กุรบาน การเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮฺในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองวันเทศกาลอีดุลอีฎฮา อันเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกเฉลิมฉลองแสดงความยินดีแก่มุสลิมจากส่วนต่าง ๆ ของโลกได้มีโอกาส
สัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ ใช้ทำกุรบานได้หรือไม่?
ท่านอิหม่ามอัลบาญุรีย์ ได้กล่าวว่า :
وَالْحَامِلُ فَلاَ تُجْزِئُ كَمَا حَكَاهُ فِي الْمُجْمُوْعِ وَهُوَ الْمُعْتَمَدُ خِلاَفاً لاِبْنِ رِفْعَةَ حَيْثُ صَحَّحَ فِى الْكِفَايَةِ الإِجْزَاءَ
“สัตว์ที่ตั้งครรภ์ ถือว่าใช้ไม่ได้ ตามที่ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้รายงานไว้ในหนังสืออัลมัจญฺมูอฺ และเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือ ซึ่งขัดแย้งกับท่านอิบนุริฟอะฮ์ โดยท่านได้กล่าวในหนังสืออัลกิฟายะฮ์ว่า ทัศนะที่บอกว่าใช้ได้นั้น ถือว่าถูกต้อง”
อัลบาญูรีย์, เล่ม 2, หน้า 298
- ครอบครัวของผู้บนบานจะทำกุรบานสามารถรับประทานกุรบานได้หรือไม่?
- คนต่างศาสนิกกินเนื้อกุรบานได้ไหม?
- เนื้อกุรบานนำไปขายได้หรือไม่?
สัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ ใช้ทำกุรบานได้หรือไม่?
กุรบาน การเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮฺในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองวันเทศกาลอีดุลอีฎฮา อันเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกเฉลิมฉลองแสดงความยินดีแก่มุสลิมจากส่วนต่าง ๆ ของโลกได้มีโอกาส ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักก๊ะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย วันทำกุรบานจึงตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮฺ
สัตว์ที่จะใช้ทำกุรบานนั้นจะต้องไม่มีข้อตำหนิ
มีเงื่อนไขว่าสัตว์ที่จะใช้ทำกุรบานนั้นจะต้องไม่มีตำหนิ ซึ่งตำหนินั้นเป็นสิ่งที่ใช้รับประทาน ( กล่าวคือถ้าตำหนิในสัตว์ตัวนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้รับประทาน ก็ถือว่าไม่เป็นไร เช่น เล็บของสัตว์ตัวนั้นหลุด ก็สามารถใช้ทำกุรบานได้ เพราะเราไม่ได้กินเล็บของมัน สำหรับอวัยวะอื่นที่เราไม่ได้รับประทาน เช่น อวัยวะเพศของสัตว์ ซึ่งฮารามรับประทาน ส่วนอัณฑะนั้นถือว่ามักโระห์รับประทาน )
ดังนั้นถือว่าใช้ไม่ได้สัตว์ซึ่งมีตำหนิต่อไปนี้
- สัตว์ที่ไม่มีหู ( เพราะหูของสัตว์เราใช้กินได้ ) หรือสัตว์ที่ถูกตัดหู แม้ว่าจะถูกตัดออกเพียงบางส่วนซึ่งเล็กน้อยก็ตามที
- สัตว์ที่ถูกตัดหาง( หรือไม่มีหางด้วยสาเหตใดก็ตาม แต่ถ้าหากว่ามันคลอดออกมาไม่มีหางแต่กำเนิด นั้นถือว่าใช้ได้ )
- สัตว์ที่ลิ้นขาด
- สัตว์ที่เป็นบ้า ซึ่งไม่ยอมกินหญ้า ทำให้มันผอม มีเนื้อน้อย
- สัตว์ที่ เป็นโรคหิด ถึงแม้เพียงเล็กน้อยก็ตามที เพราะเนื้อของมันนั้นเสียหาย
- สัตว์ที่เพิ่งจะคลอดลูก เพราะเนื้อของมันรสชาติไม่ดี
- สัตว์ที่ผอมมาก ( สัตว์ที่ไม่ผอมมาก ไม่เป็นไร )
- สัตว์ที่ตาบอดข้างเดียว ซึ่งการตาบอดของมันนั้นปรากฏชัด ( สัตว์ที่ตาฝ้าฟาง ถือว่าใช้ได้ )
- สัตว์ที่ตาบอดทั้งสองข้าง
- สัตว์ที่ป่วยเป็นโรค ซึ่งปรากฏชัด
- สัตว์ที่เป็นง่อย แม้ว่าการง่อยนั้น สาเหตมาจากการให้สัตว์นั้นนอนตะแคง(ล้มลง แล้วขามันง่อย) เพื่อจะเชือดทำกุรบาน ก็ตามที
- สัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ นั้นใช้ทำกุรบานไม่ได้ ดังเช่นที่มีกล่าวในหนังสือ มัจญมัวะ ซึ่งถือว่าเป็นทัศนะที่แข็งแรง เพราะทำให้เนื้อมันพร่องไป ซึ่งมีทัศนะที่ขัดแย้ง โดยท่าน อิบนิ ริฟอะห์ มีทัศนะว่าสัตว์ที่ตั้งครรภ์นั้นใช้ได้
ดังนั้น บรรดาข้อตำหนิทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ( ข้อตำหนิที่ทำให้สิ่งที่รับประทานได้จากสัตว์นั้นพร่องไป ) ถือว่าใช้ไม่ได้ในการจะทำกุรบาน จากสัตว์ดังกล่าว ตราบใดที่การทำกุรบานดังกล่าวนั้นไม่ใช่การทำกุรบานที่บนบานไว้ ด้วยสัตว์ที่มีข้อตำหนินั้น ดังนั้นถ้าหากว่าคนหนึ่งได้กล่าวว่า “ เพื่ออัลลอฮ์ จำเป็นบนฉัน แท้จริงแล้ว ฉันจะทำอุฎฮิยะห์ ด้วยกับแพะตัวนี้ “ หรือกล่าวว่า “ นี่คืออุฎฮิยะห์ “หรือกล่าวว่า “ ฉันทำให้แพะตัวนี้เป็นอุฎฮิยะห์ " โดยสภาพของแพะตัวนั้น ตาบอด หรือป่วย หรือมีข้อตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใด ดังที่ได้กล่าวมา หรือว่า สัตว์ตัวนั้นยังมีอายุไม่ครบเกณฑ์ กรณีนี้ถือว่าสัตว์ตัวนั้นใช้ทำกุรบานได้ และวายิบต้องเชือดสัตว์ตัวนั้น
สัตว์ที่สามารถใช้ทำกุรบานได้
- สัตว์ที่ไม่มีเขา หรือเขาของมันหัก
- สัตว์ที่มีหูฉีก หรือหูเป็นรู โดยที่เนื้อของใบหูนั้นไม่ได้หายไป
- สัตว์ที่ไม่มีหางแต่กำเนิด
- สัตว์ที่ไม่มีเต้านมแต่กำเนิด
- สัตว์ที่ไม่มีฟัน หรือฟันของมันหักบางส่วน
- สัตว์ที่ไม่มีอวัยวะเพศ เพราะอวัยวะเพศของสัตว์นั้นฮารามที่จะกินมัน
- สัตว์ที่ถูกตอนลูกอัณฑะทั้งสอง(ทำให้อัณฑะมันฝ่อไป) เพราะการตอนนั้นจะทำให้เพิ่มเนื้อของมัน แต่มีข้อพึงระวังในการตอนสัตว์คือ อณุญาติให้ตอนสัตว์ที่กินเนื้อของมันได้( เช่นแพะ วัว ) ขณะที่มันยังเล็กอยู่ แต่ฮารามการตอนสัตว์ที่โตแล้ว ( สัตว์ที่ถือว่าโตแล้ว คือสัตว์ที่มีความต้องการจะผสมพันธ์กับตัวเมียแล้ว ) และฮารามในการตอนสัตว์ที่ไม่อณุญาติกินเนื้อของมัน
สัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ ใช้ทำกุรบานได้หรือไม่?
เงือนไขของการเชือดสัตว์กุรบาน
- เนียต ( คือนึกในใจว่า นี่คือกุรบานของฉัน ) (อ่านเพิ่มเติม: คำเนียตเชือดกุรบาน) ในขณะที่เชือดสัตวอุฎฮิยะห์ ดังนั้น ถ้าหากได้มีการมอบหมาย ( วาเกล )ให้ผู้อื่นเชือด วายิบจะต้องเนียต(คือนึกในใจว่า นี่คือกุรบานของฉัน ซึ่งจำเป็นต้องเนียตเพื่อให้การทำกุรบานนั้นใช้ได้ ) ในขณะที่ได้มอบ สัตว์ที่ต้องการจะทำอุฎฮิยะห์นั้น ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายในการเชือด ถึงแม้ว่าผู้ที่รับมอบหมายในการเชือดนั้นจะไม่รู้ว่าสัตว์ตัวนั้นเป็นสัตว์ที่จะทำกุรบานก็ตาม ( ถือว่าใช้ได้ ) หรือว่าผู้ที่ต้องการทำกุรบานนั้น ทำการเนียต ในขณะที่ผู้รับมอบหมายนั้นได้ทำการเชือดสัตว์
- และอณุญาติให้ผู้ที่จะทำกุรบานนั้น ทำการมอบหมายการเนียต(ให้ผู้อื่นเนียตแทน ) แก่มุสลิมที่มุมัยยิซ (รู้เดียงสา ) ไม่ว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายในการเนียตนั้นจะเป็นคนเดียวกับผู้ที่รับมอบหมายในการเชือด หรือว่าจะเป็นคนอื่น จากผู้ที่รับมอบหมายในการเชือดก็ได้ ( การมอบหมายนั้นมี 2 อย่าง คือ มอบหมายให้เชือด กับ มอบหมายให้เนียต )
- กรณที่สัตว์ที่จะทำอุฎฮียะห์นั้น ได้เจาะจงเอาไว้ ด้วยการบนบาน( เช่นได้กล่าวว่า วัวตัวนี้ฉันจะทำกุรบาน ) ไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเนียต