การจ่ายซะกาต เป็นการขัดเกลา เป็นการปกป้องเกียรติยศของบรรดาคนยากคนจนจากความต่ำต้อยของการขอบริจาคทาน และเป็นการรักษาเกียรติของพวกเขาในทุกด้าน
ผลลัพท์จากการไม่จ่ายซะกาต
การจ่ายซะกาต เป็นการขัดเกลา เป็นการปกป้องเกียรติยศของบรรดาคนยากคนจนจากความต่ำต้อยของการขอบริจาคทาน และเป็นการรักษาเกียรติของพวกเขาในทุกด้าน และช่วยเหลือให้ความง่ายดายแก่พวกเขาในการเข้าใกล้ชิดอัลลอฮ์มากยิ่งขึ้น พร้อมกับหยิบยื่นความรักความหวังดีในระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง และนับว่าเป็นการช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก และถือว่าเป็นการเผยแพร่อิสลามสู่ประชาคมโลก หยุดยั้งการสร้างศัตรูจากผู้ไม่หวังดีต่ออัลอิสลามจากบรรดาผู้หลงผิด และผู้ที่ได้รับความโกรธกริ้วทั้งหลาย
กี่มากน้อยแล้ว ที่การแจกจ่ายซะกาตได้สร้างคุณูประการให้แก่สังคม ทั้งผู้ให้และผู้รับ และทั้งยังเป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่ ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ในวันที่เรายืนต่อหน้าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และกี่มากน้อยแล้วที่ การแจกจ่ายซะกาตได้สร้างความจำเริญให้แก่สังคมมุสลิมและเป็นการหยุดยั้งผลักดันการเป็นศัตรูให้หมดสิ้นไปจากสังคม และนี่แหละคือทางนำจากพระผู้เป็นเจ้าต่อปวงบ่าวของพระองค์ที่ถูกวางบทบัญญัติไว้ในศาสนาของเรา อัลอิสลาม
ช่างเป็นบทบัญญัติ ที่ยิ่งใหญ่ ! !...และช่างเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น ! !...และจึงกลายเป็นผลลัพท์อันรุนแรงต่อผู้ปฏิเสธและละเลยต่อมัน
มีรายงานจาก อิหม่ามอัฏฏอบรอนีย์ จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮู่อันฮู่ จากท่านบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
" ما تلف مال في بر ولا بحر إلا بحبس الزكاة "
"ทรัพย์สินใดจะไม่สูญหายไป ไม่ว่าจะบนบกหรือบนผืนทะเล เว้นแต่ด้วยกับการไม่จ่ายซะกาต"
มีรายงานอีกว่า แท้จริงท่านนบี (ซ.ล.) สาปแช่งผู้ปฏิเสธการจ่ายซะกาต และเพียงพอต่อเขาแล้วจากการตำหนิในการเปรียบเทียบพวกเขาว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสเอาไว้ความว่า
"ความวิบัติจะมีแก่ผู้ตั้งภาคี บรรดาผู้ไม่จ่ายซะกาต และพวกเขา คือพวกปฏิเสธศรัทธาต่อวันปรโลก" [7-6فصلت:]
และถูกตำหนิในการเปรียบเทียบลักษณะพวกเขาว่าคล้ายคลึงกับบรรดากลุ่มชนหน้าไหว้หลังหลอก ดังที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ตรัสเอาไว้ความว่า :
"พวกเขาจะไม่ทำการบริจาคเว้นแต่จะถูกบังคับเท่านั้น" 54التوبة
โอ้บรรดาพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย ทรัพย์สินที่ไม่จ่ายซะกาตมันจะกลายเป็นผลร้ายต่อเจ้าของของมัน และมันจะสร้างความทุกข์ให้แก่เจ้าของของมัน และนำพาเจ้าของของมันถูกลงโทษในอาคิเราะห์ โดยมีบันทึกในซ่อเฮียะห์อิหม่ามมุสลิม จากท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
" ثم يقول: أنا مالك -يعني شدقية-من آتاه الله مالاً فلم يؤد زكاته مُثِّل له يوم القيامة شجاعاً أقرع يأخذ بِلَهْزَمَتَيْهِ "
"ใครที่อัลลอฮฺได้ประทานทรัพย์สินแก่เขาแล้วเขาไม่ทำการจ่ายซะกาต มันจะถูกจำแลงแก่เขาในวันกิยามะฮฺให้เป็นงูหัวล้าน มีสองเขี้ยว
มันจะรัดเขาในวันกิยามะฮฺ แล้วรัดที่ขากรรไกรของเขาทั้งสองข้างแล้วมันจะกล่าวว่า "ข้า คือ ทรัพย์ของเจ้า"
หลังจากนั้นท่านนบี (ซ.ล.) จึงได้อ่านอายะห์นี้ว่า
[180آل عمران: (وَّقُونَ مَا بَخِلُوا بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِطَوَلَا يَحْسَبَنَّ الَّذِينَ يَبْخَلُونَ بِمَا آَتَاهُمُ اللَّهُ مِنْ فَضْلِهِ هُوَ خَيْرًا لَهُمْ بَلْ هُوَ شَرٌّ لَهُمْ سَيُ) ]
قال وسلم عليه الله صلى النبي عن الصحيح وفي
" نار، من صفائح له صُفِّحت القيامة يوم كان إذا إلا حقها منها يؤدي لا فضة ولا ذهب صاحب من ما مقداره انك يوم في عليه أعيدت بردت كلما وظهره؛ وجبهته جنبه بها فيكوى جهنم، نار في عليها فأحميسنة ألف خمسين "
และในหนังสือซ่อเฮียะห์ จากท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่
"ผู้ใดที่ได้ครอบครองทองและเงินแล้วไม่จ่ายซะกาตตามสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้น ในวันกิยามะฮฺจะมีแผ่นเหล็กที่ทำจากไฟ จากนั้นถูกนำไปย่างกับไฟนรกญะฮันนัม แล้วจึงนำมาทาบสีข้าง หน้าผาก และแผ่นหลังของเขา คราใดที่มันเย็นลง ก็จะถูกนำกลับมาทำอย่างเดิม จะเป็นเช่นนี้ทุกวัน ซึ่งระยะเวลาหนึ่งวันในวันนั้นเท่ากับห้าหมื่นปี "
และในอีกรายงานหนึ่ง
حهتنط وأسمنه؛ كانت ما أعظم القيامة يوم جاءت إلا زكاتها يؤدي لا غنم ولا بقر ولا إبل صاحب من ماالناس بين يقضى حتى أولاها عليه عادت أخرى نفدت كلما وأظلافها؛ بأخفافها وتطؤه بقرونها، ".
"ไม่มีผู้ใดที่มีอูฐ วัวหรือแพะแล้วเขาไม่จ่ายสิทธิ์ของมัน นอกจากมันจะถูกนำมาในวันกิยามะฮฺ ในลักษณะที่ใหญ่มากและอ้วนมาก
แล้วมันจะเยียบเขาด้วยเท้า และขวิดด้วยเขาของมัน ทุกครั้งที่ตัวสุดท้ายผ่านไปตัวแรกก็จะหวนกลับคืนมา จนกว่าจะมีการตัดสินระหว่างมนุษย์”
และบรรดาผู้ที่ตระหนี่ในสิ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงประทานให้แก่พวกเขาจากความกรุณาของพระองค์นั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่ามันเป็นการดีแก่พวกเขา หากแต่มันเป็นความชั่วแก่พวกเขา ซึ่งพวกเขาจะถูกคล้องสิ่งที่ได้ตระหนี่มันไว้ในวันกิยามะฮ์ และสำหรับอัลลอฮ์(ซ.บ.)นั้น คือมรดกแห่งบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน และอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน
ดังนั้น พวกท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)เถิด และจงจ่ายซะกาตจากทรัพย์สินของท่านที่จะทำให้จิตใจของท่านนั้นดีงาม พวกท่านทั้งหลายจะได้รับความสำเร็จด้วยกับความดีจากมัน และความจำเริญจากมัน และผลบุญของที่ยิ่งใหญ่ทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์ เพียงพอแล้วแก่พวกท่านจากอายะห์อัลกุรอานที่ว่า
"และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้บริจาคซะกาต" จนถึงอายะห์
[المؤمنون:4-11]. (أُولَئِكَ هُمُ الْوَارِثُونَ * الَّذِينَ يَرِثُونَ الْفِرْدَوْسَ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ)
"ชนเหล่านี้แหละพวกเขาเป็นทายาท ซึ่งพวกเขา จะได้รับมรดกสวนสวรรค์ชั้นฟริเดาส์ พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล"
พึงระวังถึงผลร้ายสำหรับผู้ปฏิเสธการจ่ายซะกาตเถิด เพราะแท้จริงเขานั้นคือผู้ที่มีชีวิตที่ต่ำต้อยในดุนยา และยังจะได้รับการลงโทษอันแสนสาหัสในโลกอาคิเราะห์
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประทานทรัพย์สินให้แก่พวกท่านอย่างมากมาย แต่สิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) ขอจากพวกท่านเพียงน้อยนิด นั่นแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นต่อพวกท่าน เป็นการปฏิบัติดีต่อพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงอย่าตระหนี่
อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสไว้ความว่า
"ผู้ใดตระหนี่เขาก็ตระหนี่แก่ตัวของเขาเอง เพราะอัลลอฮ.เป็นผู้ทรงมั่งมี แต่พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสน และถ้าพวกเจ้าเผินหลังออก พระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนหมู่ชนอื่นแทนพวกเจ้า แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นเช่นพวกเจ้า"
محمد:38
ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และร่อซูล และจงบริจาคจากสิ่งที่พระองค์อัลลฮ์(ซ.บ.)ให้พวกท่านได้ครอบครอง และจงบริจาคทานต่อบรรดาผู้ทีอัลลอฮ์(ซ.บ.)สั่งใช้ให้บริจาคแก่พวกเขา จากทรัพย์สินที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานให้แก่พวกท่าน พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)คือผู้ทรงตรวจตราดูพวกท่านอยู่ และพระองค์จะทรงพิจารณาในสิ่งที่พวกท่านต่างได้ครอบครองมัน ว่าพวกท่านใช้จ่ายมันไปในหนทางใด ?
พวกท่านทั้งหลายจงระวังและออกห่างจากความตระหนี่ แท้จริงแล้วความตระหนี่ได้สร้างความวิบัตแก่กลุ่มก่อนหน้าพวกท่านมาแล้ว จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ให้สุดความสามารถ จงเชื่อฟังและปฏิบัติตามพระองค์ และจงบริจาคเพื่อให้เป็นคุณงามความดีแก่ตัวของท่าน และใครก็ตามที่ปกป้องตัวเองจากความตระหนี่คนเหล่านั้นคือผู้ได้รับความสำเร็จ
ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสไว้ความว่า
"หากพวกเจ้าให้อัลลอฮฺยืมอย่างดีเยี่ยมแล้ว พระองค์ก็จะทรงทวีการยืมให้แก่พวกเจ้า และจะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงตอบแทนแก่ผู้กระทำความดีทรงผ่อนผันการลงโทษ"
โอ้บรรดาผุ้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ให้ความง่ายดายต่อข้อสั่งใช้นี้แก่พวกท่านหลายประการ
ประการแรก
แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) มิได้กำหนดความจำเป็นในการจ่ายซะกาตเว้นแต่ ทรัพย์สินที่งอกเงยขึ้นมา เช่น ปศุสัตว์ที่เลี้ยงในทุ่งโล่ง หรือทุ่งนา และสินค้าที่เตรียมไว้เพื่อการค้าขาย และเงินตรา นั้นคือ ทอง เงิน และกระดาษที่แทนเงินต่างๆ (เช่น พันธบัตร) และสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน เช่น พืช ผลไม้ สินแร่ และอื่นๆ
ประการที่สอง
จากเงื่อนไขของการจ่ายซะกาตคือ ต้องเป็นผู้ที่ครอบครอง ดังนั้นทรัพย์สินที่ไม่ได้ครอบครองเขาก็ไม่ต้องออกซะกาตจากมัน เช่น ที่วะกัฟ หรือ องค์กรการกุศลของมุสลิม หรืออืนๆ และมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งให้แก่เจ้าของก็ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องออกซะกาตเพราะยังไม่ได้ครอบครองมัน
ประการที่สาม
จำเป็นที่จะต้องรอให้ครบรอบปี ทรัพย์ใดที่ไม่ครบรอบปีก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต ยกเว้น สิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน เช่น พืช ผลไม้ สินแร่ รอบปีของมันนับวันที่เก็บเกี่ยว และกำไรของการค้า การนับรอบปีของมัน นับรวมกับสินค้าทั้งหมด และเช่นเดียวกันลูกของปศุสัตว์ก็นับรวมกับจำนวนพ่อแม่ของมัน
ประการที่สี่
อัตราการจ่ายซะกาตนั้นถือว่าน้อยมาก ส่วนมากแล้วจ่ายไม่เกินร้อยละสองจุดห้า ของจำนวนทั้งหมด
ดังนั้น พวกท่านทั้งหลายจงบริจาคออกไปในหนทางของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กันเถิด และจงเชื่อมั่นในสัญญาแห่งการเพิ่มพูนของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และออกห่างจากการตระหนี่ถี่เหนียว เพราะมันได้สร้างความวิบัติมาแล้วแก่กลุ่มชนก่อนหน้าพวกท่าน และมันคือแผนร้ายของชัยฏอนที่จะสร้างความแตกแยก และความโกรธแค้นและเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมของเรา
ที่มา: www.islammore.com
แปลโดย อบูชีส