ฝากเงินเยอะๆ ไว้กับธนาคาร แล้วดอกเบี้ยที่ได้มาจะว่าอย่างไร?


7,046 ผู้ชม

บรรดา ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากเจ้าเป็นผู้ศรัทธา...


ฝากเงินเยอะๆ ไว้กับธนาคาร แล้วดอกเบี้ยที่ได้มาจะว่าอย่างไร?

คำถาม หลักการอิสลามในเรื่องดอกเบี้ยธนาคารมีว่าอย่างไร?

คำตอบ ดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารเป็นสิ่งไม่ถูกต้องหรือเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)เพราะ ดอกเบี้ยเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นมาโดยปราศจากความอุตสาหะหรือทำการค้า

         “บรรดา ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากเจ้าเป็นผู้ศรัทธา,และหากพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยซึ่งสงครามจากอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรมและไม่ถูกอธรรม” อัล บะเกาะเราะฮฺ 278-279

การสำนึกผิดในที่นี้หมายถึงเป็นการเก็บต้นทุนเดิมไว้และขจัดเงินที่เพิ่มขึ้นมาโดยปราศจากความอุตสาหะและการร่วมลงทุนทำธุรกิจ

อิสลามห้ามฝากเงินไว้เยอะๆและรอรับเงินที่เพิ่มขึ้นในบัญชีโดยปราศจากความ เสี่ยงกับกำไรหรือการขาดทุนใดๆ เพราะฉะนั้นประเภทของการลงทุนที่อนุญาตนั่นคือ บุคคลหนึ่งฝากเงินในบัญชีและร่วมลงทุนที่เสี่ยงทั้งกำไรและการขาดทุน นี่เป็นนิยามของวิธีการร่วมลงทุนแบบอิสลาม

คำถามมีอยู่ว่า ถ้าใครบางคนฝากเงินจำนวนหนึ่งไว้ในธนาคารและเขามีสิทธิที่จะรับดอกเบี้ย เขาจะรับหรือทิ้งมันดี?

ประการแรก ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเขา ฉะนั้นการรับมันมาแล้วนำไปจ่าย“ซะกาต” ก็จะไม่ทำให้เงินบริสุทธิ์ กรณีเช่นนี้เขาจะรับหรือทิ้งมันให้กับธนาคารดี? ฉันขอแนะนำว่าให้รับไว้ก่อน เนื่องจากมันไม่ได้เป็นทรัพย์สินของท่านและทรัพย์สินของธนาคาร เพราะว่ามันเป็นเงินที่ไม่อนุมัติ(หะลาล)

เพราะ ดอกเบี้ยไม่ใช่ทั้งทรัพย์สินของคุณและของธนาคาร แต่เป็นทรัพย์สินของสาธารณะและจะต้องนำไปใช้จ่ายกับกิจการสาธารณะ นี่คือกฎเกณฑ์สำหรับเงินที่ไม่อนุมัติในทรรศนะอิสลาม การจ่ายซะกาตด้วยเงินนี้จะไม่ทำให้เงินบริสุทธิ์

       แม้ว่าเงินนี้จะไม่อนุมัติ(หะลาล) แต่เขาจะต้องไม่ทิ้งมันให้กับธนาคาร เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้วยกับเงินดอกเบี้ยดังกล่าว จึงต้องนำไปใช้จ่ายในกิจการสาธารณะ

บางคนอาจกล่าวว่าเงินที่ฝากนั้นมีความเสี่ยงกับการขาดทุนถ้าธนาคารประกาศล้ม ละลาย สถานการณ์เช่นนี้มิได้ทำให้หลักการโมฆะแต่อย่างใด หลักการในอิสลามไม่ได้วางอยู่บนข้อยกเว้นแต่นี่เป็นข้อยกเว้น ใครก็ตามที่ฝากเงินเป็นประจำเขาจะได้รับดอกเบี้ยอยู่แล้ว พวกเขาไม่ขาดทุนแน่นอน ถ้าพวกเขาทำไปแล้วก็เป็นการเบี่ยงเบนไปจากหลักการ

บางคนอาจกล่าวอีกว่าธนาคารทำธุรกิจกับเงินที่ฝาก คำตอบคือใช่ แต่อย่างไรก็ตามตอนที่คุณฝากเงิน คุณได้ทำสัญญาทางธุรกิจกับธนาคารหรือเปล่า? แน่นอนว่า ไม่ได้ทำ แต่ถ้าคุณได้ทำสัญญาร่วมลงทุนตั้งแต่แรกจากนั้นธนาคารก็ขาดทุนและประกาศล้ม ละลาย กฎเกณฑ์ตรงนี้ย่อมแตกต่างออกไป

    อย่างไรก็ตามผู้ฝากก็ต้องการเงินคืนเมื่อธนาคารเกิดขาดทุนและธนาคารก็ไม่ได้ ปฏิเสธสิทธิของพวกเขา ธนาคารจะคืนเงินกลับไปทุกครั้งถึงแม้ว่าธนาคารได้ประกาศล้มละลายไปแล้ว คนที่ฝากเงินไม่คิดว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบร่วมกันในการขาดทุนครั้งนี้ พวกเขาต้องการเงินของพวกเขากลับคืน แม้แต่ดอกเบี้ยก็ยังต้องจ่ายครบทุกบาททุกสตางค์ถึงแม้ธนาคารได้ประกาศล้ม ละลายไปแล้วก็ตาม 

มุสลิมไทยโพสต์

อัพเดทล่าสุด