ทำอย่างไรหากดุอาร์ไม่ถูกตอบรับ ใครก็ตามที่ดุอาร์ จงทำตามเงื่อนไขให้สมบูรณ์ และทำตามมารยาท เงื่อนไขนั้น คือ...
ทำอย่างไรหากดุอาร์ไม่ถูกตอบรับ
ดุอาร์ คือ การขอ การวิงวอน การเรียก ในทางศาสนบัญญัตินั้นหมายถึง การวิงวอนของจากอัลลอฮฺ รวมถึงการสรรเสริญและสดุดีพระองค์ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายอื่นอีก แต่ทั้งนี้ลักษณะการให้ความหมายมีความคล้ายกัน เช่น
- การแสดงความปรารถนาต่ออัลลอฮฺ
- การขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
- การแสดงตนว่าต้องพึ่งอัลลอฮฺ ไม่แสดงทิฐิ สำนึกในความเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อย และยอมรับในความประเสริฐอันมหาศาลของอัลลอฮฺ ด้วยการสรรเสริญพระองค์
- การขอสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้พ้นจากสิ่งที่เป็นพิษภัย
- การนอบน้อมวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และมอบตนต่อหน้าพระองค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาและให้ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่ประสงค์
ทำอย่างไรหากดุอาร์ไม่ถูกตอบรับ
ใครก็ตามที่ดุอาร์ จงทำตามเงื่อนไขให้สมบูรณ์ และทำตามมารยาท เงื่อนไขนั้น คือ:
ก. ให้หยุดทำเมาะซียัต และห่างไกลจากสิ่งต้องห้าม แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม อย่างเช่นอาหารที่ไม่ฮาลาล
ข. ใจต้องแน่วแน่คิดถึงอัลลอฮ และคอเซาะอยู่เสมอ แม้แต่แป๊บเดียวอย่าลืมหรือเผลอจากอัลลอฮ
ค. ยึดมั่นอย่างหนักแน่นที่ใจด้วยการไม่สงสัยอีกเลย ว่าการขอของเรานั้นได้ถูกตอบรับโดยอัลลอฮ อย่างที่ท่านรอซูล(ص)ได้เคยกล่าวไว้ว่า "อัลลอฮพระเจ้าของเจ้านั้นคือพระเจ้าผู้ให้มีชีวิต ผู้ที่แสนจะเมตตา และผู้ที่อายถ้าไม่ตอบรับการขอของเจ้า"
ง. ความต้องการใดๆก็ตามที่ไปขณะดุอานั้น อย่าอยู่ที่ความต้องการเท่านั้นโดยไม่พยายาม คือถ้าเกี่ยวกับเพื่อความสนุก และเลือกที่เกี่ยวข้องระหว่างสิ่งหนึ่งสิ่งใด
และมายาทคือ:
ก. สะอาดจากฮาดัสทั้งหมด
ข. หันไปทางกิบลัตแล้วนั่งเหมือนกับตอนนั่งตัฮฮียัตแรก
ค. เวลาดุอาให้ยกมือขึ้นถึงระดับไหล่ และหันฝ่ามือมาทางใบหน้า และอย่าหันไปทางฟ้า
ง. เริ่มด้วยการสรรเสริญอัลลอฮ เช่นการอ่านالحمدلله และซอลาวาตแก่ที่เคารพของเรานบีมูฮัมมัด(ص)
จ. ขอดุอาโดยรวมให้ปลอดภัยแก่เราและมนุษย์ทุกคน
ฉ. ยอมรับความชั่วของตัวเองและขออภัยโทษต่ออัลลอฮอย่างจริงจังโดยการอ่าน
اللهم اني ظلمت نفسي, ظلماكثيرا, ولايغفرالذنوب الاانت, فاغفرلي مغفرة من عندك, وارحمني انك انت الغفورالرحيم
จากนั้นก็ขอในสิ่งที่เราต้องการ
ช. ตอนจบให้อ่าน: سبحان رب العزة عمايصرفون وسلام علي المرسلين والحمدلله رب العالمين
ซ. พอจบแล้วให้เอาทั้ง2มือเช็ดหน้า
ท่านรอซูล(ص)ได้กล่าว ความหมายว่า "ใครก็ตามที่หวังสิ่งหนึ่งในการงานหนึ่ง ใหละหมาดอิสตีคอเราะห์2รอกาอัต และดุอาเหมือนที่จะกล่าวด้านล่างนี้ แน่นอนเราจะถูกชี้ทางโดยอัลลอฮ ว่าการงานนั้นจะเป็นผลดีแต่เราหรือไม่ หรือชี้ในสิ่งที่ดีกว่า นั่นคือ:
ก. ละหมาด2รอกาอัต โดยนียัตละหมาดซูนัตอิสตีคอเราะห์
ข. ในรอกาอัตแรก อ่านฟาตีฮัฮและซูเราะห์الكافرون
ค. รอกาอัตที่2 อ่านฟาตีฮัฮและซูเราะห์قل هوالله احد
ง. เมื่อเสร็จละหมาดให้อ่านดุอา:
اللهم اني استخيرك بعمك, واستقدرك بقدرتك واسألك من فضلك العظيم, فانك تقدرولااقدر. وتعلم ولاأعلم وانت علام الغيوب
اللهم ان كنت تعلم ان هذاالامرخيرلي في ديني ومعاشي وعاقبة امري, وعاجل أمري وأجله فاقدره لي, ويسره لي, ثم بارك لي فيه, وان كنت تعلم ان هذاالامرشرلي في ديني, ومعاشي وعاقبة امري, وعاجل امري واجله, فاصرفه عني, وأصرفني عنه واقدرلي الخيرحيث كان ثم ارضني به
จ. ตอนดุอาให้นึกถึงสิ่งที่ต้องการ
ฉ. พอเสร็จดุอา แต่ก่อนที่เราจะได้รับในสิ่งที่ได้ ให้ย้อนไปละหมาดและดุอาจนจนถึง7ครั้ง
ท่านรอซูล(ص)ได้กล่าว ความหมายว่า "ใครก็ตามที่ทำงานสิ่งหนึ่งโดยได้รับการชี้ทางเพราะละหมาดอิสตีคอเราะห์ แน่นอนปลอดภัยการงานนั้น และไม่โดนความทุกข์ยากใดๆ"
เซค อาบู อัลฟัจญร์ ได้เล่าบอกคำสอนของอาจารย์ของเขาเกี่ยวกับอายัตกุรซี ว่า: พวกเจ้าจงอามาลเถอะอายัตกุรซีในเวลาใดๆก็ตาม เพราะมีประโยชน์มาก และจงอ่านแก่ความยากลำบากหนึ่ง แน่นอนเจ้าจะได้รับประโยชน์ นั่นคือถ้าเจ้าเป็นคนที่ไม่มีบาป และไม่ทำในสิ่งเมาะซียัต หลังจากที่ได้อ่าน นั่นคือตอนดุอา จงนึกถึงกู(เซค อาบู อัลฟัจญร์) ก่อนจะได้รับในสิ่งต่างๆที่ขอ-ห้ามพูดว่า "กูอ่านแล้ว ทำไมสิ่งที่กูขอไม่ถูกตอบรับ" จำไว้ว่าเพาะไม่ถูกตอบรับนั้นเพราะเจ้านั้นมีบาป หรือทำไม่ครบเงื่อนไข หรือว่าอัลลอฮตอบรับแล้วแต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะได้มัน
มีชายคนหนึ่งถามท่านเชคอิบรอฮีมบินอัดฮัมรอฮิมะฮุลลอฮฺว่า:"พวกเรานั้นหมั่นวิงวอนขอดุอาอฺ จากอัลลอฮฺ อยู่เสมอแต่เหตุไฉนคำดุอาอฺวิงวอนของพวกเราจึงยังไม่ถูกตอบรับ จากอัลลอฮฺเสียที ? " ท่านเชคอิบรอฮีม บินอัดฮัม ตอบว่า :
ก็เพราะพวกท่านรู้จักอัลลอฮฺ........แต่พวกท่านไม่ศรัทธาต่อพระองค์อย่างแท้จริงและบริสุทธิ์ใจ
พวกท่านรู้จักอัลลอฮฺเป็นอย่างดี.........แต่พวกท่านไม่เคยจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างแท้จริง
พวกท่านรู้จักร่อซู้ลของอัลลอฮฺ.........แต่พวกท่านไม่ปฏิบัติตามแบบอย่างและแนวทางของร่อซู้ล
พวกท่านอ่านอัล-กรุอ่าน........แต่พวกท่านไม่เชื่อและไม่ปฏิบัติตาม
พวกท่านได้รับความเมตตาปราณีจากอัลลอฮฺ........แต่พวกท่านไม่เคยสำนึกและขอบคุณ
พวกท่านรู้จักความตายเป็นอย่างดี..........แต่พวกท่านไม่เคยเจียมตัว
พวกท่านเคยไปฝังศพที่สุสาน............แต่พวกท่านไม่เคยได้บทเรียน
พวกท่านมองข้ามความบกพร่องของตัวเอง.............แต่พวกท่านชอบพูดถึงความบกพร่อง และความผิดของผู้อื่น
และเพราะพวกท่านได้แต่วิงวอนขอดุอาฮฺจากอัลลอฮฺ........แต่พวกท่านกับไม่มั่นใจในการตอบรับ ของพระองค์
(จาก สารบรูณศาสน์ ฉบับวันที่ 11 ธ.ค 2547 หน้า 44 )
แก่นแท้ของการขอดุอาอ์
การขอดุอาอ์หมายถึง การวอนขอที่เกิดจากสภาวะของจิตใจที่มีความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา ซึ่งสภาวะจิตใจดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ:
ประการที่หนึ่ง : หัวใจและความรู้สึกต้องอยู่ในสภาวะที่ผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา โดยมีเงื่อนไขว่าทั้งสองต้องมีสภาวะที่นอบน้อมยอมจำนนและแสดงถึงความต้องการต่อพระองค์อย่างแท้จริง
ประการที่สอง : ผู้ที่ทำการขอดุอาอ์ ต้องเริ่มด้วยการเตาบะฮ์ต่ออัลลอฮ์ตะอาลาจากบรรดาความผิดต่างๆ ที่เขาได้ก่อขึ้น และทำให้การเตาบะฮ์ที่จริงใจของเขานั้นเป็นตัวช่วยเหลือในการขอดุอาอ์
ดังนั้น ถ้าหากเขาได้ทำการขอต่ออัลเลาะฮ์เพียงแค่กล่าวด้วยลิ้นแต่หัวใจและความรู้สึกของเขามุ่งแต่เรื่องอื่น ไม่มีความรู้สึกนอบน้อมยอมจำนนต่อพระองค์ ลักษณะดังกล่าวนี้ ไม่เรียกว่าเป็นการวอนขอดุอาอ์ตามหลักการของศาสนา ฉะนั้นเมื่อเขาพยายามค้นหาบทดุอาอ์ต่างๆ จากตำราที่กล่าวขานกันว่า ถ้าขอดุอาอ์บทนี้แล้ว เขาจะได้อย่างนั้น อัลเลาะฮ์จะทรงประทานให้อย่างนี้ แต่กระนั้นมันคงเหลือแค่ความฝันลมๆ แล้งๆ ที่อยู่ในความนึกคิดของเขา หลังจากนั้นเขาก็ทำการร้องทุกข์และน้อยใจต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา โดยกล่าวว่า ฉันได้ทำการขอดุอาอ์แล้ว แต่พระองค์ไม่ตอบรับดุอาอ์ของฉัน แล้วไหนล่ะที่พระองค์ตรัสว่า
وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ
“และองค์อภิบาลของพวกเจ้าได้ตรัสว่า พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน” [อัลฆอฟิร(อัลมุอฺมิน): 60]
เพราะฉะนั้น บุคคลที่ยังคงทำการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา แต่ในขณะเดียวกันได้มุ่งขอดุอาอ์ต่อพระองค์ที่เขากำลังฝ่าฝืนอยู่ แล้วเขาก็ขอให้พระองค์ประทานสิ่งต่างๆ ที่เขาต้องการ ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนที่ไร้ความคิด ยิ่งกว่านั้น เขายังปฏิบัติต่อพระองค์อย่างไร้มารยาทและไม่สมเหตุสมผลอีกด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราขอเราล้วนได้รับมันทุกอย่าง แต่อยู่ที่ว่า มันมาเร็ว-ช้าแค่ไหน.. ขอแค่เรา-อ-ด-ท-น มันอาจมาในรูปแบบอื่น แต่แฝงไปด้วยจุดประสงค์เดียวกัน
ที่มา: www.sunnahstudent.com