ฟัตวาของจุฬาฯ ว่าด้วยเรื่องบุหรี่


16,273 ผู้ชม

บุหรี่ เป็นยาสูบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกสังคมไม่เว้นในสังคมมุสลิม ทั้งนี้เพราะความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติเกี่ยวกับบุหรี่ จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาจุดยืนของอิสลามเกี่ยวกับบุหรี่


จากการฟัตวาของจุฬาฯ ว่าด้วยเรื่องบุหรี่

บุหรี่ เป็นยาสูบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกสังคมไม่เว้นในสังคมมุสลิม ทั้งนี้เพราะความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติเกี่ยวกับบุหรี่ จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาจุดยืนของอิสลามเกี่ยวกับบุหรี่ โดยใช้หลักฐานต่างๆของการกำหนดบทบัญญัติในอิสลาม 

การสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ฮารอม (สิ่งที่ต้องห้าม) ของศาสนาอิสลาม โดยมีเหตุผลว่า ทำไมต้องห้าม (ฮารอม) จากข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

บทบัญญัติในอัลกุรอานที่ผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) ทรงตรัส ว่า...

1.  ซูเราะห์ อัล อะอรอฟ : 175  ความว่า  “และจะอนุมัติให้แก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย”

2.  ซูเราะห์ อัล บะกอเราะห์ : 195  ความว่า  “และจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ”

3.  ซูเราะห์ อันนิซาฮ์ : 29  ความว่า  “และจงอย่าฆ่าตัวเองของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ”

4.  ซูเราะห์ อัลอิสรอฮฺ : 27  ความว่า  “แท้จริงบรรดาผู้สุรุ่ยสุร่ายนั้น เป็นพวกพ้องของเหล่าชัยฏอนนั้นเนรคุณต่อพระเจ้าของมัน”

บทบัญญัติในอัลหะดิษท่านนบี หรือซุนนะฮฺ (วจนะของท่านศาสดามูฮัมหมัด) บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม ความว่า

1.  อัลหะดิษ หมายเลข  : 1446  ความว่า  “และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  ห้ามการทำให้สูญเสียซึ่งทรัพย์สินโดยไร้ประโยชน์”

2.  อัลหะดิษ หมายเลข  : 223  ความว่า  “แท้จริงความสะอาดนั้น เป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา และการกล่าว อัลฮัมดุลิลละฮฺนั้น เป็นสิ่งที่จะเติมเต็มตาชั่ง”

 ฟัตวาของจุฬาฯ ว่าด้วยเรื่องบุหรี่

นักวิชาการ นักปราชญ์ (มุจญตะฮิดผู้นำมัซฮับ) ต่าง ๆ  อาทิ    

1.  นักวิชาการจากมัซฮับหะนะฟีย์ เช่น ท่านอีซา อัชชะฮาวีย์, ท่านอับดุลดุลบากี, ท่านมุฮัมหมัด  อิบนุศิดดีก อัซซุบัยดีย์

2.  นักวิชาการจากมัซฮับมาลีกีย์  เช่น  ท่านอิบรอฮิม อัลลิกอนีย์, ท่านอะบูอัลฆัยษุ อัลเกาะชาชฺ

3.  นักวิชาการจากมัซฮับซาฟีอีย์  เช่น  ท่านชัยคฺ นัจดีน อัดดิมัชกีย์, ท่านชัยคฺ อิบนุ อิลาน อัศศิดดีกีย์, ท่านอุมัร อิบนุ อับดุรเราะมาน อัลหุสัยนีย์ ฯลฯ

4.  นักวิชาการจากมัซฮับฮัมบาลี  เช่น ท่านอะหฺมัด อัสสันฮูรีย์ อัลบะฮูตีย์

ทั้งหมดต่างให้เหตุผล ถึงผลของการสูบบุหรี่ คือ

1) ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือทำให้เกิดภาวะที่สติปัญญาเคลิบเคลิ้ม  

2) ทำให้เกิดความเชื่องช้า เซื่องซึม และเหนื่อยอ่อน 

3) ทำให้เกิดภัยอันตรายใน  2 ด้าน

ด้านที่ 1 เป็นภัยต่อร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนแอลง และนำไปสู่การเป็นโรคต่าง ๆ

ด้านที่ 2 เป็นภัยต่อทรัพย์สิน การสูบบุหรี่เป็นการจ่ายทรัพย์สินที่ฟุ่มเฟือย เพราะบุหรี่เป็นสินค้าเปล่าประโยชน์

ฟัตวาของจุฬาฯ ว่าด้วยเรื่องบุหรี่


องค์การวิชาการอิสลาม และนักวิชาการร่วมสมัย ได้ออกคำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) มีมติ ว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) ภายใต้เหตุผล และหลักฐานที่จะสนับสนุนในคำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) โดยเฉพาะเหตุผลทางการแพทย์ ที่พบว่า...

ในบุหรี่มีสารเคมีที่เป็นโทษร้ายแรงมากมาย และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ อนามัย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้สูบ  ดังนั้น การสูบบุหรี่นับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเอง และบุคคลใกล้ชิด  ซึ่งทางคณะกรรมการฟัตวาแห่งอัลอัซฮัร อัชชะรีฟ  รวมถึงสำนักจุฬาราชมนตรีของไทยได้

ออกคำสั่งประกาศ ที่ 02/2549  ว่า “การสูบบุหรี่เป็นสิ่งต้องห้าม(ฮารอม)” แล้ว

ดังนั้น เมื่อเป็นที่ประจักษ์แน่ชัดจากบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามตลอดจนจากผู้รู้ต่าง ๆ และสถาบันทางศาสนา และวิชาการอิสลาม เช่นนี้แล้ว  คนมุสลิมที่ยังนิยมสูบบุหรี่อยู่ ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า การสูบบุหรี่ของท่านนั้นได้เป็นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮารอม) แล้ว  ท่านกล้าที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การ ลด ละ เลิก  การสูบบุหรี่ อันจะแสดงถึงแรงศรัทธา (อีมาน) และที่สำคัญความเข้มแข็งที่เกิดจากความเพียรพยายามหมั่นดูแลรักษาสุขภาวะตัวเอง ที่จะให้ท่านกลายเป็นผู้ที่มีพลัง และความเข้มแข็งของอีมานหรือตักวา (ศรัทธา) และเป็นที่รักของผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮฺ)

ข้อมูลโดย อาจารย์สุบันโญ  จีนารงค์  คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ทรรศนะต่างๆ เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในอิสลาม

ในยุคของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) ยังไม่มีใครรู้จักใบยาสูบ และไม่มีการสูบบุหรี่เหมือนกับการดื่มเหล้าจึงเป็นความจริงว่า ไม่มีโองการกุรอานหรือฮาดีษกล่าวถึงบุหรี่โดยเฉพาะ แม้แต่ในยุคของท่านอีหม่ามทั้งสี่ บุหรื่เริ่มเป็นที่รู้จักและเสพกันในช่วง 600 ปีมานี้เอง

และเริ่มแพร่หลายสู่กลุ่มประเทศมุสลิม ประมาณฮิจเราะฮ์ศักราช 1100 หรือ ประมาณ 300 กว่าปีมาแล้ว ในระยะแรกๆ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิของทั้งสี่มัซฮับ

ได้พยายามรวบรวมความคิดที่จะตัดสินให้เด็ดขาดลงไปว่าการสูบบุหรี่ฮารามหรือไม่ แต่ไม่ประสพความสำเร็จ ในขณะที่ส่วนใหญ่ตัดสินว่า ฮาราม บางกลุ่มไม่ถือว่าฮาราม แต่เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และส่วนน้อยอีกกลุ่มหนึ่งถือว่า อนุญาตให้สูบได้

1. กลุ่มที่ถือว่าการสูบบุหรี่ฮาราม (ห้ามเด็ดขาด)

กลุ่มนี้รวมถึง ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 11 ท่านจากทั้งสี่มัซฮับ สถาบันทางศาสนาชั้นนำ เช่น Al-Azhar Fatwa Committee, International Islamic Conference และ Grand Mufti of Saudi Arabia ให้เหตุผลจากหลักฐานต่อไปนื้

• จากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และทางการแพทย์ การสูบบุหรี่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ และสิ่งใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ถือเป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนา

• บุหรื่ถือเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเคลิบเคลิ้ม(และย่อมนำสู่การเสพติด)อย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามคำสอนของอิสลาม ท่านศาสดามูฮัมมัด (ซล) ห้ามทุกสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย หรือก่อให้เกิดความเคลิบเคลิ้มหรือมึนเมา

• บุหรี่ก่อให้เกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจ และก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียงที่ไม่สูบบุหรี่

• บุหรี่เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย นอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังเป็นโทษต่อสุขภาพด้วย ซึ่งมีหลักฐานทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน

2. กลุ่มที่ถือว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (แต่ไม่ฮาราม) ให้เหตุผลดังต่อไปนี้

• บุหรี่เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกับหอมและกรงะเทียม ผู้มีศรัทธาควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

• อันตรายต่อสุขภาพยังไม่มีข้อตกลงแน่นอน ผู้ที่คิดว่าบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจริง ก็ถือว่าบุหรี่เป็นสิ่งต้องห้าม

ผู้ทรงความรู้ท่านนี้นำบุหรี่ไปเปรียบกับน้ำผึ้ง ซึ่งระบุไว้ในกุรอานว่า มันมีทั้งคุณและโทษ (แต่ไม่เป็นสิ่งต้องห้าม)

3. กลุ่มที่ถือว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งอนุมัติ ให้เหตุผลว่า

• เป็นที่ทราบกันดีว่ามุสลิมจำนวนมากสูบบุหรี่ การตัดสินว่าบุหรี่เป็นสิ่งอนุมัติจะช่วยผ่อนคลายปัญหาอย่างมาก (ไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าผ่อนคลายปัญหาด้านใด)

• เมื่อใดก็ตามที่มีสองสิ่งให้เลือก ท่านศาสดาเลือกสิ่งที่ง่าย

• บุหรี่เป็นสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่จะต้องนำเกี่ยวข้องกับศาสนา

• บุหรี่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด จึงไม่เป็นสิ่งต้องห้ามตามบัญญัติอิสลาม

กล่าวโดยสรุป ผู้ทรงความรู้ที่ตัดสินว่าบุหรี่เป็นสิ่งอนุมัติ ตัดสินบนพื้นฐานที่ว่า

ก) ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้เฉพาะเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และระบุว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม

ข) ไม่มีหลักฐาน(ในขณะนั้น)ว่าบุหรี่เป็นพิษต่อร่างกายหรือมีผลทางประสาท

อย่างไรก็ตาม หลังจากการตัดสินของผู้ทรงความรู้เหล่านี้ ก็ได้ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนมากมายอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า

บุหรี่มีผลร้ายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การรักษา และมีโอกาสสูงที่จะทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เหตุผลที่นำมาอ้างว่า บุหรี่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงตกไปโดยสิ้นเชิง

จากภาพด้านซ้ายคือ ปอดของผู้ไม่สูบบุหรี่ ด้านขวาคือปอดของผู้สูบบุหรี่ ท่านอยากให้ปอดของท่านเป็นสีใด จงเลือกเอาเถิด

ฟัตวาของจุฬาฯ ว่าด้วยเรื่องบุหรี่

แต่ขอเตือนว่า อิสลามห้ามสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อร่างกาย อย่าหลอกตัวเองอีกเลยว่า เป็นแค่ควันที่รบกวนผู้อื่น และการคลายเครียดเท่านั้น เพราะการสูบบุหรี่ได้ทำลายตัวท่านเอง

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/22006

อัพเดทล่าสุด