ใครคือบุคคลที่อัลลอฮ์จะไม่มองในวันกิยามะห์


158,185 ผู้ชม

ใครคือบุคคลที่อัลลอฮ์จะไม่มองในวันกิยามะห์ บุคคลสามจำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่มองในวันกิยามะฮฺ และเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ...


บุคคลสามจำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่มองในวันกิยามะฮฺ - อ. อิสมาอีล ยูโซฟ

ثَلَاثَةٌ لَا يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَلَا يُزَكِّيهِمْ وَلَا يَنْظُرُ إِلَيْهِمْ وَلَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ : شَيْخٌ زَانٍ ، وَمَلِكٌ كَذَّابٌ ، وَعَائِلٌ مُسْتَكْبِرٌ " . رَوَاهُ مُسْلِمٌ 

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า: "บุคคลสามจำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่มองในวันกิยามะฮฺ และเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ คนแก่ชราที่ทำซินา กษัตริย์จอมโกหก และยาจกที่โอหัง" มุสลิม(309) อะหฺมัด (10227)

ใครคือบุคคลที่อัลลอฮ์จะไม่มองในวันกิยามะห์

1. คนแก่ชราที่ทำซินา

คนชราที่ทำซินา มันน่าเกลียดและมีความผิดหนักกว่าเด็กหนุ่มที่ทำซินา เพราะคนแก่ชราแรงผลักดันที่เกื้อหนุนให้ทำซินาน้อยกว่าเด็กหนุ่มที่มีพละกำลังวังชาและอารมณ์มากกว่าคนแก่ชรา ดังนั้นเมื่อคนแก่ทำซินาโทษของเขาย่อมหนักกว่า

2. กษัตริย์จอมโกหก

กษัตริย์เป็นบุคคลที่ไม่ต้องเกรงกลัวอำนาจมนุษย์คนใด การโกหกสำหรับกษัตริย์ย่อมเป็นเรื่องที่ไกลตัว ดังนั้นเมื่อกษัตริย์พูดโกหกความผิดย่อมหนักกว่าบุคคลอื่น

3. ยาจกที่โอหัง

ในความเป็นจริงแล้วคนยากคนจนน่าจะเป็นบุคคลที่มักน้อย ถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง ลำพองตนเพราะด้วยความไม่มีอันจะกินของตน ฉะนั้นความโอหังหรือตะกับบุรฺจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับคนจน ดังนั้นเมื่อเขาตะกับบุรฺโทษของเขาย่อมหนักกว่าบุคคลที่มีเหตุเกื้อหนุนให้เกิดความตะกับบุรฺอย่างคนรวย เป็นต้น

"ثَلَاثَةٌ لَا يَنْظُرُ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلَيْهِمْ يَوْمَ الْقِيَامَة:ِ الْعَاقُّ لِوَالِدَيْهِ، وَالْمَرْأَةُ الْمُتَرَجِّلَةُ، وَالدَّيُّوثُ، وَثَلَاثَةٌ لَا يَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ: الْعَاقُّ لِوَالِدَيْهِ، وَالْمُدْمِنُ عَلَى الْخَمْرِ، وَالْمَنَّانُ بِمَا أَعْطَى". أخرجه أحمد (2/134 ، 6180)

ใครคือบุคคลที่อัลลอฮ์จะไม่มองในวันกิยามะห์


บุคคลสามประเภทที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงมองเขาในวันกิยามะฮฺ ผู้เนรคุณบิดามารดา สตรีที่ทำตัวเสมือนผู้ชาย และชายที่กลัวภรรยาจนปล่อยให้นางลุ่มหลงอยู่กับบาป - สามประเภทที่อัลลอฮฺห้ามเข้าสวรรค์ ผู้เนรคุณบิดามารดา ผู้ที่ติดเหล้า และผู้ลำเลิกบุญคุณ

« ثَلاثةٌ قَد حَرّمَ اللَّهُ عَلَيْهِمُ الْجَنَّةَ: مُدْمِنُ خَمْرٍ، وَالْعَاقُّ، وَالدَّيُّوثُ الَّذِي يُقِرُّ فِي أَهْلِهِ الْخَبَثَ » [رواه النسائي 6113] 

"สามจำพวกที่อัลลอฮฺจะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเขา คือ - ผู้ที่ติดเหล้า - ผู้เนรคุณบิดามารดา - ชายที่กลัวภรรยาจนปล่อยให้นางลุ่มหลงอยู่กับบาปความผิดและสิ่งต้องห้าม” ( อันนะสาอีย์ 6113)

وَلَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَكْذِبُ ، وَيَتَحَرَّى الْكَذِبَ ، حَتَّى يُكْتَبَ عِنْدَ اللَّهِ كَذَّابًا " .

ผู้ใดก็ตามที่ชอบโกหก และฝักใฝ่การโกหกอยู่เป็นนิจ เขาก็จะถูกบันทึก ณ ที่อัลลอฮฺว่าเป็นจอมโกหก

อัลลอฮกำชับให้ทำดีกับบิดามารดา

«وَقَضىٰ رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُواْ إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاَهُمَا فَلاَ تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلاً كَرِيماً، وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيراً) (الإسراء : ٢٣-24)َ

"และองค์อภิบาลของเจ้าได้สั่งว่า พวกเจ้าอย่าได้เคารพภักดีผู้อื่นนอกจากพระองค์ และกับบิดามารดานั้นจะต้องทำดี เมื่อผู้ใดระหว่างบิดามารดาหรือทั้งสองคนได้บรรลุวัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นจงอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ (นั่นคือกล่าวแสดงความไม่พอใจ) และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงกล่าวกับทั้งสองด้วยคำพูดที่ดี และจงอ่อนน้อมแก่ท่านทั้งสองด้วยความเมตตา และจงขอว่า โอ้ผู้อภิบาลฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่พวกเขาได้เลี้ยงดูฉันมาเมื่อครั้งยังเยาว์วัย"

อัลลอฮฺได้กล่าวถึงการทำดีกับพ่อแม่หลังจากที่พระองค์สั่งให้เคารพภักดีพระองค์ เป็นการบอกถึงความสำคัญที่ต้องทดแทนคุณของทั้งสอง และยังเจาะจงกำชับการทำดีกับทั้งสองเมื่อถึงวัยชรา เพราะเวลานั้นลูกย่อมต้องเป็นที่ต้องการเพื่อดูแลปรนนิบัติและช่วยเหลือพ่อแม่มากกว่าเวลาอื่นใด

การอกตัญญูต่อพ่อแม่นั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรง แต่การอกตัญญูต่อแม่นั้นมีบาปที่มหันต์ยิ่งกว่า เพราะท่านศาสนทูต ได้บอกอย่างเจาะจงเลยว่าอัลลอฮฺทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นแม่ ท่านได้กล่าวว่า

«إِنَّ اللهَ حَرَّمَ عَلَيْكُمْ عُقُوقَ الْأُمَّهَاتِ ... »

"แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นมารดา" (อัลบุคอรี 5975)

คลิปจาก: جامع مساعد الضبيع - رحمه الله

อัพเดทล่าสุด