ซุนนะฮฺในวันศุกร์ เวลาสำคัญและซุนนะฮฺของท่านนบี


15,195 ผู้ชม


ซุนนะฮฺในวันศุกร์ เวลาสำคัญและซุนนะฮฺของท่านนบี :เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

ซุนนะฮฺในวันศุกร์ เวลาสำคัญและซุนนะฮฺของท่านนบี

เวลาสำคัญของวันศุกร์
ในบันทึกของอิมามบุคอรียฺและมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: «إن في الجمعة لساعة لا يوافقها عبد مسلم وهو قائم يصلي يسأل الله شيئا إلا أعطاه إياه».[البخاري 935، ومسلم 852]

ความว่า “ในวันศุกร์มีช่วงเวลาที่ ไม่มีบ่าวของอัลลอฮฺที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งคนใดปรากฏในเวลานั้นยืนวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺในสิ่งที่เป็นความดี เว้นแต่อัลลอฮฺจะให้เขาอย่างแน่นอน”


ช่วงเวลานั้นคือเวลาใด – บรรดาศ่อฮาบะฮฺมี 2 ทัศนะ

1. เวลาที่อิมามขึ้นมิมบัร – ให้ขอดุอาอฺตอนที่อิมามขึ้นมิมบัร หรือขณะที่อิมามกล่าวถึงเรื่องดีเช่น สวรรค์ เราก็ขอดุอาอฺ(ในใจ)ให้เราได้เข้าสวรรค์ หรือขณะที่อิมามนั่งพักระหว่างสองคุฏบะฮฺเราก็ขอดุอาอฺได้ หรือขณะที่อิมามขอดุอาอฺเราก็ อามีน 
2. เวลาก่อนมักริบ – ทัศนะนี้มีน้ำหนักมากกว่าเพราะมีตัวบทที่ระบุชัดเจน


ซุนนะฮฺที่ท่านนบีแนะนำให้ปฏิบัติในวันศุกร์

1. ในบันทึกของอิมามมุสลิม รายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า ในละหมาดซุบฮิ (วันศุกร์) ท่านนบีจะอ่านอลิฟลามมีม ซูเราะฮฺอัสสัจญฺดะฮฺ และฮัลอะตาอะลัลอินซานุมินัลดะฮฺลิ (ซูเราะฮฺอัลอินซาน)

ทำไมต้องสองซูเราะฮฺนี้? อิมามอิบนุลก็อยยิมกล่าวว่า ฉันได้ยินอิมามอิบนุตัยมียะฮฺกล่าวไว้ว่า ที่ท่านนบีอ่านสองซูเราะฮฺนี้ในซุบฮิของเช้าวันศุกร์ เพราะสองซูเราะฮฺนี้ได้รวบรวมสิ่งที่มันเกิดขึ้นในวันนั้น(การสร้างอาดัม การฟื้นคืนชีพ และการชุมนุมของมนุษยชาติทั้งหลายในวันกิยามะฮฺ) เป็นการเตือนว่าวันนี้วันศุกร์ กิยามะฮฺอาจเกิดขึ้นในวันนี้ให้ระวังเถิด  อุละมาอฺบางท่านกล่าวว่าไม่ควรอ่านสองซูเราะฮฺนี้ทุกวันศุกร์ให้อ่านซูเราะฮฺอื่นบ้าง เพราะถ้าอ่านเป็นประจำคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นวาญิบ

2. อัลอิฆติซาน (الإغتسال  การอาบน้ำวันศุกร์)

ทัศนะอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าเริ่มเมื่อเข้าเวลาฟัจรฺ(ซุบฮฺ) ด้วยหลักฐานต่อไปนี้ (ถ้าอาบน้ำหลังอะซานก็ถือว่าใช้ได้) ที่ท่านนบีให้อาบน้ำในช่วงวันของวันศุกร์ ไม่ใช่เวลากลางคืน(ตั้งแต่มัฆริบวันพฤหัส) เพราะในหะดีษไม่มีระบุแบบนี้ เพราะเป้าหมายของการอาบน้ำวันศุกร์คือการเตรียมตัวไปละหมาดญุมุอะฮฺ จึงควรอาบตั้งแต่เวลาซุบฮิ

การอาบน้ำเป็นวาญิบหรือไม่? มี 3 ทัศนะ

ทัศนะแรก – เห็นว่าวาญิบ ถ้าไม่อาบมีโทษ เพราะมีหะดีษบันทึกโดยอิมามมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

" غُسل الجمعة واجب على كل محتلم "

ความว่า “การอาบน้ำญุมุอะฮฺ วาญิบสำหรับทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว”


ทัศนะที่สอง – ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าไม่วาญิบ เพราะมีหลักฐานจากหะดีษอื่นว่าท่านนบีให้ผู้ที่จะไปละหมาดวันศุกร์เลือกจะอาบหรือไม่อาบก็ได้ แสดงว่าไม่วาญิบ

ทัศนะที่สาม – เป็นทัศนะของอิบนุตัยมียะฮฺว่า การที่ท่านนบีให้อาบน้ำละหมาดวันศุกร์ เพราะวันศุกร์เปรียบเสมือนวันอีดซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลอง การจะไปละหมาดก็ควรจะเตรียมตัวให้เรียบร้อยสะอาดหมดจดมีกลิ่นหอมเพื่อให้เกียรติวันสำคัญนี้ ดังนั้นการอาบน้ำจึงจำเป็น(วาญิบ)สำหรับคนที่มีกลิ่นไม่ดีที่ตัว ซึ่งนี่เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก

 มีหะดีษบทหนึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของการอาบน้ำวันศุกร์ ซึ่งอิมามสะยูฏียฺเห็นว่าสายรายงานน่าเชื่อถือ เป็นหะดีษที่รายงานโดยท่านอบูอุมามะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إن الغسل يوم الجمعة ليسل الخطايا من أصول الشعر استلا

ความว่า “การอาบน้ำวันศุกร์จะลบล้างความผิด มันจะดึงความผิดจากร่างกายจนกระทั่งถึงรากผม

 

3. แต่งตัวดี  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

عن ثوبان قال : حق على كل مسلم أن يستاك يوم الجمعة ، ويلبس أفضل ثيابه ، ويتطيب

ความว่า “จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนต้องอาบน้ำวันศุกร์ และแต่งกายด้วยชุดที่ดีงามที่สุด ถ้ามีน้ำหอมก็ให้ใช้เล็กน้อย”


และมีหะดีษบันทึกโดยอบูดาวู้ด ท่านอิบนุสลามได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พูดบนมิมบัรว่า


    كما روى عبد الله بن سلام أنه سمع النبي صلى الله عليه وسلم :على المنبر يوم الجمعة يقول: " ما على أحدكم إن وجد سعة أن يتخذ ثوبين ليوم الجمعة، سوى ثوبي مهنته " [ صحيح / صحيح الجامع الصغير وزيادته، 5635[.

ความว่า “มันจะมากขนาดไหนหรือ หากว่าคนหนึ่งคนใดในพวกท่านจะซื้อชุดแต่งกายเฉพาะวันศุกร์นอกเหนือจากชุดที่ใช้แต่งกายเพื่อทำงาน”

คนสมัยนั้นทำงานเลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ ขายเนื้อสัตว์ ฯลฯ เสื้อผ้าก็สกปรกแล้วใส่ชุดนั้นมาละหมาดญุมุอะฮฺ ท่านนบีจึงได้ตักเตือน และท่านได้แนะนำให้ใส่ชุดสีขาว จากบันทึกของอิมามติรมิซียฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

البسوا البياض فإنها أطهر وأطيب ، وكفنوا فيها موتاكم

ความว่า “จงสวมชุดสีขาว เพราะมันบริสุทธิ์และดีงาม และจงใช้มันในการกะฝั่นแก่มัยยิต” และมีหะดีษว่าท่านนบีชอบสีเขียว

  •  ท่านนบีเคยสวมผ้าสีดำและผ้าที่มีลายสีแดง(สีแดงทั้งตัวห้าม) เสื้อผ้าสีอื่นๆก็ใส่ได้ทั้งหมด แต่ต้องสวมเสื้อที่ไม่ดึงดูดความสนใจคนละหมาด ใส่เสื้อผ้าที่ปิดเอาเราะฮฺและดูเรียบร้อย 
  • ห้ามใส่ผ้าไหม ผ้านุ่งละหมาดบางชนิดที่ทำจากผ้าไหมก็หะรอมเช่นกัน (เช่นยี่ห้อสะมะรินดาที่เขียนไว้ว่าทำจากไหมแท้) 
  • ห้ามใส่เครื่องประดับทองคำ 
  • สำหรับมุสลิมะฮฺให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ปกปิดเอาเราะฮฺและใช้สีที่เหมาะสม ไม่ควรใส่สีฉูดฉาด เพราะเสื้อผ้าสตรีต้องไม่ดึงดูดความสนใจของผู้ชาย เช่น สีดำ เทา น้ำตาลเข้ม ท่านนบีได้บอกว่ามุสลิมะฮฺที่ออกไปละหมาด “ให้ออกไปโดยไม่มีรัศมีเลย” คือไม่มีความสวยงาม ไม่ดึงดูด แต่งกายธรรมดาๆ ไม่ทำให้คนสนใจ
  • ท่านหญิงอาอิชะฮฺเคยเห็นมุสลิมะฮฺที่มาละหมาดวันศุกร์ด้วยชุดแต่งกายสวยงาม ท่านก็ตำหนิและกล่าวว่า ถ้านบีรู้ว่าพวกเธอจะแต่งกายเช่นนี้ ท่านจะห้ามพวกเธอมาละหมาดที่มัสยิด

4. การรักษาธรรมชาติที่นบีใช้ให้ปฏิบัติ

ในบันทึกของอิมามมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

    - خمس من الفطرة الاستحداد والختان وقص الشارب ونتف الإبط وتقليم الأظف

ความว่า “ห้าประการเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือ โกนขนลับ, คิตาน, ขลิบ(ตัด)หนวด(อย่าให้ยาวลงมาถึงฝีปาก,บางทัศนะอนุญาตให้โกน),  ถอนขนรักแร้, ตัดเล็บ”

มีรายงานบันทึกโดยอิมามฆอซซาร ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะตัดเล็บและขลิบหนวดของท่านในวันศุกร์
 


5. อ่านซูเราะห์อัลกะหฺฟิ

ในบันทึกของอิมามนะซาอียฺและบัยหะกียฺ เชคอัลบานียฺว่าศ่อฮี้ฮฺ ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

من قرأ سورة الكهف في يوم الجمعة سطع له نور من تحت قدمه إلى عنان السماء يضيء له يوم القيامة وغفر له ما بين الجمعتين 

 ความว่า “ใครที่อ่านซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิในวันศุกร์ จะมีแสงสว่าง(รัศมี)ปรากฏแก่เขาระหว่างสองศุกร์ (1) “เกิดแก่เขาตั้งแต่เท้าของเขาถึงท้องฟ้า (2)  และจะได้รับความอภัยโทษระหว่างสองญุมุอะฮฺ”

(1) แสวงสว่าง(รัศมี)เป็นอุปมา ถ้าเราอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฟิอย่างเข้าใจความหมาย บทเรียนจากซูเราะฮฺนี้จะเป็นทางนำแก่เราซึ่งมีมารกมาย เช่น เรื่องเกี่ยวกับมารยาท สวรรค์ นรก การคิดบัญชีวันกิยามะฮฺ อะมานะฮฺ การปกครอง มารยาทลูกศิษย์กับผู้รู้ เรื่องนบีมูซากับท่านคอฎิร
(2) สำนวนนี้จะให้ความหมายของ แสงสว่าง ว่าเป็นแสงในวันกิยามะฮฺ


6. ให้ศ่อละวาตแก่ท่านนบีอย่างมากมาย

ในบันทึกของอิมามอัลบัยหะกียฺ (เชคอัลบานียฺกล่าวว่าเป็นหะดีษฎออีฟ) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 أكثروا من الصلاة علي في يوم الجمعة و ليلة الجمعة ، فمن فعل ذلك كنت له شهيدا و شافعا يوم القيامة .

ความว่า “พวกเจ้าทั้งหลายจงศ่อละวาตแก่ฉันมากมายในคืนวันศุกร์และวันศุกร์ ใครที่กระทำเช่นนั้นฉันจะเป็นสักขีพยานแก่เขาในวันกิยามะฮฺ และจะให้ชะฟาอะฮฺแก่เขาในวันกิยามะฮฺ”

และในหะดีษบันทึกโดยอิมามนะซาอียฺและอบูดาวู้ด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า

 إن من أفضل أيامكم يوم الجمعة فيه خلق آدم وفيه قبض وفيه النفخة وفيه الصعقة فأكثروا علي من الصلاة فيه فإن صلاتكم معروضة علي قال قالوا يا رسول الله وكيف تعرض صلاتنا عليك وقد أرمت يقولون بليت فقال إن الله عز وجل حرم على الأرض أجساد الأنبياء

ความว่า “วันที่ประเสริฐยิ่งในวันของพวกเจ้าคือวันศุกร์  ในวันศุกร์อาดัมถูกสร้างและถูกยึดวิญญาณ ในวันศุกร์จะมีการเป่าสัญญารเริ่มวันกิยามะฮฺ และในวันนั้นจะมีการเป่าให้มนุษย์ทั้งหมดเสียชีวิตไป ดังนั้นพวกเจ้าจงศ่อละวาตแก่ฉันในวันนั้น เพราะการสดุดีของพวกเจ้าต่อฉันจะถูกเสนอแก่ฉัน” ศ่อฮาบะฮฺได้ถามว่า เมื่อเราศ่อละวาตแล้วท่านจะได้ยินเราได้อย่างไร เมื่อร่างกายของท่านสลายไปในแผ่นดินแล้ว นบีได้ตอบว่า “แท้จริง อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ห้ามแผ่นดินกินร่างกายของบรรดานบี”  แสดงว่าร่างกายของท่านนบีจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

 
ในศตวรรษที่ 6 มีนะศอรอสามคนวางแผนจะขโมยร่างกายของท่านนบี เขาก็แสดงตัวเป็นมุสลิมไปเช่าบ้านใกล้มัสยิดนบี ขุดอุโมงค์จากบ้านของเขาไปถึงกุโบร์ของท่านนบี มีกษัตริย์คนหนึ่งที่เมืองชามชื่อนูรุดดีนฝันถึงนบีบอกว่า ช่วยฉันด้วย และได้เล่ากับเพื่อนๆก็ไม่มีใครทำนายได้ เขาก็ฝันเหมือนเดิมอีกครั้ง ไปปรึกษาอุละมาอฺไม่มีใครบอกได้ เขาก็ได้ฝันอีกครั้งหนึ่ง จึงไปปรึกษาอุละมาอฺอีก อุละมาอฺก็บอกว่า นบีต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ท่านต้องไปมะดีนะฮฺ กษัตริย์คนนั้นก็เดินทางไปมะดีนะฮฺ ไปถึงก็ประกาศเลี้ยงข้าวทุกคนในเมืองมะดีนะฮฺ ถามผู้ใหญ่ในเมืองว่ามีใครขาดไปไหม ปรากฏว่ามีชาวโมรอคโคสามคนที่ไม่ได้มา แต่สามคนนี้เคร่งละหมาดแล้วก็รีบกลับบ้าน ไม่เอาอะไรเลย ปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างเดียว กษัตริย์นูรุดดีนก็ไม่ยอมให้เรียกสามคนนี้มา พอมาแล้วเห็นท่าทางน่าสงสัยจึงให้เข้าไปค้นในบ้าน พบอุโมงค์ที่พวกเขาช่วยกันขุดเกือบจะถึงกุบูรของท่านนบี นูรุดดีนจึงสั่งให้บูรณะกุบูรของท่านนบี(ซึ่งเป็นห้องของท่านหญิงอาอิชะฮฺ) ให้ตีรั้วใต้ดินรอบกุบูรท่านนบีเป็นโลหะสูงหลายเมตร ขณะที่บูรณะคนที่ขุดเจอเท้าและขายาวมากมีลักษณะเหมือนเดิม ไปปรึกษาอุละมาอฺก็คาดว่จะเป็นของท่านอุมัรเพราะท่านขายาวมาก ความสูงขณะยืนกับขณะขี่ม้าไม่ต่างกัน 

ที่มา: เชคริฎอ อะหมัด สมะดี เรื่องซุนนะฮฺในวันศุกร์
https://www.islaminthailand.org/dp6/story/88

อัพเดทล่าสุด