4 เรื่องพื้นฐาน ที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ


20,102 ผู้ชม

บ่าวคนหนึ่งจะไม่ก้าวเท้าทั้งสองของเขาออกไปในวันกิยามะฮฺจนกว่าเขาจะถูกถามเกี่ยวกับ 4 เรื่อง


4 เรื่องพื้นฐาน ที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ

ภาพไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

อิสลามกับการสอบสวนในวันกิยามัต

เรื่อง การสอบสวน

 อ.อับดุลฮามีด บารอฮิมี

เรื่อง การสอบสวน สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ คือ เรื่องของสิทธิต่าง ๆของพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งก็คือ การละหมาด และเรื่องแรกที่จะถูกสอบสวนจากสิทธิของบ่าวก็คือ เรื่องของเลือดเนื้อและชีวิต ท่านนบี ( ซ.ล. ) กล่าวว่า   

" اول ما يحا سب به العبد الصلاة ، واول ما يقضى بين الناس فى الد ماء "   

ความว่า  “ สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนคือ การละหมาด และสิ่งแรกที่จะถูกตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันคือ เรื่องของเลือดเนื้อชีวิต”  (บันทึกโดยท่านอันนะซาอียฺ)    

ท่านอัลอัลบานียฺ รับรองว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง และสิทธิต่าง ๆที่เกี่ยวพันกันระหว่างมนุษย์จะเป็นสิ่งที่ถูกสอบสวนด้วยความเข้มงวด รองจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้นจะอภัยโทษเรื่องดังกล่าวนี้ มันเกี่ยวพันกับบรรดาผู้ถูกอธรรมทั้งหลายโดยตรง ซึ่งในวันกิยามะฮฺนั้นมนุษย์ทุกคนต่างก็มีความระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะรักษาความดีงามต่าง ๆเอาไว้ ดังนั้นท่าน นบี ( ซ.ล. ) จึงได้ใช้ให้เราชดใช้สิ่งที่ล่วงละเมิดทั้งหลายให้หมดไปตั้งแต่ในโลกดุนยา  ก่อนที่จะมีการชำระความกันด้วยความดีความชั่วต่าง ๆที่มนุษย์ได้กระทำเอาไว้ ในหะดีษท่านรอซู้ล ( ซ.ล. ) สอนว่า :  

" من كانت له مظلمة لا خيه من عرضه اوشئ فليتحلله منه قبل ان لا يكون دينارولاورهم ، ان كان له عمل صا لح اخد منه بقدر مظلمته ، وان لم تكن له حسنات اخد من شيئات صاحبه فحمل عليه "       رواه البخارى   

ความว่า “ ใครก็ตามที่มีสิทธิติดค้างกับพี่น้องของเขา ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ หรือสิ่งใดก็ตาม ก็จงสะสางให้เรียบร้อยก่อนที่การขดใช้นั้นมันจะไม่เป็นเงินทอง โดยที่หากเขามีการงานที่ดี ก็จะถูกยึดเอาไปจากเขาตามสิ่งที่เขาได้อธรรมไว้ แล้วหากเขาไม่เหลือความดีอันใด เขาก็ต้องรับเอาความชั่วต่าง ๆ ของผู้ที่ถูกเขาละเมิดนั้นมาแบกไว้แก่ตัว” (บันทึกโดยบุคอรียฺ)   

และนับเป็นความเที่ยงธรรมอันสูงสุดของพระองค์อัลลอฮฺ   ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ในวันแห่งการสอบสวนที่พระองค์จะทรงสอบสวนบ่าวโดยให้บ่าวได้สารภาพความผิดที่เป็นบาปของเขา แล้วหากเขาไม่ยอมรับ พระองค์ก็จะให้อวัยวะต่าง ๆของบ่าวมายืนยันเป็นพยานถึงความผิดที่เป็นบาปของเขา พระองค์ทรงตรัสในซูเราะฮฺอันนูร อายะฮฺที่ 24 ว่า  :

يَوْمَ تَشْهَدُ عَلَيْهِمْ أَلْسِنَتُهُمْ وَأَيْدِيهِمْ وَأَرْجُلُهُمْ بِمَا كَانُواْ يَعْمَلُونَ

 ความว่า  “วันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ลิ้นของพวกเขา มือของพวกเขาและเท้าของพวกเขา จะมาเป็นพยานยืนยันถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้” 

และมะลาอิกะฮฺผู้ทรงเกียรติที่เป็นผู้ทำหน้าที่บันทึกความดีความชั่ว ก็จะมาเป็นพยานยืนยัน ดังกล่าวนี้มีหะดีษของท่านนบี ( ซ.ล. ) ยืนยัน   และเป็นความเที่ยงธรรมอันสูงสุดของพระองค์อัลลอฮฺ  ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เช่นกันที่พระองค์จะทำการสอบสวนด้วยตราชั่ง โดยชั่งการงานต่าง ๆของมนุษย์ จนกระทั่งบ่าวจะได้รู้ผลของการสอบสวนอย่างชัดเจนว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะไม่ทรงอธรรมต่อมนุษย์แต่อย่างใดเลย พระองค์ทรงตรัสในซูเราะฮฺอัลอะฮฺรอฟ อายะฮฺที่ 8 – 9 ว่า:

 وَٱلْوَزْنُ يَوْمَئِذٍ ٱلْحَقُّ فَمَن ثَقُلَتْ مَوَازِينُهُ فَأُوْلَـٰئِكَ هُمُ ٱلْمُفْلِحُونَ * وَمَنْ خَفَّتْ مَوَازِينُهُ فَأُوْلَـۤئِكَ ٱلَّذِينَ خَسِرُوۤاْ أَنْفُسَهُم بِمَا كَانُواْ بِآيَاتِنَا يِظْلِمُونَ   

ความว่า “ การชั่งความดีความชั่วในวันกิยามะฮฺนั้น เป็นความจริง ดังนั้น ผู้ใดที่ตราชูของเขาหนักด้วยคุณงามความดี พวกเขาเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับความสำเร็จ ส่วนผู้ที่ตราชูของเขาเบาไร้คุณงามความดี พวกเหล่านี้คือผู้สร้างความขาดทุนให้เกิดขึ้นแก่ตน ด้วยการที่พวกเขามิได้ให้ความเป็นธรรมต่อบรรดาโองการต่าง ๆของเรา  ( โดยปฏิเสธโองการเหล่านั้นด้วยความยโส )                  

ดังนั้นเมื่อมุสลิมรู้ว่าวันกิยามะฮฺนั้น ต้องมีการสอบสวนลงโทษ และรู้ถึงวิธีการชำระความ การละเมิด และความเลวทรามต่าง ๆ ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะทบทวนตนเองก่อนที่จะถูกสอบสวน ดังเช่นที่ท่านอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวไว้ว่า :    

" حا سبوا انفسكم قبل ان تحا سبوا وتز ينوا للعرض الا كبر "      

ความว่า “ พวกท่านทั้งหลายจงสอบสวนทบทวนตนเองก่อนที่พวกท่านทั้งหลายจะถูกสอบสวนคิดบัญชี และพวกท่านทั้งหลายจงเตรียมตัวให้ดี เพื่อวันแห่งการสอบสวนอันยิ่งใหญ่” 

พื้นฐาน 4 เรื่อง ที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ

จากมุอาซ บิน ญะบัล เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า บ่าวคนหนึ่งจะไม่ก้าวเท้าทั้งสองของเขาออกไปในวันกิยามะฮฺจนกว่าเขาจะถูกถามเกี่ยวกับ 4 เรื่อง 

1.เกี่ยวกับอายุของเขาว่า เขาใช้มันหมดไปในทางใด

2.เกี่ยวกับความหนุ่มของเขาว่าเขาใช้มันอย่างไร

3.เกี่ยวกับทรัพย์ของเขาว่าเขาได้มาอย่างไรและใช้จ่ายไปในทางใด

4.เกี่ยวกับความรู้ของเขาว่าเขาใช้มันอย่างไร(อัฏฏ็อบรอนี)

ในทำนองนี้ที่มนุษย์จะถูกสอบสวนเกี่ยวกับ- อายุทั้งหมดของเขาและสอบสวนเฉพาะเกี่ยวกับ วัยหนุ่มของเขาในการที่วัยหนุ่มนั้นเป็น ส่วนหนึ่งของอายุทั้งหมด ทว่ามันมีค่าที่โดดเด่นในฐานะที่เป็นวัยที่มีชีวิตชีวามีความตั้งใจแน่วแน่ เป็นช่วงเวลาของความเข้มแข็งที่อยู่ระหว่างความอ่อนแอของ 2วัยคือ อ่อนแอในวัยเด็ก และความอ่อนแอในวัยชรา

ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า: "อัลลอฮฺทรงเป็นผู้สร้างพวกเจ้าในสภาพอ่อนแอแล้วหลังจากความอ่อนแอ พระองค์ก็ทรงทำให้มีความแข็งแรงแล้วหลังจากความแข็งแรงทรงทำให้อ่อนแอและชรา"
(อัรฺรูม :54)

ที่มา: satabunmuslim.com

อัพเดทล่าสุด