เนื่องจากหญิงที่ทำละหมาด ในขณะที่เธอซุญูดและรู่กัวะนั้น จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่มดลูก ยิ่งไปกว่านั้นเซลล์ในมดลูกและรังไข่มีความคล้ายคลึงกับเซลล์ตับซึ่งมันจะดึงเลือดเป็นจำนวนมาก....
ตั้งครรภ์ 40 วัน สุดยอด การละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์
การศึกทางการแพทย์ยืนยันว่า การเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ หรือการออกกำลังกาย เช่น การละหมาดนั้น จะมีประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก
เนื่องจากหญิงที่ทำละหมาด ในขณะที่เธอซุญูดและรู่กัวะนั้น จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่มดลูก ยิ่งไปกว่านั้นเซลล์ในมดลูกและรังไข่มีความคล้ายคลึงกับเซลล์ตับซึ่งมันจะดึงเลือดเป็นจำนวนมาก และไม่ต้องสงสัยเลยว่า มดลูกของหญิงตั้งครรภ์นั้น ต้องการเลือดเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นอาหารให้กับทารก และเพื่อขจัดสิ่งปฏิกูลจากเลือดออกไป และในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ละหมาด แน่นอนการละหมาดจะช่วยเธอในการทำให้เลือดนั้นถึงยังทารกเป็นจำนวนมาก
- ริสกีของคนท้อง อ่านซูเราะห์อะไรขณะตั้งครรภ์
- ซุนนะห์คลอดบุตร ดุอาอฺขณะคลอด ดุอาอฺให้คลอดเร็วๆ
- 8 ริสกีของหญิงตั้งครรภ์ ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้สุดซาบซึ้ง!!
- ข้อห้ามขณะภรรยาตั้งครรภ์ในอิสลาม
แท้จริงแล้วการละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ แต่เป็นอันตรายต่อผู้มีประจำเดือน
หญิงที่มีประจำเดือน เมื่อเธอละหมาด แน่นอนการละหมาดนั้นเป็นสาเหตุในการผลักดันเลือดไปยังมดลูกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การขาดเลือดและตกเลือดในขณะมีประจำเดือนได้
ปริมาณเลือดและของเหลวที่ออกไปจากร่างกายของหญิงมีประจำเดือนนั้นถูกกำหนดไว้เพียง 30 มิลลิลิตรจากเลือดหรือของเหลวในร่างกายต่อวันเท่านั้น หากว่า หญิงมีประจำเดือนทำละหมาด แน่นอนการละหมาดอาจเป็นสาเหตุทำลาย หน่วยภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ เพราะเม็ดเลือดขาวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ป้องกัน จะขาดหายไปพร้อมกับเลือดประจำเดือนที่ถูกขับออกไปจากร่างกาย และการหมดไปของเลือด โดยลักษณะทั่วไปแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงจากการโจมตีของโรคติดต่อได้ ส่วนหญิงที่อัลลอฮ์ทรงปกป้องนางจากโรคต่างๆ นั้น ก็ด้วยกับความเข้มข้นของเม็ดเลือดขาวในมดลูก ในช่วงมีประจำเดือนของทุกเดือน เพื่อที่เม็ดเลือดขาวจะได้เป็นภูมิคุ้มกันและป้องกันจากโรคต่างๆ
เมื่อสตรีทำละหมาดในขณะมีประจำเดือนนั้น เธอจะขาดเลือดเป็นจำนวนมาก ไปพร้อมกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อวัยวะทั้งหมดในร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และสมอง
และนี่คือวิทยปัญญาในการห้ามหญิงมีประจำเดือนละหมาด จนกว่านางจะพบความสะอาด อย่างที่อัลกุรอานได้บอกให้แก่เราได้รู้ถึงอันตราย จากดังกล่าวว่า :
ความว่า: “และพวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับประจำเดือน จงกล่าวเถิดว่า มันเป็นสิ่งที่ให้โทษ ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลหญิง ขณะมีประจำเดือน และจงอย่าเข้าใกล้นาง จนกว่านางจะสะอาด ครั้นเมื่อนางได้ชำระร่างกายสะอาดแล้ว ก็จงมาหานางตามที่อัลลอฮ์ทรงใช้พวกท่าน แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด” (ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮ : 222)
ยิ่งไปกว่านั้น การเคลื่อนไหวมากๆ โดยเฉพาะท่าก้มซุญูดและรู่กัวะนั้น จะเพิ่มการไหลของเลือดมายังมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ขาดเลือดได้ง่ายมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการขาดแร่ธาตุในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นแพทย์จึงเตือนสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ให้พักผ่อนและรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายๆ เพื่อมิให้ร่างกายขาดเลือดและแร่ธาตุสำคัญ และจากจุดนี้ ก็ได้ประจักษ์ชัด ถึงวิทยปัญญาในการห้ามถือศีลอดของหญิงที่มีประจำเดือนเช่นกัน
จากสาเหตุดังกล่าวอัลลอฮ์ (ตาอาลา) จึงได้สั่งใช้ให้ชำระล้างร่างกาย (อาบน้ำวายิบ) หลังจากหมดประจำเดือนทุกครั้ง เพื่อจะได้มีเพศสัมพันธ์ในครั้งต่อไปอย่างปลอดภัย
การตั้งครรภ์ 40 วัน ขั้นของพัฒนาการ
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จะเริ่มตั้งแต่ไข่ผสมกับตัวอสุจิจนถึงทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดา ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1
อัลลอฮฺได้ตรัสในสูเราะห์ อัล-มุมินูน อายัตที่ 12 – 14 ว่า...
وَلَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ مِن سُلَالَةٍ مِّن طِينٍ * ثُمَّ جَعَلْنَاهُ نُطْفَةً فِي قَرَارٍ مَّكِينٍ * ثُمَّ خَلَقْنَا النُّطْفَةَ عَلَقَةً فَخَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَاماً فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْماً ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقاً آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
ความว่า : และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุแท้ของดิน หลังจากนั้นเราทำให้เขาเป็นหยดน้ำอยู่ในที่พักอันมั่นคง หลังจากนั้นเราได้ทำให้เชื้ออสุจิกลายเป็นก้อนเลือดแล้วเราได้ทำให้ก้อนเลือดกลายเป็นก้อนเนื้อแล้วเราได้ทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ หลังจากนั้นเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้นอัลลอฮฺทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง
เป็นระยะของการเจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิไปจนถึงสิ้นสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งระยะนี้ยังไม่มีลักษณะเป็นรูปคนให้เห็นเลย เพราะยังมีขนาดเล็กมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 0.1 เซนติเมตรเท่านั้น จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมแข็งคล้ายผลน้อยหน่า เรียกว่า “Morula”
อิบนุอับบาสได้ให้ความหมายของคำ من نطفة أمشاج ว่า น้ำของฝ่ายชายและน้ำของฝ่ายหญิงเมื่อพบกันและผสมกัน จากนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปอีกขั้นหนึ่ง จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง และจากสี่หนึ่งไปสู่อีกสีหนึ่ง[1]
จากความหมายในอายัตข้างต้นและอายัตอื่นๆที่กล่าวถึงกำเนิดมนุษย์ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า อัลลอฮฺได้ให้ความกระจ่างแก่มนุษย์ทุกคนให้รับรู้อย่างชัดเจนว่า หลังจากที่อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากดิน คือ อาดัม แล้วอัลลอฮฺได้บังเกิดมนุษย์คนอื่นๆ มาจากมนุษย์ด้วยกัน โดยผ่านหยดน้ำที่ผสมระหว่างเซลล์อสุจิกับเซลล์ไข่เป็นไซโกต และไปฝั่งอย่างมั่นคงเหมือนต้นไม้ที่วางรากลึกลงในผนังมดลูกของฝ่ายหญิง จากนั้นไซโกตก็จะพัฒนาเป็นขั้นๆ จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ลักษณะหนึ่งสู่อีกลักษณะหนึ่ง และในอายัตนี้พอที่จะสรุปขั้นตอนพัฒนาของทารกได้ดังนี้
1. เริ่มแรกอัลลอฮฺสร้างมนุษย์มาจากดิน(طين)
2. จากดินก็เป็นหยดน้ำ(نطفة)
3. จากหยดน้ำก็เป็นก้อนเลือดที่แขวน(علقة)
4. จากก้อนเลือดก็เป็นก้อนเนื้อ(مضغة)
5. จากก้อนเนื้อก็เป็นกระดูก (عظام)
6. จากกระดูกก็เป็นกระดูกที่ห่อหุ้มด้วยเนื้อ
7. แล้วกลายเป็นมนุษย์อีกชีวิตหนึ่ง
รายงานจากอิบนุมัสอูด ว่า ท่านนบี (ศอลฯ) ได้กล่าวว่า...
إِنَّ أَحَدَكُمْ يُجْمَعُ فِي بَطْنِ أُمِّهِ أَرْبَعِينَ يَوْمًا ثُمَّ عَلَقَةً مِثْلَ ذَلِكَ ثُمَّ يَكُونُ مُضْغَةً مِثْلَ ذَلِكَ
ความว่า : แท้จริงการบังเกิดพวกเจ้ามาคนหนึ่งหลังจากมีการปฏิสนธิแล้วใช้เป็นแล้วสี่สิบวัน จากนั้นก็เป็นก้อนเลือดก็เช่นเดียวกัน (40 วัน) จากนั้นก็เป็นก้อนเนื้อเช่นเดียวกัน. (บันทึกโดย อัลบุคอรีและมุสลิม)จากหะดีษนี้ทำให้ทราบว่าในแต่ละขั้นตั้งแต่ขั้นอสุจิถึงขั้นก้อนเนื้อจะมีช่วงเวลา 40 วันขั้นที่ 1 และ 2 คือขั้นอัลลอฮฺสร้างมนุษย์จากดินหรือทราย และขั้นอสุจิหรือหยดน้ำที่ถูกผสม (أمشاج)
ขั้นก้อนเลือด (علقة)
علقة (อะละกอฮฺ) ในภาษาอาหรับมีความหมายหลายอย่างดังนี้
1. หมายถึงปลิงที่อยู่ในน้ำ ดูดเลือดคนหรือสัตว์เป็นอาหาร
2. สิ่งที่แขวนกับอีกสิ่งหนึ่ง
3. ก้อนเลือด
ทั้งสามความหมายนี้แม้จะเป็นความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในเรื่องของลักษณะของทารกในระยะนี้แล้ว คือ ความหมายเดียวกัน
อัลกุรอานได้กล่าวถึงอะละกอฮฺ علقة (ก้อนเลือด) หลายแห่งด้วยกัน เช่นในสูเราะห์ อัล-กิยามะห์ อายัตที่ 37-39
أَلَمْ يَكُ نُطْفَةً مِّن مَّنِيٍّ يُمْنَى * ثُمَّ كَانَ عَلَقَةً فَخَلَقَ فَسَوَّى * فَجَعَلَ مِنْهُ الزَّوْجَيْنِ الذَّكَرَ وَالْأُنثَى * أَلَيْسَ ذَلِكَ بِقَادِرٍ عَلَى أَن يُحْيِيَ الْمَوْتَى
ความว่า : เขามิได้เป็นน้ำกามหยดหนึ่งจากน้ำที่ถูกพุ่งออกมากระนั้นหรือ? แล้วเขาได้เป็นก้อนเลือดก้อนหนึ่งแล้วพระองค์ทรงบังเกิดแล้วก็ทรงทำให้ได้สัดส่วนสมบูรณ์ แล้วพระองค์ทรงทำให้เขาเป็นคู่ เป็นเพศชายและเพศหญิง
และอัลลอฮฺได้ให้เป็นชื่อสูเราะห์ คือ สูเราะห์ อัล-อะลัก อายัตที่ 1-2
اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ * خَلَقَ الْإِنسَانَ مِنْ عَلَقٍ
ความว่า : จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด
ในทางวิทยาศาสตร์ตัวอ่อนในช่วงนี้ จะมีลักษณะเหมือนปลิงที่อยู่ในน้ำ เกาะติดที่ผนังมดลูก ภายในเต็มไปด้วยเส้นเลือดฝอยทีมีลักษณะคล้ายรากไม้โยงใยไปทั้งร่างและเลือดจะนิ่งอยู่ในเส้นเลือดไม่หมุนเวียน ทำให้มองเห็นเหมือนก้อนเลือดที่แข็ง
ลักษณะของตัวอ่อนมนุษย์(Embryo)เกาะติดที่ผนังมดลูกในขั้น علقة (ก้อนเลือด)
ลักษณะเส้นเลือดฝอยที่โยงใยคล้ายรากไม้ในตัวอ่อน
ระยะที่ 2 ขั้นก้อนเนื้อ (مضغة)
เป็นระยะของการเจริญเติบโตตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ไปจนถึงสิ้นเดือนที่ 2 ระยะนี้กลุ่มเซลล์จะแบ่งตัวและแยกเซลล์ออกเป็นชั้น ๆ ทำให้เกิดส่วนต่างๆ ของร่างกาย อัล-กุรอานกล่าวว่า
خَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً
ความว่า : แล้วเราได้ทำให้ก้อนเลือดกลายเป็นก้อนเนื้อ
مصغة (มุฎเฆาะฮฺ) ในภาษาอาหรับหมายถึงสิ่งที่ถูกกัดด้วยฟัน ซึ่งตรงกับลักษณะของตัวอ่อนในมดลูกในช่วงเวลาต่อจากช่วงละเกาะห์ จะมีลักษณะเป็นปล้องๆทรงลูกบาศก์ทีเรียกว่า somite ดูคล้ายกับร่องรอยของฟันบนวัตถุที่ถูกกัด
ลักษณะของตัวอ่อน (Embryo) ในช่วง مضغة
ในช่วงนี้จำนวนเซลล์จะเพิ่มมากขึ้นจนดูเสมือนเป็นก้อนเนื้อ ในช่วงแรกของขั้นนี้จะยังไม่ปรากฏลักษณะของอวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างชัดเจน จนกระทั่งในช่วงปลาย (ประมาณสัปดาห์ที่ 6) อวัยวะต่างๆของร่างจะเริ่มมีการพัฒนาและปรากฏขึ้น ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น ดังนี้
1. ชั้นนอกสุด ส่วนต่าง ๆ ในชั้นนี้จะเจริญมาเป็นหนังกำพร้า ผม เล็บ บางส่วนของฟัน ต่อมของผิวหนังและเซลล์ของระบบประสาท
2. ชั้นกลาง ส่วนต่าง ๆ ในชั้นนี้จะเจริญมาเป็นหนังแท้ กล้ามเนื้ออวัยวะของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบโครงกระดูก ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์
3. ชั้นในสุด ในชั้นนี้จะเจริญมาเป็นส่วนภายในของอวัยวะ ระบบทางเดินอาหารทั้งหมด หลอดลมใหญ่และเล็ก ปอด ตับ ตับอ่อน ช่องระหว่างหูกับจมูก ต่อมน้ำลาย ต่อมไทรอยด์ และต่อมไทมัส
ในปลายเดือนที่ 2 นี้ จะมีรูปร่างจนมองดูเหมือนมนุษย์อย่างชัดเจน จะมีการเจริญเติบโตของศีรษะมากที่สุด มีลูกตา หนังตา หู ปาก มีคางเล็กน้อย มีจมูก หน้าผากโหนก แขนและขาเล็ก ลำตัวไม่ยาว พุงพลุ้ย มีน้ำหนักประมาณ 2 กรัม ความยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว
ระยะที่ 3 สร้างกระดูก
فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَاماً
ความว่า : แล้วเราได้ทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก
ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 โครงสร้างของกระดูกจะปรากฏ และอวัยวะต่างๆ จะเริ่มพัฒนาขึ้น ท่านนบี (ศอลฯ)
ได้กล่าว ว่า..
إِذَا مَرَّ بِالنُّطْفَةِ ثِنْتَانِ وَأَرْبَعُونَ لَيْلَةً بَعَثَ اللهُ إِلَيْهَا مَلَكًا فَصَوَّرَهَا وَخَلَقَ سَمْعَ هَا وَبَصَرَهَا وَجِلْدَهَا وَلَحْمَهَا وَعِظَامَهَا ثُمَّ قَالَ يَا رَبِّ أَذَكَرٌ أَمْ أُنْثَى فَيَقْضِي رَبُّكَ مَا شَاءَ
ความว่า : เมื่อหยดน้ำ(ไซโกต)ผ่านไป 42 วัน อัลลอฮฺส่งมะลาอิกะฮฺ เพื่อสร้างรูปร่าง การได้ยิน การได้เห็น ผิวหนัง เนื้อ และกระดูก หลังจากนั้นก็กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาล..จะให้เป็นหญิงหรือชาย แล้วอัลลอฮฺได้ทำให้บังเกิดตามที่พระองค์ต้องการ (บันทึกโดยมุสลิม)
แสดงอวัยวะต่างๆของตัวอ่อนในครรภ์มารดาช่วงอายุ 42 และ 44 วัน
เนื้อหุ้มกระดูก
فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْماً
ความว่า : แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ
ในช่วงนี้อวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู แขน ขา เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อและโครงกระดูกมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และระบบประสาทสามารถตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
ชีวิตใหม่
ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقاً آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
ความว่า : หลังจากนั้นเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง
เป็นช่วงที่เปลี่ยนสภาพจากตัวอ่อน (Embryo) เป็นทารก (Fetus) นิ้วมือและนิ้วเท้าพร้อมเล็บเริ่มปรากฎชัด เส้นผมเริ่มงอก และทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว เข้าสู่เดือนที่สี่ อัลลอฮฺได้เป่าวิญญาณเข้าไป จากนั้นก็จะมีการพัฒนาในทุกด้านอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งครบกำหนด (ประมาณ 9 เดือน) ก็จะคลอดออกมาจากท้องมารดา
فَإِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن تُرَابٍ ثُمَّ مِن نُّطْفَةٍ ثُمَّ مِنْ عَلَقَةٍ ثُمَّ مِن مُّضْغَةٍ مُّخَلَّقَةٍ وَغَيْرِ مُخَلَّقَةٍ لِّنُبَيِّنَ لَكُمْ وَنُقِرُّ فِي الْأَرْحَامِ مَا نَشَاء إِلَى أَجَلٍ مُّسَمًّى ثُمَّ نُخْرِجُكُمْ طِفْلاً ثُمَّ لِتَبْلُغُوا أَشُدَّكُمْ وَمِنكُم مَّن يُتَوَفَّى وَمِنكُم مَّن يُرَدُّ إِلَى أَرْذَلِ الْعُمُرِ لِكَيْلَا يَعْلَمَ مِن بَعْدِ عِلْمٍ شَيْئاً
ความว่า : แท้จริงเราได้บังเกิดพวกเจ้าจากดิน แล้วจากเชื้ออสุจิ แล้วจากก้อนเนื้อ ทั้งที่เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ และไม่เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ เพื่อเราจะได้ชี้แจงเคล็ดลับแห่งเดชานุภาพ แก่พวกเจ้า และเราให้การตั้งครรภ์เป็นที่แน่นอนอยู่ในมดลูกตามที่ประสงค์ จนถึงเวลาที่กำหนดไว้แล้วเราให้พวกเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก แล้วเพื่อพวกเจ้าจะได้บรรลุสู่วัยฉกรรจ์ของพวกเจ้า และในหมู่พวกเจ้ามีผู้เสียชีวิตในวัยหนุ่ม และในหมู่พวกเจ้ามีผู้ถูกนำกลับสู่วัยต่ำต้อย วัยชรา เพื่อเขาจะไม่รู้อะไรเลยหลังจากมีความรู้ (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-ฮัจญ์ 22/5)
เป็นระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่เดือนที่ 3 ไปจนถึงเดือนที่ 10 มีลักษณะการเจริญเติบโตดังนี้
1. เดือนที่ 3 จะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์มากขึ้น กระดูกเริ่มแข็งแรง อวัยวะเพศจะมองเห็นชัดเจนขึ้น เริ่มมีสมอง หัวใจ และลำไส้
2. เดือนที่ 4 อวัยวะเพศเจริญเติบโตขึ้นจนบอกเพศได้ชัด ลำไส้จะมีขี้เทา กล้าเนื้อต่าง ๆ กำลังเจริญเติบโต ผิวหนังแดงใส เส้นโลหิตใต้ผิวหนังมองเห็นได้ชัด ขนอ่อนจะมีขึ้นอยู่ทั่วไปแม่จะรู้สึกว่าเด็กดิ้น จะมีสมอง ตับ กระเพาะปัสสาวะ ปอด กระเพาะอาหาร และทวารหนัก
3. เดือนที่ 5 ผิวหนังจะมีสีแดงขุ่น ๆ มีไขมันเกาะใต้ผิวหนัง มีผมและขนอ่อนเกิดขึ้น ตาปิดสนิท นิ้วมือนิ้วเท้าแยกเห็นได้ชัด หัวใจจะเริ่มเต้นจนฟังได้ชัด
4. เดือนที่ 6 รูปร่างได้สัดส่วน ผิดหนังย่นบางใส มีไขมันเกาะใต้ผิวหนังมากขึ้น ขนตาและขนคิ้วเริ่มเกิดขึ้นแล้ว
5. เดือนที่ 7 ผิวหนังจะเริ่มเป็นสีแดง ลืมตาได้ ลูกอัณฑะจะเริ่มลงในถุงอัณฑะ
6. เดือนที่ 8 ผิวหนังสีแดงเรื่อ รอยย่นต่าง ๆ หายไป มีไขมันเกาะใต้ผิวหนังมากขึ้น มีขนอ่อนทั่วไป ลูกอัณฑะจะลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อย
7. เดือนที่ 9 ขนอ่อนหายไปเกือบหมด ผิวหนังจะมีสีซีดกว่าธรรมดา ร่างกายอ้วนขึ้น เล็บมือเล็บเท้าจะยื่นออกมาที่ปลายนิ้ว ศูนย์กลางการไหลเวียนโลหิตจะดีขึ้น มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งอวัยวะระบบประมาทเจริญมากขึ้น
8. เดือนที่ 10 ทารกครบกำหนด ผิวหนังสีแดงเรื่อ ๆ จะมีไขมันติดอยู่ หน้าอกจะยื่นออก มีจมูกโด่งเนื่องจากภายในจมูกมีกระดูกอ่อน กะโหลกศีรษะแข็ง
ระยะที่ 4
เมื่อทารกครบกำหนด 10 เดือน หรือประมาณ 280-300 วัน ทารกก็จะคลอดออกมาสู่โลกภายนอก เมื่อทารกพบกับสภาพแวดล้อมใหม่ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนก็จะตกใจจึงมักแสดงออกมาด้วยการดิ้นและร้อง พร้อมกันนั้นก็ขับปัสสาวะ และอุจจาระเป็นสีเทา ซึ่งได้สะสมไว้ตั้งแต่เดือนที่ 4 ออกมาทำให้น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 150-300 กรัม ในระยะ 1-3 วันแรก
- 5 ข้อห้ามสำหรับหญิงมุสลิมที่มีประจำเดือน
- การอาบน้ำวายิบที่ไม่ถูกตอบรับ
- มีอารมณ์ทางเพศถึงขั้นมีน้ำหล่อลื่น ต้องยกหะดัษหรือไม่ อย่างไร?
- หญิงมีประจำเดือน ตัดเล็บ ผมหลุดร่วง ต้องยกฮะดัษหรือไม่?
- การอาบน้ำยกฮาดัสใหญ่ ประจําเดือน หลังคลอดบุตร หลังมีเพสสัมพันธ์ ผู้หญิง
- มีลมออกจากช่องคลอด เสียน้ำละหมาดไหม?
- มารยาทในการหลับนอน ระหว่าง สามีภรรยาในอิสลาม (ละเอียด)
- ข้อพึงระวังสําหรับมุสลิมะฮฺในวันอีด
- 9 วิธีง่ายๆ ดูแลตัวเองให้สวยใส แบบฉบับอิสลาม
- รู้หรือไม่? 5 ส่วนในร่างกาย ที่ชัยฏอนชอบอาศัยมากที่สุด