื่องศาสนา ก็ถือว่า พอเพียงแล้ว ในการดำเนินตามคำตอบของบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือในความรู้ของเขา และอามานะห์ของเขาจากบรรดาผู้รู้ที่เป็นที่เลืองลือ รวมทั้งบรรดากฎเกณฑ์ต่างๆที่พวกเขาได้วางเอาไว้ และนี่แหละ คือบรรดากฎเกณฑ์ที่คลอบคลุมไปบนมัสอาละห์(ปัญหา)ต่างๆทั้งทางหะดีษและฟิกห์ที่ผมได้สรุปเป็นฮู่ก่มไว้…วัลลอฮู่อะอ์ลัม
ที่มา: เป็นแค่ คนรอง