การหย่าครั้งแรกได้เกิดขึ้นผ่านจดหมายทางอีเมลล์ โดยที่ได้ส่งอีเมลล์นี้ไปให้ภรรยา ให้บิดา และให้ลุง การหย่ารูปแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ?...
การหย่าในอิสลาม ส่งอีเมลล์หย่า ใช้ได้หรือไม่?
- ผลเสียของการหย่าร้างในอิสลาม
- การกล่าวคำหย่าร้างในอิสลาม
- หากถูกพ่อแม่ของสามี แกล้งให้หย่า ควรทำอย่างไร?
- สามีระวังคำพูด! ฉันหย่าเธอ แม้พูดเล่นก็เป็นจริงได้
การหย่าครั้งแรกได้เกิดขึ้นผ่านจดหมายทางอีเมลล์ โดยที่ได้ส่งอีเมลล์นี้ไปให้ภรรยา ให้บิดา และให้ลุง การหย่ารูปแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ? หรือจำเป็นต้องมีเอกสารพร้อมลายมือชื่อ ? และเป็นไปได้ไหม ที่จะเกิดการหย่าร้างอีกสองครั้งอื่นในการหย่านี้ ?
คำตอบ : เป็นที่ทราบกันดี ในบทบัญญัติที่ว่าด้วยกับการหย่าสามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการพูดการเขียน หรือการแสดงสัญลักษณ์แทนการกล่าว ให้ไปดูคำตอบเพิ่มเติม หมายเลข 20660 นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา และระหว่างพระเจ้าของเขา ในลักษณะที่ไม่มีใครร่วมรับฟังอยู่ด้วย
การหย่าผ่านอีเมลล์ ไม่ได้เป็นปัญหาที่จะนำไปสู่การหย่าที่เป็นผล เพราะว่าสามีคือ คนที่เขียนข้อความให้ภรรยา ก็ถือว่าการหย่าเป็นผลด้วยกับการเขียน แต่ปัญหาประเด็นนี้ จะต้องยืนยันว่าการหย่านี้มั่นใจและเชื่อถือได้และมีความชัดเจน ว่ามันเป็นการหย่าจากสามีจริงๆ ที่หย่าผ่านทางอีเมลล์ หรือผู้ที่เขียนข้อความหย่านั้น คือบุคคลที่สามีได้มอบหมายให้เขียน และสามียอมรับว่าเป็นผู้เขียนหรือมอบหมายโดยไม่มีการปฏิเสธในเรื่องดังกล่าว
หากไม่ได้รับการยืนยัน และสามีไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่เขียนคำหย่า หรือมอบหมายให้ใครเขียนจดหมายหย่านั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับ การหย่าจึงไม่มีผลในลักษณะนี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีสำหรับผู้ที่ใช้อีเมลล์ อีเมลล์นั้นสามารถถูกเจาะระบบ และถูกขโมยได้ และสามารถส่งจดหมายไปได้(โดยบุคคลอื่น) ดังนั้นต้องแน่ใจว่าผู้ที่ส่งจดหมาย คือสามีจริง เพราะบางครั้งอาจจะไม่ใช่เขา ดังนั้นจำเป็นจะต้องได้รับการยืนยันว่ามาจากผู้เป็นสามี และผู้หญิงที่ถูกหย่าในลักษณะที่ไม่แน่ใจว่าจดหมายมาจากสามี นางไม่จำเป็นต้องรออิดดะหฺ นอกจากได้รับการยืนยันจากสามี หากสามียอมรับ การรออิดดะห์ให้เริ่มนับตั้งแต่เวลาที่สามีกล่าวคำหย่า และเขียนคำหย่า
ประการที่สอง และการหย่าด้วยการเขียนครั้งนี้ ไม่ส่งผลให้เกิดการหย่าสองครั้งที่เหลือ เพราะว่าการหย่านั้นเกิดขึ้นที่ละครั้ง โดยที่อัลลอฮฺได้กล่าวว่า
، وقد قال تعالى : ( الطَّلاقُ مَرَّتَانِ )
“ การหย่านั้น สองครั้ง “
หมายถึง การหย่าที่สามารถคืนดีได้ อัลลอฮฺไม่ได้กล่าวว่า หย่าทีละสองครั้ง เป็นการชี้ให้เห็นว่า การหย่านั้นเกิดขึ้นทีละครั้ง แต่ละครั้งก็ต้องมีการรออิดดะห์ของผู้หญิง และผู้หญิงถูกหย่าครั้งแรกได้ถูกนับแล้ว แท้จริงเราได้ดูว่า ขณะที่รออิดดะหฺ หากสามีมาคืนดีกับภรรยาในช่วงรออิดดะหฺ การหย่าก็ถูกนับครั้งหนึ่ง จากจำนวนการหย่า และต้องให้มีพยานในเรื่องดังกล่าว
แต่หากสามีไม่มีคืนดีภรรยาในช่วงรออิดดะหฺ แท้จริงภรรยาก็ได้ถูกหย่าขาดจากสามีเนื่องจากอิดดะห์สิ้นสุดลง ไม่อนุญาตให้สามีมาขอคืนดีกับนาง นอกจากจะต้องทำการนิกาฮฺใหม่ และค่าสินสอดใหม่ด้วย เพราะเขาคือผู้ที่มาสู่ขอเหมือนบุคคลทั่วไป และการนิกาฮฺจะไม่เกิดขึ้นนอกจากด้วยกับการยินยอมพอใจจากผู้ปกครองฝ่ายหญิง และนี่คือที่ถูกกล่าวไว้ในการหย่าครั้งที่สอง
หากท่านได้คืนดีต่อภรรยาขณะที่นางรออิดดะห์ เธอก็เป็นภรรยาของท่าน หากเป็นการหย่าที่เกิดขึ้นครั้งที่สาม นางก็เป็นที่ต้องห้ามแก่ท่าน(ไม่สามารถคืนดี หรือนิกาฮฺใหม่กับนางได้) นอกจากนางจะต้องไปแต่งงานมีสามีใหม่ (แล้วสามีใหม่เลิก) เป็นการแต่งงานถูกต้องตามบทบัญญัติ ไม่ใช่เป็นการแต่งงาน ด้วยจุดประสงค์เพียงเพื่อให้สามีคนแรกของนางได้คืนดีกับนาง และการแต่งงานใหม่นั้นได้มีการร่วมหลับนอน ถูกต้องตามบทบัญญัติ หากมีการหย่าร้างจากสามีคนที่สอง อนุญาตให้สามีคนแรกกลับมานิกาฮฺได้ เมื่อนางหมดอิดดะฮ์
- สามีทำแต่สิ่งที่อัลลอฮฺห้าม ภรรยาต้องเชื่อฟังสามีอีกหรือไม่?
- ผู้ชายต้องการหย่า เพื่อแต่งงานใหม่ อิสลามสอนว่าอย่างไร?
- คนที่เคยทำซีนา ล้างบาปซีนา อย่างไรให้หมดไป?
- หะดีษ ครอบครัว หน้าที่สามีต่อภรรยา อิสลาม สามีควรศึกษา และภรรยามุสลิมต้องรู้
- สามีปฏิเสธมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา บาปหรือไม่?
- หย่ามา 3 ปี จะขอคืนดี ต้องนิกะห์ใหม่หรือไม่?
- เหตุใดท่านนบี(ซ.ล.)มีภรรยาหลายคน?
ที่มา: www.islammore.com