ข้อห้ามจับมือสลามระหว่างชาย-หญิง


26,232 ผู้ชม

ศาสนาอนุญาตให้ ชายมุสลิมหรือหญิงมุสลีมะฮฺ กล่าวสลามซึ่งกันและกันได้ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นมะฮฺร็อม หรือแต่งงานกันตามบทบัญญัติศาสนาได้ก็ตาม แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไม่มีการสัมผัสผิวกายกัน ไม่ว่าสัมผัสมือ แขน หรือสวมกอดก็ตาม และตราบใดที่ไม่เกิดการฟิตนะฮฺความชั่วร้ายขึ้น


ข้อห้ามจับมือสลามระหว่างชาย-หญิง

ข้อห้ามจับมือสลามระหว่างชาย-หญิง

ศาสนาอนุญาตให้ ชายมุสลิมหรือหญิงมุสลีมะฮฺ กล่าวสลามซึ่งกันและกันได้ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นมะฮฺร็อม หรือแต่งงานกันตามบทบัญญัติศาสนาได้ก็ตาม แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไม่มีการสัมผัสผิวกายกัน ไม่ว่าสัมผัสมือ แขน หรือสวมกอดก็ตาม และตราบใดที่ไม่เกิดการฟิตนะฮฺความชั่วร้ายขึ้น
สำหรับการให้สลามกันนั้นให้ต่างกล่าวสลามพร้อมยกมือขึ้นทำท่าโบกมือ ซึ่งมีหลักฐานว่า ท่านนบีมุอัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขณะที่ท่านเดินผ่านกลุ่มสตรี ท่านก็ได้โบกมือของท่านพร้อมกล่าวสลามแก่พวกนาง
รายงานจากท่าน อัสมาอฺ บุตรสาว ยะซีด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า:

 ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ผ่านพวกเราที่อยู่กันในมัสยิดในวันหนึ่ง โดยมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่ และท่านได้โบกมือของท่านพร้อมกล่าวสลาม และอับดุลฮะมีดก็ได้ใช้มือของเขาทำท่า  (บัททึกฮาดิษโดย ติรมีซี และอบูดาวูด)
 

สำหรับการสัมผัสหว่างชายหญิง ขณะให้สลาม ซึ่งหญิงผู้ให้หรือรับสลามสามารถแต่งงานกันได้ หรือชายที่ให้หรือรับสลามไม่ใช่มะร็อมนั้น ศาสนาห้ามเด็ดขาด  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นหนุ่ม,สาวหรือคนชรา และไม่ว่าวันใดๆก็ตาม ซึ่งท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังกล่าวอุปมาคนที่จะสัมผัสผู้ที่ไม่ใชมะร็อมหรือแต่งงานกันได้ว่า ผู้ที่ถูกเหล็กแหลมแทงเข้าไปศรีษะของเขาดีกว่าที่จะกระทำการเช่นนี้เสียอีก
ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

 "การที่ท่านจะถูกเหล็กแหลมแทงเข้าไปในศรีษะนั้น ยังดีกว่าการที่จะไปสัมผัสผู้หญิงที่ไม่ได้รับอนุญาติ ให้สัมผัส" (มัวอฺญัมอัลกะบีรของอัฏฏอบรอนียฺ : 16917) 


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«إنِّي لا أُصَافِحُ النِّسَاءَ». أخرجه النسائي وابن ماجه.
ความว่า “แท้จริงแล้ว ฉันไม่จับมือทักทายกับผู้หญิง” 
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 4181 และอิบนุ มาญะฮฺ 2874)
รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ท่านได้ประกาศในขณะที่ผู้หญิงต้องการสัมผัสมือท่านนบีเพื่อให้สัตยาบันของสตรีผู้อพยพ(บัยอะตุลมุฮาญิรอต) ท่านนบีได้กล่าวว่า "อินนีลาอุศอฟิฮุลนิซาอะ (ฉันไม่สัมผัสมือสตรีเลย )" (บันทึกโดยบุคอรียฺ)
สำหรับ การสัมผัสมือของเพศตรงข้ามที่ไม่ได้เป็นมะร็อมหรือแต่งงานกันได้นั้น หากอยู่ในกรณีจำเป็น เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล ก็เป็นที่อนุโลมให้สัมผัสได้  หากไม่มีความจำเป็นใดเลย อย่างเช่น ผู้จับมือเป็นครูอาจารย์ หรือลูกศิษย์ ซึ่งทั้งสองสามารถแต่งงานกันได้ หรือไม่ได้เป็นมะร็อม ถึงแม้จะมีของกั้นก็เป็นที่ต้องห้ามเช่นเดียวกัน
ไชยค์อับดุลอะซี้ซ อับดุลลอฮ์ อิบนุ บ้าซ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในอัลฟะตาวา ที่สถาบันหนังสือพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ การเรียกร้องเชิญชวน เล่มที่ 1 หน้าที่ 185 ว่า:

"การจับมือกับบรรดาผู้ที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมของสตรีนั้น มันไม่เป็นที่อนุญาตอย่างเด็ดขาด พวกนางจะเป็นหญิงสาว หรือหญิงชราก็ตาม ผู้จับมือนั้นจะเป็นเด้กหนุ่ม หรือผู้สูงอายุก็ตาม เนื่องจากในการกระทำดังกล่าวนั้น มันมีสิ่งที่เป้นอันตรายของความยุ่งเหยิงของแต่ละคน จากเขาทั้งสอง ซึ่งก็มีรายงานที่ถูกต้องมาจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านได้กล่าวว่า แท้จริงแล้ว ฉันไม่จับมือทักทายกับผู้หญิง : และท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า : มือของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยสัมผัสกับหญิงคนใดเลย ท่านไม่เคยทำสัตยาบันกับพวกนาง นอกจากด้วยคำพูดเท่านั้น : และไม่มีความแตกต่างระหว่างการที่นางจับมือกับเขาด้วยสิ่งขวางกั้น หรือไม่มีสิ่งขวางกันก้ตาม เนื่องจากการบ่งบอกของหลักฐานต่างๆโดยทั่วไป และเพื่อขจัดสิ่งที่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย"

ข้อห้ามจับมือสลามระหว่างชาย-หญิง

ทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับสัมผัสมือสลามของผู้แต่งงานกันได้หรือไม่ได้เป็นมะร็อม

มัซฮับฮะนะฟียะฮ์ : ฮะรอมผู้ชายจับมือผู้หญิง  หากเธอยังเป็นสาว  หากแม้นว่าจะปลอดภัยจากฟิตนะฮ์ก็ตาม  นอกจากมีความจำเป็น  เช่นเป็นพยาบาลรักษา  แต่พวกเขาอนุญาตให้จับมือหญิงชราที่ไม่มีอารมณ์แล้ว

มัซฮับมาลิกียะฮ์  : ฮะรอมจับมือผู้หญิงอื่นที่แต่งงานกันได้  ไม่ว่าจะด้วยการมีอารมณ์หรือไม่ก็ตาม  ไม่ว่าผู้หญิงนั้นจะเป็นหญิงสาวหรือชราก็ตาม เพราะยึดหลักฐานแบบครอบคลุมที่ยืนยันถึงการห้าม

มัซฮับชาฟิอียะฮ์  : ไม่อนุญาตให้ผู้ชายจับสัมผัสมือกับผู้หญิง  นอกจาก  ด้วยสองเงื่อนไข  คือปลอดภัยจากฟิตนะฮ์และมีของกั้นหากมีความจำเป็น

มัซฮับฮัมบาลีย์ :  ไม่อนุญาตให้จับสัมผัสมือผู้หญิงสาวที่แต่งงานกันได้  แต่สำหรับหญิงชรา  ก็อนุญาตให้จับมือนางได้  แต่ทว่ามีอีกสายรายงานหนึ่งจากท่านอิมามอะห์มัด  กล่าวว่า  มักโระฮ์จับมือกับสตรีไม่ว่าจะเป็นหญิงสาวหรือชรา


ผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้และมะร็อม


เพื่อให้ให้ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ที่สามารถจับมือหรือสัมผัสมือกันได้ในขณะให้สลาม ซึ่งต้องเป็นผู้ที่แต่งงานกันได้ หรือต้องเป็นมะฮฺร็อม จึงขอกล่าวเกี่ยวกับผู้ที่แต่งงานกันได้และผู้ที่เป็นมะร็อม ดังนี้

ผู้ที่แต่งงานกันได้ตามบทบัญญัติอิสลาม


พระองค์อัลลอฮิ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า:


حُرِّمَتْ عَلَيْكُمْ أُمَّهَاتُكُمْ وَبَنَاتُكُمْ وَأَخَوَاتُكُمْ وَعَمَّاتُكُمْ وَخَالَاتُكُمْ وَبَنَاتُ الْأَخِ وَبَنَاتُ الْأُخْتِ وَأُمَّهَاتُكُمُ اللَّاتِي أَرْضَعْنَكُمْ وَأَخَوَاتُكُم مِّنَ الرَّضَاعَةِ وَأُمَّهَاتُ نِسَائِكُمْ وَرَبَائِبُكُمُ اللَّاتِي فِي حُجُورِكُم مِّن نِّسَائِكُمُ اللَّاتِي دَخَلْتُم بِهِنَّ فَإِن لَّمْ تَكُونُوا دَخَلْتُم بِهِنَّ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْكُمْ وَحَلَائِلُ أَبْنَائِكُمُ الَّذِينَ مِنْ أَصْلَابِكُمْ وَأَن تَجْمَعُوا بَيْنَ الْأُخْتَيْنِ إِلَّا مَا قَدْ سَلَفَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ غَفُورًا رَّحِيمًا ( 23 ) 

 
"ที่ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้านั้นคือมารดา ของพวกเจ้า ลูกหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงแห่งบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องหญิงแห่งมารดาของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องชายของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องหญิงของพวกเจ้า และมารดาของพวกเจ้าที่ให้นมแก่พวกเจ้าและพี่น้องหญิงของพวกเจ้าเนื่องจากการดื่มนม และมารดาภรรยาของพวกเจ้าแลลูกเลี้ยงของพวกเจ้าที่อยู่ในตักของพวกเจ้า จากภรรยาของพวกเจ้าที่พวกเจ้ามิได้สมสู่นาง แต่ถ้าพวกเจ้ามิได้สมสู่นางแล้ว ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้าและภรรยาของบุตรพวกเจ้าที่มาจากเชื้อสายของพวกเจ้า และการที่พวกเจ้ารวมระหว่างหญิงสองพี่น้องไว้ด้วยกัน นอกจากที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยผู้เมตตาเสมอ"

 (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ 4:23)


จากอัลกุรอานสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ อายะฮิที่23 หญิงที่ห้ามแต่งงาน คือ
(ก)หญิงห้ามแต่งงานจากการสืบ

 
1.แม่ แม่ในที่นี้รวมถึง แม่ของแม่ แม่ของพ่อ และที่สูงๆขึ้นไป
2.ลูกสาว รวมถึงลูกสาวของลูกสาว
3.พี่-น้องสาว
4.อาหญิง
5.ป้าหญิง
6.ลูกสาวของพี่-น้องชาย
7.ลูกสาวของพี่-น้องสาว
(ข)หญิงที่ห้ามแต่งงานทางการเกี่ยวดองกันด้วยสาเหตุการแต่งงาน

 
1.แม่ของภรรยา รวมถึงแม่ของแม่ภรรยา แม่ของพ่อของภรรยา และที่สูงๆขึ้นไป
2.ลูกสาวของภรรยาที่ชายผู้เป็นสามีได้มีเพศสัมพันธ์กับนางผู้เป็นภรรยานั้นแล้ว รวมถึงลูกสาวของลูกสาวหรือของลูกชายภรรยานั้นด้วย
3.ภรรยาของลูกชาย ลูกของลูกชาย ลูกของลูกสาว และที่อยู่ในระดับต่ำๆลงไป
4.ภรรยาของพ่อ
(ค) ทางการดื่มนม

 
-ผู้ที่ให้ดื่มนมมีตำแหน่งเทียบเท่ากับแม่ จึงเป็นที่ต้องห้ามแก่ผู้ดื่มนม คือทุกคนที่เป็นต้องห้ามแก่ลูกชาย ทางด้านการเป็นแม่ของเขา


มะฮฺร็อมตามบทบัญญัติอิสลาม
(ก)มะฮฺรอมทางสายเลือด
พระองค์อัลลอฮิ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَقُل لِّلْمُؤْمِنَاتِ يَغْضُضْنَ مِنْ أَبْصَارِهِنَّ وَيَحْفَظْنَ فُرُوجَهُنَّ وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَلْيَضْرِبْنَ بِخُمُرِهِنَّ عَلَىٰ جُيُوبِهِنَّ وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا لِبُعُولَتِهِنَّ أَوْ آبَائِهِنَّ أَوْ آبَاءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوْ أَبْنَائِهِنَّ أَوْ أَبْنَاءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوْ إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِي إِخْوَانِهِنَّ أَوْ بَنِي أَخَوَاتِهِنَّ أَوْ نِسَائِهِنَّ أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُنَّ أَوِ التَّابِعِينَ غَيْرِ أُولِي الْإِرْبَةِ مِنَ الرِّجَالِ أَوِ الطِّفْلِ الَّذِينَ لَمْ يَظْهَرُوا عَلَىٰ عَوْرَاتِ النِّسَاءِ وَلَا يَضْرِبْنَ بِأَرْجُلِهِنَّ لِيُعْلَمَ مَا يُخْفِينَ مِن زِينَتِهِنَّ وَتُوبُوا إِلَى اللَّهِ جَمِيعًا أَيُّهَ الْمُؤْمِنُونَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ( 31 ) 

"และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัดแก่บรรดามุอ์มินะฮ์ให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาทวารของพวกเธอ และอย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้ และให้เธอปิดด้วยผ้าคลุมศรีษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ และอย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่แก่สามีของพวกเธอ หรือบิดาของสามีของพวกเธอ หรือลูกชายของพวกเธอ หรือลูกชายสามีของพวกเธอ หรือพี่ชายน้องชายของพวกเธอ หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอหรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ หรือพวกผู้หญิงของพวกเธอ หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง และอย่าให้เธอกระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกเธอควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกเธอ และพวก


เจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์เถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลนูรฺ 24:31)

บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอ่านกล่าวว่า มะฮฺรอม ตามที่ปรากฏในอัลกุรอ่านก็คือ
1. พ่อ หรือพ่อของพ่อ หรือพ่อของแม่ จนกระทั่งในระดับสูงขึ้นไปจากฝ่ายชายและหญิง (ปู่ ตา ปู่ทวด ตาทวด...)
2. ลูกชายและลูกของลูก จนกระทั่งระดับต่ำลงไป เช่น หลาน เหลน โหลน จากลูกชายและลูกสาว
3. พี่ชายและน้องชาย ทั้งที่พ่อแม่เดียวกัน และพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือแม่เดียวกันแต่คนละพ่อก็ตาม
4. ลูกชายของพี่ชายและน้องชาย ลูกชายของพี่สาวและน้องสาว ทั้งที่พ่อแม่เดียวกัน และพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือแม่เดียวกันแต่คนละพ่อก็ตาม
5. ลุง (พี่ของพ่อหรือแม่) และน้า อา (น้องของแม่หรือพ่อ)

(ข)มะฮฺรอม ด้วยการสมรส

ผู้ที่ถือว่าเป็นมะฮฺรอมจากการแต่งงาน คือบุคคลที่ห้ามไม่ให้แต่งงานกันตลอดชีวิต ได้แก่

1.พ่อของสามี รวมถึงพ่อของสามี พ่อของแม่ของสามี และที่สูงๆขึ้นไป
2.ลูกชายของสามีที่หญิงผู้เป็นภรรยาได้มีเพศสัมพันธ์กับชายผู้เป็นสามีนั้นแล้ว
3.สามีของลูกสาว ลูกของลูกชาย ลูกของลูกสาว และที่อยู่ในระดับต่ำๆลงไป
4.สามีของแม่
(ค)มะฮฺรอม ด้วยการร่วมแม่นมเดียวกัน

บรรดานักวิชาการได้อธิบายโดยยึดเอาหลักการจากอัลกุรอ่าน และแบบฉบับของท่านบี ว่า การดื่มนมร่วมแม่นมเดียวกัน ถือเป็นเสมือนเครือญาติ (เช่นเดียวกับประเภททางสายเลือด)

ที่กล่าวมาข้างต้นคือผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานกันได้หรือผู้ที่เป็นมะร็อม ซึ่งศาสนาอนุมัติให้สามรถสัมผัสมือขณะให้สลามกันได้ จึงไม่ต้องกังวลใจว่าบุคคลดังกล่าวเราจะสัมผัสมือขณะให้สลามได้หรือไม่

อย่างเช่น แม่ของภรรยา หรือลูกเขยกับแม่ยาย , พ่อของสามี หรือลูกสะใภ้กับพ่อตา ก็สามารถสัมผัสมือขณะให้สลามกันได้ 

สำหรับน้องสาวหรือพี่สาวของภรรยา หรือพี่ชายหรือน้องชายของสามี และลูกของลุง อา , น้า นั้นไม่ถือเป็นมะร็อม และสามรถแต่งงานกันได้ (น้องสาว หรือ พี่สาวของภรรยาเป็นการห้ามแต่งงานชั่วคราว หากหย่าร้างกับภริยาแล้วก็สามารถแต่งงานกับนางได้) จึงไม่สามารถสัมมือขณะให้สลามกันได้ รวมถึงต้องปกปิดเอาเราะฮฺให้มิดชิด แม้จะอยู่ในบ้านเดียวกันเป็นครอบครัวใหญ่ก็ตาม


ที่มา:  truth islam
islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด