สามีหย่าภรรยา 2 ตอลาก วันหนึ่งไปร่วมประเวณีกับภรรยา ถือว่าเป็นการคืนดีกันหรือไม่?


124,356 ผู้ชม

สามีหย่าภรรยา 2 ตอลาก วันหนึ่งไปร่วมประเวณีกับภรรยา จะถือว่าเป็นกา ร่อยั๊วะ (คืนดี) กับภรรยาหรือไม่?


สามีหย่าภรรยา 2 ตอลาก วันหนึ่งไปร่วมประเวณีกับภรรยา ถือว่าเป็นการคืนดีกันหรือไม่?

สามีหย่าภรรยา 2 ตอลาก วันหนึ่งไปร่วมประเวณีกับภรรยา จะถือว่าเป็นกา ร่อยั๊วะ (คืนดี) กับภรรยาหรือไม่?

ตอบ ตามมัซฮับอิหม่ามซาฟีอีนั้น ถ้าหย่าภรรยาหลังจากร่วมประเวณีกันแล้วยังไม่ถึง 3 ตอลาก โดยไม่มีค่าตอบแทน คือไม่มีการซื้อหย่า และภรรยายังไม่หมดอิดดะห์ ศาสนาอนุญาตให้ ร่อยั๊วะ คืนดีกันได้ การคืนดีกันต้องกล่าวเป็นวาจา เช่นสามีกล่าวว่า ฉันคืนดีกับเธอแล้วนะ หรือข้าพเจ้ากลับคืนนิกะฮ์กับเธอ หรือข้าพเจ้ากลับคืนดีกับภรรยาข้าพเจ้า ศาสนาถือว่าเป็นการคืนดีกันแล้ว ภรรยาจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่ควรให้มีพยาน อาจเกิดปัญหา ส่วนการร่วมประเวณีกันอย่างเดียวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการรอยั๊วะ คืนดีกัน ถึงแม้ว่าจะเหนียตร่อยั๊วะคืนดีกันก็ตาม ศาสนาถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ใช่เป็นการทำซินา ไม่ต้องถูกลงฮัด คือ ขว้างจนกระทั่งตาย แต่ให้ ตะซี ลงโทษตามความเห็นของกษัตริย์ สำหรับมัซฮับของอิหม่ามมาลีกี การร่วมประเวณีกันถ้านึกว่าเป็นการคืนดีกันด้วยก็ถือว่า รอยั๊วะคืนดีกัน ถ้าไม่นึกเป็นการคืนดีกันก็ไม่ถือว่าเป็นการคืนดีกัน

(การคืนดีกันแล้ว ภรรยาจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่ควรให้มีพยาน อาจเกิดปัญหา ส่วนการร่วมประเวณีกันอย่างเดียวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการรอยั๊วะ คืนดีกัน ถึงแม้ว่าจะเหนียตร่อยั๊วะคืนดีกันก็ตาม ศาสนาถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ใช่เป็นการทำซินา ไม่ต้องถูกลงฮัด คือ ขว้างจนกระทั่งตาย แต่ให้ ตะซี ลงโทษตามความเห็นของกษัตริย์ สำหรับมัซฮับของอิหม่ามมาลีกี การร่วมประเวณีกันถ้านึกว่าเป็นการคืนดีกันด้วยก็ถือว่า รอยั๊วะคืนดีกัน ถ้าไม่นึกเป็นการคืนดีกันก็ไม่ถือว่าเป็นการคืนดีกัน หน้า 236-237)

โดย อดีตจุฬาราชมนตรี (นายประเสริฐ มะหะหมัด) และ อาจารย์อาดัม มะหะหมัด

การหย่าในอิสลาม

การหย่า จะมีผลบังคับใช้ถ้าผู้กล่าวคำหย่าเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะ  และตัดสินใจด้วยตนเองได้  และการหย่าจะไม่มีผลถ้าผู้กล่าวคำหย่าเป็นผู้ที่ถูกบังคับ หรือมึนเมาโดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าตัวเองพูดอะไร หรือโกรธที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่นเดียวกัน การกล่าวคำหย่าจะไม่มีผลกับผู้พลั้งพูดผิดหรือเลินเล่อหรือหลงลืมหรือหรือบ้าและผู้ที่มีลักษณะเดียวกันกับบุคคลเหล่านี้

รูปแบบของการหย่าร้าง

         การหย่าร้างนั้นอาจเป็นการหย่าที่มีผลทันที หรือเป็นการหย่าที่พาดพิงอิงกับอนาคต และในบางครั้งก็เป็นการหย่าที่มีข้อแม้และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

          1. การหย่าที่มีผลบังคับใช้ทันที เมื่อเขาได้กล่าวแก่ภรรยาของเขา ว่า   ( أنت طالق )เธอได้หย่าแล้ว หรือ    (طلقتك) ฉันได้หย่าเธอแล้ว หรือคำกล่าวอื่นๆในทำนองนี้ การกล่าวคำหย่ารูปแบบนี้ จะมีผลทันทีเนื่องจากผู้กล่าวคำหย่ามิได้พาดพิงถึงสิ่งอื่น

          2. การหย่าที่พาดพิงเกี่ยวพันกับอนาคต อย่างเช่น เขาได้กล่าวแก่ภรรยาของเขาว่า  ( أنت طالق غدا )     เธอได้หย่าแล้ววันพรุ่งนี้ หรือ  ( أنت طالق رأس الشهر )  เธอได้หย่าเมื่อขึ้นเดือนใหม่ การกล่าวคำหย่าแบบนี้จะมีผลเมื่อเวลาที่มีการพาดพิงมาถึง

          3. การหย่าที่มีข้อแม้และเงื่อนไข คือ การกล่าวถ้อยคำที่ใช้เพื่อการหย่าที่มีข้อแม้และเงื่อนไข ซึ่ง มีสอง ประเภท

          3.1 เป้าหมายในการกล่าวคำหย่านั้น เพื่อการเตือนให้กระทำ หรือให้เลิกการกระทำ หรือให้ระวัง หรือหักห้าม หรือเน้นในการแจ้งให้ทราบ หรืออื่นๆในทำนองนี้ อย่างเช่น เขากล่าวว่า
( إن ذهبت إلى السوق فأنت طالق )      ถ้าหากเธอไปตลาดเธอได้หย่ากับฉัน โดยมีเป้าหมายเพื่อหักห้ามนางไม่ให้ไปตลาด การกล่าวคำหย่าเช่นนี้จะไม่มีผล แต่จะเป็นการสาบาน ซึ่งสามีจำเป็น(  واجب )  ต้องไถ่ถอนสาบาน ( كفارة ) เมื่อนางละเมิด และการไถ่ถอนการสาบานนั้น ( الكفارة ) คือ เลี้ยงอาหารหรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ยากจน 10 คน  หรือปล่อยทาส ถ้าไม่มีความสามารถ ก็ให้ถือศีลอด เป็นเวลา 3 วัน

          3.2 หากว่าการกล่าวคำหย่านั้นมีเป้าหมายเพื่อการหย่าจริงเมื่อข้อแม้หรือเงื่อนไขที่อ้างถึงเกิดขึ้น อย่างเช่น  เขากล่าวว่า  ( إن أعطيتني كذا فأنت طالق ) ถ้าหากเธอยกทรัพย์สินจำนวนเท่านั้นให้ฉัน เธอก็ได้หย่า  การหย่าเช่นนี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อข้อแม้หรือเงื่อนไขที่อ้างถึงเกิดขึ้น

ที่มา: www.islammore.com

อัพเดทล่าสุด