นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มเมฆ และทราบว่า เมฆฝนจะก่อตัวและมีรูปทรงไปตามระบบที่แน่นอนและตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเภทของลมและกลุ่มเมฆด้วย
เมฆกับวิทยาศาสตร์ ความจริงที่พิสูจน์ได้จากอัลกุรอ่าน
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มเมฆ และทราบว่า เมฆฝนจะก่อตัวและมีรูปทรงไปตามระบบที่แน่นอนและตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเภทของลมและกลุ่มเมฆด้วย
เมฆฝนชนิดหนึ่งก็คือ เมฆฝนฟ้าคะนอง นักอุตุนิยมวิทยาได้ศึกษาถึงวิธีการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง และวิธีการที่เมฆฝนประเภทนี้ก่อให้เกิดฝน ลูกเห็บ และฟ้าแลบ
นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมฆฝนฟ้าคะนองจะไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อทำให้เกิดฝนตก:
1) กลุ่มเมฆจะถูกผลักดันโดยกระแสลม เมฆฝนฟ้าคะนองจะเริ่มก่อตัวเมื่อกระแสลมผลักดันเมฆก้อนเล็กๆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ไปยังบริเวณที่กลุ่มเมฆดังกล่าวนี้มาบรรจบกัน (ดูรูปที่ 17และ18)
รูปที่ 17:จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเมฆต่างๆ กำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเพื่อไปบรรจบกันตรงบริเวณอักษร B, C และ D เครื่องหมายลูกศรจะบอกให้ทราบถึงทิศทางของกระแสลม (The Use of Satellite Pictures in Weather Analysis and Forecasting ของ Anderson และคณะ หน้า 188)
รูปที่ 18:ชิ้นส่วนขนาดเล็กของก้อนเมฆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) กำลังเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่จะมาบรรจบกันใกล้ ๆ กับเส้นขอบฟ้า ที่ซึ่งเราสามารถมองเห็นเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ (Clouds and Storms ของ Ludlam ภาพที่ 7.4)
2) การรวมกัน จากนั้นบรรดาเมฆก้อนเล็กๆ ก็จะมารวมกันเพื่อก่อตัวให้เป็นกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ขึ้น
รูปที่ 19:(A) เมฆก้อนเล็กๆ ที่กระจัดกระจายกันอยู่ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) (B) เมื่อเมฆก้อนเล็กๆ มารวมกัน กระแสอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย จนกระทั่งก้อนเมฆมีขนาดใหญ่โตมาก จากนั้นก็กลั่นกลายกลับมาเป็นหยดน้ำ (The Atmosphere ของ Anthes และคณะ หน้า 269)
3) การทับซ้อนกันเพิ่มมากขึ้น เมื่อก้อนเมฆขนาดเล็กรวมตัวเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย กระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของก้อนเมฆนั้นจะมีความรุนแรงมากกว่ากระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณริมขอบของก้อนเมฆ กระแสอากาศไหลขึ้นเหล่านี้ทำให้ส่วนกลางของก้อนเมฆขยายตัวขึ้นในแนวดิ่ง.เพื่อที่ว่าก้อนเมฆจะได้ทับซ้อนกันมากขึ้นเรื่อยๆ (ดูรูปที่ 19 (B) 20 และ 21) การขยายตัวขึ้นในแนวดิ่งนี้เป็นเหตุให้ก้อนเมฆขยายตัวล้ำเข้าไปในบริเวณที่มีบรรยากาศเย็นกว่า จึงทำให้บริเวณนี้เป็นที่ก่อตัวของหยดน้ำและลูกเห็บ และเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหยดน้ำและลูกเห็บเหล่านี้มีน้ำหนักมากจนเกินกว่าที่กระแสอากาศไหลขึ้นจะสามารถอุ้มไว้ได้ มันจึงเริ่มกลั่นตัวออกมาจากก้อนเมฆแล้วตกลงมาเป็นฝน ลูกเห็บ และอื่นๆ
อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานดังนี้ :
เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกัน แล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)
นักอุตุนิยมวิทยาเพิ่งได้ทราบขั้นตอนรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตัว โครงสร้าง และหน้าที่ของก้อนเมฆเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ล้ำสมัย อย่างเช่น เครื่องบิน ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ บอลลูน และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อศึกษากระแสลมและทิศทางลม เพื่อตรวจวัดความชื้นและค่าความแปรปรวนของความชื้น อีกทั้งเพื่อพิจารณาถึงระดับและการแปรปรวนของความกดดันในชั้นบรรยากาศอีกด้วย
โคลงบทที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ หลังจากที่ได้กล่าวถึงกลุ่มเมฆและฝน ได้พูดถึงลูกเห็บและฟ้าแลบดังนี้:
…และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง. (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)
นักอุตุนิยมวิทยาได้พบว่า กลุ่มเมฆฝนฟ้าคะนองเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดลูกเห็บโปรยปรายตกลงมานั้น จะอยู่ที่ระดับความสูง 25,000 ถึง 30,000 ฟุต (4.7 ถึง 5.7 ไมล์),5อย่างเช่น เทือกเขาต่าง ๆ ดังที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ “…และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา...” (ดูรูปที่ 21ข้างต้น )
โคลงบทนี้อาจก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมโคลงบทดังกล่าวจึงกล่าวว่า “แสงประกายของสายฟ้า” เป็นการอ้างถึงลูกเห็บ เช่นนี้หมายความว่าลูกเห็บเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดแสงฟ้าแลบหรือ ขอให้เราดูหนังสือที่มีชื่อว่า Meteorology Today ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า ก้อนเมฆจะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น ขณะที่ลูกเห็บตกผ่านลงมายังบริเวณก้อนเมฆที่มีหยดน้ำเย็นจัดและก้อนผลึกน้ำแข็ง เมื่อหยดน้ำเกิดการกระทบกับลูกเห็บ หยดน้ำก็จะแข็งตัวในทันทีที่สัมผัสกับลูกเห็บ และปล่อยความร้อนแฝงออกมา สิ่งนี้ทำให้พื้นผิวของลูกเห็บอุ่นกว่าผลึกน้ำแข็งที่อยู่รายรอบ
เมื่อลูกเห็บสัมผัสกับผลึกน้ำแข็ง ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้น นั่นคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากวัตถุที่เย็นกว่าไปยังวัตถุที่อุ่นกว่า ดังนี้ ลูกเห็บจึงกลายเป็นประจุไฟฟ้าลบ ปฏิกิริยาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำเย็นจัดสัมผัสกับลูกเห็บและสะเก็ดขนาดเล็กที่แตกออกมาจากผลึกนำแข็งซึ่งมีประจุบวก. อนุภาคของประจุไฟฟ้าบวกที่มีน้ำหนักเบาเหล่านี้ ในเวลาต่อมาจะถูกกระแสอากาศไหลขึ้นพัดพาขึ้นไปยังส่วนบนของก้อนเมฆ ลูกเห็บซึ่งมีประจุลบ จะตกลงสู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ ดังนี้ ส่วนล่างของก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าลบ หลังจากนั้นประจุไฟฟ้าลบนี้จะถูกปล่อยออกมาเป็นแสงฟ้าแลบ.6 เราจึงพอสรุปปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่า ลูกเห็บนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดฟ้าแลบ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับแสงฟ้าแลบเหล่านี้ ได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2143 ความคิดของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับเรื่องอุตุนิยมวิทยาจึงมีความเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น เขาเคยกล่าวไว้ว่า ในบรรยากาศนั้นประกอบไปด้วยไอระเหยของอนุภาคสองชนิด นั่นคือ ความแห้งและความชื้น เขายังได้กล่าวอีกด้วยว่า ฟ้าร้อง คือเสียงการประทะกันของไอระเหยความแห้งกับกลุ่มเมฆที่อยู่ใกล้ ๆ กัน และฟ้าแลบนั้น คือ การเกิดประกายไฟและการเผาไหม้ของไอระเหยความแห้งที่มีไฟที่บางเบาและเจือจาง7 เหล่านี้ก็คือ แนวความคิดบางประการในเรื่องของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเวลาที่มีการเปิดเผยพระคัมภีร์กุรอาน เมื่อสิบสี่ศตวรรษที่ผ่านมา
เมฆ ที่อัลลอฮทรงตรัสไว้ในกุรอาน
البقرة :164
إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَاخْتِلاَفِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ وَالْفُلْكِ الَّتِي تَجْرِي فِي الْبَحْرِ بِمَا يَنفَعُ النَّاسَ وَمَا أَنزَلَ اللّهُ مِنَ السَّمَاء مِن مَّاء فَأَحْيَا بِهِ الأرْضَ بَعْدَ مَوْتِهَا وَبَثَّ فِيهَا مِن كُلِّ دَآبَّةٍ وَتَصْرِيفِ الرِّيَاحِ وَالسَّحَابِ الْمُسَخِّرِ بَيْنَ السَّمَاء وَالأَرْضِ لآيَاتٍ لِّقَوْمٍ يَعْقِلُونَ
" แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน และเรือที่วิ่งอยู่ในทะเล พร้อมด้วยสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ และน้ำ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้หลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยน้ำนั้นหลังจากที่มันตายไปแล้ว และได้ทรงให้สัตว์แต่ละชนิด แพร่สะพัดไปในแผ่นดิน และในการให้ลมเปลี่ยนทิศทาง และให้เมฆ...! ซึ่งถูกกำหนดให้บริการ(แก่โลก) ผันแปรไประหว่างฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น แน่นอนล้วนเป็นสัญญาณนานาประการแก่กลุ่มชนที่ใช้ปัญญา"
อัล-บ่าก่อเราะฮฺ :164
الأعراف :57
وَهُوَ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ بُشْرًا بَيْنَ يَدَيْ رَحْمَتِهِ حَتَّى إِذَا أَقَلَّتْ سَحَابًا ثِقَالاً سُقْنَاهُ لِبَلَدٍ مَّيِّتٍ فَأَنزَلْنَا بِهِ الْمَاء فَأَخْرَجْنَا بِهِ مِن كُلِّ الثَّمَرَاتِ كَذَلِكَ نُخْرِجُ الْموْتَى لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
“และพระองค์นั้นคือผู้ที่ทรงส่งลงมาเป็นข่าวดีเบื้องหน้าความเอ็นดูเมตตา ของพระองค์จนกระทั่งเมื่อมันได้แบกเมฆ..! อันหนักอึ้งไว้ เราก็นำมันไปสู่ เมืองที่แห้งแล้ง แล้วเราก็ให้น้ำหลั่งลงที่เมืองนั้น แล้วเราได้ให้ผลไม้ทุกชนิดออกมาด้วยน้ำนั้น ในทำนองนั้นแหละเราจะให้บรรดาผู้ที่ตายแล้วออกมา หวังว่าพวกเจ้าจะได้รำลึก”
อัล-อะอฺรอฟ :57
النور :43
أَلَمْ تَرَ أَنَّ اللَّهَ يُزْجِي سَحَابًا ثُمَّ يُؤَلِّفُ بَيْنَهُ ثُمَّ يَجْعَلُهُ رُكَامًا فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ وَيُنَزِّلُ مِنَ السَّمَاء مِن جِبَالٍ فِيهَا مِن بَرَدٍ فَيُصِيبُ بِهِ مَن يَشَاء وَيَصْرِفُهُ عَن مَّن يَشَاء يَكَادُ سَنَا بَرْقِهِ يَذْهَبُ بِالْأَبْصَارِ
"เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกันแล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จำเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆ...! นั้น และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้า มีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง"
อัน-นูร :43
الذاريات :2
فَالْحَامِلَاتِ وِقْرًا
"ขอสาบานต่อเมฆที่พยุง (ฝน) อย่างหนัก"
อัซ-ซาริยาต :2
النبأ :14
وَأَنزَلْنَا مِنَ الْمُعْصِرَاتِ مَاء ثَجَّاجًا
" และเราได้หลั่งน้ำลงมาอย่างมากมายมากเมฆฝน"
อัน-นะบะอฺ :14
วิทยาศาสตร์.พูดถึงฝนว่า: ฝน เกิดจากการรวมตัวของหยดน้ำเล็กๆ ในก้อนเมฆ ทำให้หยดน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระแสอากาศที่พยุงเมฆให้ลอยขึ้นนั้นไม่สามารถอุ้มหยดน้ำไว้ได้ หยดน้ำจึงตกลงมาเป็นฝน .!
(นี่คือสิ่งที่วิทยาศาตร์บอกไว้..ในขณะที่อัลลอฮทรงตรัสไว้ในกุรอาน1400กว่าปีที่ผ่านมา)
ย้อนมาที่เรื่องเมฆต่อ ถ้าเรามองด้วยตาเปล่าจะเห็นมันล่องลอยเบาเหมือนปุยนุ่น น่าขึ้นไปนอนกลิ้งเล่น ขอโทษที่คิดว่าเบาๆนี่มีน้ำหนักมาก
จากข้อมุูลศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศเเห่งชาติในเมือง โบลเดอร์ รัฐโคโลราโด น้ำหนักเฉลี่ยของเมฆ คิวมูลัส(เมฆปุยขาวในระดับสูงปานกลาง) เมฆ 1 ก้อน เท่ากับ น้ำหนักช้าง 100ตัว.ในขณะที่เมฆก้อนมหึมา จะมีน้ำหนักเท่ากับช้าง..200000 เลย ที่เดียว
นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่กุรอานบอกไว้เมื่อ 1400 กว่าปี ที่อัลลอฮทรงตรัสถึงเมฆเเละพระองค์ใช้คำว่า หนักอึ้งในสิ่งที่มันต้องเเบกเเละทำหน้าที่ของมันเพื่อบริการฝนเเก่โลก..!
อัลลอฮทรงให้เมฆมีหน้าที่บริการโลก......พระองค์ทรงใช้คำว่าบริการ..นั่นย่อมหมายถึงทุกสิ่งที่พระองค์สร้าง....มีหน้าที่ของมันใน
เเต่ละสิ่งที่พระองค์สร้างตั้งเเต่ของชิ้นใหญ่.......จนถึงเล็กที่ต้องใช้เเว่นขยายเเละที่ตาเปล่าของมนุษย์มองไม่เห็น(อากาศ)ล้วนมีประโยชน์เเละหน้าที่ของมันในความรับผิดชอบ(อามานะฮ)รวมถึงมนุษย์ด้วย
เเละนี่คืออีกสิ่งมห้ศจรรย์ในกุรอาน เพื่อยืนยันความเป็นศาสดาของท่านนบีมูฮัมหมัด. ซล.ที่นำสิ่งที่ถูกต้องเเละความจริงมาบอกมนุษย์
อัลลอฮุอักบัร ผู้ทรงสร้างผู้ทรงยิ่งใหญ่
เกล็ดความรู้นิดๆเกี่ยวกับเมฆ
วิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกชื่อเมฆต่างๆดังนี้
. ระดับของเมฆ นิมโบสเตรตัส สเตรตัส อัลโตสเตรตัส สเตรโตคิวมูลัส คิวมูลัส คิวมูโลนิมบัส เซอโร สเตรตัส เซอรัส อัลโตคิวมูลัส เซอโรคิวมูลัส
. เมฆชั้นต่ำ : สเตรโตคิวมูลัส Stratocumulus
. เมฆชั้นต่ำ : สเตรตัส Stratus
. เมฆชั้นต่ำ : นิมโบสเตรตัส Nimbostratus
. เมฆชั้นกลาง : อัลโตสเตรตัส Altostratus
. เมฆชั้นกลาง : อัลโตคิวมูลัส Altocumulus
. เมฆชั้นสูง : เซอโรคิวมูลัส Cirrocumulus
. เมฆชั้นสูง : เซอโรสเตรตัส Cirrostratus
. เมฆชั้นสูง : เซอรัส Cirrus
. เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง : เมฆคิวมูลัส Cumulus
. เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง : เมฆคิวมูโลนิมบัส Cumulus
เมฆในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
หน้าปกหนังสือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมความหมายภาษาไทย โดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย จัดพิมพ์โดย ศูนย์กษัตร์ ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน
พบคำว่า "เมฆ" 20 แห่ง
ตัวอย่าง :
3.1. ความหมายบวก
เมฆเป็นพระเมตตาของอัลลอฮ์ ที่ให้ความร่มเย็นแก่มนุษย์ ให้น้ำฝน ช่วยบังแสงอาทิตย์อันร้อนแรงขณะเดินทางกลางทะเลทราย
"เราได้ให้เมฆบดบังพวกเจ้า" ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ (2 : 57) หมายถึง ซูเราะฮฺ (ซูเราะฮ์, บท) ชื่อ "อัล-บะเกาะเราะฮฺ" บทที่ 2 อายะหฺ (อายะฮ์, โองการ, วรรค) ที่ 57
"ให้เมฆซึ่งถูกกำหนดให้บริการ (แก่โลก) ผันแปรไประหว่างฟากฟ้าและแผ่นดิน" ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ (2 : 164)
"จงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะส่งเมฆ(น้ำฝน) มาเหนือพวกท่าน ให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างหนัก" ซูเราะฮฺ ฮูด (11 : 52)
"อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ส่งลมทั้งหลาย แล้วมันได้รวมตัวกันขึ้นเป็นเมฆ แล้วพระองค์ทรงให้มันแผ่กระจายไปตามท้องฟ้า เท่าที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงทำให้มันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าจะเห็นฝนตกลงมาจากท่ามกลางมัน เมื่อมันได้ตกลงมายังผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ เมื่อนั้นพวกเขาก็ดีใจ" ซูเราะฮฺ อัรฺรูม (30 : 48)
"อัลลอฮฺซึ่งทรงส่งลมทั้งหลายออกไป (และมันได้หอบเป็นเมฆขึ้น แล้วเราได้ให้มันพัดพาไปยังดินแดนที่แห้งแล้ง แล้วเราได้ให้แผ่นดินนั้นมีชีวิต (ชุ่มชื้นด้วยน้ำฝน) หลังจาการแห้งแล้งของมัน เช่นนั้นแหละการฟื้นคืนชีพ" ซูเราะฮฺ ฟาฏิร (35 : 9)
"เราได้หลั่งน้ำลงมาอย่างมากมายมากเมฆฝน เพื่อว่าเราจะให้งอกเงยด้วยน้ำนั้นซึ่งเมล็ดพืช และพืชผัก และบรรดาเรือกสวนอันหนาแน่น" ซูเราะฮฺ อันนะบะอฺ (78 : 14-16)
3.2. ความหมายลบ
"อัลลอฮ์และมลาอิกะอ์ของพระองค์จะมายังพวกเขา ในร่มเงาจากเมฆ" ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ (2 : 210)
อัลลอฮ์และ "มลาอิกะอ์" คือ เทวทูต หรือเทวดา จะมาในเงาเมฆเพื่อลงโทษ
"เบื้องบนของมันก็มีเมฆหนาทึบซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า เมื่อเขาเอามือของเขาออกมาเขาแทบจะมองไม่เห็นมัน และผู้ใดที่อัลลอฮ์ไม่ทรงทำให้เขาได้รับแสงสว่าง เขาก็จะไม่ได้รับแสงสว่างเลย" ซูเราะฮฺ อัรเราะอฺดฺ (13 : 12)
"อัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกันแล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จำเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้า มีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์" ซูเราะฮฺ อันนูรฺ (24 : 43)
"พวกเขาได้ปฏิเสธไม่เชื่อเขาดังนั้นการลงโทษแห่งวันเมฆครอบคลุมได้คร่าพวกเขา แท้จริงมันเป็นการลงโทษแห่งวันยิ่งใหญ่" ซูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ (26 : 189)
"ครั้นเมื่อพวกเขาเห็นเมฆทึบเคลื่อนมายังที่ราบลุ่มในหมู่บ้านของพวกเขา พวกเขากล่าวว่า นี่คือเมฆที่จะให้น้ำฝนแก่เรา เปล่าเลยมันคือสิ่งที่พวกเจ้าเร่งขอให้เกิด มันคือลมพายุ ในนั้นมีการลงโทษอันเจ็บปวด" ซูเราะฮฺ อัลอะฮฺก็อฟ (46 : 24)
3.3. ความหมายกลาง
"ขอสาบานต่อเมฆที่พยุง (ฝน) อย่างหนัก"ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต (51 : 2)
"ขอสาบานต่อมะลาอิกะฮฺที่อุ้มเมฆฝน" ซูเราะฮฺ อัลมุรซะล้าต (77 : 3)
www.islam-guide.com, เมฆในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
islamhouse.muslimthaipost.com