เคยอ่านบทความเรื่องการผายลม บอกว่า ถ้าการผายไม่มีเสียงและกลิ่นไม่เป็นไร แต่ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสียน้ำละหมาด...
เคยอ่านบทความเรื่องการผายลม บอกว่า ถ้าการผายไม่มีเสียงและกลิ่นไม่เป็นไร แต่ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสียน้ำละหมาด
กรณีผายลมขณะกำลังละหมาด
การผายลมนั้น ทำให้เสียน้ำละหมาด ไม่ว่าจะได้ยินเสียงหรือไม่ได้ยินก็ตาม หากพบว่า มีลมออกมาก็ถือว่า เสียน้ำละหมาด แต่ถ้าหากว่าสงสัย(ห้าสิบห้าสิบ) ถือว่า ไม่เสียน้ำละหมาด
ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า :
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ فِي بَطْنِهِ شَيْئًا فَأَشْكَلَ عَلَيْهِ أَخَرَجَ مِنْهُ شَيْءٌ أَمْ لَا فَلَا يَخْرُجَنَّ مِنْ الْمَسْجِدِ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا
“ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่านได้พบว่าในท้องมีบางอย่างเกิดขึ้น และเขาได้สงสัยมันว่า มีสิ่งใดออกมาหรือไม่? เขาก็อย่าออกจากมัสยิด จนกระทั่งได้ยินเสียงหรือพบว่า(ผาย)ลมออกมาเสียก่อน”
(รายงานโดยมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 362, อันนะวาวีย์, ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม, เล่ม 2 หน้า 285)
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า
أَمَّا حُكْمُ الْمَسْأَلَةِ فَالْخَارِجُ مِنْ قُبُلِ الرَّجُلِ أَوِ الْمَرْأَةِ أَوْ دُبُرِهِمَا يُنْقِضُ الْوُضُوْءَ سَوَاءٌ كَانَ غَائِطاً أَوْ بَوْلاً أَوْ رِيْحاً أَوْ دُوْداً أَوْ قَيْحاً أَوْ دَماً أَوْ حُصَاةً أَوْ غَيْرَ ذَلِكَ
“สำหรับฮุกุ่มในประเด็นนี้ คือ สิ่งที่ออกมาจากทวารหน้าของชายและหญิงหรือทวารหลังของทั้งสองนั้น ทำให้เสียน้ำละหมาด ไม่ว่าสิ่งที่ออกมานั้นจะเป็นอุจจาระ, ปัสสาวะ, (ผาย)ลม, หรือหนอน(พญาธิ), น้ำหนอง, เลือด, ก้อนหิน, และอื่น ๆ”
(อันนะวาวีย์, อัลมัจญฺมั๊วะอฺ, เล่ม 2 หน้า 5)