ทำไม มุสลิมเข้าร่วมรับน้องใหม่ไม่ได้?


12,140 ผู้ชม

กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นิสิตรวมถึงนักศึกษาหรือนักเรียนรุ่นพี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถานศึกษานั้น


รับน้อง หรือ กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นิสิตรวมถึงนักศึกษาหรือนักเรียนรุ่นพี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถานศึกษานั้น และเรียนรู้วิธีการประพฤติปฏิบัติตัวในสังคมสถานศึกษานั้น

ในหลายสถาบันได้มีการจัดการรับน้องภายในช่วงระหว่างเปิดการศึกษา ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดการศึกษาจนถึงหนึ่งเดือนภายหลังจากวันแรกที่เปิดการศึกษา

ทำไม มุสลิมเข้าร่วมรับน้องใหม่ไม่ได้?

ทำไม มุสลิมเข้าร่วมรับน้องใหม่ไม่ได้?
1.เพลงเชียร์ เพลงชิริก
ในกิจกรรมการรับน้องในทุกๆมหาวิทยาลัย ปฏิเสธไม่ได้ที่จะมี เพลงเชียร์ หรือ เพลงคณะ ซึ่งจะมีการร้องประกอบเครื่องดนตรี เช่น กลองทอมป้า ฉาบ ฉิ่ง ฯลฯ ซึ่งในอิสลามนั้น เสียงของเครื่องดนตรีเป็นสิ่งที่หะรอม(ต้องห้าม) ยกเว้น กลองดัฟ แม้บางครั้งการร้องเพลงเชียร์ จะไม่มีเครื่องดนตรีมาประกอบ แต่เราก็พบว่า เนื้อหาเพลงเชียร์ เหล่านี้ มีชิริกหรือ สองแง่สองงาม หรือ เนื้อหาหะรอมต่างๆ แอบแฝงอย่างมากมาย เช่น
ถึงตายก็ตายไว้ชื่อ ขอตายเพื่อ ชื่อ..(สถาบัน)..ฯลฯ
บูชา..(ชื่อคณะ)..เราบูชา ศรัทธา..(ชื่อคณะ)..เราศรัทธา..ฯลฯ
และเพลงบูม มุสลิมก็ไม่สามารถร่วมได้ เนื่องจากมีการก้มศีรษะจนถึงระดับ “รุกูอฺ” และการ รุกูอฺ นั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
2. เจ้าพ่อ..เจ้าแม่..สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ในสังคมไทยที่ความเชื่อหลักของคนไทย ยังผูกติดกับ ผี วิญญาณ เจ้าที่เจ้าทาง จึงทำให้บางครั้งรุ่นพี่จึงจัดกิจกรรม บ้างเพื่อปลุกขวัญกำลังใจน้อง บ้างเพื่อใช้คุมความประพฤติน้อง ด้วยกับตำนานอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่ง ปะปนไปด้วยชิริก และหลักความเชื่อที่ขัดแย้งกับอะกีดะฮฺ(หลักศรัทธาศาสนา) ในส่วนของอิสลามระบุชัดเจนว่า
“ไม่อนุญาตให้เชื่อฟังสิ่งถูกสร้างให้ฝ่าฝืนผู้สร้าง” (หะดีษเศาะฮีฮฺ, บันทึกโดยอะหฺมัด) เช่น
“ให้น้องไปไหว้ศาลเจ้าพ่อ..... ก่อนที่จะทำกิจกรรมนี้”…
“ตึกนี้เคยมีนักศึกษาเสียชีวิตต้องจุดธูปไหว้ขออนุญาตก่อนเข้า”...
“สถานที่นี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย น้องๆก็วางพวงมาลัย และจุดธูป เทียน บูชา..”
ซึ่ง อาจจะทำให้ อะกีดะฮฺ อ่อนแอลง หรือ เกิดความหวั่นไหวในจิตใจ
3.อบายมุข
หลายคนที่เคยผ่านรั้วมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะบรรดาผู้ชายที่อาจจะอยู่หอในหรืออยู่ในคณะที่มีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ เช่น คณะวิศวกรรม คณะสถาปัตย์ ฯลฯ มักจะเคยชิน หรือ คุ้นเคย กับประโยคสนทนาเหล่านี้
“น้อง... ถ้ารักพี่จริง ต้องดื่มเพื่อพี่... ”
ที่ร้ายกว่านั้น อาจจะไม่มีแม้กระทั่งบทสนทนาสอบถามความสมัครใจ สุรา บุหรี่ อาจจะเป็นเรื่องธรรมดา ที่คู่กับสังคมไทยไปแล้ว แต่สำหรับมุสลิม นี้คือสิ่งที่หะรอมอย่างชัดแจ้ง แม้จะไม่ได้ดื่ม แต่แค่การนั่งร่วมวงก็เกิดความเสียหายอย่างมากมายต่อผู้ศรัทธา บางครั้งถูกบังคับด้วยกำลังให้ ดื่ม และ เสพ อบายมุข ต่างๆ
มุสลิมหลายคนเป็นคนดี ไม่เคยจับต้องกับอบายมุขต่างๆกลับต้องกล่าวแทบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า เคยลองดื่ม สุรา เบียร์ สูบบุหรี่ ฯลฯ จากการถูกรุ่นพี่บังคับ ถูกเพื่อนหยามด้วยค่านิยมอุบาทว์
“ไม่กินเหล้า...ไม่แมน”
“พวกไก่อ่อน...สูบบุหรี่ไม่ซีด...”
4.ผูกข้อมือบายศรี…ผูกเสี่ยว...เสียวชิริก
คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากมายกับประเพณีนี้ ซึ่งมีรูปแบบมาจากพิธีกรรมของความเชื่ออื่น บ้างเรียก “ผูกเสี่ยว” บ้างมีการนำเชือก(สายสิญจน์) ไปปลุกเสก ทำพิธีกรรมตามความเชื่ออื่น มุสลิมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเช่นนี้ได้ เพราะเป็นกิจกรรมมีแหล่งกำเนิดจากวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่อิสลาม ซึ่งท่านศาสนทูตกล่าวไว้ว่า
“บุคคลใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาคือส่วนหนึ่งของกลุ่มชนนั้นด้วย” (หะดีษเศาะฮีฮฺ, บันทึกโดยอบูดาวูด)
5.ถ่ายรูป...คู่เจว็ด
เจว็ด หรือ ฏอฆูต เป็นสิ่งหะรอมในอิสลาม และเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาถ่ายรูป เพื่อเป็นที่ระลึก (คล้ายๆกับการที่มุสลิมไปถ่ายรูปคู่กับขวดสุรา เป็นภาพที่ไม่เหมาะสม แม้จะไม่ได้ดื่มก็ตาม) หรือทำเป็นประเพณี หรือ เพื่อความภาคภูมิใจ น้องคนใดไม่ถ่ายรูปคู่เจว็ดถือว่าไม่บรรลุการเป็นนักศึกษา
6. การปะปน
ในประเพณีการรับน้องใหม่ สิ่งที่ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การปะปนกันระหว่างชายหญิง จะเห็นได้ว่า การรับน้องใหม่จะไม่มีการแยกระหว่างชายหญิง แต่พวกเขาจะทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน และปะปนกันอย่างสนิทชิดเชื้อ เช่น มีการเต้นรำ ในท่าทางที่ยั่วยวนหรือทะลึ่งตึงตัง ที่มีเนื้อหาลามก และมีท่าทางการเต้น ส่อสัญลักษณ์ทางเพศ เพลง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม บางครั้งมีการจับคู่ ชาย-หญิง หันหน้า เต้นอุจาดใส่กัน เปิดโชว์ เอาเราะห์(อวัยวะพึงปกปิดในอิสลาม) เห็นทรวดทรง ผ่านชุดนักศึกษาสีขาวบริสุทธิ์ เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้อิสลามให้ความเข้มงวดมาก เพราะการปะปน และการสัมผัสกันระหว่างเพศตรงข้าม เป็นความผิดทางศาสนาถึงขั้นเรียกว่า “ซินาเล็ก” เลยทีเดียว และด้วยความใกล้ชิดนี่เอง ด้วยความปะปนระหว่างชายหญิงนี่เอง จนทำให้มีข่าวว่านักศึกษาหญิงซึ่งเข้าร่วมรับน้องใหม่ถูกข่มขืนเป็นข่าวมาแล้วให้เห็นแทบทุกปี ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัดเคยกล่าวไว้ว่า
“หากว่าใช้เข็มที่ทามาจากเหล็กทิ่มที่ศีรษะของชายคนหนึ่งยังดีเสียกว่า บุคคลหนึ่งสัมผัสสตรีซึ่งไม่เป็นที่อนุมัติสาหรับเขา” (หะดีษเศาะฮีฮฺ, บันทึกโดยเฏาะบะรอนีย์ และบัยหะกีย์)
ฟังหะดีษบทข้างต้น คงไม่มีใครคิดว่าการร่วมประเพณีรับน้องใหม่และกิจกรรมที่มีการสัมผัสเพศตรงข้าม เป็นเรื่องเล็กๆ อีกแล้วนะครับ
ทั้งนี้อิสลามมิได้ห้ามเข้าร่วมทำกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่หรือกิจกรรมอื่นๆไปเสียทุกกิจกรรม หากแต่ว่ากิจกรรมเหล่านั้นต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์น้องๆได้รับสิ่งที่ดีๆ และไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลามดังกล่าวข้างต้น
แน่นอน...อิสลามสนับสนุนให้เคารพและให้เกียรติผู้อาวุโส
แน่นอน...อิสลามสนับสนุนให้เชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์ ของผู้
อาวุโส ตราบใดที่ไม่ขัดกับหลักการอิสลาม
แน่นอน...อิสลามสนับสนุนให้รักษาความดีงามที่สืบทอดกันมา ที่ไม่ขัดกับหลักการศาสนา
แน่นอน...อิสลามสนับสนุนให้รักและสามัคคี แต่ไม่ใช่แค่ในสถาบัน และการแบ่งพรรคแบ่งพวก สถาบันข้าดี ข้าเลิศ
แน่นอน...อิสลามสนับสนุนให้มีคุณธรรม ตามที่ท่านศาสนทูตได้ทำไว้เป็นแบบอย่า

ขอขอบคุณข้อมูล: อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ

https://islamhouse.muslimthaipost.com


อัพเดทล่าสุด