ทำไม ชาวมลายูปัตตานี ยกทัพรับอิสลาม
นครปัตตานีในสายฝนมีนักประวัติศาสตร์มากมายในไทยที่ ระบุภาพนี้เป็นภาพอยุธยา ทั้งๆ ที่อยุธยาไม่มีภูเขาภาพนี้เป็นภาพปัตตานี
พุทธศาสนาของชาวมลายู
ชาวมลายูหรือคนที่อาศัยในแหลมมลายูนั้น นับแต่ชุมพรลงมา ในอดีตนั้นนับถือศาสนาอะไร เป็นหนึ่งในเรื่องที่ตอบยาก เพราะศาสนาดั่งเดิมจริงๆนั้นไม่มีใครรู้เชื่อกันแต่ว่าน่าจะนับถือผีเหมือนทั่วๆไป
หนึ่งในความเชื่อโบราณที่เห็นในปัจจุบันคือจั่วพระอาทิตย์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านแบบมลายู อย่างไรก็ดีภายหลังได้เปลี่ยนมานับถือฮินดู ก่อนจะหันมานับถือพุทธ
พุทธในดินแดนมลายู
ไม่มีบันทึกมากนัก จริงๆจะว่าไปก่อนรับศาสนาอิสลามเอกสารเกี่ยวกับดินแดนนี้มีน้อยมาก มีบันทึกจากคนจีนเสียส่วนใหญ่และชาติยุโรปบ้าง แต่อย่างไรก็ดี มีหลักฐานมากมายถึงความอ่อนแอของพุทธในย่านนี้และหลักฐานดังกล่าวก็ยังคงพบเห็นในปัจจุบัน อันได้แก่
1)การผสมฮินดูพุทธพุทธศาสนาในดินแดนมลายูไม่เคยบริสุทธิ์หรือใกล้ความบริสุทธิ์เลย จะว่าไปมันอยู่ภายใต้ อยู่เหนือหรืออยู่ร่วม เอาง่ายๆคือตัดขาดจากศาสนาฮินดูไม่ได้เลยหลายคนอาจเทียบใน กทม ที่มีพิธีพราห์ม พิธีพุทธ ปนเป ไม่แปลกอะไรแต่ท่านเคยพบศาลเทพเจ้าฮินดูในวัดพุทธไหม?
วัดเก่าในภาคใต้แทบทุกวัดจะมีศาลของเทพเจ้าฮินดูเสมอ จริงๆแล้วมีการค้นพบซาก ศิวลึงค์(หนึ่งในสัญลักธฺ์ของพระอิศวร ฮินดู)คู่กับพระพุทธรูป หรือการทำพิธีกรรมโดย รดน้ำลงบนเทพเจ้าฮินดู ให้น้ำไหลไปรดพระพุทธรูปอีกทีด้วย จะว่าไปมีวัดซื่อวัด พะโคะ หรือพระโค สัญลักษณ์พระอิศวร ด้วย
แน่ละหลายคนเริ่มนึกถึงจตุคาม ที่เอาเทพเข้าฮินดูมาให้พระสงฆ์พุทธปลุกเสก นั้นแหละคือหนึ่งในซากฮินดูที่ปนเปกับพุทธจนแยกไม่ออกในภาคใต้และดินแดนมลายู ดังนั้น พุทธในภาคใต้ในสมัยโบราณจึงไม่เคยบริสุทธิ์
2)พฤติกรรมของพระสงฆ์
เรื่องนี้อธิบายยากเล้กน้อยแต่ผมจะเล่าเรื่องหนึ่งที่ท่านสามารถสอบถามความจริงได้เรื่องนี้เป็นของวัดชลธาราสิงเห วัดดังของจังหวัดนราธิวาสเมื่อเจ้าอาวาสท่่านมรณะภาพไป ก่อนมรณะภาพท่านไม่ได้ตั้งใครให้เป็นเจ้าอาวาส ทำให้พระในวัดทะเลาะกัน และการทะเลาะกันครั้งนี้ส่งผลให้พระแบ่งวัดเป็น 2 วัดคือวัดเหนือและวัดใต้มีโบสถ์แยกกันมีเจ้าอาวาส 2 รูปหอระฆังสองหอและโบสถ์สองหลัง บนน้ำและบนบก
ต่อมาท่านไหนผมจำไม่ได้เสียแล้วมรณะภาพก่อน ท่านที่ยังอยู่ก็รื้อกถฏิเจ้าอาวาสที่มรณะภาพ แล้วรื้อโบสถ์ เอาพระประธานมาไว้ในโบสถ์บนดิน
วันนี้เลยมีพระประธาน 2 องค์เรื่องนี้เพิ่งเกิดครับ ยังสอบถามคนที่นั้นได้ว่าจริงไหม มีคนทันสมัย 2 เจ้าอาวาสยังมีชีวิตอยู่ครับ
หลายคนฟังแล้วงง พระทะเลาะกันนี้นะ
จะว่าไปชาวพุทธที่นั้นสมัยก่อนไม่ได้เรียก พระ ว่า พระ แต่เรียก จอมวัด หมายถึง จอม หรือใหญ่ในวัด พระในดินแดนมลายูสมัยก่อนนิยมพกกริช เล่นไสยศาสตร์ จะว่าไปแล้วมีบันทึกมากมายยืนยันความเป็นนักเลงของพระด้วย
และด้วยพฤติกรรมนี้เองทำให้ฮินดูยังคงมีอิทธิพลและปนเปไปกับพุทธ และ ทำให้พุทธศาสนาอ่อนแอ
และไม่ได้เป็นที่พักใจอย่างที่เป็น ไสยศาสตย์จึงถูกนำมาเสริมและนั้นคือเหตุผลที่พระในยุคนั้นเล่นไสยศาสตร์นั้นเองสิ่งที่เป็นซากความมีอยู่ของพุทธของดินแดนมลายูคือตูปะข้าวเหนียวที่ผูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่เชื่อกันว่าทำตามรูปลักษณ์ของพระพุทธรูป ทำกินในวันรายอและในชาวพุทธจะทำในงานบุญเดือนสิบนั้นเอง
เมืองโบราณ ยังรัง จาเละ ซากดั่งเดิมของปัตตานีสมัยยังนับถือพุทธ
พระพุทธรูปพิมพ์ที่พบในบริเวญเมืองโบราณ เมื่ออิสลามเข้ามา อิสลามเข้ามาแหลมมลายูเมื่อไหร่ นี้เป็นคำถามยอดฮิตหนึ่งในหลายๆคำถามเกี่ยวกับที่มาของอิสลามในแหลมมลายูแต่ไม่มีใครให้ระยะเวลาที่แน่นอนได้ จะว่าไปวันนี้ยังถกเถียงกันเสียด้วยซ้ำว่า มลายู หรือ ชวา ใครกันแน่ที่รับอิสลามก่อน เพราะภาษาศาสนาในแหลมมลายูจะเป็นภาษา มลายู อย่างง่ายๆ คำว่าละหมาด ทั้งแหลมมลายูและภาคใต้จะใช่คำว่า ซึมบายัง( มาหยัง ตามการออกเสียงแบบไทยใต้)
หลายคนเชื่อว่า อิสลามน่าจะมาตั้งแต่ร้อยปีแรกของอิสลาม อย่างไรก็ดี ทุกทรรศนะของนักประวัติศาสตร์ตรงกันคือ อิสลามรุ่งโรจน์ด้วยพ่อค้าชาวอาหรับ ก่อนอื่นต้องเข้าใจธรรมชาติของชาวมลายูเล็กน้อย ชาวมลายูและคนใต้ทั้งหมดล้วนอยู่บนแผ่นดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ มาถึงตรงนี้หลายคนอาจเถียงถึงความเขียวของต้นยางทางใต้
แต่แผ่นดินภาคใต้ไม่เคยปลูกข้าวพอเลี้ยงคนใจภาคใต้เลย จะว่าไปพืชพลทางการเกษตรในเชิงอาหารและการเพาะปลุกก็น้อยมาก เพราะภาคใต้มีที่ราบน้อย อาชีพหลักของคนภาคใต้แต่โบราณคือการค้าขาย ล่องเรือสำเภา
เมื่อพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามานั้น สังคมของชาวมลายูยังคงเป็นสังคมโจรสลัด รบและปล้น อย่าแปลกใจครับสมัยโบราณการเป็นโจรสลัดกับการค้าขายทางทะเล เรื่องเดียวกัน ส่วนศาสนานั้น ก็ลองย้อนกลับไปอ่านครับ ถือศาสนาที่ปะปนระหว่างพุทธ ฮินดู และ ผี หากพูดถึงเรื่องศรัทธาต่อศาสนาดั่งเดิมแล้ว คงต้องบอกว่าน้อยมาก การเข้ามาของพ่อค้าชาวอาหรับนั้นพิเศษมาก เนื่องจาก ฮินดูและพุทธ ต่างเป็นศาสนาที่อิงกับนักบวช แต่อิสลามไม่
ความแปลกนี้ตรงกับคำอธิบายเรื่อง อิสลามมาอย่างคนแปลกหน้า และจะจากไปอย่างคนแปลกหน้า
พ่อค้าชาวอาหรับสมัยนั้นเข้ามาเพื่อค้าขาย ความร่ำรวยการเข้าถึงง่าย ความรู้และอื่นๆ ทำให้ชาวมลายูสนใจอยากเป็นแบบพ่อค้าชาวอาหรับ จึงรับศาสนาอิสลาม
อีกทั้งแนวคิดเรื่อง มุสลิมเป็นพี่น้องกัน การรับอิสลามยังช่วยเรื่องการค้าด้วย อิสลามยิ่งกว้างไกล
ไม่มีใครแน่ใจว่าช่วงเวลาของอิสลามและคนมลายู ที่ไม่ใช่ผู้ปกครองนานเท่าไหร่
แต่ประมาณการกันว่า ก่อนผู้ปกครองของชาวมลายูจะรับอิสลามนั้น
มีมุสลิมแล้วไม่น้อยกว่า 30 %
แต่แน่ละ พุทธศาสนาและศาสนาอื่นยังมั่นคง เพราะรายายังไม่ได้รับอิสลาม
และนั้นคือเหตุผลของ 30 % ซึ่งจำนวนนี้ยังคงอยู่ในปัจจุบันในทุกจังหวัดภาคใต้ของไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของแหลมมลายู มุสลิมก็จะมีราวๆ 30 % นั้นเอง
ศิวลึงก์ที่อยู่ใกล้ๆกัน และมีพอๆกับสัญลักษณ์พุทธ หลักฐานที่ทำให้นักประวัติศาสตร์พอเดาได้ถึงพุทธที่ปนเปกับฮินดูจนแยกไม่ออกในยุคนั้น
เมื่อรายาปัตตานีตัดสินใจรับอิสลาม
จุุดเปลี่ยนสำคัญของอิสลามในภูมิภาคนี้คือการรับอิสลามของรายาปัตตานีพญาอินทิรา ตามบันทึกหลายบันทึกคือ ท่านป่วยและรักษาไม่หายจนได้หมอชาวอาหรับคนหนึ่งมารักษาจนหายโดยแลกเปลี่ยนว่า หากหายจะรับอิสลามแต่เอาเข้าจริงๆเมื่อหายก็ไม่รับอิสลาม จนโรคกลับมา เลยไปเชิญมาเมื่อหายก็ไม่รับอีก
จนเชิญมาครั้งที่ 3 หมอจึงให้ท่านรับก่อนแล้วรักษา พญาอินทิราจึงรับอิสลามแล้วได้รับการรักษาจนหาย
นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า การที่ท่านไม่รับอิสลามในทันที เพราะท่านกลัวเสียบัลลังก์
ในอดีตนั้น ศาสนากับการเมืองเกี่ยวโยงอย่างแยกกันไม่ออก ในสุโขทัยเคยมีการยกทัพไล่พราห์ม ออกจากประเทศมาแล้ว หรือในเขมรการเปลี่ยนศาสนาไปมาระหว่างพุทธ ฮินดูก็มีใครสนใจเรื่องการเปลี่ยนเพื่อรักษาบัลลังก์ ให้ลองชมภาพยนต์เรื่อง Agora จะเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนเพื่อบัลลังก์
ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากมลายูที่รับอิสลามตอนนั้น 30 % ทางรายาจึงไม่ไว้นักแต่ด้วยโรคภัยท่านจึงยอม อย่างไรก็ดีการรับอิสลามครั้งนี้ ทำให้ในเวลาต่อมา ไม่เกิน 10 ปีจากวันรับอิสลาม ปัตตานีก็ก้าวสู่ความเป็นมหาอำนาจในแหลมมลายู
เหตุผลที่ชาวมลายูเปลี่ยนนับถืออิสลาม
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าปัตตานีไม่ใช่ที่แรกที่รายาหันมานับถืออิสลาม แต่เป็นที่ที่ทำให้มลายูเป็นอิสลาม
ที่แห่งแรกที่รับอิสลามนั้นยังเป็นที่ถกเถียง แต่หนึ่งในที่ที่น่าจะเป็นที่แรกคือ มะละกาหลังจากมะละการับอิสลาม มะละกาก็กลายเป็นสถานีทางการค้าของอาหรับและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาแต่มันไกลครับ ทำให้คนในพื้นที่ตอนกลางของแหลมมลายูมากันน้อย ไม่ว่าจะเป็น สงขลา นคร หรือสุราษฎ์มาน้อยเนื่อจากไกล
และมันอยู่ในพื้นที่ทะเลอันดามัน
การรับอิสลามของรายาปัตตานีเป็นเรื่องใหญ่ครับ และสร้างความสะเทือนทั้งภูมิภาค
การค้าชาวอาหรับที่ไม่มีสถานีการค้าในพื้นที่อ่าวไทยอย่างชัดเจน ได้ย้ายมารวมตัวกันที่ปัตตานี ส่งผลให้พ่อค้าชาวจีนและคนอื่นๆตามมาด้วย อันส่งผลเรื่องการค้าและการเงินของปัตตานีสะพัด
การทหารชาวมุสลิมในพื้นที่ตอนกลางและอื่นๆได้ไหลเข้าไปที่ปัตตานีเพื่อเรียนศาสนา ลองนึกถึงนักเรียนศาสนาที่ส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 12-17 ปี แล้วเรียนที่ปัตตานีในยุคที่ทหารคือกำลังคน ไม่เกี่ยวกับความชำนาญ นั้นทำให้ปัตตานีมีคนเหล่านี้มากสุดและกลายเป็นมหาอำนาจทางทหาร
ความศูนย์กลางตรงนี้เอง ทำให้ดินแดนที่อยู่ระหว่างปัตตานีและมะละกาไม่กังวลถึงสถานภาพของอาณาจักรตนเอง เพราะทั้ง 2 เมือง ปัตตานีและมะละกาอาจระดมคนโจมตีพวกตนเมื่อไหร่ก็ได้
ทำให้บรรดาเมืองที่อยู่ระหว่างปัตตานีและมะละกาเปลี่ยนเป็นอิสลามเพื่อสกัดคนไม่ให้ไปปัตตานีและมะละกา และดึงพ่อค้าชาวอาหรับและอินเดีย
และนั้นทำให้ตั้งแต่ปัตตานีลงไปเปลี่ยนไปนับถืออิสลามโดยมีรายาให้การสนับสนุนตั้งแต่นั้นมา.......
แน่นอนเรื่องที่ละไม่ได้คือ แล้วพื้นที่แหลมมลายูเหนือปัตตานีละ? ต้องเริ่มที่นครฯ
นครเองก็อยู่ในกฏ 30% เมืองที่รายาไม่รับอิสลาม นครเองสะเทือนไม่น้อยจากการที่พ่อค้าชาวอาหรับจากไป และพ่่อค้าชาวจีนก็ลงไปปัตตานีด้วย
คนลดลง การค้าแย่ลง.........
นครจึงหันไปพึ่งอำนาจตอนบนคือ สุโขทัยและอยุธยา และกลายเป็นหัวเมืองชั้นเอกของอยุทธยาไป
ความกลัวปัตตานี ของ นครฯเข้าใจได้ไม่ยากครับ เพราะปัตตานีเคยยกทัพไปเผานครฯมาแล้ว จะว่าไปปัตตานีเคยยกทัพผ่านนครไปตีอยุธยาเสียด้วยซ้ำ(แต่ไม่สำเร็จ)
การอิงตอนบนจึงเป็นหนทางรอดทางเดียวของนคร
ส่วนพื้นที่ระหว่างปัตตานีและนคร ไม่ว่าจะเป็นสงขลาและพัทลุงนั้นต่างมีประวัติศาสตร์ที่เคยมีผู้ครองเมืองเป็นมุสลิมทั้งสิ้น
ไม่่วาจะเป็น สุลลต่านสุลัยมาน สงขลา หรือ มุตาฟาร์ ซา พัทลุง และผู้ครองเมืองที่เป็นพุทธ โดยแล้วแต่ว่าช่วงเวลานั้นๆของประวัติศาสตร์อิงใครอยู่เท่านั้นเอง
สุสานของพญาอินทิรา รายาท่านแรกที่รับอิสลาม แล้วเปลี่ยนเป็น อิสมาเอล
ขอขอบคุณบทความจาก: sigree
ที่มา: muslimchiangmai.net