ละหมาดล่าช้า มีโทษหรือไม่?


7,414 ผู้ชม

ผมอยากทราบว่ามีโทษไหม สำหรับบุคคลที่ละหมาดท้ายเวลา/ล่าช้าในการฃะหมาด มีหลักฐานไหมครับ


ละหมาดล่าช้า มีโทษหรือไม่?

การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู

ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า " และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม " (อัล - อังกะบูต : 45)

ผมอยากทราบว่ามีโทษไหม สำหรับบุคคลที่ละหมาดท้ายเวลา/ล่าช้าในการฃะหมาด มีหลักฐานไหมครับ

การละหมาดฟัรฎู 5 เวลานั้นมีกำหนดเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอน กล่าวคือ มีการเข้าเวลาและการสิ้นสุดของเวลาแต่ละการละหมาด ผู้ใดที่วาญิบต้องละหมาดฟัรฎูได้ปฏิบัติละหมาดในช่วงเวลาที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้ ถือว่า ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นและพ้นภาระกิจแล้ว เรียกการปฏิบัติละหมาดในเวลาที่กำหนดว่า อะดาอฺ 

ไม่ว่าจะปฏิบัติในช่วงต้นเวลา ช่วงกลางหรือช่วงท้ายเวลาที่กำหนดก็ตามและอนุญาตในการล่าช้าการละหมาดไปจนกระทั่งท้ายของเวลาละหมาดนั้นๆ เนื่องจากมีรายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) ว่าท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า :

مَنْ أَدْرَكَ مِنَ الصُّبْحِ رَكْعَةً قَبْلَ أَنْ تَطْلُعَ الشَّمْسُ فَقَدْ أَدْرَكَ الصُّبْحَ ، وَمَنْ أَدْرَكَ مِنَ الْعَصْرِ رَكْعَةً قَبْلَ أَنْ تَغْرُبَ الشَّمْسُ فَقَدْ أَدْرَكَ الْعَصْرَ

ความว่า “ผู้ใดทัน 1 รอกอะฮฺจากศุบฮฺ ก่อนที่ดวงตะวันวันจะขึ้น ผู้นั้นทันศุบฮิ , และผู้ใดทัน 1 รอกอะฮฺจากอัศริก่อนที่ดวงตะวันจะลับขอบฟ้า ผู้นั้นทันอัศริ" (บุคอรี-มุสลิม)

ละหมาดล่าช้า มีโทษหรือไม่?

และปรากฏในอีกริวายะฮฺหนึ่งว่า :

مَنْ أَدْرَكَ رَكْعَةً مِنَ الصلاة

فقدادرك الصلاةَ

ความว่า “ผู้ใดทัน 1 รอกอะฮฺจากการละหมาด แท้จริงผู้นั้นทันการละหมาดแล้ว" (บุคอรี-มุสลิม)

และบุคคลที่วาญิบละหมาดฟัรฎูนั้นศาสนาไม่ถือว่า ผู้นั้นมีอุปสรรคในการล่าช้าจากการละหมาด จนออกนอกเวลาของการละหมาดนั้นๆ ที่ถูกกำหนด ยกเว้น คนนอนหลับ , คนที่ลืม คนที่ถูกบังคับขืนใจ หรือคนที่ล่าช้าการละหมาดเพื่อละหมาดรวมด้วยอุปสรรคของการเดินทาง เป็นต้น กล่าวคือ ในกรณีของบุคคลดังกล่าวถือว่ามีอุปสรรค (มะอฺซู๊ร) และไม่มีบาปแต่อย่างใด

ส่วนบุคคลที่ล่าช้าในการปฏิบัติละหมาดฟัรฎูจนกระทั่งออกนอกเวลาที่กำหนดโดยไม่มีอุปสรรคข้างต้นถือว่า มีโทษและถือเป็นบาปใหญ่ (กะบีเราะฮฺ) ดังที่อิหม่ามอัซซะบีย์ (ร.ฮ.) ระบุเรื่องนี้เอาไว้ในตำรา อัล-กะบาอิร ของท่านว่า : บาปใหญ่ลำดับที่ 4 ในการทิ้งการละหมาด พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสว่า :

فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهم خَلْفٌ أضَاعُوا الصلاةَ...الآية

ความว่า “แล้วชนรุ่นหลังก็ได้สืบทอดต่อมาภายหลังจากพวกเขา พวกเขา (ชนรุ่นหลัง) ได้ทำให้การละหมาดสูญเสียไป...” (มัรยัม : 59)

อิบนุอับบาส (ร.ฎ.) กล่าวว่า : ความว่า "พวกเขาได้ทำให้การละหมาดสูญเสียไป" มิได้หมายความว่าพวกเขาละทิ้งการละหมาดทั้งหมด หากแต่ว่าพวกเขาล่าช้าการละหมาดจนออกจากเวลาของมัน

สะอีด อิบนุ อัล-มุซัยยับ อิหม่ามของชนรุ่นตาบิอีน กล่าวว่า : คือการที่เขาจะไม่ละหมาดซุฮฺรี่จนกว่าการละหมาดอัศริจะมาถึง และเขาจะไม่ละหมาดอัศริจนกว่าจะถึงเวลามัฆริบ ผู้ใดตายไปในสภาพที่เขายืนกรานต่อสภาพการณ์นี้โดยไม่มีการสำนึกผิด อัลลอฮฺทรงคาดโทษ "ฆ็อยฺย์" กับผู้นั้นแล้ว คือ หุบเหวหนึ่งในนรกญะฮันนัมที่ก้นเหวนั้นลึกมากและรสชาดของมันเลวยิ่งนัก (อัลกะบาอิร , อัซซะฮฺบีย์ หน้า 34)

ดังนั้น โทษที่ถือเป็นบาปใหญ่จึง หมายถึง ผู้ที่ล่าช้าในการปฏิบัติละหมาดจนออกจากเวลาที่ถูกกำหนด มิได้หมายถึงการละหมาดท้ายเวลา (คือยังอยู่ในเวลาที่กำหนดซึ่งเรียกว่า วาญิบ มุวัสสะอฺ) นักวิชาการในมัซฮับซาฟิอีย์ ได้ระบุช่วงเวลาของการละหมาดฟัรฎูเอาไว้ดังนี้ คือ

ละหมาดซุฮฺริ มี 3 ช่วง, ช่วงที่ 1 คือ ช่วงประเสริฐ อันได้แก่ ต้นเวลา , ช่วงเลือกกระทำ (อิคติย๊ารฺ) คือ ถัดจากช่วงต้นเวลาจนถึงท้ายเวลา และช่วงที่ 3 คือ ช่วงเวลาอุปสรรค คือ เวลาอัศริในสิทธิของบุคคลที่ละหมาดรวมเนื่องจากการเดินทาง (กิตาบอัล-มัจฺญ์มูอฺ เล่มที่ 3/27)

ละหมาดอัศริ มี 5 ช่วง คือ ช่วงประเสริฐ (วักตุ้ล-ฟะฎีละฮฺ) , ช่วงเลือกกระทำ (อิคติยารฺ) , ช่วงเวลาอนุญาตโดยไม่มักรูฮฺ (คือจนถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์เป็นสีส้มหรือเหลือง) , ช่วงเวลาอนุญาตพร้องกับมักรูฮฺ คือ ขณะที่ดวงอาทิตย์เป็นสีเหลือง-ส้มจนถึงดวงอาทิตย์ตก , ช่วงเวลาอุปสรรค คือเวลาซุฮฺริสำหรับผู้ละหมาดรวมเนื่องจากเดินทางไกล และอบูอีซา อัตติรมีซีย์ รายงานจากอิหม่าม อัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ว่ามักรูฮฺในการล่าช้าละหมาดอัศริ โดยอาศัยหลักฐานจากหะดีษของท่านอะนัส (ร.ฎ) จากท่านนบี ว่าเป็นการละหมาดของพวกมุนาฟิก (คือรอเวลาโดยยังไม่ละหมาดจนกระทั่งตะวันอยู่ระหว่าง 2 เขาของซัยฏอน แล้วลุกขึ้นละหมาดแบบไก่จิกข้าว) (อ้างแล้ว 3/32)

ละหมาดมัฆริบ ในทัศนะที่รู้กัน (มัชฮู๊ร) มีเวลาเดียว คือ ช่วงต้นเวลา และที่ถูกต้อง (ศ่อฮีฮฺ) มี 2 เวลา คือช่วงต้นเวลา และช่วงที่ 2 เรื่อยไปจนแสงแดงที่ขอบฟ้าลับหายไป (อ้างแล้ว 3/38)

ละหมาดอิซาอฺ มี 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลาประเสริฐ , ช่วงเวลาเลือกกระทำ , ช่วงเวลาอนุญาต (คือเรื่อยไปจนแสงอรุณจริงขึ้น) และช่วงอุปสรรค คือ เวลามัฆริบสำหรับผู้ที่ละหมาดรวม (อ้างแล้ว 3/43)  

ละหมาดศุบฮฺ มี 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงต้นเวลาเมื่อแสงอรุณจริงปรากฎ , ช่วงท้ายเวลาเลือกกระทำคือเมื่อเริ่มสว่าง , ช่วงเวลาอนุญาต เรื่อยไปจนดวงตะวันขึ้น (อ้างแล้ว 3/46)

 ที่มา: alisuasaming.org

อัพเดทล่าสุด