กฎเกณฑ์การเชือดสัตว์ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม
5.1 สัตว์ที่นำมาเชือด
1) เป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติให้บริโภคได้เมื่อผ่านการเชือด
2) มีกรรมวิธีการเชือดตามบัญญัติศาสนาอิสลาม
3) ไม่มีการทรมานหรือทารุณสัตว์ก่อนหรือขณะที่เชือด
5.2 ผู้เชือด
1) ต้องเป็นมุสลิมหรือชาวคัมภีร์ที่เชือดสัตว์ตามวิธีการอิสลาม
2) มีสุขภาพจิตสมบูรณ์
3) ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ
5.3 วิธีเชือด
1) ให้กล่าวนามของอัลลอฮฺเมื่อเริ่มเชือด (บิสมิลลาฮ์ อัลลอฮุอักบัรฺ)
2) ควรผินหน้าไปทางกิบลัต
3) ควรเชือดโดยต่อเนื่องในคราวเดียวกัน
4) เชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดสองข้างลำคอขาดจากกัน
5) สัตว์ต้องตายเพราะการเชือดก่อนนำไปดำเนินการอย่างอื่น
5.4 อุปกรณ์การเชือด เป็นของมีคม (ยกเว้นเล็ก กระดูก) อนึ่ง สัตว์น้ำ ศาสนาอิสลามอนุมัติให้บริโภคได้โดยไม่ต้องเชือด
ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เชือด โดย (อ.ทองคำ มะหะหมัด)
การเชือดสัตว์ตามบัญญัติศาสนาจะสมบูรณ์ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้
1.1) อัซซับฮ์ : การตัดเส้น ฮุลกุม : หลอดลม หรือ หลอดคอ มะรีอ์ :
หลอดอาหารและน้ำดื่ม วัดญาน : เส้นเลือดทั้งสองเส้นที่อยู่ข้างคอซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดตามบัญญัติศาสนา ในการเชือดแพะ แกะ วัว และสัตว์ปีกต่าง ๆ และยินยอมให้นำวิธีนี้ไปใช้กับสัตว์อื่นได้อีกด้วย
1.2) อันนะฮ์ร์ : คือการแทงที่หลุมโคนคอ (คว้านเส้นต่าง ๆ ให้ขาด)
เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเชือดอูฐและสัตว์ที่มีคอยาว เช่น อูฐและอนุญาตให้เชือดวัวด้วยวิธีนี้เช่นกัน
1.3) อัลอักร์
คือการทำให้สัตว์ที่ไม่สามารถเชือดได้ตามปกติเกิดบาดแผลที่ส่วนใดของร่างกายไม่ว่าจะเป็นสัตว์เปรียวที่อนุญาตให้ล่าหรือสัตว์บ้านที่กลายเป็นสัตว์เปรียวถ้าหากผู้ล่าได้มันมาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เขาจำเป็นต้องเชือดมันด้วยวิธี
ซับฮ์ หรือ นะฮ์ร์ แล้วแต่กรณี
2) เงื่อนไขของการเชือดที่มีผลใช้ได้ มีดังต่อไปนี้
2.1) ผู้เชือดต้องบรรลุศาสนภาวะ หรืออยู่ในวัยที่แยกแยะได้ (มุมัยยิซ) เป็นมุสลิม สัตว์ที่เชือดโดยคนนอกศาสนานั้นจะรับประทานไม่ได้
2.2) การเชือดต้องใช้สิ่งมีคมที่สามารถตัด และทำให้ขาดได้ด้วยคมของมัน ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือวัตถุอย่างอื่นที่ทำให้เลือดไหลได้ ทั้งนี้ต้องไม่ใช้ฟัน และเล็บ ไม่อนุญาตให้รับประทาน “สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย” โดยการกระทำของมันเองหรือโดยการกระทำของผู้อื่น “สัตว์ที่ถูกตีตาย” คือสัตว์ที่ตายด้วยการถูกทุบตีด้วยของหนัก “สัตว์ที่ตายเพราะตกจากที่สูง” หรือตกลงไปในหลุมบ่อ “สัตว์ที่ถูกขวิดตาย” และ “สัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากัดตาย” ซึ่งไม่ใช่เป็นสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่า และถูกส่งออกไป ถ้าหากว่าสัตว์ดังกล่าวยังมีชีวิตมั่นคง และเขาได้เชือดมันได้ทัน ก็อนุญาตให้รับประทานได้
2.3) ผู้เชือดต้องกล่าวนามของอัลเลาะห์ ตาอาลา ขณะเชือด การใช้เครื่องบันทึกเสียงเปิดนามของอัลเลาะห์ ถือว่าใช้ไม่ได้ นอกจากคนที่ลืมกล่าวนามของ อัลเลาะห์ สัตว์ที่เขาเชือดถือว่าอนุญาตให้รับประทานได้
3) การเชือดสัตว์มีระเบียบหลายประการ ที่ศาสนาเตือนให้พึงระลึกถึงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเมตตาต่อสัตว์ที่จะเชือด ทั้งก่อนเชือด ขณะเชือด และภายหลังจากเชือดแล้ว จะต้องไม่ลับมีดต่อหน้าสัตว์ที่จะเชือด ไม่เชือดสัตว์ต่อหน้าสัตว์อื่น ไม่เชือดสัตว์ด้วยมีดไม่คม ไม่ทำทารุณต่อสัตว์ที่จะเชือด ไม่ตัดส่วนใด ๆ ของสัตว์ ไม่ถลกหนัง ไม่จุ่มในน้ำร้อน และไม่ถอนขน นอกจากมั่นใจว่าสัตว์นั้นตายแล้ว
4) สัตว์ที่จะเชือดต้องไม่เป็นสัตว์ที่มีโรคติดต่อ และไม่มีสิ่งที่จะทำให้เนื้อสัตว์เปลี่ยนแปลงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ผู้ บริโภค และจะต้องมีความมั่นใจว่าปลอดจากโรคเมื่อจะนำออกจำหน่ายหรือนำเข้า
5)
ก. หลักเดิมในการเชือดตามบัญญัติศาสนานั้น เป็นการเชือดโดยไม่ต้องทำให้สัตว์สงบ (หงอง) เพราะการเชื่อดแบบอิสลามนั้นมีเงื่อนไขและระเบียบที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว ในการให้ความเมตตาแก่สัตว์ และทำให้สัตว์ทรมานน้อยที่สุด ขอให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่เชือดสัตว์พัฒนาวิธีการเชือด โดยเฉพาะสัตว์ขนาดใหญ่ โดยหลักการพื้นฐานของการเชือดนี้ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์
ข. พร้อมรักษาหลักการในข้อ (ก) สัตว์ที่ถูกเชือดภายหลังจากถูกทำให้สงบ (หงอง) แล้ว ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา อนุญาตให้รับประทานได้ เมื่อประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทางเทคนิคที่สมบูรณ์แบบ จนมั่นใจว่า สัตว์นั้นจะยังไม่เสียชีวิตก่อนการเชือด โดยผู้เชี่ยวชาญปัจจุบันได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้
1. จะต้องสวมขั้วไฟฟ้าที่ขมับทั้งสองข้าง หรือด้านหน้าผากของสัตว์
2. ความดันของไฟฟ้าจะต้องอยู่ระหว่าง 100-400 โวลต์
3. ความแรงของกระแสไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 0.75+1.0 แอมแปร์ สำหรับแพะ และแกะ และระหว่าง 2.0-2.5 แอมแปร์ สำหรับวัว
4. การปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 3-6 วินาที
ค. ไม่อนุญาตทำให้สัตว์สงบ (หงอง) ด้วยการใช้ปืนหัวเข็ม หรือด้วยขวาน หรือด้วยค้อนและไม่อนุญาตให้ใช้การเป่าตามวิธีการของอังกฤษ
ง. ไม่อนุญาตทำให้สัตว์ปีกสงบ (หงอง) ด้วยไฟฟ้า เพราะจากประสบการณ์พบว่าสัตว์ปีกตายก่อนเชือดเป็นจำนวนมาก
จ.สัตว์ที่ถูกเชือดภายหลังจากถูกทำให้สงบ (หงอง) หรือหงองด้วยการใช้แก๊สรม หรือใช้ปืนที่มีหัวกลม ที่จะไม่ทำให้สัตว์ตายก่อนเชือด ไม่ถือว่า ฮะรอม
6) มุสลิมที่อยู่ในประเทศไม่ใช่ประเทศอิสลาม จะต้องพยามขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายในการเชือดสัตว์ตามแนวทางอิสลาม โดยไม่ต้องทำให้สัตว์สงบ (หงอง)
7) อนุญาตให้มุสลิมที่เดินทางไปท่องเที่ยว หรือพำนักอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอิสลามรับประทานสัตว์ที่เชือดโดยชาว คัมภีร์ได้ จากสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุญาตให้รับประทาน โดยต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งต้องห้ามปะปนอยู่ในเนื้อนั้นเว้นแต่พวกเขาจะมั่นใจว่าเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้องตามบัญญัติศาสนา
เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์
ที่มาของข้อมูล : สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก : muslimchiangmai.net