จับลูกอัณฑะ เสียน้ำละหมาด หรือไม่?


14,690 ผู้ชม

มื่อเราจับต้องลูกอัณฑะด้วยฝ่ามือนั้น  ถือว่าเสียน้ำละหมาดหรือไม่?


จับลูกอัณฑะ เสียน้ำละหมาด หรือไม่?

คำถาม : เมื่อเราจับต้องลูกอัณฑะด้วยฝ่ามือนั้น  ถือว่าเสียน้ำละหมาดหรือไม่?

ตอบโดย: อาลี เสือสมิง

อิมามอัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “บรรดานักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺกล่าวว่า “การสัมผัส (จับหรือโดนด้วยฝ่ามือหรือท้องนิ้วมือ) ลูกอัณฑะทั้งสอง ขนเพชรทั้งหญิงและชาย ตลอดจนที่ซึ่งขนขึ้น และสิ่งที่อยู่ระหว่างทวารหน้าและทวารหลัง สิ่งที่อยู่ระหว่างแก้มก้นทั้งสองจะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด อันที่จริงที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดคือ การสัมผัสกับองคชาติ ห่วงทวารหนัก และจุดบรรจบของแคมอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น” 
แต่มีรายงานจากท่านอุรวะฮฺ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ (ร.ฎ.) ว่า “แท้จริงการสัมผัสโดยลูกอัณฑะทั้งสอง แก้มก้น และขนเพชรถือว่าทำให้เสียน้ำละหมาด” แต่ปวงปราชญ์กล่าวว่า “สิ่งดังกล่าวไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดเช่นเดียวกับมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺของเรา 
ส่วนหะดีษที่นำมาอ้างเป็นหลักฐานให้แก่ทัศนะของท่าน อุรวะฮฺ (ร.ฎ.) ที่ว่า “ผู้ใดสัมผัสองคชาติของเขาหรือลูกอัณฑะทั้งสองของเขาหรือโคนขาอ่อนทั้งสองของเขา ผู้นั้นจงอาบน้ำละหมาด” หะดีษนี้เป็นหะดีษบาฏิล (โมฆะ) และถูกกุขึ้น (เมาวฺฎอฺ) อันที่จริงนี่เป็นคำกล่าวของอุรฺวะฮฺเอง เช่นนี้นักวิชาการหะดีษกล่าวเอาไว้  และหลักเดิมถือว่าไม่เสียการอาบน้ำละหมาด ยกเว้นด้วยหลักฐานที่ใช้ได้หรือถูกต้องเท่านั้น (กิตาบ อัล-มัจญ์มุอฺ ชัรฺหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 3 หน้า 44,45) 
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า การสัมผัสลูกอัณฑะจะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดตามทัศนะที่ถูกยึดถือในมัซอับอัช-ชาฟิอียฺ นักวิชาการในมัซฮับบางท่านระบุว่า ส่งเสริมให้อาบน้ำละหมาดใหม่เพื่อเป็นการออกจากข้อขัดแย้งของผู้ที่มีทัศนะว่าทำให้เสียน้ำละหมาด (อิอานะตุฏฏอลิบีน ; อัด-ดุมยาฏียฺ เล่มที่ 1 หน้า 76)
والله اعلم بالصواب

alisuasaming.org


อัพเดทล่าสุด