เลือดประจำเดือน หรือเฮดในภาษาอาหรับ อย่างน้อย 1 วัน ปกติ ก็ 7 วัน และอย่างมากไม่เกิน 15 วัน สตรีแต่ละท่านต้องสังเกตดูว่าปกติในแต่ละเดือนนั้นกี่วัน หมดแล้วก็อาบน้ำยกฮะดัส หากเกินกว่า ปกติ ก็พิจารณาได้ว่ามิใช่ประจำเดือน แต่เป็นเลือดเสีย
เลือด สตรีในอิสลามถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. เลือดประจำเดือน หรือเฮดในภาษาอาหรับ อย่างน้อย 1 วัน ปกติ ก็ 7 วัน และอย่างมากไม่เกิน 15 วัน สตรีแต่ละท่านต้องสังเกตดูว่าปกติในแต่ละเดือนนั้นกี่วัน หมดแล้วก็อาบน้ำยกฮะดัส หากเกินกว่า ปกติ ก็พิจารณาได้ว่ามิใช่ประจำเดือน แต่เป็นเลือดเสีย
จากท่านอุมมุสะละมะฮฺซึ่งเป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านร่อซูลลุลลอฮฺ(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ,นางถามท่านร่อซูลตอบว่า "นางจงพิจารณาจำนวนวันและคืนซึ่งนางเคยมีเลือดประจำเดือน โดยพิจารณาจำนวนคืนวันดังกล่าวนั้นของเดือน (ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน) นางจงละทิ้งการละหมาด จากนั้น (ภายหลังที่เกลี้ยงจากเลือดประจำเดือนแล้ว) ให้นางอาบน้ำ(ยกฮะดัส) และให้ชับเลือด (ด้วยผ้าอนามัยเพื่อความรอบคอบ) จากนั้นให้นางปฏิบัติละหมาดได้" (บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดีษที่ 208,อบูดาวูด หะดีษที่ 240 และอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 610)
ปกติประจำเดือนนั้นสีเหมือนเลือดปกติ สีเข้ม ถึงสีดำ....
ท่านร่อซูลลุลลอฮฺ(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)บอกว่า "ปรากฏว่าเลือดประจำเดือนเป็นสีดำ ซึ่งเป็นสีที่ถูกรู้จักกันดี (ในหมู่ของสตรี)" (บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดีษที่ 215)
2. เลือดหลังคลอดบุตร หรือน้ำคาวปลา,หรือนิฟาสในภาษาอาหรับ แม้จะแท้งบุตรมีเลือดก็ตาม ก็เรียกเลือดนิฟาสเช่นกัน ปกติทั่วไป จะมีระยะเวลาประมาณ 40 วัน หมดระยะเวลาแล้วก็อาบน้ำยกฮะดัสได้ แม้จะมีเลือดมาหลัง 40 วันแล้ว ก็ต้องอาบน้ำยกฮะดัส
เลือดนิฟาส (نفاس) คือเลือดหลังคลอดบุตรนั้นศาสนาระบุว่าต้องไม่เกิน 40 วัน นางอุมมุสสะละมะฮฺเล่าว่า "ปรากฏว่าสตรีที่มีเลือดหลังคลอดบุตรในสมัยของท่านร่อซูลลุลลอฮฺนั้น นางจะพัก 40 วันเท่านั้น" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 129 และท่านอื่นๆ)
ในกรณีที่เลือดนิฟาสมีเกิน 40 วัน ดังนั้นเมื่อครบ 40 วันแล้วยังมีเลือดอยู่อีก เลือดนั้นถือว่าเป็นเลือดอิสติฮาเดาะฮฺ (เลือดเสีย) เช่นนี้ก็ให้เราอาบน้ำญะนาบะฮฺ(ยกฮะดัส)ได้เลย
3. เลือดเสีย หรืออิสติฮาเดาะฮฺในภาษาอาหรับ คือเลือดที่ต่างจาก 2 ข้อข้างบน คือเลือดที่เกินกว่าระยะปกติ สตรีที่มีสภาพเช่นนี้ให้อาบน้ำยกฮะดัสและปฏิบัติศาสนกิจได้เลย ละหมาดครั้งก็ไปก็อาบน้ำละหมาดปกติ ถึงจะมีเลือดอยู่ก็ตาม แค่ระมัดระวังอย่าให้เปื้อนเสื้อผ้านั่นเอง สตรีผู้ที่มีสภาพเช่นนี้ สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ตามปกติเหมือนมุสลิมทั่วไป
สิ่งที่ห้ามกระทำสำหรับผู้ที่มีเลือดประจำเดือน
1. ละหมาด เพราะฮะดิสที่ได้รายงานจากฟาตีมะห์ บุตรี อะบีฮุบัยช์ ว่า นางเคยมีเลือดเสีย และท่านนบี(ซ.ล) ได้กล่าวแก่นางว่า
فََاِذَاكَانَ دَمُ الْحَيْضَةِ فَاِنَّه دَمٌ أَسْوَدُيُعْرَفُ فاذاكانَ ذلِكَ فَأَمْسِكِى عَنِ الصلاةِ فاذاكان الأخَرُفَتَوَضَّئِى وصَلِّي فانماهُوَعِرْقٌ
“ถ้าเป็นเลือดประจำเดือนมันต้องเป็นเลือดสีดำที่รู้ ได้ และเมื่อมันเป็นเช่นนั้น ก็ให้เธอจงหยุดละหมาด และถ้าหากเป็นอย่างอื่นก็ให้เธอจงอาบน้ำละหมาด และเธอจงละหมาด เพราะมันเป็นเลือดที่ออกมาจากเส้นเลือด”
2. อ่านอัลกุรอ่าน กระทบและนำพาอัลกุรอ่าน ท่านร่อซู้ล (ซ.ล) ได้กล่าวว่า
لاتَقْرَأِالحَائِضُ وَلا الجُنُبُ شَيْئًا مِنَ القُرْآنِ رواه الترمذى وغيره
“หญิงที่มีเลือดประจำเดือน และผู้ที่อยู่ในสภาพยุนุบ อย่าอ่านสิ่งใดจากอัลกุรอ่าน” (รายงานโดยติรมีซีย์ และผู้อื่น)
อัลเลาะห์ (ซ.บ) ทรงตรัสว่า
لايَمَسّه اِلا المُطَهَّرُوْنَ سورةالواقعة 79
“จะกระทบอัลกุรอ่านไม่ได้ นอกจากบรรดาผู้ที่สะอาดเท่านั้น” (อัล-วากิอะห์ 79)
3. หยุดอยู่ในมัสยิด ไม่ใช่เพียงผ่านเข้าไป ดังฮะดีสที่ว่า
عَنْ عَائِشَةَ رضى الله عنها قَالَتْ قالَ لِىْ رَسُوْلُ الله صلى الله عليه وسلم نَاوِلِيْنِىْ الْخُمْرَةَ مِنَ الْمَسْجِدِ فَقُلْتُ اِنِّى حَائِضٌ فَقَالَ اِنَّ حَيْضَتَكِ لَيْسَتْ فِى يَدِكِ
“จากอาอีชะ ห์ (ร.ด) ว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ (ซ.ล) ได้กล่าวว่า เธอจงหยิบเสื่อปูละหมาดมาให้ฉันจากมัสยิดด้วยเถิด ฉันจึงกล่าวว่า ฉันมีเลือดประจำเดือน ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า ความจริงเลือดประจำเดือนของเธอไม่ได้อยู่ในมือของเธอหรอก”
และนะซาอี(1/147)ได้รายงานว่า
عَنْ مَيْمُوْنَةَ رَضِىَ اللهُ عنها قَالَتْ تَقُوْم ُاحْدانا بِالْخُمْرَةِ اِلى الْمَسْجِدِ فَتَبْسُطُها وَهِىَ حَائِضٌ
จาก มัยมูน้ะห์ (ร.ด) ได้กล่าวว่า “มีคนหนึ่งในหมู่พวกเรา ลุกขึ้นไปมัสยิดพร้อมด้วยเสื่อปูละหมาด และนางก็ปูเสื่อนั้นทั้งที่มีเลิอดประจำเดือน”
4. ตอวาฟ หลักฐานในเรื่องนี้ได้แก่ ฮะดีสที่บุคอรี(290)และมสลิม(1211)ได้รายงาน
عَنْ عَائِشَةَ رَضِىَ اللهُ عنها قالتْ خَرَجْناَ لانُرى اِلا الْحَجَّ فَلَمَّا كُنَّا بِسَرَفٍ حِضْتُ فَدَخَلَ عَلَيَّ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَليه وَسَلم وَأنا أَبْكى قَالَ مَالَكِ أَنَفَسْتِ قُلْتُ نَعَمْ قَالَ اِنَّ هذا أَمْرٌ كَتَبَهُ اللهُ عَلى بَناتِ أدَمَ فَاقْضِي مَا يَقْضِي الْحَاجُّ غَيْرَ أَنْ لا تَطُوْفِيْ بِالْبَيْتِ وَفِىْ رِوَايَةٍ حَتَّى تَطْهُرِيْ
“จากอาอิซะห์(ร.ด)ได้กล่าวว่า เราได้ออกไป โดยเราไม่คาดการสิ่งใดนอกจากฮัจยิ์เท่านั้น เมื่อพวกเราไปถึงสะรอฟ ฉันก็มีเลือดประจำเดือน ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์(ซ.ล) ได้เข้ามาหาฉันขณะที่ฉันกำลังร้องไห้ ท่านกล่าวว่า เธอเป็นอะไรหรือ? เธอมีเลือดประจำเดือนหรือ? ฉันตอบว่าถูกแล้ว ท่านกล่าวว่าความจรีงเรื่องนี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮได้กำหนดไว้แล้วกลับลูกหลาน ของอาดำที่เป็นสตรี เธอจงกระทำเหมือนกับสิ่งที่ผู้ประกอบพิธีฮัจยิ์กระทำเถิด นอกจากเธออย่าตอวาฟบัยตุ้ลลอฮ์” และในรายงานหนึ่งว่า “จนกว่าเธอจะสะอาด”
และห้าม(ฮะรอม) ผู้หญิงที่มีเลือดประจำเดือน นอกเหนือจากนั้นอีกหลายประการ คือ
1. การผ่านเข้าไปในมัสยิด เมื่อกลัวว่าจะทำให้มัสยิดเปรอะเปื้อน เพราะเลือดเป็นนะยิส และห้ามทำให้มัสยิดเปรอะเปื่อนด้วยนะยิส และสิ่งโสโครกต่างๆ ถ้าหากแน่ใจว่า จะไม่ทำให้มัสยิดเปรอะเปื้อนก็อนุญาตให้ผ่านเข้าไปในมัสยิดได้
2. การถือศิลอด ไม่อนุญาตไห้ผู้หญิงที่มีเลือดประจำเดือนถือศิลอด ทั้งที่เป็นฟัรดูและสุนัต
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือ ฮะดีสที่บุคอรี(298) และมุสลิม(80) ได้รายงาน
عًنْ أًبِي سَعِيْد رَضِىَ الله عنه أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صلى الله عليه وسلم قالَ فِى الْمَرْأَةِ وَقَدْ سُئِلَ عَن مَعْنى نُقْصَانِ دِيْنِها أَلَيْسَ اِذا حَاضَتْ لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ؟
จากอบีซะอีด(ร. ด) ว่า “ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์(ซ.ล) ได้กล่าวในเรื่องของผู้หญิง ขณะที่ท่านถูกถามถึงความหมายของคำพูดที่ว่า ผู้หญิงนั้นบกพร่องในเรื่องศาสนาของนาง โดยท่านตอบว่า เมื่อนางมีเลือดประจำเดือน นางก็ไม่ต้องละหมาด ไม่ต้องถือศิลอด ไม่ใชหรือ?”
ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นอิจมาอ์
และ ผู้หญิงที่มีเลือดประจำเดือนจะต้องชดใช้ (กอดออ์)การถือศิลอดที่เป็นฟัรดูภายหลังจากที่สะอาดแล้ว แต่ไม่ต้องชดใช้(กอดออ์)การละหมาด และถ้าหากหมดเลือดประจำเดือนแล้ว ก็จำเป็นต้องถือศิลอด หากอยู่ในช่วงของเดือนรอมาดอน แม้จะยังไม่ได้อาบน้ำวาญิบก็ตาม
บุคอรี(315) และมุสลิม(335) ได้รายงาน ส่วนสำนวนฮะดิสเป็นของมุสลิม
عَنْ مُعاذَة قالتْ سَأَلْتُ عَائِشَةَ رضى الله عنها فَقُلْتُ مَا بال الحائض تقضي الصوم ولا تقضي الصلاة ؟ قالت كان يصيبنا ذلك مع رسول لله صلى الله عليه وسلم فنؤ مر بقضاء الصوم ولا نؤمر بقضاء الصلاة
เล่าจากมุอาซะ ห์ ว่า ฉันได้ถามอาอีซะห์(ร.ด) ว่า “หญิงที่มีเลือดประจำเดือนนั้นเป็นอย่างไร?ที่ต้องชดใช้(กอดออ์)การถือศิลอด แต่ไม่ต้องชดใช้(กอดออ์) การละหมาด อาอิซะห์ตอบว่า เรื่องดังกล่าวได้เคยประสบกับเรา ขณะอยู่กับท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์(ซ.ล) และพวกเราถูกใช้ให้ชดใช้(กอดออ์)การถือศิลอด โดยพวกเราไม่ถูกใช้ให้ชดใช้(กอดออ์)การละหมาด”
อาจเป็นไปได้ว่า เหตุผลในเรื่องนี้ก็คือ ละหมาดนั้นมีมาก จึงลำบากที่จะต้องนำมาชดใช้ ต่างกับการถือศิลอด
3. การร่วมประเวณี การเย้าหยอก และการสัมผัสระหว่างสะดือถึงหัวเข่า เพราะอัลลอฮ์(ซ.บ) ทรงตรัสว่า
فَاعْتَزِلُوا النِّسَاءَ فِى الْمَحِيْضِ وَلا تَقْرَبُوْا هُنَّ حَتى يَطْهُرْنَ فَاذا تَطَهَّرْنَ فَأْتُوْهُنَّ مِنْ حَيْثُ أَمَرَكُمُ اللهُ اِنَّ اللهَ يُحِبُّ التَّوَّابِيْنَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِيْنَ
“ดังนั้นท่าน ทั้งหลายจงปลีกตัวออกจากพวกผู้หญิง ขณะมีเลือดประจำเดือนเถิด และท่านทั้งหลายอย่าเข้าใกล้พวกนาง จนกว่าพวกนางจะสะอาด ดังนั้นเมื่อพวกนางสะอาดแล้ว พวกท่านจงมาสู่พวกนางเถิด จากด้านที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาแก่พวกเจ้า แน่แท้อัลลอฮ์ทรงรักพวกที่กลับตัวสู่พระองค์ และทรงรักพวกที่สะอาด”
และ อบูดาวูด(212) ได้รายงานจากอับดิ้ลลาห์บุตรสอีด(ร.ด) ว่า เขาได้ถามท่านนบี(ซ.ล) ว่า อะไรบ้างที่อนุมัติแก่ฉัน จากภรรยาของฉันขณะที่นางมเลือดประจำเดือน ท่านตอบว่า
لَكَ مَا فَوْقَ الاِزَارِ
“อนุญาตให้ท่านส่วนที่อยู่เหนือผ้านุ่ง”
ผ้านุ่งคือสิ่งที่ใช้ปกปิดสส่วนกลางของลำตัวและที่ต่ำลงไป หมายถึงอนุญาตส่วนที่เหนือสะดือขึ้นไป และต่ำกว่าหัวเข้าลงมา
อ้างอิงจาก : หนังสืออัลฟิกหุลมันฮะญีย์ 1/79-81 หนังสืออัลฟิกห์อัลมันฮะญีย์ (ฉบับภาษาไทย) แปลโดยท่าน อ. อรุณ บุญชม 1/71-73
สิ่งที่ต้องปฎิบัติสำหรับผู้มีประจำเดือนผู้คลอดบุตร
การอาบน้ำวายิบ
เหตุที่ทำให้วายิบต้องอาบน้ำมี 6 กรณี
1. การร่วมประเวณีระหว่าง ชาย หญิง จะมีอสุจิเคลื่อนออกมาหรือไม่ก็ตาม หากล่วงล้ำ “ฮัซฟะฮ์” หรือโดยประมาณสำหรับผู้ที่ไม่มีฮัซฟะฮ์ เรียกว่ายู่นุบ
2. อสุจิเคลื่อนออกมา ด้วยการกระทำของบุคคล หรือการฝัน หรืออื่นใดก็ตาม เรียกว่ายู่นุบ
3. การตาย นอกจากการตายชะฮีด
4. เลือดประจำเดือน (เฮด) คือเลือดระดูที่ออกจากหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไปโดยประมาณ ในขณะที่ร่างกายปกติ
ระยะเวลาของการมีเลือดประจำเดือน ดังนี้
1. อย่างน้อยวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง (24 ชั่วโมง)
2. อย่างธรรมดา 6 วัน 6 คืน หรือ 7 วัน 7 คืน
3. อย่างมาก 15 วัน 15 คืน
หากมีมาไม่ถึง 24 ชั่วโมง หรือมีมากกว่า 15 วัน 15 คืน ไม่เรียกว่าเลือดประจำเดือน เรียกว่าเลือดเสีย (อิสติฮาเดาะฮ์) ให้อาบน้ำเฮดก่อน ต่อไปก็ให้ทำความสะอาด และป้องกันไม่ให้ออกมา แล้วปฏิบัติศาสนกิจตามปกติ
5.เลือดนิฟาส คือ เลือดที่ออกหลังจากการคลอดบุตร
ระยะเวลาของการมีเลือดนิฟาสดังนี้
1. อย่างน้อยชั่วพริบตาเดียว หรือโลหิตหนึ่งหยด
2. อย่างธรรมดา 40 วัน 40 คืน
3. อย่างมาก 60 วัน 60 คืน
การมีเลือดตามข้อ 1,2 และ 3 นั้น ต้องมีในระหว่าง 15 วันนับจากวันคลอด ถ้าหากมีภายหลังจาก 15 วันแล้วไม่เรียกว่านิฟาส แต่เรียกว่า “เฮด” ซึ่งอยู่ในกำหนดเวลาของเฮด
6.การคลอดบุตร (วิลาดะฮ์) การคลอดนั้นจะมีโลหิตออกมาด้วยหรือไม่ก็ตาม ต้องวายิบอาบน้ำเช่นเดียวกัน
ฟัรดูของการอาบน้ำวายิบมี 3 ประการ
1. เหนียต คือการนึกมุ่งต่อการอาบน้ำวายิบพร้อมทั้งลงมืออาบ กล่าวคือจะต้องเหนียต ในขณะที่น้ำถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย สุนัตให้อ่านคำนำเหนียตดังนี้
نَوَيْتُ رَفْعَ الْحَدَثِ الاَكْبَرِ عَنْ جَمِيْعِ الْبَدَنِ فَرْضًا عَلَيَّ للهِ تَعَالَى
“ข้าพเจ้ายกฮาดัสใหญ่ทั่วร่างกายเป็นฟัรดูเหนือข้าพเจ้าเพื่ออัลลอฮ์ ตะอาลา”
2. ขจัดน่ายิสอัยนี ออกจากร่างกายให้หมดก่อนที่จะลงมืออาบน้ำวายิบ ส่วนน่ายิสฮุกมี ไม่วายิบต้องขจัดออกจากร่างกายก่อนที่จะอาบน้ำ แต่ว่าการราดน้ำเพื่อที่จะอาบน้ำวายิบนั้นมันจะขจัดน่ายิสฮุกมีไปด้วยพร้อมๆกัน
3. ล้างน้ำให้ทั่วทั้งร่างกายทั้งผม ขนทุกเส้น และผิวหนังภายนอก[4]
สุนัต(ควรทำ)ของการอาบน้ำวายิบ
1. กล่าว บิ้สมิ้ลลาฮิ้รเราะห์มานิรร่อฮีม ตอนเริ่มอาบน้ำวายิบ
2. อาบน้ำละหมาดก่อนอาบน้ำวายิบ
3.เอามือถูตามร่างกายในส่วนที่มือสามารถถูไปถึง
4.อาบน้ำวายิบอย่างต่อเนื่อง
5.อาบซีกขวาของร่างกายก่อนซีกซ้าย
6. สางผม และขน
7.หันไปทางกิบละห์ในขณะที่อาบน้ำวายิบ
ที่มา: pantip.com