ถ้าหากว่า ฝ่ายชายได้พาฝ่ายหญิงหนีมาถึง ณ ที่หนึ่ง หลังจากนั้นฝ่ายหญิงก้อได้แต่งตั้งให้คอตีบในหมู่บ้านนั่น ทำหน้าที่เป็นวะลีห์ให้กันตัวนางเองในการทำการอักดุนนิกะห์ โดยที่นางไม่ได้เลือกเอาญาติของนางที่อยู่ในละแวกนั้นเป็นวะลีย์ และญาติของนางคนนั้นก้อไม่ได้รับรู้ถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด
เรื่องการพาเจ้าสาวหนี
ถ้าหากว่า ฝ่ายชายได้พาฝ่ายหญิงหนีมาถึง ณ ที่หนึ่ง หลังจากนั้นฝ่ายหญิงก้อได้แต่งตั้งให้คอตีบในหมู่บ้านนั่น ทำหน้าที่เป็นวะลีห์ให้กันตัวนางเองในการทำการอักดุนนิกะห์ โดยที่นางไม่ได้เลือกเอาญาติของนางที่อยู่ในละแวกนั้นเป็นวะลีย์ และญาติของนางคนนั้นก้อไม่ได้รับรู้ถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด
ดังนั้นแล้ว อยากจะทราบว่า การเป็นวะลีห์ของคอตีบนั่น ทำให้เซาะห์ในการนิกะห์หรือไม่อย่างใด และฮู่ก่มในการพาหนีเป็นอย่างไร อยากให้อาจารย์ช่วยชี้แจ้งถึงรายละเอียดทั้งหมดในเรื่องการพาหนีด้วย เพราะประเด็นในการพาหนีนี้ได้ตกเป็นปันหาที่ถกเถียงกันในหมู่บ้านของผมกันอย่างรุนแรง
1. การกระทำสิ่งใดที่นำไปสู่ปัญหาการขัดแย้งการถกเถียงและการบาดหมางระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) ดังนั้นการพาเจ้าสาวหนีไปแต่งในที่อื่นโดยที่วะลียฺ (ผู้ปกครองฝ่ายหญิง) ไม่ได้รับรู้หรือไม่ยินยอมจึงถือเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เพราะอย่างน้อยการกระทำดังกล่าวก็เป็นสาเหตุให้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างรุนแรงในหมู่บ้านของคุณดังที่บอกมา
2. หากระยะทางที่พาหนีมากกว่า 2 มัรหะละฮฺขึ้นไป (คือระยะทางที่ศาสนาอนุญาตให้ละหมาดย่อรวมได้) และฝ่ายหญิงได้ตั้งเคาะฏีบที่หมู่บ้านปลายทางเป็นผู้ทำการอักดุนนิกาหฺบนพื้นฐานที่ว่าไม่มีวะลียฺโดยตำแหน่งอยู่ที่นั่น ซึ่งเรียกว่า วะลียฺ ฆออิบฮฺ และขณะทำการอักดุนนิกาหฺ มีพยานที่เป็นชาย 2 คนรับรู้ ก็ถือว่าการอักดุนนิกาหฺนั้นใช้ได้ (เศาะหฺ) ตามทัศนะของนักวิชาการที่พิจารณาเรื่องวะลียฺ ฆออิบ
แต่ถึงเป็นการกระทำที่ใช้ได้ตามวิชาฟิกฮฺ กระนั้นก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง (มักรูฮฺ) ยิ่งในกรณีที่ถามมานี้น่าจะถึงขั้นหะรอมด้วยซ้ำไป เพราะก่อให้เกิดปัญหาบานปลายและรุนแรง และที่ว่าหะรอมนี้เป็นเพราะทำให้เกิดปัญหาบาดหมาง เป็นคนละเรื่องกับการอักดุนนิกาหฺ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ว่าง่ายๆ ก็คือ เศาะหฺนิกาห์พร้อมกับที่ต้องห้าม (หะรอม) คือไม่เป็นซินาเพราะนิกาหฺเศาะห์แล้ว แต่หะรอมมีโทษตรงสร้างเรื่องบาดหมาง
ที่ดีแล้วควรพาเจ้าสาวกลับมาบ้านแล้วก็อักดุนนิกาหฺใหม่โดยวะลียฺตามสิทธิ เช่น พ่อ ปู่ พี่ชาย น้องชาย ตามลำดับ ญาติของผู้หญิงนั้นถ้าไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาก็ไม่ต่างอะไรกับเคาะฏีบคนนั้นหรอก เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นญาติก็ใช่ว่าจะมีสิทธิในการเป็นวะลียฺให้แก่ฝ่ายหญิงไปเสียทุกคน และเรื่องพากันหนีไปแต่งนี้เคยมีผู้ถามมาแล้ว ลองค้นดูเพิ่มเติมในคอลัมน์
และเรื่องนี้ผมไม่สนับสนุนให้กระทำเลยเพราะมีแต่ปัญหา แก้ตรงโน้นได้ ก็ต้องกลับมาเจอปัญหาที่ใหญ่กว่า รักกันชอบกันก็สู่ขอกันดีๆ เถิด ต้องนึกด้วยว่า เราจะมีครอบครัวทั้งที ไม่ใช่มีเรากับแฟนเพียง 2 คน อย่าลืมว่ามีครอบครัวอีก 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และต่อไปถ้าเรามีลูกสาวแล้วมีผู้ชายมาทำอย่างนี้บ้างกับเราซึ่งเป็นพ่อ เราจะคิดอย่างไร? ที่ผมว่ามานี้มิได้หมายถึงผู้ถามหรอกนะ แต่อยากจะสื่อถึงผู้อ่านผ่านไปยังอีกหลายๆ คนที่มีความคิดว่าจะทำเช่นเดียวกันนี้ก็เท่านั้นแหละ
ที่มา: alisuasaming.org