ละหมาดสําหรับคนเดินทาง เนียตว่าอย่างไร? มีเงือ่นอย่างไรบ้าง....
ละหมาดสําหรับคนเดินทาง เนียตว่าอย่างไร?
เงื่อนของการละหมาดสําหรับคนเดินทาง
1.ระยะทางที่สามารถละหมาดเดินทาง ละหมาดย่อรวมได้ คือ ประมาณไม่น้อยกว่า 90 กม. (บางอุลามาอ์ ยึดถือไม่น้อยกว่า 81 กม.)
2.ต้องเข้าใจนิยามของมุซาเฟร (ผู้เดินทาง) กับ มุเก็ม (ผู้พักแรม)ก่อน มุซาเฟร คือ ผู้เดินทางและไปพักแรมที่หมายไม่เกิน 3 วัน ถ้าเกิน 3 วัน เรียกว่าเป็น มุเก็ม
3.มุซาเฟร ละหมาดย่อรวมได้ ทั้งตอนเดินทาง และตอนถึงที่หมายแล้ว (พักแรมที่หมายไม่เกิน 3 วัน โดยไม่นับวันเดินทางไป วันกลับ) ส่วน มุเก็ม เมื่อเข้าเขตที่หมายแล้วจะหมดสภาพของผู้เดินทางและไม่สามารถละหมาดย่อรวมได้ ถ้าละหมาดย่อ-รวม ถือว่า ฮารอม
4.การนับวันพักแรม จะไม่นับวันเดินทางไปและวันกลับ ให้นับเฉพาะวันที่เหลือจากนั้น ถ้านับได้ 3 วันถือว่ายังเป็น มุซาเฟร แต่ถ้านับได้ 4 วันหรือมากกว่านั้นถือว่าเป็น #มุเก็ม
ส่วนการไปพักที่หมายมากกว่า 3 วันแล้วสามารถละหมาดย่อรวมได้ใน 3 วันแรกและวันที่ 4 ละหมาดปกตินั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่ถูกต้องคือ เมื่อเข้าเขตที่หมายแล้วก็จะหมดสภาพผู้เดินทางและต้องละหมาดปกติ
5.อีกกรณีที่สามารถละหมาดย่อรวมได้ 18 วันคือ มุซาเฟรที่ยังไม่รู้ล่วงหน้าว่ากำหนดวันกลับแน่นอนวันไหน (ธุระที่ไม่รู้กำหนดเสร็จสิ้นชัดเจน) ก็สามารถละหมาดย่อรวมได้จนถึง 18 วันพักแรม พอถึงวันที่ 19 ก็หมดสภาพของมุซาเฟรแล้วให้ละหมาดปกติ
- ละหมาดล่วงหน้า ก่อนไปทำงานได้หรือไม่? แนะนำหน่อย
- ทำไมศาสนาอนุญาตให้ ละหมาดย่อ ได้แค่ 4 วัน
- การละหมาดของคนเดินทาง
วิธีการละหมาดย่อรวม
การละหมาดของผู้ที่เดินทางไกลนั้นมีบทบัญญัติให้ได้รับการผ่อนผันโดยลดจำนวนร่อกะอัต ของการละหมาดฟัรดูประจำวันชนิดที่มี 4 ร่อกะอัตลดลงเหลือ 2 ร่อกะอัต เราเรียกการละหมาดชนิดนี้ว่า “ ละหมาดย่อ (ก้อซ้อร) ส่วนละหมาดชนิดที่มีเพียง 3 หรือ 2 ร่อกะอัต จะละหมาดย่อ ไม่ได้ (คือละหมาดซุบฮิ และละหมาดมัฆริบ)
ผู้เดินทางไกลนอกจากได้รับการลดจำนวนรอกะอัตในละหมาดแล้ว ยังได้รับการผ่อนผันให้รวมละหมาดฟัรดู 2 เวลาที่ใกล้เคียงกันเอาไว้ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย เราเรียกว่า การละหมาดญะมาอะห์ (ละหมาดรวม)
1. การละหมาดย่อ (ก้อซ้อร)
ผู้เดินทางที่จะละหมาดย่อได้นั้น จะต้องมีเงื่อนไขหลายประการดังนี้
1.1 การเดินทางไกลนี้ จะต้องเป็นการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์ไม่ผิดศาสนบัญญัติ เช่น ไม่ใช่เดินทางเพื่อไปลักทรัพย์ของผู้อื่นฯลฯ
1.2 ต้องเป็นการเดินทางไกล บางท่านว่าต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 80 หรือ 90 กิโลเมตร
1.3 การเนียตละหมาดย่อ ให้เนียตในขณะกล่าวตักบีร เริ่มละหมาด
1.4 ห้ามละหมาดก้อซ้อร์โดยเป็นมะมูมของอีมามที่ไม่ได้ละหมาดย่อ
การทำละหมาดย่อ ควรทำพร้อมกันไปกับการทำละหมาดรวมด้วย
2. การละหมาดรวม (ละหมาดญะเมาะอฺ)
การละหมาดรวม ซึ่งคนเดินทางไกลได้รับการผ่อนผันให้รวมเอาการละหมาดฟัรดู 2 เวลาเข้าด้วยกันนั้น อนุญาตให้รวมได้ 2 ชนิดคือ
รวมในเวลาแรก เรียกว่า ญะเมาะอ์ ตักดีม
รวมในเวลาหลัง เรียกว่า ญะเมาะอ์ ตะอ์คีร
แต่มีเงื่อนไขว่า ละหมาดที่จะรวมกันได้นั้น คือละหมาดดุฮ์รีร่วมกับอัสริ และมัฆริบรวมกับอีซาเท่านั้น จะรวมกันโดยวิธีอื่นไม่ได้
2.1 ญะเมาะฮ์ตักดีม (การรวมในเวลาแรก)
มีเงื่อนไขดังนี้
2.1.1 ต้องเนียตว่าเอาละหมาดอัสริมารวมกับดุฮริ หรือเอาอิซามารวมกับมักริบ
2.1.2 ต้องละหมาดดุฮ์ริก่อนอัสริในเวลาดุฮ์ริ หรือละหมาดมักริบก่อนอิซาในเวลามักริบ
2.1.3 การต้องละหมาดที่รวมกันระหว่างละหมาดแรกกับละหมาดหลัง อย่าให้ทิ้งห่างกันนานนัก
2.1.4 กาเดินทางไกลต้องยังไม่ถึงจุดหมายก่อนที่จะตักบีร ละหมาดหลัง
ตัวอย่าง: วิธีละหมาดย่อ (ก้อซ้อร) และละหมาดรวมในเวลาหลัง (ญะเมาะอ์ตะคีร) โดย ดุฮ์รีรวมกับอัสริ
เมื่อถึงเวลาอัสริ ให้ละหมาดอัสริ 2 ร่อกะอัต โดยเนียตว่า :
อ่านว่า " อุซ้อลลี ฟัรด็อลอัสริ ร๊อกอะตัยนี่ ก็อซรอน มัจญ์ มูอันอิลัยฮีซดุฮ์รู่ อะดาอัน ลิ้ลลาฮี่ตะอาลา "
นึกในใจว่า: "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูอัสริ 2 ร่อกะอัต โดยก้อซ้อรรวมกับดุฮ์ริ ในเวลา เพื่ออัลเลาะห์ตะอาลา"
เมื่อละหมาดเสร็จและให้สลามแล้ว จึงควรลุกขึ้นละหมาดดุฮ์ริต่อไป โดยเนียตว่า :
" อุซ้อลลีฟัรด๊อลดุฮ์ริ ร๊อกอะตัยนี่ ก๊อซรอน มัจญ์ มูอันอิลั้ลอัสรี่ อะดาอัน ลิ้ลลาฮี่ตะอาลา "
นึกในใจว่า: "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูดุฮ์ริ 2 ร่อกะอัตโดยก้อซ้อรมารวมกับอัสริ ในเวลาเพื่ออัลเลาะห์ตะอาลา"
หรือ จะสลับกันก็ได้ โดยเมื่อถึงเวลาละหมาดอัสริ จะละหมาดดุฮ์ริก่อนแล้วละหมาดอัสริทีหลัง ส่วนการละหมาดมักริบมารวมกับอิซาในเวลาอิซานั้นก็ใช้วิธีเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อละหมาดและจำนวนร่อกะอัตของละหมาดมักริบเท่านั้น
- การละหมาดสุนัต วิธีการละหมาดสุนัต การละหมาดวันศุกร์ การละหมาดย่อ
- วัตถุประสงค์ของการละหมาด ผลบุญของการละหมาด การละหมาดในศาสนาอิสลาม
- ฮุก่มการนิกะห์โดยการพาเจ้าสาวหนี
- หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร จำเป็นต้องถือศีลอดหรือไม่?
- ห้องละหมาด มาบุญครองเซ็นเตอร์ MBK
- ห้องละหมาด ไอคอนสยาม ICONSIAM
- เวลาละหมาด 5 เวลา เหตุผลของการกำหนดเวลาละหมาด
- วิธีละหมาดฮายัตภาษาไทย ละหมาดขอความช่วยเหลือ ที่ถูกต้องทำอย่างไร
ที่มา: Ustaz Azhar Idrus , การีม อับดุลเลาะฮ์ คู่มือมุสลิมเบื้องต้น
เรียเรียงโดย: มุสลิมไทยโพสต์ , https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/22469