ผู้ละทิ้งการละหมาดจะถูกใช้ให้สำนึกผิดและกลับตัว (เตาบะฮฺ) และทำการละหมาด ..
ความสำคัญของการละหมาด
การละหมาด (อัศ-ศ่อลาฮฺ) ถือเป็นเครื่องสำแดงความเป็นอิสลามอันดับแรกในวิถีชีวิตของชนมุสลิม ดังนั้นเมื่อมุสลิมละทิ้งการละหมาด ก็เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังนำพาตนเองไปสู่การปฏิเสธ (กุฟร์) ซึ่งท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า : إِنَّ بَيْنَ الَّرجُلِ و بَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفِر تَركَ الصَّلاَ ةِ “แท้จริงระหว่างบุคคลและระหว่างการตั้งภาคี...กับการปฏิเสธนั้นคือการละทิ้งการ ละหมาด” (รายงานโดยมุสลิม -82-)
ข้อชี้ขาดผู้ละทิ้งการละหมาด ผู้ละทิ้งการละหมาดมี 2 ประเภท คือ
1. บุคคลที่ละทิ้งการละหมาด โดยไม่เชื่อว่าการละหมาดเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) หรือเห็นว่าการละหมาดเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ บุคคลผู้นั้นถือเป็นผู้ตกศาสนา (มุรตัด) หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมแล้ว
2. บุคคลที่ละทิ้งการละหมาดโดยเชื่อว่าการละหมาดเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) แต่ละทิ้งเนื่องจากความเกียจคร้าน เป็นต้น บุคคลผู้นี้ถือเป็นผู้ประพฤติผิดบาปใหญ่และเป็นคนเลว (ฟาซิก)
บทลงโทษผู้ละทิ้งการละหมาด
ผู้ละทิ้งการละหมาดจะถูกใช้ให้สำนึกผิดและกลับตัว (เตาบะฮฺ) และทำการละหมาด แต่ถ้าหากเขายืนกรานที่จะละทิ้งการละหมาดก็จะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต ถึงแม้จะเป็นการละหมาดเพียงเวลาเดียวก็ตาม ทั้งนี้มีหลักฐานจากอัลหะดีษระบุว่า :
أمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتّى يَشْهَدُوْاأَنْ لاَإِلهَ إلا الله وأنَّ محمدً ارَسُولُ اللهِ ،
ويُقِيْمُواالصَّلاَةَ ويُؤْتُواالزَّكَاةَ ، فإذافَعَلُوْاذٰلِكَ عَصَمُوْامِنِّىْ دِمَاؤَهُمْ
وأَموالَهُمْ إِلاَّبِحَقِّ الإِسْلاَمِ ، وحِسَابُهُمْ عَلَى اللهِ
“ฉันได้ ถูกบัญชาให้รณรงค์กับผู้คนทั้งหลายจนกว่าพวกเขาจะปฏิญาณว่าไม่มี พระเจ้าองค์ใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ และจนกว่าพวกเขาจะดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว พวกเขาก็ได้ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาจากฉันแล้วเว้นเสียแต่ด้วย สิทธิแห่งอิสลาม และการพิพากษาพวกเขาเป็นกิจของอัลลอฮฺ” (รายงานโดยบุคอรี -25-/มุสลิม -22-)
ผลที่เกิดขึ้นจากการลงโทษ
ผู้ที่ละทิ้งการละหมาดอัน เนื่องจากเกียจคร้านเมื่อเขาถูกประหารชีวิตตาม โทษานุโทษแล้ว ก็ให้ปฏิบัติกับศพของเขาเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วไปในเรื่องการจัดการศพและ การลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทำผิดไม่มีผลแต่อย่างใดในเรื่องความสัมพันธ์ ทางเครือญาติ โดยญาติมีสิทธิสืบมรดกของเขาได้ และข้อกำหนดว่าด้วยการสมรสก็ยังคงดำเนินอยู่สำหรับภรรยาของเขา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำหนดเวลาครองตน (อิดดะฮฺ) และการไว้ทุกข์ให้แก่สามี
คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้อยู่
- การละหมาดเกินหรือไม่ครบ ยังค้างคาใจ
- การละหมาดตะฮัจญุด จำเป็นต้องนอนก่อนหรือไม่?
- ไอเดียจัดมุมห้องละหมาดในบ้าน สวยๆ
- ดุอาคู่ชีวิต ขอให้เราเป็นคู่กัน
- ละหมาดไม่ทันเวลา ทำไงดี?
ฮาดิษเกี่ยวกับการละหมาด ฮาดิษอื่นๆ เช่น
รายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า " แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺจากการงานของเขา ก็คือ การละหมาด ...พระเจ้าของเราจะตรัสแก่มะลาอิกะฮฺ ทั้งๆที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้า จงดูการละหมาดของบ่าว...ของข้าว่าเขาทำไว้อย่างสมบูรณ์หรือบกพร่องประการใด หากว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์ ...ก็จะถูกบันทึกให้เขาอย่างสมบูรณ์ และหากว่าการละหมาดของเขาบกพร่องไปบ้าง พระองค์ก็จะตรัสว่าพวกเจ้าจงดูชิว่า ...สำหรับบ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดซุนนะฮฺบ้างไหม? ...หากว่าเขามีละหมาดซุนนะฮฺ ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎู ของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์ จากการละหมาดซุนนะฮฺของเขา แล้วกิจการงานอื่นๆ ก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้ ( บันทึกโดยอบูดาวู๊ด อันนะซาอี อัตติรมีซี และอัลฮากิม)
จากรายงานของท่านมาลิก อิบนิลฮุไวริซ กล่าวว่า ท่านรอซู้ล (ศ.ล.) กล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย จงละหมาดเหมือนกับที่พวกท่าน เห็นฉันละหมาด " ( บันทึกโดย บุคอรี และมุสลิม )
อิรฺบาด บิน ซารียะฮฺกล่าวว่า “ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้ขออภัยให้แก่คนที่อยู่แถวหน้าสามครั้งและให้คนที่อยู่แถวที่สองหนึ่งครั้ง” (บันทึกโดยนะซาอีและอิบนุมาญะฮฺ)
“การนมาซร่วมกันนั้นดีกว่าการนมาซคนเดียว 27 เท่า” (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม)
“การนมาซในมัสญิดของฉัน(ที่มะดีนะฮฺ)นั้นดีกว่าการนมาซที่อื่นถึงหนึ่งพันเท่ายกเว้นที่มัสญิดอัลฮะรอม(ในมักก๊ะฮฺ) และการนมาซในมัสญิดอัลฮะรอมนั้นดีกว่าแสนเท่าของการนมาซในที่อื่น” (บันทึกโดยอะหมัดและอิบนุมาญะฮฺ)
" ท่านทั้งหลายจะเห็นเป็นประการใด? หากว่ามีลำน้ำสายหนึ่งอยู่ที่หน้าประตูบ้าน ของคนหนึ่งคนใดในพวกท่าน ซึ่งเขาจะอาบน้ำนั้นวันละ 5 ครั้งทุกวัน จะยังคงมีสิ่งสกปรกใดๆ หลงเหลืออยู่ที่เขาอีกไหม?....... เขาทั้งหลายตอบว่า จะไม่มีสิ่งสกปรกใดๆหลงเหลืออีกเลย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าในทำนองนั้นแหละการทำละหมาดทั้ง 5 ก็เช่นเดียวกัน ก็สามารถลบล้างความผิดทั้งปวงให้ด้วยการทำละหมาดเหล่านั้น " (หะดิษ บุคอรี และมุสลิม และคนอื่นๆ)
ฮาดิษที่เกี่ยวกับคุณค่า และความสำคัญของการละหมาด เช่น
ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายเห็นอย่างไรหากมีน้ำคลองสายหนึ่งผ่านประตูบ้านของคนหนึ่งคนใดในจำนวนพวกท่านแล้วเขาอาบน้ำชำระล้างในคลองนั้น ทุกวันวันละ 5 ครั้ง มันจะมีเหงื่อไคลเหลืออยู่อีกไหม ? พวกเขา (เหล่าซอฮาบะฮ์) ตอบว่า คงไม่มีเหงื่อไคลเหลืออยู่เลย ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) กล่าวว่า "ก็เช่นเดียวกัน อุปมาละหมาด 5 เวลา อัลลอฮ์ทรงลบล้างความผิดต่าง ๆ ด้วยละหมาดทั้ง 5 นั้นแหละ" (รายงานโดยบุคอรี - มุสลิม - ติรมีซี - นาซาอีย์)
ท่านพูดว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) เคยกล่าวว่า "อุปมาละหมาด 5 เวลา ดุจดังคลองที่ไหลผ่านหน้าประตูบ้านคนใดคนหนึ่งแล้วเขาอาบน้ำ (ชำระล้าง) ในคลองนั้น 5 ครั้ง ทุกวัน (รายงานโดยมุสลิม)
เมื่อใดที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) มีความกังวลในเรื่องใดแล้ว ท่านจะรีบเข้าสู่การละหมาด (รายงานโดย ท่านอะฮ์มัด อบูดาวุด)
และมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ บุตรของท่านอบีเอาฟาฮ์ (รอดิยัลรอฮุ อันฮู) ว่าท่าน รอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) กล่าวว่า ผู้ใดที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับเรื่องอัลลอฮ์ หรือความต้องการเกี่ยวกับลูกอาดำ (มนุษย์) เขาจงทำน้ำละหมาดโดยสมบูรณ์แล้วละหมาดสองรอกาอะฮ์แล้วกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ และซอลาวัตให้แก่นบี แล้วเขาควรกล่าว
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ผู้ทรงอารีย์และเมตตาเสมอมหาบริสุทธิ์ พระองค์ผู้ทรงปกป้อง อรัชอันยิ่งใหญ่ การสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้อภิบาลสากลจักรวาล ข้าขอวิงวอนสู่จุดแห่งการได้รับความเมตตาจากพระองค์ และความหวังในความโปรดปรานของพระองค์ และให้มีผลกำไรแห่งความดี ตลอดจนปอดภัยจากปาบโทษด้วย ขอพระองค์กรุณาอย่าได้ทิ้งความชั่วไว้ให้แก่ข้าพเจ้าเลย ล้วนแล้วแต่พระองค์คงอภัยให้ และได้โปรดอย่าให้มีความทุกข์อันใด นอกจากพระองค์จะเปิดช่องทางให้ และไม่มีความประสงค์อันใดที่พระองค์ทรงพอพระทัยแล้ว นอกจากพระองค์จะให้ได้รับผลสำเร็จ โอ้! พระผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง
ไม่มีข้อสงสัยแล้วในเรื่องละหมาดนั้นมันไม่เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ รอดพ้นจากความยุ่งเหยิงเดือดร้อนใจ ในวันกิยามะฮ์อย่างเดียวเท่านั้นแต่ละหมาดยังเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์รอดพ้นจากความยุ่งยากเดืดร้อนในดุนยานี้ด้วย ส่วนความชื่นจิตสบายใจ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นด้วยการละหมาดนั้น เป็นสิ่งที่มุสลิมผู้มีบริสุทธิ์ใจในละหมาดทุกคนย่อมได้รับ
ท่านอิบนุซิรีน ได้กล่าวว่า "หากเขาให้ฉันเลือกระหว่างการเข้าสวรรค์กับการละหมาดสองรอกาอัตฉันจะเลือกละหมาด เพราะว่าการเข้าสวรรค์นั้นเป็นความต้องการของอารมณ์ ส่วนละหมาดนั้นมันเป็นความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์