ถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างอะไรบ้าง?...
ถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างอะไรบ้าง?
อิมามอัน-นะวะวีย์ กล่าวว่า “การถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างบาปเล็กต่างๆ ทั้งหมด นอกจากบาปใหญ่”
แล้วท่านก็กล่าวว่า “การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺสามารถลบล้างบาปสองปี และการถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างบาปหนึ่งปี และเมื่อการกล่าวอามีนของเขาตรงกับการกล่าวอามีนของมลาอิกะฮฺ เขาก็จะถูกประทานอภัยจากบาปต่างๆ ที่ผ่านมา...ทุกๆ ประเภทของสิ่งที่กล่าวมานั้น สามารถทําการลบล้างบาปได้
ดังนั้น ถ้าพบว่า มีบาปเล็กที่สามารถลบล้างได้ มันก็จะถูกลบล้างไป และถ้าหากไม่พบว่ามีทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ เขาก็จะได้รับการบันทึกความดีแทน และจะถูกยกสถานะให้สูงยิ่งขึ้น และถ้าหากว่ามี แต่บาปใหญ่แต่ไม่มีบาปเล็ก เราก็หวังว่า เขาจะได้รับการลดหย่อนโทษให้เบาลง” (อัล-มัจญ์มูอุ เล่ม 5 เรื่องการถือศีลอตวันอะเราะฟะฮฺ
ชัยกุล อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “การลบล้างบาปจากการอาบน้ำละหมาด การละหมาด การถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ และการถือศีลอดวันอาซูรออ์ จะเกิดขึ้นสําหรับ บาปเล็กเท่านั้น” (อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ เล่ม 5)
ไม่หลงประมาทกับผลบุญของการถือศีลอด
บางคนประมาทตนและโลตลําพองด้วยการยึดมั่นกับผลตอบแทนของการถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หรือวันอาชูรออ์ จนกระทั่ง มีบางคนในหมู่พวกเขากล่าวว่า
“การถือศีลอดวันอาชูรออ์ สามารถลบล้างบาปทั้งหมดในรอบปี และยังเหลือการถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺอีก สําหรับการเพิ่มพูนผลบุญ !!!”
อิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า “ผู้ที่โลตลําพองคนนี้ไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว การถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน และการละหมาดห้าเวลานั้นมีผลบุญที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งกว่าการถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺและวันอาชูรออ์ ซึ่งมันจะสามารถลบล้างบาประหว่างทั้งสองเมื่อมีการหลีกห่างจากบาปใหญ่ต่างๆ ดังนั้น จากเดือนเราะมะฎอนหนึ่งไปสู่อีกเดือนเราะมะฎอน หนึ่ง และจากมุมอัตหนึ่งไปสู่อีกมุมอัตหนึ่งจะไม่มีพลังพอที่จะลบล้างเล็กต่างๆ นอกจากว่าต้องผนวกเข้ากับการละทิ้งบาปใหญ่ด้วย และด้วย การประสานกันระหว่างทั้งสองอย่างจึงจะมีพลังในการลบล้างบาปเล็กๆ ทั้งหมด
และผู้ที่ลําพองตนบางท่านหลงคิดว่า การภักดีของตนมีมากกว่าการฝ่าฝืนที่เป็นเช่นนั้น เพราะตนไม่เคยคิดสอบสวนและทบทวนตัวเอง ต่อการกระทําที่เป็นการฝ่าฝืน ไม่คิดที่จะติดตามและค้นหาบาปต่างๆ ที่ตนเองได้กระทําไว้ แต่พอตัวเองกระทําอะไรสักอย่างก็จะจดจําและเก็บคํานวณไว้
ดังเช่นผู้ที่กล่าว อิสติฆฟาร(อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ)ด้วยลิ้น หรือกล่าว ตัสบี(ซุบฮานัลลอฮฺ)วันละ 100 ครั้ง หลังจากนั้นเขาก็ไปนินทาว่าร้ายชาวมุสลิม ไปเชือดเฉือนเกียรติของพวกเขา และไปพูดจาในสิ่ง ที่อัลลอฮฺไม่ทรงพอใจตลอดทั้งวันของเขา เป็นต้น บุคคลเช่นนี้จะพินิจพิจารณา(และคิดคํานวณ)ในความประเสริฐของการกล่าวตัสบีหฺ(ซุบฮานัลลอฮฺ) การกล่าวตะฮฺลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) แต่เขากลับไม่เคยหันไปสนใจกับหลักฐานต่างๆ ที่ระบุถึงโทษทัณฑ์หรือผลลัพธ์ที่จะตามมาของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้าย ชอบยุแหย่ผู้อื่น และชอบพูดโกหก และอื่นๆ ที่เป็นผลร้ายจากการกระทําของลิ้น” (อัล-เมาสอะฮฺ อัล-ฟิกฮียะฮฺ เล่ม 31 เรื่อง ฆุรูรฺ-การล่อลวงและลําพองตน)
ที่มา: www.islamhouse.com