เมื่อมนุษย์ละทิ้งการกระทำมะศิยะฮฺ(การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ) การละทิ้งสิ่งดังกล่าวของเขาก็จะไม่พ้นไปจากสภาพต่างๆต่อไปนี้ :
ละทิ้งความชั่วอย่างไร ให้ได้รับผลบุญ
เมื่อมนุษย์ละทิ้งการกระทำมะศิยะฮฺ(การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ) การละทิ้งสิ่งดังกล่าวของเขาก็จะไม่พ้นไปจากสภาพต่างๆต่อไปนี้ :
สภาพที่ 1 : การที่เขาละทิ้งมะศิยะฮฺเนื่องจากเกรงกลัวอัลลอฮฺ การละทิ้งแบบนี้ก็จะได้รับผลบุญ เนื่องจากท่านนบี (ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในหะดีษกุดซียฺว่า :
"….และหากเขาละทิ้งมัน(ความชั่ว)เพื่อฉัน พวกเจ้าทั้งหลายก็จงบันทึกมันเป็นความดีให้กับเขา…"(บันทึกโดยท่านอิมามบุคอรี)
สภาพที่ 2 : การที่เขาละทิ้งมะศิยะฮฺเพื่อโอ้อวดผู้คน และแสวงหาคำชมเชยของพวกเขา การละทิ้งแบบนี้จะไม่ได้รับการตอบแทนผลบุญในการละทิ้งมัน มิหนำซ้ำบางทีอาจจะเป็นความผิดบาป เพราะการละทิ้งมะศิยะฮฺนั้นคืออิบาดะฮฺ และอิบาดะฮฺนั้นจะไม่มีขึ้นเว้นแต่เพื่ออัลลอฮฺ
ท่านอิมามอิบนุร่อญับ رحمه الله กล่าวว่า :
"ดังนั้นส่วนถ้าหากเขาตั้งใจที่จะทำมะศิยะฮฺ ต่อมาเขาก็ละทิ้งไม่กระทำมันเนื่องจากเกรงกลัวสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย หรือเพื่อโอ้อวดพวกเขา แน่แท้ก็จะถูกกล่าวว่า : แท้จริงเขาจะถูกลงโทษเนื่องจากละทิ้งมันด้วยกับเหนียต(เจตนา)แบบนี้ เพราะการเกรงกลัวสิ่งถูกสร้างทั้งหลายมากกว่าเกรงกลัวอัลลอฮฺนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และในทำนองเดียวกัน การมีเจตนาเพื่อโอ้อวดสิ่งถูกสร้าง ก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อเขาละทิ้งมะศิยะฮฺโดยมีเหนียตเพื่อโอ้อวดผู้คนแล้วไซร้ แน่นอนเขาก็จะได้รับการลงโทษอันเนื่องมาจากการละทิ้งแบบนั้น"
(جامع العلوم و الحكم : 321/2)
ท่านอิมามอิบนุลกอยยิมอัลเญาซียะฮฺ رحمه الله กล่าวว่า :
"และประการที่สอง : ดังเช่นการละทิ้งของผู้ที่ละทิ้งมันเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ไม่ใช่เพื่ออัลลอฮฺ ดังนั้นการละทิ้งแบบนี้ เขาก็จะได้รับการลงโทษอันเนื่องจากการละทิ้งมันเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ดังเช่นที่เขาก็จะได้รับการลงโทษอันเนื่องมาจากการกระทำเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการละทิ้งและการหักห้ามแบบนี้ คือการกระทำหนึ่งจากการกระทำต่างๆของหัวใจ ดังนั้นเมื่อเขาใช้มันเป็นอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เขาก็สมควรได้รับการลงโทษ"
(شفاء العليل : 170)
สภาพที่ 3 : การที่เขาละทิ้งมะศิยะฮฺเนื่องจากมีความละอายต่อผู้คน การละทิ้งแบบนี้ไม่ถือเป็นบาปใดๆต่อเขา ซึ่งบางทีเขาอาจได้รับผลบุญเนื่องจากการละทิ้งนั้นเมื่อเขามีเจตนารมณ์ที่ตรงตามบัญญัติศาสนาที่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺตะอาลาทรงรักควบคู่ไปกับการละทิ้งนั้น เช่นการที่เขาละทิ้งมะศิยะฮฺเนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการตำหนิติเตียนในตัวนักดาอียฺและผู้ที่มีศาสนา ซึ่งท่านอิมามอิบนุลก็อยยิม رحمه الله ได้กล่าวจำแนกระหว่างสภาพนี้กับสภาพก่อนหน้าว่า :
"ดังนั้นหากมีการกล่าวว่า : เขาจะถูกลงโทษอันเนื่องมาจากการละทิ้งมะศิยะฮฺเพราะมีความละอายต่อผู้คนและเพื่อรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศของเขาได้อย่างไร ทั้งๆที่อัลลอฮฺไม่ทรงตำหนิและไม่ทรงห้ามสิ่งดังกล่าวนี้
ก็จะถูกกล่าวว่า : "ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แท้จริงเขาจะไม่ถูกลงโทษเนื่องจากสิ่งดังกล่าว แต่อันที่จริงแล้วเขาจะถูกลงโทษก็อันเนื่องมาจากการที่เขาแสวงหาความใกล้ชิดต่อผู้คนและโอ้อวดพวกเขาด้วยกับการละทิ้งนั้น และแท้จริงเขาละทิ้งมันเพราะเกรงกลัวอัลลอฮฺ แต่ลึกๆแล้วเขาไม่ได้เป็นเช่นนั้น(คือแค่กล่าวอ้าง) ดังนั้นความแตกต่างระหว่างการละทิ้งที่เขาใช้มันแสวงหาความใกล้ชิดและโอ้อวดผู้คน และการละทิ้งที่ที่มาของมันมาจากความละอาย กลัวว่าพวกเขาจะทำร้ายและกลัวว่าตัวเองจะเป็นคนต่ำช้าเลวทรามในสายตาของพวกเขา ดังนั้นการละทิ้งเช่นนี้ เขาก็จะไม่ถูกลงโทษเนื่องจากมัน มิหนำซ้ำบางทีเขาอาจได้รับผลบุญตอบแทน เมื่อถ้าการละทิ้งของเขานั้นมีเป้าหมายที่อัลลอฮฺทรงรัก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาไว้ซึ่งตำแหน่งหน้าที่ในการดะวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ และการตอบรับดะวะฮฺจากเขาของผู้คน และอะไรทำนองนั้น"
(شفاء العليل : 170)
สภาพที่ 4 : "การที่เขาละทิ้งมะศิยะฮฺ โดยไม่อยากจะกระทำมันเอง ไม่ได้ละทิ้งมันเพราะกลัวอัลลอฮฺหรือเพื่อคนใดจากสิ่งถูกสร้างของพระองค์ การละทิ้งแบบนี้ เขาจะไม่ได้รับผลบุญ และไม่ได้รับบาป
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ رحمه الله ได้กล่าวว่า :
"และคนผู้นี้ที่ตั้งใจที่จะกระทำความชั่วนั้น บางครั้งเขาอาจจะละทิ้งมันเนื่องจากเกรงกลัวอัลลอฮฺ หรือเขาอาจจะละทิ้งมันด้วยเหตุผลอื่น ดังนั้นหากเขาละทิ้งมันเนื่องจากความเกรงกลัวอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็จะทรงบันทึกความดีอย่างเต็มเปี่ยมให้กับเขาไว้ ณ ที่พระองค์ ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนในหะดีษนั้น และดังที่ได้มีปรากฏในอีกหะดีษหนึ่งที่ว่า : "พวกเจ้าทั้งหลายจงบันทึกมันเป็นความดีให้กับเขา แท้ที่จริงแล้วเขาละทิ้งมันเพื่อข้า"
และส่วนเมื่อเขาละทิ้งมันเพื่อเหตุผลอื่น ก็จะไม่ถูกบันทึกความชั่วให้กับเขา ดังที่ได้มีปรากฏในอีกหะดีษหนึ่งที่ว่า : "ดังนั้นหากเขาไม่ได้ปฏิบัติมัน ก็จะไม่ถูกบันทึก(ความชั่ว)ให้กับเขา" และด้วยกับสิ่งนี้เอง ความหมายต่างๆของหะดีษก็จะสอดคล้องกัน
(مجموع الفتاوى: 738/10)
ที่มา: อิสลามตามแบบฉบับ
https://islamhouse.muslimthaipost.com