การทำงานในด้านศาสนาและสาธารณประโยชน์ การบริจาก ตามหลักการอิสลาม


1,273 ผู้ชม


การทำงานในด้านศาสนาและสาธารณประโยชน์ ไม่ว่าองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ ไม่ว่าระดับ ประเทศ ระดับโลก หรือแม้ในระดับ ตำบลหมู่บ้านก็ตาม จำเป็นจะต้องใช้ทุน เพราะต้องมี ค่าใช้จ่าย การหาทุน หรือ การขอรับ การสนับสนุน จากผู้มีจิตศรัทธา ย่อมมีทุกศาสนา ทุกองค์กร ถ้าในขณะที่ประเทศชาติ อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจมั่นคง รุ่งเรือง และมีการขยายตัว การหาทุนหรือค่าใช้จ่าย ในการดำเนินกิจการ ของศาสนา หรือ องค์กรสาธารณกุศลต่างๆ ก็จะเจริญรุ่งเรือง และได้รับมาก พอที่จะทำ กิจกรรมต่อไปได้ แต่ในกรณีที่เศรษฐกิจ ของประเทศ อยู่ในสภาวะที่ถดถอย ไม่มั่นคง หรือ สภาวะสังคม ขาดแคลน รายได้ ที่จะนำมา ทำกิจกรรม หรือส่งเสริมศาสนา ก็ย่อมลดน้อย ถอยลง เป็นธรรมดา องค์กรสาธารณประโยชน์ หลายแห่ง ต้องประสบปัญหาชะงักงัน ในการดำเนินการ การหาทุน หรือการรับบริจาค จึงจำเป็นอย่างยิ่ง นับว่าเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนาขีดความสามารถ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิระขจร ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาคม สถาบัน บัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ ได้เคยทำการวิจัย เรื่องการระดมทุน กรณีศึกษา มัสยิด โรงเรียน และมูลนิธิในศาสนา อิสลาม เห็นว่า ศูนย์สาธารณประโยชน์ และประชาสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง องค์กรแบบดั้งเดิม ที่มีลักษณะเฉพาะ และดำรงมา อย่างยาวนาน ในสังคมไทย ไม่ว่าวัด มัสยิด หรือโบสถ์คริสต์ มูลนิธิ และสมาคมจีน เมื่อนำมาเปรียบเทียบ จะช่วยสร้าง ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระดมทุน แบบต่างๆ ตามวิถี ของไทยได้ยิ่งขึ้น

ศาสนากับสังคมเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ และมีมานาน จุดมุ่งหมายก็เพื่อใช้ศาสนา เป็นเครื่อง ช่วยแก้ปัญหา ต่างๆ และสนอง ความต้องการ ของประชาชน ไม่ว่าในวิถีชีวิตส่วนตัว และ ความเชื่อ เกี่ยวกับอนาคตกาล หลังจากตายไปแล้ว ศาสนาจึงเป็นสถาบันหลัก อีกสถาบันหนึ่ง ที่จะช่วยให้เกิด ความสงบทางจิตใจ และ เป็นแนวทางที่จะปกป้อง คุ้มครองประชาชน ในศาสนา เดียวกัน ให้ดำรง วิถีชีวิต ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อช่วย ให้สังคม ดังกล่าวนั้น อยู่อย่าง สงบสุขร่มเย็น ช่วยกัน จัดระเบียบสังคม สร้างค่านิยม บรรทัดฐาน ทางสังคม และวิถีชีวิต ของสังคมนั้นๆ

ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๘ ได้รับรอง สิทธิ เสรีภาพ ในการนับถือ ศาสนา และการประกอบ ศาสนากิจ รวมทั้งระบุ ในมาตรา ๙ ว่าให้ พระมหากษัตริย์ ทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภก คือเป็น ผู้อุปถัมภ์ ศาสนาทุกศาสนา ในประเทศไทย ซึ่งก่อนนี้ รัฐธรรมนูญ ฉบับก่อนๆ นั้นก็ได้บัญญัติไว้ ในทำนองเดียวกัน อาจจะมี ตัวหนังสือ หรือข้อความหมาย ผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่โดย ความรวมแล้ว ประเทศไทย ให้เสรีภาพในการนับถือ ศาสนา แก่ประชาชน ทุกศาสนา ทุกนิกาย ทุกความเชื่อ มาทุกยุค ทุกสมัย ทั้งระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญ ทุกฉบับ

ศาสนาอิสลามปัจจุบันนี้มีประชาชนชาวไทยนับถือมากเป็นอันดับ ๒ ของประเทศ กระจายไปตาม ภูมิภาค ต่างๆ ประมาณ ๖ ล้านคน จึงมีการรวมตัว ในลักษณะของ กลุ่มสมาคม มูลนิธิ และองค์กร สาธารณ ประโยชน์ ในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ฉะนั้น องค์กรต่างๆ เหล่านี้จึงต้องใช้วิธีการหาทุน หรือ ระดมทุน หรือ รับบริจาคจากผู้ที่เลื่อมใส ศรัทธา ในหลักการ วิธีการดำเนินการ ขององค์กรนั้นๆ

ศาสนาอิสลามมีลักษณะแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ เนื่องจากได้บัญญัติครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ของผู้นับถือ ทุกๆ ด้าน ตั้งแต่เกิด จนตาย มุสลิมทุกคน ไม่สามารถ แยกอิสลาม ออกจากวิถี การดำเนินชีวิต ไม่สามารถ เลือกปฏิบัติ เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง เฉพาะบางประการ ตามหลัก ศาสนาได้ การจ่ายทานบังคับ (ซะกาต) ระบุให้มุสลิมทุกคน ที่มีฐานะ ทางเศรษฐกิจ ตามศาสนา บัญญัติ คือ มีทรัพย์สิน เหลือจากปัจจัยสี่ และ ถือครองทรัพย์สินครบรอบ ๑ ปี หรือ ตามช่วงเวลา ที่ศาสนา กำหนด ต้องจ่ายซะกาตตามอัตรา ที่กำหนดไว้ คำว่า ซะกาตนี้ หมายถึง การซักฟอก การทำให้สะอาด บริสุทธิ์ และการเจริญเติบโต วัตถุประสงค์ ในการจ่าย ก็เพื่อเป็นการยืนยัน ถึงความศรัทธา และเพื่อซักฟอก ทรัพย์สิน และจิตใจของ ผู้จ่าย ให้มีความสะอาด บริสุทธิ์ รวมทั้งการกระจายทรัพย์สินให้กลุ่มคน ที่ยากไร้ ซึ่งมีทั้งหมด ๘ กลุ่ม คือ

๑. คนอนาถา
๒. คนที่อัตคัดขัดสน
๓. ผู้เข้ารับอิสลามใหม่
๔. ผู้บริหารการจัดเก็บและจ่ายซะกาต
๕. ทาสที่ได้รับอนุมัติจากนายให้นำเงินไปไถ่ถอน
๖. ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
๗. คนพลัดถิ่น หลงทาง
๘. ผู้ที่ดำเนินกิจการต่างๆ หรือทำการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักการอิสลาม

ซะกาต มี ๒ ประเภท
๑. ซะกาตที่มุสลิมที่สามารถเลี้ยงตัวได้ต้องจ่ายแก่คนยากจนหรือคนอนาถาในเดือนรอมฎอน อันเป็นเดือน ถือศีลอด โดยจ่ายเป็นอาหารหลัก ที่คนในท้องถิ่นรับประทานกันเป็นประจำ ซึ่งได้แก่ข้าวสาร อาหารแห้ง ต่างๆ สำหรับ ผู้ที่เป็น หัวหน้า ครอบครัวนั้น ต้องรับผิดชอบ จ่ายซะกาต แทนสมาชิก ในครอบครัวด้วย การจ่ายซะกาตนี้มีความสำคัญ ถึงขนาดที่ว่า หากใครถือศีลอด แล้วไม่จ่ายซะกาต พระเจ้าก็ยังไม่รับ การถือศีลอดของเขา

๒. ซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้วในอัตราที่ต่างกัน ตามประเภท ของทรัพย์สิน ตั้งแต่ร้อยละ ๒.๕ ไปจนถึง ร้อยละ ๒๐ ซึ่งในเรื่องนี้ได้คำนึงถึง ความมั่นคง และความเจริญ เติบโตทางการเงินที่ต้องอาศัยความพยายาม ความรู้ ความสามารถ และทุนจำนวนมาก ในการดำเนินธุรกิจ ที่มีความเสี่ยง ต่อการขาดทุน โดยกำหนด ซะกาตไว้ ร้อยละ ๒.๕ สำหรับ ทองคำและเงิน ที่ไม่สามารถ ตอบสนอง ความต้องการ ที่แท้จริงของมนุษย์ได้โดยตรง จะต้องนำไปซื้อของจาก พ่อค้าวานิช ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งรวมทั้งแร่ทอง และเงิน เป็นสิ่งที่หายาก และต้อง ลงทุนลงแรง เป็นอย่างมาก กว่าจะได้มา ดังนั้น จึงกำหนด อัตรา ซะกาต เอาไว้อย่างต่ำ เพียงร้อยละ ๒.๕ สำหรับ ผลผลิต ทางการเกษตร แตกต่างกันไป โดยผลผลิต ประเภทที่เน่า เสียง่าย เช่น ผัก ไม่ต้องนำ มาจ่าย ซะกาต ส่วนผลผลิต ที่สามารถเก็บไว้ ได้นาน จะแบ่งระดับอัตราการจ่าย ซะกาต ตามประเภท ของที่ดิน โดยที่ดินที่ใช้ ในการเพาะปลูก ซึ่งถึงแม้ เจ้าของที่ดิน จะต้องใช้เงิน และแรงงาน ในการพัฒนา ที่ดิน แต่ไม่จำเป็น ต้องใช้แรงงานมาก ในการรดน้ำ และการเพาะปลูก เนื่องจากแผ่นดิน ได้รับน้ำฝน ตามธรรมชาติ หรือ จากคลอง ที่มีอยู่แล้ว ที่ดินประเภทนี้ ต้องจ่ายซะกาตร้อยละ ๑๐ ในขณะที่หากเป็น ที่ดิน ที่ต้องใช้แรงงาน และการ ลงทุนมาก สำหรับ การชลประทาน เช่นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ จากบ่อ หรือ ลำคลอง ลำธาร มายังที่ดิน หรือจำเป็นต้อง ขุดคลอง จะจ่าย ซะกาต ในอัตราน้อยกว่า คือร้อยละ ๕

กรณีของทรัพย์สินที่พบโดยบังเอิญและไม่ปรากฏเจ้าของ เช่น กรณีเก็บทรัพย์สินที่สูญหายได้ ผู้พบ ต้องจ่าย ซะกาต ในอัตรา ร้อยละ ๒๐

การจ่ายซะกาต ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการละหมาด ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวถึง การละหมาด ในคัมภีร์ อัลกุรอาน ก็จะมีการกล่าวถึง การจ่ายซะกาต ติดตามมาทันที โดยชาวมุสลิม จะถือว่า การทำละหมาด เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อพระเจ้า ส่วนซะกาต เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อมนุษย์ โดยเฉพาะ ประเทศที่นับถือ ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนา ประจำชาติ เช่น ประเทศในอาหรับ ทั้งหลาย จะมีการเรียกเก็บ ซะกาต และนำไปเก็บรวมไว้ที่ใบตุลมาล หรือคลังของ รัฐอิสลาม เมื่อเก็บ รวบรวม ซะกาต แล้วนำไป แจกจ่าย แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับ ๘ ประเภท ที่กล่าวแล้ว ข้างต้น ซึ่งคลังเหล่านี้ ก็ได้กลายเป็น แหล่งทุนใหญ่ ในการแจกจ่ายไปยังองค์กร สาธารณประโยชน์ทั้งในประเทศ ของตนเอง และ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะโรงเรียนตาฎีกา และ โรงเรียนปอเนาะ ตลอดจนโรงเรียนเอกชน สอนศาสนา ต่างๆ ใน ๓ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้

ศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงหน้าที่ในการจ่ายทานบังคับของคนที่มีทรัพย์สินเกิน จำนวน ที่ศาสนา กำหนดไว้ ในรอบปี โดยถือหลักปฏิบัติ ที่สำคัญ ๑ ใน ๕ ประการ นอกเหนือจาก การปฏิญาณ ตนว่า จะยึดมั่น ในพระผู้เป็นเจ้า เพียงองค์เดียว ละหมาด การถือศีลอด และ การประกอบ พิธีฮัจญ์ ที่หากผู้ใด ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ จากพระผู้เป็นเจ้า อย่างสาสม ทำให้มุสลิม ทุกคน ถือเป็นหน้าที่ ที่ต้องบริจาค ทำให้เงินรายได้ จากการบริจาค กลายเป็น แหล่งเงินทุน สำคัญ ขององค์การเอกชน สาธารณ ประโยชน์อิสลาม ทุกแห่ง ยุคปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยเอง ก็เริ่มมีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินการ ของ องค์การ สาธารณประโยชน์อิสลาม ในประเทศไทย มากขึ้น โดยเฉพาะ องค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์ ที่ดำเนินกิจการ โรงเรียนควบคู่กันไปด้วย เช่น มูลนิธิช่วยเหลือ เด็กกำพร้า โรงเรียน ธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียน ดรุณศาสตร์วิทยา ฯลฯ

หลักการของศาสนาอิสลามที่เป็นหลักปฏิบัติที่มุสลิมจะต้องดำเนินการ โดยเคร่งครัด ดังนั้น มูลเหตุจูงใจ ที่สำคัญ และเป็นพื้นฐาน ของการบริจาค ก็คือความเชื่อพื้นฐานตามหลักศาสนา แต่จะพบว่าองค์การ เอกชน สาธารณประโยชน์ อิสลาม ที่ประสบความสำเร็จ ในการระดมทุน มักจะมีสิ่งจูงใจอื่นๆ นอกเหนือ จากความเชื่อ ตามหลักการศาสนา ที่มุสลิม ปฏิบัติเท่านั้น มูลเหตุจูงใจที่สำคัญ ได้แก่บารมีของ ผู้นำของ องค์การ การเห็นประโยชน์ของกิจกรรม ที่องค์การ ดำเนินการ หรือ การอาศัยกลยุทธ์ และการ ประชาสัมพันธ์ ที่ได้ผลเป็นสาเหตุ ชี้นำการบริจาค

นอกจากมูลเหตุจูงใจในส่วนบารมีผู้นำแล้ว มูลเหตุจูงใจที่สำคัญถัดมาก็คือ การเห็นประโยชน์จาก กิจกรรม ที่องค์การเอกชน สาธารณประโยชน์อิสลาม ดำเนินการ โดยที่เห็นได้ชัด ก็คือ มูลนิธิสันติชน ที่ดำเนิน กิจกรรม ที่หลากหลาย ทั้งในด้าน การศึกษา และ สังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีผลในวงกว้าง จนเป็นที่ยอมรับ ของมุสลิม ทั่วๆ ไป

การนำเงินที่ได้รับไปใช้นั้น จะเน้นกิจกรรมของการสอนศาสนาแก่เยาวชนมุสลิม ในลักษณะ ของ โรงเรียน สอน ศาสนา โดยตรง นอกเหนือ จากการเรียนการสอน โดยสายสามัญ และการเผยแผ่ ศาสนาแล้ว กิจกรรม ทางด้านการศึกษาสายสามัญ ของเยาวชนมุสลิม ก็ถือเป็นงานหลัก ที่องค์กร เอกชน สาธารณประโยชน์ ดำเนินการอยู่ ทั้งในการก่อสร้าง อาคาร และ ศาสนสถาน ก็ถือเป็น กิจกรรมหลัก ขององค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์อิสลาม กิจกรรม อีกประการหนึ่ง ก็คือ การมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ท้องถิ่น ด้านต่างๆ และ งานสังคม สงเคราะห์ เช่น การอบรมเกี่ยวกับ การต่อต้าน ยาเสพติด และอาชญากรรม ในท้องถิ่น รวมทั้งได้มีการดำเนินงาน สหกรณ์ร้านค้า เพื่อลดค่าครองชีพ ให้บุคคล ในท้องถิ่น รวมทั้ง การจัด รถพยาบาล สถานพยาบาล การดำเนิน สถานบำบัดเยาวชน ช่วยเหลือผู้สูงอายุ โครงการ ทำความเข้าใจ ในการป้องกัน และแก้ไข ปัญหา โรคเอดส์ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิช่วยเหลือ เด็กกำพร้า เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : asoke.info

อัพเดทล่าสุด