หลักฐานอายะห์อัลกุรอ่าน บอกถึงเรื่องการจัดฟัน


9,213 ผู้ชม

หลักฐานอายะห์อัลกุรอ่าน บอกถึงเรื่องการจัดฟัน การจัดฟันในอิสลาม...


หลักฐานอายะห์อัลกุรอ่าน บอกถึงเรื่องการจัดฟัน

จากซูเราะฮฺอัตตีน อายะที่ 4 อัลลอฮฺ (ซ.บ.)ได้ทรงตรัสเอาไว้ว่า “โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มา ในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัต-ตีน 95:4) แต่ปัจจุบันเรากลับพบว่า มีผู้คนจำนวนมาก ที่ไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการจัดฟัน จากอายะฮฺข้างต้น มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดฟันอย่างไร ?

บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ แด่อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

ท่าน Ibn Katheer (ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.)ทรงโปรดประทานความเมตตา แด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ตีความอายะฮฺนี้ ไว้ในตัฟซีร (4/680) ของท่านว่า จากอายะฮฺข้างล่างนี้

โดยแน่นอนเรา ได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัต-ตีน 95:4)  มีหมายความว่า“อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสร้างมนุษย์มา ให้มีรูปทรง และรูปร่างที่ดียิ่ง มีสติสัมปชัญญะที่ดี และมีรูปทรงที่สวยงาม”

ท่าน Al-Qurtubi (ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงโปรดประทานความเมตตา แด่ท่านด้วยเทอญ) ได้กล่าวว่า :

“รูปแบบที่สวยงามยิ่ง” หมายถึง มนุษย์นั้น เป็นผู้ที่ยืนตัวตรง และเป็นผู้ที่มีพละกำลัง ในยามวัยรุ่น  และนักตัฟซีรส่วนใหญ่ กล่าวว่า คำว่า “รูปแบบที่สวยงามยิ่ง” หมายถึง มนุษย์นั้น เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ พิจารณาได้จากการที่

- มนุษย์นั้นเป็นผู้ที่ยืนตัวตรง ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะเป็นลักษณะที่ก้มหน้าลงสู่พื้นดิน

- มนุษย์นั้นสามารถ สื่อสารกันได้ ด้วยการพูดจา มีมือและนิ้ว ที่แยกออกจากกัน (ไม่เป็นครีบ) ทำให้สามารถหยิบจับสิ่งของได้

 หลักฐานอายะห์อัลกุรอ่าน บอกถึงเรื่องการจัดฟัน

ส่วนท่าน Abu Bakr ibn Taahir ได้ให้ความหมายว่า

- มนุษย์นั้นมีความสามารถในการใช้เหตุผล มีสติปัญญา

- มีความสามารถในการปฏิบัติ ตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

- มีความสามารถในการพิจารณาใคร่ครวญ ถึงคำชี้นำต่าง ๆ

- เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีลำตัวยืนขึ้น

- และสามารถหยิบจับอาหารได้ด้วยมือ

(ที่มาจาก Tafseer al-Qurtubi (20/105))

ซึ่งจากความหมายของอายะฮฺอัลกุรอ่าน ในข้างต้นนั้น มิได้มีถึงการห้าม รักษาร่างกาย ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ถามหมายถึงการจัดฟัน กล่าวคือ สำหรับบุคคลที่ฟันมีปัญหา ตัวอย่างเช่น ฟันเบี้ยว ผิดรูป หรือมีข้อบกพร่อง ซึ่งการจัดฟันนี้ จะเป็นการรักษาการผิดรูป หรือเป็นการป้องกัน การเกิดโรคอื่น ๆ ที่จะตามมา โดยมีสาเหตุมาจากการผิดปกติของฟัน ในกรณีนี้ การจัดฟัน เป็นสิ่งที่สามารถให้กระทำได้ แต่ถ้าบุคคลใด ที่ต้องการจัดฟัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพียงเพื่อความสวยงามแล้ว ในกรณีนี้ การจัดฟันจะไม่เป็นที่อนุมัติให้กระทำ

(ที่มา Majmoo’ Fataawa al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงโปรดประทานความเมตตา แด่ท่านด้วยเทอญ) vol. 17, คำถามหมายเลข 4)

นอกจากนี้ ท่าน al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงโปรดประทานความเมตตา แด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ถูกตั้งคำถามถึง “เงื่อนไขของการจัดฟัน ว่า มีอย่างไรบ้าง”

ท่านได้ตอบว่า เงื่อนไขของการจัดฟันนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

1. การจัดฟัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความสวยงาม  ในกรณีนี้ จะไม่เป็นที่อนุมัติให้กระทำ และไม่อนุญาตให้กระทำด้วย เนื่องจากท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้ทรงสาปแช่งสตรีที่จัดฟัน เพื่อความสวยงาม และสาปแช่ง ผู้ที่เปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ถึงแม้ว่าสตรีนั้น เป็นเพศที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้มีความรักความสวยงาม และเป็นผู้ที่ชอบการตกแต่ง ประดับประดา แต่ในกรณีดังกล่าวนี้ ไม่เป็นที่อนุมัติ และยังเป็นข้อห้ามอย่างยิ่งด้วย สำหรับผู้ชายอีกด้วย

2. สำหรับผู้ที่ฟันมีความบกพร่อง  ในกรณีนี้การจัดฟัน เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของคนที่มีฟันยื่น ไม่ว่าจะเป็นฟันเขี้ยว หรือฟันซี่อื่นๆ ที่ยื่นออกมา ในกรณีนี้ การจัดฟัน เพื่อรักษาฟันที่ผิดปกตินี้ เป็นสิ่งที่กระทำได้ เพราะเป็นการแก้ไขข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้นมา และไม่ได้เป็นการกระทำไป เพื่อเพิ่มความสวยงาม

ดังมีเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ดังนี้

มีชายคนหนึ่ง ที่จมูกของเขานั้น ได้ถูกตัดออกไป และเขาได้นำแร่เงิน มาทำเป็นจมูกขึ้นมาใหม่ แต่ต่อมาจมูกของเขา ได้ส่งกลิ่นเหม็นขึ้น ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงได้กล่าวกับชายคนนั้นว่า ให้เปลี่ยนเอาแร่เงินออกเสีย และให้ใช้เป็นแร่ทองคำแทน

ซึ่งจากเหตุการณ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงข้อบกพร่องนั้น เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความสวยงาม

(ที่มา Majmoo’ Fataawa al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตา แด่ท่านด้วยเทอญ) vol. 17, คำถามหมายเลข 6)

(สามารถดูคำตอบเพิ่มเติม จากคำถามหมายเลข 21255)

สรุป จากซูเราะฮฺอัตตีน อายะที่ 4 ความหมายของอายะฮฺนี้ ไม่ได้มีความหมายถึง การห้ามจัดฟัน สำหรับบุคคลที่ฟันมีปัญหา แต่มีเงื่อนไขว่า การจัดฟันนั้น กระทำไปเพื่อแก้ไขส่วนที่บกพร่อง หรือมีความผิดปกติ ออกไปและอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้น คือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

ที่มา www.islamqa.com

อัพเดทล่าสุด