การทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์


14,804 ผู้ชม

การทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์ ฮูก่มการทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์ ที่เจ้าของหนี้สินต้องทวงกับลูกหนี้....


การทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์

ฮูก่มการทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์ ที่เจ้าของหนี้สินต้องทวงกับลูกหนี้

ดังที่มีเรื่องเล่าว่า..

ได้มีชาวอัลศอรท่านหนึ่งได้เสียชีวิตลง บรรดาญาติพี่น้องของผู้เสียชิวิตได้นำมัยยิดมาใว้ทีศอฟ เพือรอท่านนบีนำละหมาดให้ผู้เสียชีวิต เมื่อท่านร่อซู่ลได้มายังทีนำละหมาดแล้ว ท่านนบีได้ถามผู้มาละหมาดว่า ผู้ที่เสียชีวิตนี้ มีหนี้สินกับผู้ใดบ้าง ผู้ทีมาร่วมละหมาดต่างก็เงียบ

นบีได้ถามอีกครั้งว่า ผู้ทีเสียชีวิตนี้ได้มีหนี้สินกับผู้ใดบ้าง ผู้ร่วมละหมาดต่างก็เงียบอีกครั้ง

ท่านนบีได้ถามครั้งที่สามว่า ผู้ที่เสียชีวิตได้มีหนี้สินกับผู้ใดบ้าง นบีได้ถามครั้งที่สาม ก็ได้มีชายคนหนึ่ง บอกกับท่านนบีว่า ชายที่เสียชีวิตนี้ มีหนี้สินกับตัวฉัน

ท่านนบีได้ถามกับชายคนนั้นว่า "ท่านเคยทวงหนี้สินกับชายคนนี้หรือไม่ ชายผู้นั้นตอบว่า ฉันไม่เคยทวงหนี้กับเขา เพราะผู้เสียชีวิตเป็นคนเผ่าเดียวกับฉัน"

และนบีได้ถามผู้มาร่วมละหมาดทั้งหมดว่า จะมีใครรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตายไหม ผู้มาร่วมละหมาดทั้งหมดเงียบ...

นบีถามอีกครั้งว่า จะมีผู้รับผิดชอบหนี้สินให้แก่เขาไหม ทั้งหมดก็เงียบ...

นบีได้ถามครั้งทีสามว่า จะมีผู้รับผิดชอบหนี้สินให้ผู้ตายไหม ทุกคนก็ยังเงียบ

หลังจากถามแล้ว ไม่มีผู้รับผิดชอบหนี้สินให้ผู้ตาย...นบีได้เดินหันหลังออกจากที่นำละหมาดผู้เสียชิวิต

การทวงหนี้สิน ถือเป็นซุนนะห์

เมื่อนบีได้เดินออก ได้มีอับดุลเลาะห์มานบินเอาฟ์ ได้เดินตามนบี และบอกกับนบีว่า ฉันจะรับผิดชอบหนี้สินของมัสยิดนั้นให้... นบีก็ได้เดินไปนำละหมาดให้กับมัยยิดนั้น

- ผู้มีหนี้สินต้องชดใช้ก่อนทีจะเสียชิวิต หากเสียชีวิตก็ต้องให้วาเร็ตเป็นผู้รับผิดชอบ

-ทุกครั้งที่มีการเสียชีวิต ทางมัสยิดจะประกาศว่า หากผู้เสียชีวิตนีได้มีหนี้สินกับผู้ใด ให้มาแจ้งกับวาเร็ตภรรยาหรือลูกๆของผู้ตาย

-จำเป็นสำหรับผู้รับมรดกของผู้ตาย ต้องจ่ายหนี้สินก่อนทีจะมีการแบ่งมรดก

-อณุญาติให้ละหมาดย่อหรือรวมได้ สำหรับผู้ทีเดินทางเพื่อทวงหนี้สินที่เกิน 88.5 ก.ม.

-หากหนี้สินนั้นมีดอกเบี้ย ไม่อนุญาติให้ละหมาดย่อหรือร่วมได้

-ลูกหนี้ เมื่อมีทรัพย์สินแล้วควรรีบเร่งในการจ่ายให้แก่เจ้าหนี้

-ทรรศนะของมูฮำมัด อาลี อัลมาลิกี กล่าวว่า เจ้าหนี้สามารถยับยั้ง ผู้เป็นลูกหนี้ไม่ให้ไปทำฮัจย์ได้ หากเป็นเช่นนั่น ลูกหนี้จะต้องมอบหมายทายาทของเขาเสียก่อน

-ในวันพิพากษาวิญญาณของผูมีหนี้สิน จะถูกแขวนเอาไว้ จะไปสรววณ์ก็ไปไม่ได้ จะไปนรกก็ไปไม่ได้ จะเต็มไปด้วยความโกลาหลกะวนกะวายและทรมานสาหัส จนกว่าจะชดใช้ในหนี้สินนั้นหมดเสียก่อน

ซุนนะห์ที่ถือว่า เป็นความดีของเจ้าหนี้

1.ผ่อนปรนระยะเวลาการจ่ายหนี้สิน

2.ลดหย่อนหนี้สินให้แก่ลูกหนี้

3.ยกหนี้สินทั้งหมด ให้แก่ลูกหนี้

วัลเลาะห์อลัม...พระองค์ทรงรู้ดียิ่ง

 ที่มา: ปลายด้ามปากกา เด็กปอเนาะ

https://islamhouse.muslimthaipost.com/

อัพเดทล่าสุด