การนอน ในทรรศนะอิสลาม แนะเวลาที่ห้ามนอนเด็ดขาด!


15,650 ผู้ชม


การนอน ในทรรศนะอิสลาม แนะเวลาที่ห้ามนอนเด็ดขาด!

การนอน ในทรรศนะอิสลาม แนะเวลาที่ห้ามนอนเด็ดขาด!

ในอิสลามมีคำสอน ทุกวินาทีของชีวิต ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงเข้านอน ล้วนแล้วแต่เป็นคุณงามความดีของมนุษย์ ทั้งสิ้นหากสิ่งนั้นทำตามคำสั่งใช้ของศาสนา ที่ท่านนบีมฺุฮัมหมัด ได้ทรงทำเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการพูด การยิ้ม การทำดีต่อตัวเอง ครอบครัว และผู้อื่นล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบแทนความดี ทั้งสิ้น พูดถึง การนอนก็เป็นการทำความดี ที่ได้ผลบุญ การตอบแทนเช่นกัน เพราะฉะนั้นการนอนของมุสลิม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพยายามปฏิบัติตามคำสอน เพื่อการตอบแทนของเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)          

1. หลับด้วยความสะอาด

อะ บิน อับบาส กล่าวว่า นบีมูฮัมหมัดกล่าวว่า ทำร่างกายให้สะอาดแล้วอัลลอฮจะทำให้เจ้าสะอาด ไม่มีบ่าวผู้ใดเข้านอนด้วยความสะอาดเว้นแต่มะลาอิกะฮใช้เวลาช่วงกลางคืนกับ เขาและทุกครั้งที่เขาพลิกตัว  มะลาอิกะฮจะกล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮ ให้อภัยบ่าวของท่าน สำหรับเขาที่เข้านอนด้วยความสะอาด” (รายงานโดย อัต-ตาบารานี , ซอเฮี๊ยะ อัล-จามี(3831))       

2. เข้านอนเร็ว       

เข้านอนเร็วเป็นการกระทำที่ช่วยรักษาสุขภาพ และมันเป็นการปฏิบัติของนบีที่หลับทันทีหลังจากละหมาดอิชา  อบูบาซาร์ อัล-อัสลามี กล่าวว่า นบีชอบที่จะยืดเวลาอิชาและเขาไม่ชอบหลับก่อนมันหรือคุยหลังมัน  (ซอเฮี๊ยะ อัล-บุคอรี)       

3. เลือกที่นอนให้เหมาะสม

ที่นอนที่หรูหราหรือนิ่มเกินไปทำให้ขี้เกียจและทำให้หลับมากขึ้นและทำให้ละเลย อะอิชะฮ์กล่าวว่าหมอนของนบีมูฮัมหมัดทำจากหนังสัตว์ยัดใส้ด้วยใบปาร์ม (อบู ดาวูดและ มุสนัด อาหมัด ,ซอเฮี๊ยะ อัล-จามี)       

4. ทำความสะอาดเตียงและนอนทับขวา

อบู ฮุรอยเราะรายงานว่า นบีมูฮัมหมัดกล่าวว่า “เมื่อคนใดคนหนึ่งในพวกเจ้าเข้านอน ให้เขาปัดที่นอนด้วยผ้าของเขา สำหรับเขาไม่รู้ว่าอะไรอาจขึ้นมาบนมัน จากนั้นให้นอนทับขวา…”  (ซอเฮี๊ยะ อัล-บุคอรี และ ซอเฮี๊ยะมุสลิม)       

5. อ่านอัดฮกาเราะ(Adhkaar)(การอ้อนวอน) ถูกกล่าวในซุนนะก่อนนอน       

มีหลายอัดฮกาเราะที่ถูกแนะนำในซุนนะก่อนเข้านอน หนึ่งในนั้นกล่าวอายะฮ์ท้ายๆของซูเราะฮ อัล-บากอเราะฮ อายะฮ285 และ 286, กล่าวซูเราะ อัล-ฟะลัก,ซูเราะ อันนาส และ ซูเราะอัล-อิคลาส ,เป่าใส่อุ้งมือและลูปให้ทั่วตัวเท่าที่จะทำได้,เริ่มจากหัว หน้าและด้านบนของตัว  ทำมัน 3 ครั้ง  (ซอเฮี๊ยะ อัล-บุคอรีและ ซอเฮี๊ยะมุสลิม)       

อาลี อะบิน อาไบ ตอลิบ รายงานว่าเมื่อลูกสาวนบีมูฮัมหมัด,ฟาติมะฮ,มาหาเขาและถามถึงทาสรับใช้ เขากล่าวกับเธอและอาลีว่า” ฉัน ไม่ได้สอนเจ้าหรอในสิ่งที่ดีกว่าทาสรับใช้  เมื่อเจ้าเข้านอน จงกล่าว”ซุบฮานัลลอฮ” 33 ครั้ง, “อัลฮัมดุลลิลละฮ” 33 ครั้ง และ อัลลอฮูอักบัร 33 ครั้ง  สิ่งนี้ดีต่อเจ้ายิ่งกว่าทาสรับใช้”  (ซอเฮี๊ยะ อัล-บุคอรี และ ซอเฮี๊ะมุสลิม)      

ที่มา   https://plusyourlife.wordpress.com   

เวลาที่มักรูฮฺ (ไม่สนับสนุน) ให้นอน คือ

1.หลังละหมาดศุบหฺ เพราะจะทำให้พลาดบะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขอต่ออัลลอฮฺไว้ในหะดีษที่บันทึกโดยอิมาม อะหฺมัดและอัศหาบุสสุนัน (เ้จ้าของสุนัน เช่น อบูดาวูด, อัต-ติรมิซียฺ, อิบนิมาญะฮฺ ฯลฯ) ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานบะเราะกะฮฺให้แก่ประชาชาตินี้ในยามเช้าของพวกเขา่

2.ก่อนละหมาดอิชาอ์ (หลังละหมาดมัฆริบนั่นเอง) เพราะอาจทำให้พลาดละหมาดอิชาอ์ได้ จากหะดีษที่บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ) ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รังเกียจการพูดคุย (ทีไม่จำเป็น) หลังละหมาดอิชาอ์และการนอนก่อนละหมาดอิชาอ์

เพิ่มเติม 

ส่วนเวลาหลังละหมาดอัศรฺ (ช่วงเวลาประมาณหลัง บ่าย4 โมง) นั้น มีนักวิชาการบางท่านเห็นว่าไม่ควรนอนเพราะอาจทำให้เสียสุขภาพ เช่น ทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง  แต่ไม่มีหะดีษที่เศาะฮีหฺเกี่ยวกับเรื่องนี้จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังมีผู้รู้บางท่านมีความเห็นอีกว่า ในระหว่างที่เรานอนหลับในตอนกลางคืนอยู่นั้น ถ้าเราตื่นขึ้นมากลางดึกก็ไม่สมควรที่เราจะกลับไปนอนอีก  แต่ความเห็นนี้ขัดแย้งกับการปฎิบัติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อย่างชัดเจน จากหะดีษที่บันทึกโดยมุสลิมว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะแล้วท่านได้กลับไปนอนต่อ แล้วหลังจากนั้นท่านได้ตื่นขึ้นมาอีกทีเพื่อละหมาด

https://www.oknation.net/blog/naichumpol/2012/10/28/entry-1

อัพเดทล่าสุด