การนอนตะแขงขวา ท่านอนที่ดีที่สุดตามแบบท่านนบี


6,827 ผู้ชม

การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ และมนุษย์ใช้เวลาเพื่อการนอนถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่มีในแต่ละวัน....


มานอนแบบท่านนบี ซล. กันเถิด ท่านไม่ได้เรียนทางแพทย์ศาษตร์ แต่ทำไมท่านรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

การนอนตะแขงขวา ท่านอนที่ดีที่สุดตามแบบท่านนบี

การนอนตะแขงขวา คือ ท่านอนที่ดีที่สุด

การนอนตะแคงขวา

          นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวเอาไว้ว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ และมนุษย์ใช้เวลาเพื่อการนอนถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่มีในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นท่าที่ใช้นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากจะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิท ตลอดคืน และตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น แจ่มใส พร้อมที่จะทำกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


          ท่านอน ถือเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกสันหลังรับแรงน้อยที่สุด บางคนเมื่อศีรษะถึงหมอนก็หลับสบายจนถึงเช้า อาจไม่สนใจว่าตนเองจะนอนท่าไหน รู้ตัวอีกทีตื่นมาตอนเช้าพบว่าเกิดอาการปวดหลัง หรือหันหน้าซ้ายขวาไม่ได้เลย จนต้องรีบไปหาหมอ


          ท่านอนของแต่ละคนจะ แตกต่างกันออกไป บางคนชอบนอนหงาย บางคนก็ชอบนอนตะแคง หรือบางท่านอาจชอบนอนคว่ำ แล้วท่าไหนละ! ที่นอนแล้วสบายที่สุด ?!?!

ท่านอนหงาย

คนทั่วไปนิยมนอนท่านี้ เพราะเป็นท่านอน มาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมควรใช้หมอนต่ำ และต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอด และโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกะบังลมจะกดทับปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการปวดหลัง การนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วยท่านอนหงาย โดยมีหมอนหนุนใต้ข้อเข่า ให้ข้อสะโพกงอเล็กน้อย ท่านี้ถือว่าเป็นท่านอนที่เหมาะ หรือเป็นท่าที่ลดแรงกดของหลังได้ดี ส่วนที่ศีรษะควรมีหมอนเตี้ยๆ นุ่มๆ หนุนให้รู้สึกสบาย

ท่านอนตะแคงขวา

          เป็นท่านอนที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับท่าอื่น  เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก อาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

          ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้าย จากการนอนทับเป็นเวลานาน แต่ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ท่านอนตะแคง หากได้งอเข่าข้างหนึ่ง และมีหมอนข้างกอดไว้ หรือจะงอเข่าทั้งสองข้างในท่าคู้ตัวก็ได้ สำหรับหมอนที่ใช้หนุนในท่านี้ควรมีความหนามากพอที่จะให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียว กันกับลำตัว หากใช้หมอนเตี้ยเกินไป ศีรษะจะเอียงลงหรือหาหมอนที่มีความสูงเท่าหรือใกล้เคียงกับระยะจากระดับด้าน ข้างของศีรษะไปถึงแนวระดับไหล่ เมื่อหนุนแล้ว จึงทำให้แนวของกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนอกและวนเอว


ท่านอนคว่ำ

          เป็นท่านอนที่ทำให้หายใจติดขัด ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลัง หรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ โดยท่านอนคว่ำนี้ถือว่าเป็นท่านอนที่ไม่ดี เพราะการนอนคว่ำนั้นจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวโค้งไปทางด้านหน้ามากขึ้น นอกจากนี้ เวลาเรานอนคว่ำก็ต้องตะแคงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กระดูกต้นคอบิดไปด้วย

(ข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.)


          และหากเรา พิจารณาถึงอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ จะเห็นว่าอวัยวะข้างขวาของร่างกายมักมีขนาดที่ใหญ่กว่าอวัยวะที่อยู่ข้างซ้าย

          สมอง : สมองของ มนุษย์มีสองซีก นั่นคือซีกขวาและซีกซ้าย โดยที่สมองซีกขวาจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าซีกซ้าย

          ปอด : ปอด เป็นอวัยวะที่ตั้งอยู่ในโพรงอกคล้ายกรวยแหลมผ่าครึ่งมี 2 ข้าง โดยข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย เพราะข้างขวามี 3 กลีบในขณะที่ข้างซ้ายมีเพียง 2 กลีบ ภายในมีถุงลมนับล้านลูก มีหน้าที่ซักฟอกอากาศ ดูดซับก๊าซออกซิเจนเข้าสู้ร่างกาย และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก

          ตับ : ตับเป็นอวัยวะเดี่ยวที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ในบริเวณช่องท้องตอนบนสุดค่อนไปทางด้านขวา ตับมีสีน้ำตาลออกแดงคล้ำ รูปร่างเป็นกลีบ 2 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่อยู่ใต้ชายโครงขวา กลีบเล็กอยู่ใต้ชายโครงซ้าย

          ถุงน้ำดี : ถุงน้ำดีถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของ ร่ายกาย โดยอยู่ใต้ต่อตับบริเวณชายโครงด้านขวา ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ถุงน้ำดีจะเป็นที่เก็บน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ และจะมีท่อน้ำดีไปเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยน้ำดีมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน

          ส่วนหัวใจนั้นถือเป็นอวัยวะ ที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจและระบบนำไฟฟ้าภายในหัวใจ ซึ่งสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยหัวใจของมนุษย์นั้นจะอยู่ข้างซ้ายของช่องอก และนี้อาจคือหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การนอนตะแคงขวาเป็นท่านอนที่ดีต่อสุขภาพ เพราะจะไม่ทำให้น้ำหนักไปกดทับอวัยวะที่อยู่ข้างซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจ

การนอนตะแขงขวา ท่านอนที่ดีที่สุดตามแบบท่านนบี

วิทยาการอิสลามกับการนอนตะแคงขวา

          อิสลามได้สอนมารยาทต่าง ๆ ในการนอน ไม่ว่าจะก่อนนอน ขณะนอน หรือหลังจากตื่นนอน และหนึ่งในคำสอนของอิสลามคือ ให้นอนตะแคงขวา ท่านนบีมุหัมมัด –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ได้กล่าวความว่า: เมื่อท่านต้องการที่จะเข้านอนก็จงเอาน้ำละหมาดเพื่อละหมาด หลังจากนั้นก็จงนอนตะแคงขวา บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ 329 ท่านอิบนุก็อยยิม (เสียชีวิตปี 751 ฮ.ศ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ซาดุลมะอาด” (4/166) ว่า:

“และ ท่านอนที่ให้ประโยชน์มากที่สุดคือ การนอนตะแคงขวา เพราะอาหารในกระเพาะจะอยู่ในท่านี้ได้ดี เพราะกระเพาะจะค่อนอยู่ทางซ้ายเล็กน้อย และการนอนตะแคงซ้ายบ่อย ๆ จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ เพราะอวัยวะต่าง ๆ จะโถมทับมัน...”

การนอนตามที่อิสลามบอกไว้ ว่าให้นอนตะแคงขวา

นอนตะแคงขวา ดีต่อสุขภาพ

          แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาสดชื่น นอนตะแคงขวา ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก บรรเทาอาการปวดหลัง ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้าย อาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่ แนะกอดหมอนข้างพร้อมพาดขา ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน

          นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า "การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับ ท่านอน เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้ นอนหลับ สนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็น ท่านอน มาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอน หงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย"

          นพ.ชนินทร์ กล่าวว่า "สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับ ท่านอน อื่น ๆ คือ ท่านอน ตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ส่วน ท่านอน ตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ส่วน ท่านอน คว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ"

ซุนนะฮฺในการเข้านอน

1.ก่อนนอนควรอาบน้ำละหมาด ท่านนบีกล่าวว่า

اذا أتيت مضجعك فتوضأ

ความว่า เมื่อท่านนบีจะเข้าไปยังที่นอนของท่าน ก็จงอาบน้ำละหมาด

2.สะบัดผ้าปูที่นอนหรือปัดสถานที่นอน ท่านนบีกล่าว่า  "เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านจะเข้านอนก็จงสะบัดที่นอนเสียก่อน เพราะเขาไม่ทราบว่าจะมีอะไร (ซุกซอน)อยู่ในที่นอนเขาหรือไม่) บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม ”

3.ล้มตัวลงนอนโดยตะแคงด้านขวา

4.ใช้มือขวารองแก้มขวาขณะล้มตัวลงนอน

5.อ่านดุอาอ์ก่อนนอน

وَأَحْيَى بِسْمِكَ الّلهُمَّ أَمُوْتُ

ความว่า : ในนามของท่าน ข้าแด่อัลลอฮฺที่ฉันจะต้องตายและมีชีวิตอยู่

6.ยกมือทั้งสองขึ้น พร้อมกับเป่าลงบนฝ่ามือทั้งสองและให้อ่าน

قل هو الله احد                         -  قل أعوذ برب الفلق                      -قل أ عوذ برب الناس

อย่างละ 3 จบ จากนั้นให้ใช้มือทั้งสองลูบให้ทั่วร่างกาย  บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์

7.อ่านอายะฮฺกุรซีย์   ผู้ใดอ่านอายะฮฺกุรซีย์ อัลลอฮจะทรงปกป้องเขาให้พ้นจากไฟนรก บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์สุนนะฮฺเมื่อตื่นนนอน

เมื่อตื่นจากการนอนให้ปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านรอซูลดังต่อไปนี้

1.ลูบหน้า อิมมามอันนะวะวีย์ และอิมามอิบนิหะญัรได้ยืนยันว่า : การลูบหน้าเมื่อตื่นขึ้นจากการนอนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม ดังที่ปรากฏจากหะดิษความว่า “เมื่อท่านรอซูลได้ตื่นขึ้นจากการนอน ท่านจะนั่งพร้อมกับใช้มือของท่านลูบหน้า” บันทึกโดยอิมามมุสลิม

2.อ่านดุอาตื่นนอน
اَلْحَمْدُ لِلّهِ الَّذِيْ أَحْيَانَا بَعْدَمَا أَمَاتَنَا وَإِلَيْه ِ النُّشُوْرُ

ความว่า : มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ซึ่งให้เรามีชีวิต ภายหลังจากที่ให้เราตายไป และเราทั้งหลายจะต้องกลับคืนสู่พระองค์

3.แปรงฟัน ความว่า “เมื่อท่านรอซูลตื่นจากการนอนท่านจะแปรงฟันด้วยกับไม้ข่อย” บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม

4.สูดน้ำเข้าจมูกและบ้วนปาก ความว่า “เมื่อคนในหมู่พวกท่านตื่นจากการนอนก็จงสูดน้ำเข้าจมูกสามครั้ง เพราะชัยตอนจะสิงสถิตย์อยู่ในโพรงจมูกของผู้ที่นอนหลับ”

5.ล้างมือทั้งสองข้างสามครั้ง ท่านรอซูลได้กล่าวว่า  “เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านตื่นจากการนอน ก็จงอย่าได้จุ่มมือลงในภาชนะ จนกว่าจะล้างมือสามครั้งเสียก่อน”

ดุอาต่าง ๆ

رَبَّنَا آتِنَا في الدُّنيْاَ حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานความดีแก่เราบนโลกนี้ และความดีในโลกอาคิเราะฮฺ และได้โปรดปกป้องเราจากความทรมานของไฟนรก”

اللَّهُمَّ إِنِي أَسْأَلُكَ الهُدَى ، وَالتُّقَى ، وَالعفَافَ ، والغنَى

ความว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานการชี้นำ ,และความย่ำเกรง ,และการอภัยโทษ,และความร่ำรวยพึงรู้เถิดว่า......สุนนะฮฺจะช่วยซ่อมเสริมส่วนที่บกพร่องให้สมบูรณ์
รสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺคือละหมาด อัลลอฮฺจะกล่าวแก่บรรดามะลาอีกะฮฺว่า “พวก เจ้าจงตรวจเช็คผลการละหมาดฟัรฎูของบ่าวฉันว่าสมบูรณ์ครบถ้วนเปล่าหรือว่ายัง บกพร่องอยู่ ถ้าหากเขาได้ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้ว ก็จงบันทึกแก่เขาว่าได้ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ และหากว่ายังบกพร่องอยู่ ก็จงตรวจดูว่าบ่าวของฉันเคยละหมาดสุนนะฮฺไหม ถ้าเคยก็จงเอาผลการละหมาดสุนนะฮฺของเขามาเสริมให้ผลการละหมาดฟัรฎูของเขา สมบูรณ์...”

การนอนตามแบบอย่างท่านนบี

เวลานอนของท่านนบีมุหัมมัด ( صلى الله عليه وسلم )

          ท่านนบีมุหัมมัด(صلى الله عليه وسلم )  น่าจะนอนภายหลังละหมาดอิชาอฺ ส่วนหลักฐานที่ระบุว่าท่านนบีนอนหลับหลังละหมาดอิชาอฺนั้น ไม่พบหลักฐานที่เจาะจงโดยตรง  แต่หลักฐานโดยล้อมพออนุมานได้ว่า ท่านนบีน่าจะนอนภายหลังละหมาดอิชาอฺ ดั่งที่ท่านอบูบัรฺซะฮฺเล่าว่า

" أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يكره النوم قبل العشاء والحديث بعدها "

ความว่า "ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺรังเกียจการนอนหลับก่อนละหมาดอิชาอฺ และ (รังเกียจ) การพูดคุยหลังละหมาดอิชาอฺ" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 535)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (صلى الله عليه وسلم ) จะอาบน้ำละหมาดก่อนนอน

          ก่อนนอน ท่านนบีมุหัมมัด (صلى الله عليه وسلم ) จะอาบน้ำละหมาด เหมือนอย่างที่ท่านอาบน

อัพเดทล่าสุด