ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์


15,569 ผู้ชม

วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์มีสี่มุม โดยเริ่มนับมุมด้านแรก จากจุดเริ่มของการเดินเวียนภาวนา มุมกาฬศิลา มุมอิรัก มุมชมี (มุม อัล-มักฮ์ราบิ ก็ว่า) และสุดท้ายคือมุมเยเมน คำว่า รุกุน หมายถึง มุมกาฬศิลา และสองมุม


ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์

ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์มีสี่มุม โดยเริ่มนับมุมด้านแรก จากจุดเริ่มของการเดินเวียนภาวนา มุมกาฬศิลา มุมอิรัก มุมชมี (มุม อัล-มักฮ์ราบิ ก็ว่า) และสุดท้ายคือมุมเยเมน คำว่า รุกุน หมายถึง มุมกาฬศิลา และสองมุม จะหมายถึง มุมกาฬศิลาและมุมเยเมน ในสมัยของท่านอับราฮาม มีครึ่งวงกลมอยู่ระหว่างมุมอิรักและมุมชมี รูปร่างเหมือน ฮิจริ ของท่านอิสมาอีล ในยุคของ อับดุลลา บิน อัล-ซีบรี มีมุมสี่มุม ซึ่งเขาจะสัมผัสมันเสมอ เมื่อเดินเวียนภาวนา จวบจนกระทั่งสิ้นชีวิต มุมทั้งสี่เป็นส่วนหนึ่งของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้ง ฮิจริ ของท่าน อิสมาอีลด้วย
ช่องรับแสงแห่งวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
มีรูรับแสงเข้ามายังบริเวณภายใน ของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ อับดุลลา บิน อัล-ซีบรี ติดตั้งช่องรับแสงสี่ชองไว้ที่หลังคาของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์และอีกช่องหนึ่งบริเวณประตูบันไดที่ทอดไปหลังคา ช่องแสงนี้มีกรอบหินอ่อน และอยู่มาจนถึงปี ฮ.ศ. 843 เมื่อท่าน อัล-มาลิก อัล-อัชราฟ บริสบี สั่งให้นำออก เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนไหลเข้ามา


ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ภาพ รางน้ำฝน หรือ รางทอง


รางน้ำฝนแห่งวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
รางน้ำฝนถูกนำมาติดตั้งไว้ครั้งแรกในสมัยของ กูเรช เมื่อพวกเขาสร้างหลังคาให้วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันถูกทำไว้เพื่อระบายน้ำไปยัง ฮิจริ ของท่าน อิสมาอีล ท่าน อับดุลลา บิน อัล-ซีบรี และท่าน อัล-อจัย บิน ยูซุฟ ก็ได้ติดตั้งรางน้ำทำนองเดียวกัน อัล-วัลซิด บิน อับดุล มาลิก ได้เพิ่มรางดีบุกเข้าไป กาหลิบ และมุสลิมที่มั่งคั่ง เปลี่ยนรางน้ำหลายหน และอันสุดล่าสุด เป็นของขวัญจาก ซุลตาน อับดุล มีจีด ข่าน ในปี ฮ.ศ. 1273 กษัตริย์ซาอุด ทรงซ่อมมัน และผู้ดูแลสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ได้บูรณะมัน (อ่านเพิ่ม: รางทอง บนกะบะห์ ฉบับไม่งมงาย)
 

ฮิจริ ของท่าน อิสมาอีล
คือโค้งครึ่งวงกลมด้านทิศเหนือของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ด้านที่มีรางน้ำฝน มันถูกเรียกว่า อัล-ฮาตีม เพราะบางส่วนของมันถูกรื้อออก ในสมัยชาวกุเรช เมื่อพวกเขาลดบริเวณของวิหารลง ตอนที่สร้างขึ้นใหม่ มันเป็นบริเวณหินอ่อน ที่มีกำแพงรูปครึ่งวงกลม เว้นเปิดโล่งตรงส่วนตะวันออก และตะวันตก ความสูงประมาณเมตรครึ่ง มีตะเกียงสามดวงเพื่อแสงสว่างและความสวยงาม
บริเวณนี้ได้รับการพิจารณาว่า เป็นส่วนหนึ่งของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันถูกบูรณะมาแล้วไม่ต่ำกว่า ยี่สิบห้าครั้ง มันได้รับการขนานนามว่าเป็น สุสานพรมจารีแห่งครอบครัวอิสมาอีล ว่ากันว่า ท่านอิสมาอีล และมารดาของท่าน ได้ถูกฝังไว้บริเวณนี้ และยังกล่าวกันอีกว่า จุดใต้รางน้ำฝน คือจุดที่การวิงวอนจะได้รับการตอบรับ
อัล-มูลตาซัม
มันถูกเรียกว่า อัล-มูดา และ อัล-มูตาวัซ มันคือบริเวณที่ทอดระหว่างมุมกาฬศิลา และประตูของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันคือสถานที่ซึ่งมุสลิมชอบมากแกะเพื่อวิงวอนอธิฐานต่ออัลลอฮ์ ว่ากันว่าจุดที่เป็นจุดที่ละหมาดแล้วจะได้รับการสนองตอบ
อัล-มุสตาจา
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัล-มูตาวาซ หรือ อัล-มูสตาจาบ มันคือบริเวณระหว่างมุมเยเมน กับประตูด้านหลังวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันถูกเรียกว่า อัล-มูลตาซาน แห่งผู้อุโสแห่งกุเรช เป็นอีกที่หนึ่งที่การวิงวอนจะได้รับการตอบรับ
อัล-ฮาตีม ฮิจริ อิสมาอีล เรียกว่า อัล-ฮาตีม ซึ่งนับเนื่องเอาบริเวณกาฬศิลา บริเวณที่มั่นของอิบรออีม และบริเวณบ่อน้ำซัมซัม เข้าด้วยกัน มันเป็นบริเวณที่ปาบได้รับการให้อภัย


ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ภาพ หินดำ

 
กาฬศิลา (หินดำ)
คือ ตำแหน่งสำหรับเริ่มการเดินเวียนภาวนา เป็นมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ เดิมมันเป็นนิลที่มาจากสวรรค์ มุมด้านที่มองไม่เห็นของมันเป็นสีขาว เช่นเดียวกับที่มั่นของอิบรอฮีม มันเป็นจุดสำหรับมุสลิมมา ไถ่บาปและขอการยกโทษจากอัลลอฮ์ มันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะสัมผัส และจูบมัน กาฬศิลาจะเป็นพยานในวันตัดสิน รับรองมุสลิมที่มาสัมผัสจะจุมพิตมันในพิธีกรรม มันคือจุดที่ท่านศาสดาต่างๆ ได้จุมพิต รวมทั้งผู้มาทำฮัจ อุมเราะฮ์ และผู้จารึกแสวงบุญ (อ่านเพิ่ม: หินดำ คือ กะบะฮ์ คือ ต่างกันอย่างไร)


ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ภาพ ประตูกะบะฮ์
 

ประตูแห่งวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
ในสมัยของท่าน อิบรอฮีม อัล-คาลิล ประตูของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นเพียงแค่ชองเปิดที่ไม่มีบาน อสัด ตุบลา ที่สาม กษัตริย์ของเยเมนองค์หนึ่ง ทรงติดตั้งประตูบานเดี่ยว และมีสลักเปิดปิดได้ ชาวกุเรชเปลี่ยนเป็นประบานคู่ จากนั้นมันถูกเปลี่ยน และประดับตกแต่ง มาหลายครั้ง ตลอดประวัติศาสตร์ มีกุณแจพิเศษที่ถูกเก็บรักษาไว้โดย บานี ไชบา ไม่มีคนใด จากอื่นเผ่าใด สามารถครอบครองได้ โดยคำสั่งของผุ้นำสารจากอัลลอฮ์ ระหว่างรัชสมัยของกษัตริย์ ซาอุด ประตูแบบที่เห็นในปัจจุบันจึงถูกสร้างขึ้น สูง 318 ซ.ม. กว้าง 171 ซ.ม. ยกสูงจากพื้น อัล-ชัดวาน 222 ซ.ม. (อ่านเพิ่มเติม: คุณเชื่อหรือไม่ว่า ประตูกะบะห์ เป็นฝึมือของช่างมุสลิมไทย)
 

อัล-มีอจาน
เป็นหลุมเล็กๆ ติดกับกำแพงของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ทางด้านทิศตะวันออก ระหว่างมุมอิรัก และประตูของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ กล่าวกันว่ามันคือ ที่ตั้งของที่มั่นของอับราฮาม ในรัชสมัยของ โอมาร อิน อัล-กัตแตบ ที่ตั้งของที่มั่นของอับราฮามที่ถูกย้ายไปชั่วคราว ได้ถูกย้ายกลับไปยังตำแหน่งดั้งเดิม หลังน้ำท่วมยุค อัม นาชชาล หลุมนี้ยังมีความสำคัญเมื่อผุ้นำสารจากอัลลอฮ์ ได้นมัสการวันที่ท่านบุกยึดเมือมักกะฮ์ได้สำเร็จ และยังคงเป็นจุดที่ยิบลีลทำการสวดภาวนา ปัจจุบันถูกปิดลงเพราะผุ้คนมักสะดุดขณะทำ ตะวาฟ รอบ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำแหน่งของมันยังถูกทำเครื่องมายไว้ เป็นสี่เหลี่ยมบนพื้นหินอ่อน ในปี ฮ.ศ. 1377 ด้านตรงกันข้ามมีแผ่นหินอ่อนเขียนคำบรรยายเป็นภาษาอาหรับ แต่เลอะเลือนจนอ่านไม่ออก มันถูกเรียกว่า หลุม บ่อ อัล-อัคซัฟ และ อัล-แกรบแกรบ

ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ภาพ มะกอม อิบรอฮีม
 

ที่มั่นของอิบรอฮีม
ที่มั่นของอิบรอฮีม ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนเพิ่มเติมของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันคือแผ่นหินที่ท่านอิบรอฮีมยืนขณะทำการก่อสร้างปูชณียาคาร รอยเท้าของท่านยังคงปรากฏ ณ ที่นั้น มันเป็นหนึ่งในปาฏิหาริย์ถาวรของอัลลอฮ์ มันเป็นตำแหน่งแห่งการอภัยบาป ให้กับผู้ที่นมัสการข้างหลังมัน ในคัมภีร์กุรุอานกล่าวว่า มันเป็นตำแหน่งอันควรค่าแก่การสวดนมัสการ  (อ่านเพิ่ม: มะกอม อิบรอฮีม ประวัติทีมา รอยเท้าทั้งสองของนบีอิบรอฮีม)


ดัชนีอาคารบริวารและแง่มุมอื่นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ภาพ อัล-ชัดรวาน
 

อัล-ชัดรวาน
คือส่วนชายด้านล่างกำแพงของ วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ในระดับที่คนกระกอบการเดินเวียบูชา ฐานของมันเป็นหินอ่อนมนทุกด้านยกเว้นด้านที่เป็น ฮิจริ อิสมาอีล น่าจะเป็นไปได้ มากที่สุดว่ามันคือ ส่วนหนึ่งของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ห่วงหลายอันถูกติดตั้งไว้เพื่อเป็นที่ยึดผ้าคลุม วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันถูกสร้างเป็นครั้งแรกโดย อับดุลลา บิน อัล ซูบรี เพื่อทำให้อาคารมั่นคงขึ้น และกันน้ำรั่วซึมไปยังฐานราก มันถูกสร้างใหม่ และบูรณะมาหลายครั้ง (อ่านเพิ่ม: ความเป็นมา ชาซัรวาน ฐานที่ติดกับกะบะห์ )
มัสตาบาต อัล-ฮิราซาฮ์
มันคือยกพื้นของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มันถูกดาดไว้ติดกับกาฬศิลา โดยมีเครื่องปรับอากาศอยู่ใต้ดิน มียามยืนประจำที่นั่นเพื่อเฝ้าดูผู้คนจุมพิตกาฬศิลา
แท่งค้ำยันภายในวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
มีเสาไม้สามเสารองรับเพดานของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ พวกมันถูกติดตั้งโดย อับดุลลา บิน อัล-ซูบรี เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเสาเท่ากับหนึ่งคิวบิต ความห่างของแต่ละเสาเท่ากับ 2.35 เมตร
หลุมแห่งวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
หลุมตั้งอยู่บริเวณซ้ายมือของทางเข้าวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ลึกสามคิวบิต ภายใน อับราฮาม นำของขวัญที่คนมอบไห้วิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ มาเก็บไว้ มันคงอยู่จนถึงสมัยของ อับดุลลา บิน อัล-ซูบรี มันจึงถูกถม และกำปั่นถูกเคลื่อนยายไปเก็บไว้ที่บ้านของตระกูล ไซบา บิน ออตมาน บิน อบู เตลฮา ภายหลังกำปั่นถูกแทนที่ด้วยตะขอ เพื่อใช้แขวนของขวัญ ของวิหารกะบะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์
 

ที่มา : ดาบแห่งอัลเลาะห์

อัพเดทล่าสุด