สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
การพิจารณาประวัติศาสตร์ของชาวยิวและดินแดนปาเลสไตน์โดยสังเขป จะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของลัทธิไซออนิสต์ได้ดียิ่งขึ้น
ประวัติศาสตร์ยืนยันว่าผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของแผ่นดินปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่ชาวยิว แต่พวกเขาเข้ามาชีวิตอยู่ในดินแดนแห่งนี้เพียงช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์เท่านั้น โดยเป็นผู้รุกราน ยึดครองหรือเป็นผู้อาศัยอยู่เหมือนกับพลเมืองธรรมดาโดยทั่วไป ในช่วงยุคสมัยของท่านศาสดาดาวูด (อ.) หรือเดวิด (ประมาณหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราช) ชาว (บนี) อิสราเอลได้ยึดเมืองเยรูซาเล็มมาจากชาว “ยะบูซ” (ชาวอียิปต์โบราน) (1)
ในปี ค.ศ. 70 ชาวโรมได้พิชิตแผ่นดินปาเลสไตน์และได้ทำลายเมืองเยรูซาเล็ม และชาวยิวได้กระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ท่ามกลางชนชาติต่างๆ ในรูปของชนกลุ่มน้อย (2)
ดินแดนปาเลสไตน์และบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ถูกยึดครองเปลี่ยนมือหลายครั้งหลายคราในระหว่างชาวโรม ชาวเปอร์เซีย อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียและอื่นๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 633 จนถึงปี ค.ศ. 640 ได้ถูกพิชิตอย่างสมบูรณ์โดยมุสลิม ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ก็คือ ชาวมุสลิมได้ยึดดินแดนปาเลสไตน์และบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) มาจากชาวชาม (ซีเรีย) และชาวคริสต์ และในสนธิสัญญาที่ได้กระทำขึ้นระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) และชาวมุสลิมนั้น ถูกกำหนดขึ้น้ตามคำเรียกร้องของฝ่ายคู่ลงนามชาวมุสลิม ซึ่งชาวยิวแม้แต่เพียงคนเดียวไม่มีสิทธิ์ที่จะพำนักอยู่ในบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาไม่นานนักแผ่นดินปาเลสไตน์และในบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ก็เหลืออยู่แต่เพียงชาวมุสลิมและอาหรับ (3)
นับจากปี ค.ศ. 691 จนถึง ปี ค.ศ. 1095 แผ่นดินปาเลสไตน์ถูกปกครองสืบทอดกันไปในระหว่างรัฐบาลอิสลามทั้งหลาย อย่างเช่น บนีมัรวาน บนีอับบาซ กิรมีฏียะฮ์ ฟาฏิมียะฮ์ เซลจูกและอื่นๆ ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้แผ่นดินปาเลสไตน์มีความมั่นคงในการดำรงความเป็นอิสลามและอาหรับ แต่นับจากปี ค.ศ. 1095 จนถึงปี ค.ศ.1192 ชาวคูเสดโดยการช่วยเหลือของโลกคริสตจักรและชาวยุโรป ได้ก่อสงครามหลั่งเลือดกับชาวมุสลิมถึงสามครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์และบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) แต่ในที่สุดก็ยินยอมทำสัญญาสงบศึกและตกลงว่าบัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ยังคงอยู่ในอำนาจของชาวมุสลิมต่อไป แต่ชาวคริสต์มีอิสระที่จะมาเยือนเพื่อคาราวะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ (4)
ในช่วงปี ค.ศ. 1540 จนถึงปี ค.ศ. 1915 แผ่นดินปาเลสไตน์และบัยตุ้ลมักดิสเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก ความพ่ายแพ้ของอาณาจักรออตโตมันเติร์กและการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการปรากฏขึ้นของลัทธิไซออนิสต์ และความหื่นกระหายของพวกเขาที่มีต่อดินแดนปาเลสไตน์ (5)
ความหมายของคำว่าลัทธิไซออนิสต์
ลัทธิไซออนิสต์ คือขบวนการเคลื่อนไหวของชาวยิวซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสังคมและประเทศที่เป็นเขตปกครองตนเองของชาวยิวในแผ่นดินปาเลสไตน์ ชื่อขององค์กรจัดตั้งทางการเมืองได้นำมาจากชื่อของ “ภูเขาเศาะฮ์ยูน” (Zion) (สถานที่ฝังศพของศาสดาดาวูดหรือเดวิด) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม (6)ชาวไซออนิสต์เป็นกลุ่มชนที่มีความลุ่มหลงในเรื่องของวัตถุ (พวกวัตถุนิยม) และเป็นพวกคลั่งในเชื้อชาติยิว (7)
ลัทธิไซออนิสต์เป็นขบวนการที่สุดโต่ง ซึ่งกิจการทางการเมืองของมันจะมีความเข้มข้นมากกว่ากิจการด้านอื่นๆ และพวกเขาจะใช้ทุกสื่อและทุกวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ของตน (8)
เป้าหมาย
ในช่วงเริ่มต้นเป้าหมายของกลุ่มนี้คือ การรวบรวมชาวยิวให้เข้ามาอยู่ในแผ่นดินเดียวกันเพื่อที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากสภาพของการกระจัดกระจาย ระเหเร่ร่อนและความอัปยศอดสู ซึ่งแต่เดิมนั้นชื่อของคำว่า “ไซออน” (Zion) ก็ไม่มีการพูดถึงมาก่อน (9) ด้วยเหตุนี้เองการเลือกดินแดนพันธสัญญานี้ บางครั้งถูกเสนอให้อยู่ใน“ยูกันดา”ดินแดนที่ติดกับปาเลสไตน์ และบางครั้งให้อยู่ในแคว้น “อะรีช” (พื้นที่ระหว่างอียิปต์และปาเลสไตน์) (10) แต่เมื่อกาลเวลาผ่านเลยไป พวกไซออนิสต์ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่า ปาเลสไตน์จะเป็นดินแดนพันธสัญญาและประเทศอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา คือ “จากแม่น้ำไนล์ไปจนถึงแม่น้ำยูเฟรติส” (11) พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อ “ปาเลสไตน์” ไปเป็น “อิสราเอล” และประกาศให้ภาษาฮิบรูเป็นภาษาทางการของตน และรณรงฟื้นฟูและแพร่ขยายวัฒนธรรมของชาวยิว (12)
สาเหตุการปรากฏขึ้นของไซออนิสต์
ประวัติศาสตร์และตัวบททางศาสนาได้วาดภาพโฉมหน้าที่แท้จริงของชาวยิวไว้ในลักษณะเช่นนี้ว่า พวกเขามีการความขัดแย้ง มีความเป็นศัตรูและมีการมุ่งร้ายในระหว่างพวกเขากันเอง มีพฤติกรรมที่ชอบใช้ความรุนแรงและเล่ห์เหลี่ยมกับศาสนาอื่นๆ และกับประชาชนและรัฐบาลของประเทศที่พวกเขาใช้ชีวิตร่วมอยู่ด้วยตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เองพวกเขามักจะถูกกลั่นแกล้งและการทำร้ายจากบุคคลที่ไม่ใช่ชาวยิว แม้ว่าประชาชาติอิสลามและรัฐบาลอิสลามที่ปฏิบัติภายใต้หลักคำสอนของอิสลาม แม้จะปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเมตตาและให้เกียรติเสมอมาก็ตาม
โดยรวมแล้วสาเหตุประการหนึ่งของการปรากฏขึ้นของลัทธิไซออนิสต์ก็คือ สภาพจิตใจของชาวยิวหัวรุนแรงบางกลุ่มที่เข้ากันไม่ได้กับศาสนาและลัทธิอื่นๆ และบนพื้นฐานดังกล่าวนี้เอง พวกเขาจึงตกอยู่ในการกลั้นแกล้งและการดูถูกเหยียดหยามจากชาวคริสต์ในยุโรปตะวันออกและตะวันตก และเพื่อที่จะหลุดพ้นออกจากสภาพดังกล่าว พวกเขาจึงคิดหาหนทางที่จะก่อตั้งประเทศของตนเองอย่างเป็นเอกเทศ (13)
สาเหตุหรือปัจจัยประการที่สอง ที่เป็นตัวช่วยให้บรรลุเจตนารมณ์ของลัทธิไซออนิสต์ นั่นก็คือ มือของบรรดานักล่าอาณานิคมแห่งอังกฤษและอเมริกา ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนั้นรัฐบาลของโลกตะวันตกต่างรวมตัวกันเพื่อเข้าไปยังดินแดนต่างๆ ของโลกอาหรับ เพื่อเป้าหมายที่จะทำลายรัฐบาลหนึ่งเดียวของอิสลามคือ (อาณาจักรออดโตมันเติร์กหรือตุรกี) และคอยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือพวกไซออนิสต์ให้อยู่ภายใต้ร่มเงาอำนาจของตนเอง และภายใต้การสนับสนุนอย่างหลับหูหลับตาของรัฐบาลอเมริกา นี่เองที่พวกเขาได้ให้ความเหนือกว่าแก่ชาวไซออนิสต์ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยให้มีอำนาจเหนือชาวอาหรับซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ (14)
ประวัติศาสตร์โดยย่อและบุคคลที่มีความโดดเด่น
ชาวยิวส่วนมากไม่ยอมรับทัศนะที่ว่า ชาวยิวที่ใช้ชีวิตอยู่ในระหว่างการถูกเนรเทศ (โดยพระผู้เป็นเจ้า) ที่อยู่นอกประเทศอิสราเอลจะต้องกลับไปยังดินแดนที่ถูกสัญญา (อิสราเอล) ส่วนใหญ่ชาวยิวในยุโรปได้รับอิทธิพลจากขบวนการเคลื่อนไหวทางปัญญาของชาวยิว ที่เรียกว่า “ขบวนการฮาสคาลาห์”(HaSKala) ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17และ 18 ได้พยายามที่จะทำให้ชาวยิวเรียนรู้และสร้างความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมยุโรปเพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน (15)
แต่ตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่เหล่านี้ มีชาวยิวในยุโรปตะวันออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่พยายามคิดหาทางที่จะกลับไปยังปาเลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1882 กลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า“บีโลฟ” (BILOV) พยายามที่จะให้ชาวยิวเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ของปาเลสไตน์ โดยที่ 12 ปีต่อมา (คือในปี ค.ศ.1894) จำนวนของพวกเขาได้เพิ่มขึ้นถึง4,000 คน(16)
ผู้ก่อตั้งลัทธิไซออนิสต์ เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรียมีชื่อ “ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล” (Theodor Hertsel) (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ. 1860 – 1904) ในหนังสือ “รัฐยิว” เขาได้ให้เหตุผลว่า “มีวิธีการเดียวที่จะช่วยชาวยิวให้รอดพ้นจากจากการถูกกลั่นแกล้งทำร้ายอย่างถาวรนั่นคือ การสถาปนารัฐยิวแห่งหนึ่งขึ้นมา”
การประชุมรัฐสภาโลกครั้งแรกของยิวไซออนิสต์ได้จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1897 ในบาเซิลของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงเริ่มต้นไม่มีการกล่าวถึงการกลับสู่ปาเลสไตน์แต่อย่างใดทั้งสิ้น (17) แต่ “ดร.เชม ไวซมานน์” (Chaim Weizmann) (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ.1874 – 1952) ได้ตอกย้ำถึงการกลับไปสู่ปาเลสไตน์ของธีโอดอร์ เฮอร์เซิล เพื่อที่จะทำให้บรรลุถึงอุดมคติของลัทธิไซออนิสต์ ในช่วงเริ่มแรกเขาได้เสนอต่อผู้ปกครองของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก ประกาศให้ปาเลสไตน์เป็นเขตปกครองตนเอง เพื่อเตรียมพื้นฐานที่จะให้ชาวยิวได้อพยพไปที่นั่น โดยแลกกับสินบนการให้เงินช่วยเหลือแก่สุลต่าน (ผู้ปกครอง) ของอาณาจักรออตโตมันเติร์กจำนวนมากมายมหาศาล แต่สุลต่านปฏิเสธ หลังจากนั้นเขาจึงขอความช่วยเหลือจากประเทศอังกฤษ (18)
ในปี ค.ศ. 1902 จนถึง ปี ค.ศ. 1925 หลังจากการตายของธีโอดอร์ เฮอร์เซิล และการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ปาเลสไตน์ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของชาวอังกฤษ ผู้นำของไซออนิสต์คนหนึ่งคือ “เฮอร์เบิร์ต ซามูเอล” (Herbert Samuel) ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงรัฐสภาของอังกฤษเพื่อให้ช่วยก่อตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอังกฤษ และให้ชาวยิวอพยพไปยังที่แห่งนั้น เพื่อผลประโยชน์ที่จะติดตามมาคือรัฐบาลหุ่นเชิดที่จะคอยคุ้มครองผลประโยชน์ของอังกฤษจะได้ถูกจัดตั้งขึ้นเคียงข้างกับประเทศอียิปต์และคลองสุเอซ
ความล้มเหลวของการปฏิวัติรัสเซีย (ในปี ค.ศ. 1905) และการกดดันต่างๆ ของรัฐบาลซาร์ เป็นสาเหตุทำให้เยาวชนชาวยิวได้หลั่งไหลไปสู่ปาเลสไตน์ ซึ่งในปี ค.ศ. 1914ทำให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 คน
ดร. เชม ไวซมานน์ (Chaim Weizmann) ศาสตราจารย์ชาวยิวแห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล ในปี 1917 ได้เอาคำมั่นสัญญาจากบัลโฟร์ (Balfour) รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษอย่างเป็นทางการที่จะก่อตั้งรัฐยิวในปาเลสไตน์
คำมั่นสัญญานี้เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “คำประกาศบัลโฟร์” ได้ปลูกเมล็ดพันธุ์แรกของประเทศอิสราเอลขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ชาวยิวจำนวนมากในอเมริกาและในอังกฤษได้คัดค้านต่อคำมั่นสัญญาของบัลโฟร์ (19)
เนื้อหาส่วนหนึ่งของจดหมายของบัลโฟร์มีมีดังนี้คือ : คำมั่นสัญญานี้เป็นความเห็นใจที่มีต่อคำเรียกร้องกลุ่มชนชาวยิวไซออนิสต์ รัฐบาลจักรวรรดิอังกฤษมีทัศนะที่สนับสนุนการจัดตั้งบ้านเกิดเมืองนอนของชนชาติยิวในปาเลสไตน์และจะพยายามในหนทางนี้ (20)
ในปี ค.ศ. 1933 ประชากรชาวยิวได้เพิ่มจำนวนเป็น 238,000 คน (เท่ากับ 20% ของประชากรทั้งหมดของปาเลสไตน์) โดยพร้อมกับการมาของฮิตเลอร์ได้ทำให้การอพยพเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ชาวอาหรับได้มองเห็นถึงอันตรายของชาวยิวและการสนับสนุนของอังกฤษที่มีต่อพวกเขา จึงมีการลุกฮือก่อจลาจล การประท้วงคัดค้านต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1929 จนถึงปี ค.ศ. 1939 แต่รัฐบาลอังกฤษได้ใช้นโยบาย “ตีสองหน้า” เพื่อเปิดโอกาสให้ไซออนิสต์สามารถครอบครองสถานการณ์ได้อย่างสมบูรณ์(21) พวกไซออนิสต์ได้จัดตั้งองค์กรก่อการร้าย “ฮากาน่า” (Haganah) ขึ้นเพื่อที่จะทำลายชนชาติปาเลสไตน์ (22)
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลของอเมริกาก็ได้เข้าร่วมสมทบกับกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนแก่ยิวไซออนิสต์ด้วยเช่นกัน และหลังจากการลุกฮือขึ้นต่อต้านของบรรดามุสลิมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อช่วยให้อิสราเอลรอดพ้นอังกฤษจึงดึงเอาปัญหาของปาเลสไตน์เข้าไปสู่องค์การสหประชาชาติ และเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐสองรัฐขึ้น คือรัฐของอาหรับและรัฐของยิว และให้บัยตุ้ลมักดิส (เยรูซาเล็ม) เป็นเมืองหลวงสากล (ของทั้งสองรัฐ)
ในปี ค.ศ.1948 สหประชาชาติซึ่งบริหารงานโดยอเมริกาและอังกฤษ ได้ประกาศยอมรับการดำรงอยู่ของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ (23) และจากการสนับสนุนของตะวันตกต่อชาวอาหรับในการเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมันเติร์ก หมายถึงการจบลงด้วยการยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์นั่นเอง
หลังจากการออกมติของสหประชาชาติ สงครามนองเลือดต่างๆ ระหว่างไซออนิสต์กับชาวมุสลิมได้ปะทุขึ้น และเนื่องจากการสนับสนุนอย่างครอบคลุมในทุกด้านของตะวันตกที่ทำให้อิสราเอลสามารถแผ่ขยายเนื้อที่แผ่นดินได้มากกว่าโดยการกำหนดของสหประชาชาติ ชาวปาเลสไตน์ 800,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นและหลายพันคนถูกสังหารหมู่
บรรดาผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ได้ดำเนินการยืนหยัดต่อสู้ของตนเองอย่างต่อเนื่องสืบมาด้วยการจัดตั้งกลุ่มกองโจรต่าง ๆ
ภายหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านภายใต้การนำของ โคมัยนี การต่อสู้กับ ลัทธิไซออนิสต์ได้เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ โคมัยนี ได้ดึงประเด็นของบัยตุ้ลมักดิสให้ออกมาจากเรื่องของความเป็นอาหรับเพียงอย่างเดียว และได้หยิบยกมันขึ้นมาในฐานะที่เป็นปัญหาหนึ่งของโลกอิสลาม และสืบเนื่องมาจากสิ่งดังกล่าวนี้เองประชาชาติอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวปาเลสไตน์จึงได้หันมาสู่การต่อสู้โดยใช้ก้อนหินที่เรียกว่า “อินติฟาเฎาะฮ์”(Intifada) และเพื่อการสนับสนุนทางด้านการเมืองและด้านจิตวิญญาณแก่บรรดานักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์และเพื่อทำให้โลกอิสลามได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาอัล-กุดส์ โคมัยนี จึงได้ประกาศให้วันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฎอนเป็นวันอัล-กุดส์สากล
แหล่งอ้างอิง :
(1)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน (ประวัติความเป็นมาของชาวปาเลสไตน์) , อักร็อม ซุอัยตัร , แปลโดย อักบัรฮาชีมี รัฟซานญานี , หน้าที่ 59.
(2)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ (พจนานุกรมคำศัพท์) , อับดุรร่อซูล บัยยาต , หน้าที่ 368.
(3)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน (ประวัติความเป็นมาของชาวปาเลสไตน์) ,หน้าที่ 62.
(4)-เล่มเดิม , หน้าที่ 76 ถึง 86.
(5)-เล่มเดิม , หน้าที่ 90 ถึง 106.
(6)-ดอนิชนอเมฮ์ ซียาซี , ดาร์ยูช ออชูรี ,หน้าที่ 226.
(7)-ดอนิชนอเมฮ์ ซียาซี , ดาร์ยูช ออชูรี ,หน้าที่ 226 ; อัลเมาซูอะตุซซิยาซะฮ์ ,อับดุลวะฮ์ฮาบ กิยาลี , เล่มที่ 3 ,หน้าที่ 659.
(8)-ฟัรฮังก์อิสฏิลาฮาต อิลมี-ซิยาซี , มุฮัมมัด ออรอสเตฮ์ คู , หน้าที่ 663-664.
(9)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน ,หน้าที่ 107 และ 110.
(10)-ดารอิร่อตุลมะอาริฟ (เปอร์เซีย) , กูลามฮุเซน มะซอฮิบ , เล่มที่ 2 , หน้าที่ 1598
(11)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 370 ; ดอนิชนอเมฮ์ ซียาซี , หน้าที่ 227.
(12)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 370.
(13)-ดารอิร่อตุลมะอาริฟ (เปอร์เซีย) , เล่มที่ 2 , หน้าที่ 1598 ; ฟัรฮังค์ซียาซีมะอาซิร , โรเบิร์ต ซูน , แปลโดย อะซีซ กิยาวันด์ , หน้าที่ 204.
(14)-ฟัรฮังก์อิสฏิลาฮาต อิลมี-ซิยาซี , หน้าที่ 664.
(15)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 372.
(16)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 369 ; ฟัรฮังก์อิสฏิลาฮาต อิลมี-อิจญ์ติมาอี , หน้าที่ 643.
(17)-ดอนิชนอเมฮ์ ซียาซี , หน้าที่ 226 ; ดารอิร่อตุลมะอาริฟ (เปอร์เซีย) , เล่มที่ 2 , หน้าที่ 1598.
(18)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน ,หน้าที่ 110 ; ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 370.
(19)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน ,หน้าที่ 112 ; ดารอิร่อตุลมะอาริฟ (เปอร์เซีย) , เล่มที่ 2 , หน้าที่ 1598.
(20)-ดอนิชนอเมฮ์ ซียาซี , หน้าที่ 31 ; ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน ,หน้าที่ 112.
(21)-ซัรกุซัชต์ เฟเลสตีน ,หน้าที่ 1162.
(22)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 371.
(23)-ฟัรฮังก์วอเจฮ์ฮอ , หน้าที่ 372.
ผู้เขียน : ร่อฮีม ลุฏฟี
ถอดความโดย.มูฮัมมัดนาอีม
https://islamhouse.muslimthaipost.com