มัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลก สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (คาดว่าราวปี พ.ศ. 2328)...
มัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลก
มัสยิดบางหลวง (บ้างเรียก กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) เป็นมัสยิดทรงไทย ตั้งอยู่บริเวณชุมชนริมคลอง
- มัสยิดอัลเกาษัร สมุทรปราการ ออกแบบสวยงาม
- รูปมัสยิดกลางปัตตานี ตอนกลางคืน สวยงามมาก
- มัสยิดยูนุส มัสยิดที่ใหญ่ที่สุด ประเทศเบลเยียม
- มัสยิดอัลยุซรอ (หลอแหล) สวยที่สุดในย่านสะพานสูง
- มัสยิด Jama ประเทศอินเดีย
ลายศิลปะ 3 ชาตินี้ ได้นำมาประดับที่กรอบประตูและหน้าต่างทุกบานของมัสยิด ในส่วนตัวอาคารที่เป็นปูน ทาสีขาวทั้งหมด ส่วนที่เป็นไม้จึงสีเขียว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าว่า "กุฎีขาว" (คำว่า กุฎี ถูกนำมาใช้เรียกศาสนสถานของมุสลิมมาแต่สมัยอยุธยา แต่เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 ได้เปลี่ยนคำเรียกเป็นมัสยิด) ขณะเดียวกัน ท่านโต๊ะพิมเสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังหน้าเก่ามาทำเป็นศาลามัสยิดขึ้น 1 หลัง เป็นไม้ทั้งหลังและเป็นทรงไทยเช่นเดียวกัน
แม้ตัวอาคารจะเป็นทรงไทย ซึ่งนับว่าเป็น “มัสยิดก่ออิฐถือปูนแห่งเดียวในโลกที่เป็นทรงไทย” แต่ผู้สร้างก็ได้บรรจุหลักการสำคัญของศาสนาอิสลามไว้ คือ มี มิมบัร (แท่นแสดงธรรม คล้ายธรรมาศน์ของพระภิกษุ) มิหรอบ (ซุ้มที่ครอบมิมบัร) โครงสร้างภายในก็เป็น พื้นราบ สะอาด ปราศจากรูปเคารพ มีเสาค้ำยันพาไล จำนวน 30 ต้น เท่ากับบทบัญญัติในคัมภีร์อัลกุลอาร ที่มี 30 บท และห้องละหมาดมี 12 หน้าต่าง 1 ประตู รวม 13 ช่อง เท่ากับจำนวนรุกุ่น หรือกฎละหมาด 13 ข้อ
30 ปีถัดมา มิมบัรเก่าในมัสยิดชำรุดลง เจ้าสัวพุก พ่อค้าจีนมุสลิม (ต้นตระกูล พุกภิญโญ) ได้ทำการก่อสร้างมิมบัรและมิหรอบขึ้นใหม่ เป็นซุ้มทรงวิมาน ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ผสมผสานด้วยลวดลายปูนปั้นของศิลปะ 3 ประกอบด้วย ฐานเสา เป็นปูนปั้นลวดลายไทย เกี่ยวกระหวัดด้วยกิ่งใบฝรั่งเทศและดอกเมาตาลของจีน ตลอดตัวเสาประดับกระจกสีลายไทย เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายรักร้อย และลายแก้วชิงดวง
ส่วนด้านบนเป็นทรงวิมาน 3 ยอด สอดแทรกด้วยลวดลาย ก้านใบฝรั่งเทศและดอกเมาตาลของจีน เต็มทั้ง 3 ยอด ตลอดทั้งซุ้มประดับด้วยกระจกหลากสี พร้อมกับได้แกะสลักแผ่นไม้เป็นอักษรอาหรับนูนลอย เป็นชื่อ อัลเลาะห์ นบีมูฮำหมัด บุคคลสำคัญของศาสนา บทอัลกุรอานที่สำคัญ ติดตั้งไว้ภายในซุ้ม ซึ่งถือเป็นมัสยิดทรงไทยแห่
- มัสยิด Nasir al Molk สถาปัตยกรรมอิหร่าน สวยและดูมีมนต์สะกด
- มัสยิดสีน้ำเงิน (Blue Mosque) แห่งประเทศตุรกี สง่างาม เกินคำบรรยาย
- มัสยิดอายาโซเฟีย (Aya Sofia) แห่งกรุงอิสตันบูล
- Amir Aqsunqur Mosque มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์
- มัสยิด Ibn Tulum Mosque แห่งกรุงไคโร ประเทศอียิปต์
สถานที่ตั้งของมัสยิด อยู่ซอยมัสยิดบางหลวง ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ มีรถโดยสารสาย 19, 56,57 ผ่าน โดยลงที่ป้าย สน. บุปผาราม แล้วเดินเข้าไปประมาณ 200 เมตร นอกจากนี้สามารถเดินทางไปได้ทางเรือ โดยขึ้นเรือหางยาวที่ท่าเรือราชินี ใกล้ปากคลองตลาด แล้วนั่งเรือข้ามฝั่งเข้าไปในคลองบางหลวง (คลองที่มีป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่เป็นจุดสังเกต) มีท่าน้ำเล็กๆ อยู่ด้านซ้ายมือ ติดป้ายชื่อมัสยิดบางหลวง ชุมชนกุฎีขาว
ภาพจาก: Sulfaka Atabu ,Ajibung Bin