อัลลอฮฺทรงสาปแช่งคนที่ดัดฟัน?


12,529 ผู้ชม

บรรดาสตรีที่ทำการถ่างช่องระหว่างฟัน เพื่อความสวยงาม เป็นสตรีที่ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้าง


อัลลอฮทรงสาปแช่งคนที่ดัดฟัน?
ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงแช่งสตรี ต่อไปนี้...

“บรรดาสตรีที่ทำการถ่างช่องระหว่างฟัน เพื่อความสวยงาม เป็นสตรีที่ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้าง” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (6/58-59)  และมุสลิม (3/1678)

อัลลอฮฺทรงสาปแช่งคนที่ดัดฟัน?

อายะห์กุรอ่าน ที่กล่าวถึงการจัดฟัน

จากซูเราะฮฺอัตตีน อายะที่ 4 อัลลอฮฺ ได้ทรงตรัสเอาไว้ว่า: “โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัต-ตีน 95:4)

แต่ปัจจุบันเรากลับพบว่า มีผู้คนจำนวนมากที่ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการจัดฟัน จากอายะฮฺข้างต้นมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดฟันอย่างไร ?

ท่าน Ibn Katheer (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ตีความอายะฮฺนี้ไว้ในตัฟซีร (4/680) ของท่านว่า จากอายะฮฺข้างล่างนี้

“โดยแน่นอนเรา  ได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัต-ตีน 95:4)

มีหมายความว่า“อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาให้มีรูปทรงและรูปร่างที่ดียิ่ง มีสติสัมปชัญญะที่ดีและมีรูปทรงที่สวยงาม”
 
ท่าน Al-Qurtubi (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ได้กล่าวว่า :

“รูปแบบที่สวยงามยิ่ง” หมายถึง มนุษย์นั้นเป็นผู้ที่ยืนตัวตรงและเป็นผู้ที่มีพละกำลังในยามวัยรุ่น 

และนักตัฟซีรส่วนใหญ่กล่าวว่า คำว่า “รูปแบบที่สวยงามยิ่ง” หมายถึง มนุษย์นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ พิจารณาได้จากการที่

- มนุษย์นั้นเป็นผู้ที่ยืนตัวตรง ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะเป็นลักษณะที่ก้มหน้าลงสู่พื้นดิน

- มนุษย์นั้นสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการพูดจา  มีมือและนิ้วที่แยกออกจากกัน (ไม่เป็นครีบ) ทำให้สามารถหยิบจับสิ่งของได้
ส่วนท่าน Abu Bakr ibn Taahir ได้ให้ความหมายว่า

- มนุษย์นั้นมีความสามารถในการใช้เหตุผล มีสติปัญญา

- มีความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ

- มีความสามารถในการพิจารณาใคร่ครวญถึงคำชี้นำต่าง ๆ

- เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีลำตัวยืนขึ้น

- และสามารถหยิบจับอาหารได้ด้วยมือ 

(ที่มาจาก Tafseer al-Qurtubi (20/105))

ซึ่งจากความหมายของอายะฮฺอัลกุรอ่านในข้างต้นนั้น  มิได้มีถึงการห้ามรักษาร่างกาย ซึ่งในกรณีนี้ผู้ถาม หมายถึง การจัดฟัน  กล่าวคือ สำหรับบุคคลที่ฟันมีปัญหาตัวอย่างเช่น ฟันเบี้ยว ผิดรูป หรือมีข้อบกพร่อง ซึ่งการจัดฟันนี้จะเป็นการรักษาการผิดรูปหรือเป็นการป้องกันการเกิดโรคอื่น ๆ ที่จะตามมา โดยมีสาเหตุมาจากการผิดปกติของฟัน  ในกรณีนี้ การจัดฟันเป็นสิ่งที่สามารถให้กระทำได้ แต่ถ้าบุคคลใดที่ต้องการจัดฟัน โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อความสวยงามแล้ว  ในกรณีนี้การจัดฟันจะไม่เป็นที่อนุมัติให้กระทำ

(ที่มา Majmoo’ Fataawa al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) vol. 17, คำถามหมายเลข 4)


นอกจากนี้ท่าน al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) ได้ถูกตั้งคำถามถึง “เงื่อนไขของการจัดฟัน ว่ามีอย่างไรบ้าง”

ท่านได้ตอบว่า เงื่อนไขของการจัดฟันนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

1. การจัดฟันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสวยงาม  ในกรณีนี้จะไม่เป็นที่อนุมัติให้กระทำและไม่อนุญาตให้กระทำด้วย เนื่องจากท่านนบีมุฮัมมัด  ได้ทรงสาปแช่งสตรีที่จัดฟันเพื่อความสวยงามและสาปแช่งผู้ที่เปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าสตรีนั้น  เป็นเพศที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความรักความสวยงามและเป็นผู้ที่ชอบการตกแต่งประดับประดา แต่ในกรณีดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่อนุมัติและยังเป็นข้อห้ามอย่างยิ่งด้วยสำหรับผู้ชายอีกด้วย

2. สำหรับผู้ที่ฟันมีความบกพร่อง  ในกรณีนี้การจัดฟันเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ตัวอย่างเช่นในกรณีของคนที่มี ฟันยื่น ไม่ว่าจะเป็นฟันเขี้ยวหรือฟันซี่อื่นๆ ที่ยื่นออกมา ในกรณีนี้การจัดฟันเพื่อรักษาฟันที่ผิดปกตินี้เป็นสิ่งที่กระทำได้  เพราะเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมาและไม่ได้เป็นการกระทำไปเพื่อเพิ่มความสวยงาม
ดังมีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด  ดังนี้

มีชายคนหนึ่งที่จมูกของเขานั้นได้ถูกตัดออกไป และเขาได้นำแร่เงินมาทำเป็นจมูกขึ้นมาใหม่  แต่ต่อมาจมูกของเขาได้ส่งกลิ่นเหม็นขึ้น  ท่านนบีมุฮัมมัด  จึงได้กล่าวกับชายคนนั้นว่า ให้เปลี่ยนเอาแร่เงินออกเสียและให้ใช้เป็นแร่ทองคำแทน

ซึ่งจากเหตุการณ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงข้อบกพร่องนั้นเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้  ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสวยงาม
(ที่มา Majmoo’ Fataawa al-Shaykh Ibn ‘Uthaymeen (ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแด่ท่านด้วยเทอญ) vol. 17, คำถามหมายเลข 6)
(สามารถดูคำตอบเพิ่มเติม จากคำถามหมายเลข 21255)
 
สรุป  จากซูเราะฮฺอัตตีน อายะที่ 4  ความหมายของอายะฮฺนี้ ไม่ได้มีความหมายถึง การห้ามจัดฟัน  สำหรับบุคคลที่ฟันมีปัญหา  แต่มีเงื่อนไขว่า การจัดฟันนั้นกระทำไปเพื่อแก้ไขส่วนที่บกพร่องหรือมีความผิดปกติออกไป
และอัลลอฮฺ นั้นคือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

ที่มา:  www.islammore.com

อัพเดทล่าสุด