คุณค่าของการอ่านอัลกุรอาน (สุดยอด) อ่าน ยาซีน


62,342 ผู้ชม

อัลฮัมดุลิลลาห์ เราขอสรรเสริญอัลเลาะห์ที่ให้เราได้เป็นมุสลิม ฉะนั้น เราควรภาคภูมิใจในศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาที่มีคุณสมบัติพิเศษที่อัลเลาะห์ทรงประทานมาให้แก่มนุษยชาติ...


คุณค่าทางภาษาของอัลกุรอาน

โดย : มุสลิม

          อัลฮัมดุลิลลาห์ เราขอสรรเสริญอัลเลาะห์ที่ให้เราได้เป็นมุสลิม ฉะนั้น เราควรภาคภูมิใจในศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาที่มีคุณสมบัติพิเศษที่อัลเลาะห์ทรงประทานมาให้แก่มนุษยชาติ

          ศาสนาที่ท่านนบีนูฮฺ อะลัยฮิสสลาม นำมาก็ดี ศาสนาที่นบีอิบรอฮีม นบีมูซา นบีอีซา อะลัยฮิมุสสลาม นำมาก็ดี ตลอดจนบรรดานบีท่านก่อนๆที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้นั้นล้วนมีคำสอนอยู่ในขอบ เขตเฉพาะแต่ละยุค ใช้ได้เฉพาะกาลเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเป็นดังนี้เราคงเคยทราบว่าบางสมัยมีนบีสองท่านมาทำหน้าที่แนะนำพร้อม กัน

          อิสลามมีคุณสมบัติอันสูงส่งมากมายที่อัลเลาะห์ ทรงประทานมาให้ตามยุคสมัย อัลเลาะห์ ทรงให้อิสลามมาสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล มิใช่เฉพาะชาติใดชาติหนึ่ง ไม่ว่าเราจะเดินทางไปประเทศใดของโลก ก็จะพบมุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย อันได้แก่ ไทย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี จีนแดง ฟิลิปปินส์ เป็นต้น หรือแม้แต่ในยุโรป ออสเตรเลีย หรือแอฟริกาก็ตาม เราก็จะได้ยินผู้กล่าวปฏิญาณว่า

لااله الاالله محمد رسول الله

ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ มุฮัมมัด รอซูลลุลลอฮ์

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ ท่านนบีมุฮัมหมัดเป็นรอซูลของอัลเลาะห์”

          อิสลามได้แพร่ขยายไปในคนทุกชาติทุกภาษา เช่น อินเดียมีภาษาเป็นร้อยๆ ซูดานมีประมาณ 200 ภาษา แต่เมื่อภาษาอาหรับเป็นภาษาศาสนาอิสลาม บุคคลต่างชาติต่างภาษาก็หันมาใช้ภาษาอาหรับเหมือนๆกัน ฉะนั้น ภาษาอาหรับจึงมิใช่เป็นภาษาของชนชาติใดชาติหนึ่ง หากแต่เป็นภาษาของศาสนาอิสลาม มีคนอาหรับจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาของอัลกุรอาน ทั้งๆที่เขาพูดภาษาอาหรับ ทั้งนี้เพราะภาษาอาหรับที่เขาใช้นั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับภาษาอัลกุ รอานก็เป็นได้

          เมื่อมุสลิมได้แพร่ขยายไปได้ 200 ปี สมัยนั้นผู้ที่นำคำสอนของอิสลามไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริงๆ มุสลิมกลายเป็นผู้ปกครองโลก มีนักปราชญ์มุสลิมจำนวนมากที่มิใช่เชื้อสายอาหรับ เช่น อิมามบุคอรีย์ และซีบาวัยฮฺ ซึ่งเป็นผู้วางหลักไวยากรณ์อาหรับทั้งๆที่มิใช่เป็นชาวอาหรับ ดังนั้นถ้ามีผู้กล่าวว่า ภาษาอาหรับนี้เป็นภาษาเฉพาะของชาวอาหรับ ก็ควรชี้แจงให้เข้าใจว่าไม่ใช่ หากแต่เป็นภาษาอัลกุรอาน เป็นภาษาต้นฉบับที่ท่านนบี นำมาสั่งสอนแก่มนุษยชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจะยังคงอยู่ตลอดไปจนกระทั่งวันกิยามะห์ แม้อัลกุรอานก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้แต่เพียงอักษรเดียว หากภาษาอาหรับมิใช่ภาษาอัลกุรอาน แน่นอนภาษาอาหรับก็คงสูญสลายไปนานแล้วดังเช่นภาษาอื่นๆ

          การที่อัลเลาะห์ได้ ทรงประทานอัลกุรอานให้แก่ประชาชาติมุสลิมนั้น น่าจะเป็นการช่วยยกระดับตัวเราให้มีคุณค่าสมกับคำสอนของอัลกุรอาน มิใช่นำอัลกุรอานลงมาเพื่อให้กับระดับของเรา

          ในการอ่านอัลกุรอาน เราควรคำนึงว่าเรากำลังอ่านอะไร? กำลังสนทนากับใคร? และอัลเลาะห์ ตรัสกับเราว่าอย่างไร ?

          อิกบาล กวีชาวปากีสถานอ่านอัลกุรอานโดยไม่มีสมาธิ บิดาจึงเตือนว่า “อัลเลาะห์ ตรัสกับลูกอยู่นะ” การเตือนเช่นนี้ทำให้เข้าใจว่า การอ่านกุรอานจะต้องสำรวม มีมารยามตั้งใจอ่าน เพราะกำลังอ่านดำรัสของอัลเลาะห์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร

          สิ่งที่จะเป็นกำลังใจอีกอย่างหนึ่งในการศึกษาอัลกุรอาน คือ อัลกุรอานมิใช่ภาษาตลาด การอ่านอัลกุรอานเท่ากับเป็นการทำอิบาดะห์ และการทำอิบาดะห์นั้นจะต้องกระทำเพื่ออัลเลาะห์ เพียงองค์เดียวเท่านั้น กระทำอย่างดีที่สุดและมีมารยาทที่สุด การอ่านของผู้เรียนอาจมีอุปสรรค เพราะไม่มีโอกาสศึกษามาตั้งแต่เด็ก แต่ก็อย่าเสียกำลังใจ เพราะอิสลามส่งเสริมให้เล่าเรียนโดยไม่จำกัดเพศและวัย

          มีฮะดีษที่อิมามติรมิซีย์บันทึกไว้มีความว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :

           ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอาน เขาจะได้รับความดีในแต่ละพยัญชนะ และความดีหนึ่งนั้นจะได้ 10 เท่า ฉันไม่ได้กล่าวว่า อะลีฟ ลาม มีม เป็นพยัฐชนะเดียว แต่อะลีฟ เป็นพยัญชนะหนึ่ง ลาม ก็เป็นพยัญชนะหนึ่ง มีมก็เป็นพยัญชนะหนึ่ง

(บันทึกโดยอัตติรมิซีย์)

          การอ่านที่รู้ความหมายก็จะทำให้เรารู้สึกประทับใจยิ่งขึ้นอีกมาก เพราะอัลกุรอานเป็นพจนารถของอัลเลาะห์ ท่านนบี ท่านเป็นรอซูลของมนุษย์และญิน ดังนั้น เมื่อญินได้ยินอัลกุรอานจึงกล่าวว่า :

คุณค่าของการอ่านอัลกุรอาน (สุดยอด) อ่าน ยาซีน

1. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า ได้มีวะฮียฺมายังฉันว่า แท้จริงพวกญินจำนวนหนึ่งได้ฟังฉัน (อ่านกุรอาน) และพวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้ยินกุรอานที่แปลกประหลาด

คุณค่าของการอ่านอัลกุรอาน (สุดยอด) อ่าน ยาซีน

2. ซึ่งนำไปสู่ทางที่ถูกต้อง ดังนั้นพวกเราจึงศรัทธาต่ออัลกุรอานนั้น และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระเจ้าของเรา

(อัลญิน 72 : 1-2)

          บางทีท่านนบีละหมาดเวลากลางคืนท่านก็ร้องไห้ ท่านอบูบักรฺอ่านอัลกุรอานท่านก็ร้องไห้ อันเนื่องมาจากความซาบซึ้งในข้อความในอัลกุรอาน

          มุอฺมินจะต้องมีจิตใจซาบซึ้งในความหมายของอัลกุรอาน คือ อ่านแบบมีชีวิตชีวา การที่เราจะได้ประโยชน์จากการอ่านอัลกุรอาน จะต้องอ่านอย่างเข้าใจความหมาย มีสมาธิ ทำจิตใจให้ผูกพัน และดำเนินตามคำสอนของอัลกุรอาน เพราะเรารู้ว่าอัลเลาะห์ สั่งให้เรากระทำอะไร?

คุณค่าของการอ่านอัลกุรอาน (สุดยอด) อ่าน ยาซีน

          พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัลกุรอานดอกหรือ? แต่ว่าบนหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่

(มุฮัมหมัด 47 :24)

          อิมามชาฟิอีย์ถือว่า การเรียนภาษาอาหรับเป็นวาญิบ เพราะภาษาอาหรับเป็นภาษาของอัลกุรอาน ซึ่งมีความสำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว

           อิมามอิบนิตัยมียะห์ กล่าวว่า : คนที่อ่านอัลกุรอานแล้วไม่รู้เรื่อง ก็เท่ากับเป็นผู้ที่ไม่รู้เรื่องว่าสิ่งที่กำลังอ่านอยู่นั้นมีความหมายว่า อย่างไร? ซึ่งที่จริงแล้วเราน่าจะรู้ความหมายในสิ่งที่เรากล่าวในละหมาดทั้งหมด

 

ซูเราะฮ์ยาซีน มีความพิเศษจริงหรือ ?

هل هناك أحاديث صحيحة في فضل قراءة سورة ( يس ) ؟ البعض يقول : إنها لِمَا قُرِأت له ؟

หะดีษที่มีการรายงานถึงความประเสริฐของการอ่านซูเราะห์ยาซีน ?

โดยที่มีบางคนได้นำหะดีษนี้มีการกล่าวว่า “ทำไมยาซีนถูกอ่านแก่เขา ?”


มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์ 


ประการแรก

          ซูเราะห์ ยาซีน เป็นซูเราะห์ หนึ่งจากอัลกุรอานที่อยู่ประเภทของซูเราะห์ อัลมักกียะห์ที่มีความสำคัญ  จำนวน อายะห์ของซูเราะห์นี้  83 อายะห์ และเป็นอายะห์สั้นๆ และเป็นซูเราะห์ที่มาสร้างความเข้มแข็งให้กับจิต ใจของบรรดาผู้ศรัทธาได้อย่างมาก  เนื้อหาสาระสำคัญ ของซูเราะห์นี้ เป็นซูเราะห์ มักกียะห์ ที่กล่าวถึงหลักความเชื่อ การให้เอกภาพที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพระเจ้าของอัลลอฮ์  และที่เกี่ยวข้องกับ การให้เอกภาพในเรื่องของการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์   และ การกล่าวถึงบั้นปลายที่เลวร้ายของบรรดาผู้ที่ปฎิเสธต่อการให้เอกภาพทั้งสอง นั้น  และเรื่องสำคัญที่กล่าวถึงในซูเราะห์ คือ เรื่องของการฟื้นคืนชีพในโลกหน้า


ประการที่สอง

          มีหะดีษมากมายที่ มีการรายงานระบุถึงความประเสริฐของ ซูเราะห์ ยาซีน โดยส่วนมากเป็นหะดีษที่โกหก และ กุขึ้นมา บางหะดีษเป็นหะดีษที่อ่อนแอ (นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ ) บางหะดีษอ่อนแอเล็กน้อย  และเราไม่พบว่ามีหะดีษที่ถูกต้อง ที่ได้ระบุเจาะจงถึงความประเสริฐของ ซูเราะห์ ยาซีน

         และหะดีษที่มีรายงานถึงความประเสริฐ ของซูเราะห์ ยาซีน ที่บรรดานักวิชาการได้จัดให้เป็นหะดีษที่อ่อนแอ  ที่เรานำเสนอตรงนี้ ก็เพื่อต้องการนำมาเตือน เช่นหะดีษต่อไปนี้

( إن لكل شيء قلبا ، وقلب القرآن ( يس ) ، من قرأها فكأنما قرأ القرآن عشر مرات )

“แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นมีหัวใจ และหัวใจของอัลกุรอาน (คือยาซีน) ใครที่อ่านมัน เสมือนว่าเขาได้อ่านอัลกุรอานถึงสิบ ครั้ง”

( من قرأ سورة ( يس ) في ليلة أصبح مغفورا له ) “ใครได้อ่านซูเราะห์ ยาซีน ในตอนกลางคืน ในตอนเช้าเขาจะได้รับการอภัยโทษ”

( من داوم على قراءتها كل ليلة ثم مات مات شهيدا ) “ใคร ที่ได้อ่านซูเราะห์ยาซีนเป็น ประจำ หลังจากนั้นเขาได้เสียชีวิต เหมือนกับการเสียชีวิตของผู้ทีเป็นชะฮีด”

( من دخل المقابر فقرأ سورة ( يس ) ، خفف عنهم يومئذ ، وكان له بعدد من فيها حسنات )

“ใคร ที่เข้าไปยังหลุมฝังศพ แล้วเขาได้อ่านซูเราะห์ ยาซีน วันนั้นพวกเขาจะได้รับการลดโทษให้เบาบางลงจากอัลลอฮ์ และสำหรับเขา(ผู้ที่อ่าน)จะได้รับความดีเท่ากับจำนวนของผู้ที่อยู่ในหลุมฝัง ศพ”

          ให้ดูในหนังสือ อัลเมาดูอาต ของท่าน อิบนุลเญาซีย์ 2/313  อัลฟาวาฮิดุล มัจมูฮะห์ ของท่านอัชเชากานีย์  และให้กลับไปดูเนื่องจากความสำคัญของหนังสือ ที่ชื่อว่า หะดีษ กอลบุลกุรอานฟิลมีซาน  และประโยคที่รายงานถึงความประเสริฐ ซึ่งเป็นหนังสือของท่าน อัชเชค มูฮัมหมัด อัมรฺ อับดุลลาตีฟ ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องต่อท่าน และให้กลับไปดูในเว็บไซด์ของเรา คำถามหมายเลขที่ 654 คำถามที่ 6460


ประการที่สาม

สำหรับหะดีษที่มีการรายงานสำนวนหะดีษที่ว่า

( يس لما قرئت له ) “ซูเราะห์ยาซีน ทำไมถูกอ่านมันให้แก่เขา”

          โดยที่พวกเขาได้ให้ความหมายว่า แท้จริงการอ่านซูเราะห์ยาซีนนั้นจะสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ยาก และทำให้การงานต่างๆ สะดวกง่ายดาย หากใครที่อ่านซูเราะห์ยาซีนเป็นประจำ จำเป็นที่จะต้องเตือนให้ทราบว่า สิ่งที่อ้างมานั้นเป็นความเท็จ ที่จะพาดพิงคำพูดเหล่านี้ว่ามาจากซุนนะห์ของท่านนะบี หรือ พาดพิงบรรดาผู้ที่มีความรู้ จากบรรดาศอหาบะห์ หรือ บรรดาอัตตาบีอีน หรือ บรรดาอิหม่ามผู้ทรงความรู้  โดยที่สิ่งที่กล่าวมา นั้นไม่ได้มีรายงานจากพวกเขาแต่ประการใด และพวกเขายังถือ คำพูดเหล่านั้นเป็นความเท็จ

          ท่าน อัซซาคอวี ย์ รอฮิมาอุลลอฮ์ได้ กล่าวว่า สำหรับหะดีษนี้นั้น หาที่มาไม่ได้ จบคำพูดของท่านอัซซาคอวีย์  จากหนังสือ อัลมาคอซิดุลหาซานะห์  หน้าที่ 741 

          และท่าน อัลกอดีย์ ซาการียา ได้กล่าวไว้เช่นกัน ในหนังสือ หาชยาตุลบัยดอวีย์  เรื่องที่มีปรากฏ ในหนังสือ กัชฟุลคอฟาฮฺ 2/2215  และเช่นเดียวกัน ในหนังสือ อัชชูซูส ฟิล อาหาดีซิลมุชตาอิ เราะห์  ของอิบนู ตูลูน อัซซอลีฮียฺ 2/1158  และเช่นเดียวกัน ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัซรอซ อัลมัรฟูฮะ ของท่าน อัลกอรียฺ หน้าที่ 619  และ อื่นๆ จากนี้ ให้ไปดูในหนังสือ ของท่าน อัช เชค มูฮัมหมัด อัมรฺ ที่ระบุไว้ในหนังสือที่ว่า หะดีษที่ ว่า หัวใจของอัลกุรอาน คือ ยาซีน หน้าที่ 80

          ไม่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใด นำหะดีษเหล่านี้กล่าวอ้างว่ามาจากท่านนบี  และอย่าได้นำไปบอกกล่าวแก่ผู้คน  แต่บางคนได้อ้างว่า สิ่งที่ได้กล่าวไว้ในหะดีษเมื่อนำไปใช้ก็มีผลลัพธ์เหมือนที่ระบุไว้ และเกิดขึ้นเหมือนกับที่หะดีษได้บอกไว้นั้นเป็นการยืนยันถึงความถูกต้องของ หะดีษ   ก็ให้ตอบแก่ผู้ที่กล่าวอ้างว่า  แต่มีคนอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน ที่ได้อ่านยาซีน  โดยหวังจะให้การอ่านนั้นมาขจัดความทุกข์ยากของเขาแต่ก็ไม่มีสิ่งนั้นเกิดขึ้น  ทำไมจึงยึดเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านเพียงอย่างเดียว  ไม่ไปมองสิ่งที่เกิดในบุคคลอื่นด้วย
 
          และท่านอิบนุ  กะซีรได้กล่าวไว้  ในหนังสือ ตัฟซีรุลกุรอานุลอาซีม เล่มที่ 3/ 742  มีรายงานจากผู้รู้บางท่าน ที่กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากความพิเศษของซูเราะห์นี้ (ยาซีน ) เมื่อมันถูกอ่านในขณะที่ประสบอุปสรรคในการงาน  อัลลอฮ์จะให้งานนั้นมีความสะดวกง่ายดาย
ซึ่งที่กล่าวมานั้นมันเป็นการวินิจฉัยของนักวิชาการบางท่านเท่านั้น โดยไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอาน และอัซซุนนะห์ หรือจากคำพูดของเหล่าศอหาบะห์ หรือ บรรดาอัตตาบีอีน 

และจากการวินิจฉัยประเภทนี้ไม่อนุญาตให้นำมันพาดพิงไปหาอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์  แต่ว่าให้นำคำพูดนี้กล่าวอ้างถึงคนที่เป็นผู้พูด บางครั้งอาจจะถูก หรือบางครั้งอาจจะผิด  ไม่อนุญาตให้นำมันพาดพิงไปหาอัลกุรอาน และ อัซซุนนะห์ ของท่านรอซูลของอัลลอฮ์ นอกจากสิ่งที่เรามั่นใจว่ามันมากจากอัลลอฮ์และรอซูล 

อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสไว้ว่า

{ قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ }

33. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ¹ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป² และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม³ และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลัก ฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น 4 และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัย 5 แก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้


(1)  เช่นการทำซินา การข่มขืนชำเรา การฆ่ากัน และการปล้นจี้ เป็นต้น
(2)  คือการฝ่าฝืนบัญญัติศาสนาโดยทั่วไป
(3)  คำว่า “โดยไม่เป็นธรรม” นั้นเป็นการย้ำคำที่ว่า “การข่มเหงรังแก”
(4)  คือมิได้ทรงมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นภาคีกับพระองค์ ที่กล่าวเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงว่าพวกเรากระทำด้วยพละการเท่านั้น ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีแก่พระองค์ทั้งสิ้น
(5)  คืออุตริกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ถือเป็นการให้ร้ายแก่พระองค์

          และจำเป็นที่เราจะต้องตักเตือนในเรื่องนี้  มีผู้คนจำนวนมาก ที่ต้องการปลดเปลื้องความทุกข์ของตัวเองในขณะที่ทำการวิงวอนขอและ อ่านยาซีน  แท้จริงความทุกข์ของเขาจะถูกปลดเปลื้องเมื่อจิตใจของเขาได้มุ่งหน้าไปสู่อัลลอฮ์หวังจากเพียงพระองค์เท่านั้น  ไม่ใช้เขาคิดว่าการที่เขาอ่าน หรือวิงวอนขอดุอาจะช่วยได้โดยลืมคิดถึงความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ 

ท่านชัยคุลอิสลาม  อิบนุ ตัยมียะห์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อท่าน ได้กล่าวว่า

          สาเหตุที่ทำให้ความทุกข์ของคนบางคนถูกปลดเปลื้อง ซึ่งพวกเขาทำการขอดุอาวิงวอนในสิ่งที่เป็นการวิงวอนที่ต้องห้าม  แท้จริงมีชายคนหนึ่งจากพวกเขา บางครั้งเขาตกอยู่ในภาวะที่คับขัน หากเขาเป็นผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮ์เพียงผู้เดียว ณ รูปเจว็ด(ในภาวะคับขัน) แน่นอนการวิงวอนนั้นจะถูกตอบรับ เนื่องจากความจริงจังที่เขาได้มุ่งไปหาอัลลอฮ์  

           หากการวิงวอนขอดุอา ณ ที่รูปเจว็ดโดยเป็นการตั้งภาคี   โดยการขอดุอานั้นมีสื่อกลาง (ระหว่างเขากับอัลลอฮ์) เช่นไปขอกับ ผู้ที่ตายไปแล้ว หรือ อื่นจากนี้ นอกเหนือจากอัลลอฮ์ เพื่อให้ทำการช่วยเหลือเขา แท้จริงผู้ที่ทำการวิงวอนนั้น จะถูกนำไปสู่นรก อัลลอฮ์ไม่อภัยโทษให้แก่เขาด้วย  และจะทำให้คนจำนวนมากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทำให้พวกเขาไปยึดบรรดาคนดีทั้งหลายโดยทำการอิบาดะห์และวิงวอนขอดุอาต่อคนตาย

          เมื่อพบว่าเขาได้ทำอิบาดะห์หรือขอดุอากับคนตายแล้วมีผลลัพธ์ที่สัมผัสได้ ทำให้พวกเขายึดมันเป็นเหตุผลและให้น้ำหนักในการอิบาดะห์ และการวิงวอนขอ  และได้ยึดมันเป็นซุนนะห์ เสมือนว่าท่านนะบีได้เป็นผู้ที่ปฏิบัติไว้   นี่ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อผู้ปฎิบัติมีความหนักแน่นในการกระทำ และทำให้ผู้อื่นที่ปฏิบัติตามด้วย  หากเป็นเช่นนั้นมันเป็นสิ่งที่อันตราย  เนื่องจากการงานนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติ  เมื่อพวกเขาปฏิบัติแล้วหวังว่าจะได้รับผลบุญ และมีความตั้งใจกระทำด้วยความจริงจัง ซึ่งหวังว่าจะได้รับการตอบรับจากการกระทำนั้น   (2/698، 700)

จากหนังสือ    انتهى من اقتضاء الصراط المستقيم. และ อิสลามคำถามและคำตอบ คำถามหมายเลขที่ 75894 


والله أعلم 

แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม

 

 Source: www.islammore.com

คุณค่าของอัลกุรอานในชีวิตของมุสลิม


เพื่อ รำลึกถึงความสูงส่งของพระดำรัสของอัลลอฮฺ   ซูเราะฮฺอัลอิสรออฺเป็นอายะฮฺที่เริ่มต้นด้วยการยืนยันจากอัลลอฮฺ   ว่าอัลกุรอานเป็นทางนำและทางแก้ไขอันดีเลิศในทุกกรณีและสถานการณ์ และอัลกุรอานเป็นข่าวที่ดีสำหรับผู้ศรัทธาที่กระทำความดี
ความสำคัญ และสถานภาพของบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความ สำคัญของวิชานั้นในสังคม เช่นนักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ แต่เหตุใดผู้ที่มีความใกล้ชิดเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัลกุรอานที่เป็นกฎหมายของ อิสลามจึงไม่ถูกยกย่องเป็นนักกุรอาน (นักวิชาการเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า ชาวกุรอาน-อะลุ้ลกุรอาน) จากหะดีษท่านบีมุฮัมมัด   กล่าวว่า ในวันอาคีเราะฮฺอัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมนักกุรอาน ซึ่งต้องเป็นคนที่อ่าน เข้าใจ ศึกษา ท่องจำ และปฏิบัติ และนำกุรอานมาใช้ในชีวิตประจำวัน พี่น้องลองย้อนกลับมาสำรวจตัวเอง ท่านนบีได้ตั้งไว้ซึ่งคุณสมบัติของนักกุรอานคือผู้ปฏิบัติดีด้วยอัลกุรอานใน โลกดุนยานี้ คนเดี๋ยวนี้ดูถูกอัลกุรอานสนใจในวิชาความรู้สามัญจนคิดว่าจำแค่ 3 กุ้ลก็รอดแล้ว ในบทบัญญัติกฎหมายมนุษย์จะไม่คุ้มครองคนไม่รู้เนื่องจากถือว่าทุกคนมี หน้าที่ศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมาย  แต่อัลกุรอานมีความชัดเจนในเรื่องนี้หากไม่รู้อัลลอฮฺ ไม่เอาโทษ นบี กล่าวว่าเป็นการให้อภัยแก่ประชาชาติของท่านแล้วซึ่งการผิดพลาด คือการไม่รู้ การหลงลืม หรือการถูกบังคับ นี่คือสามประการที่ไม่มีเจตนารมณ์ในการกระทำผิด แม้การทำชีริกโดยไม่รู้อัลลอฮฺ ก็ไม่เอาโทษ เช่นชาว อะลุลฟัตเราะฮฺ คือผู้มีชีวิตระหว่างสองนบี เช่น ผู้ที่เกิดระหว่างยุคของนบีอีซา และนบีมุฮัมมัด หากเขาตายในสภาพผู้ที่บูชาเจว็ดก็ถือเป็นมุชริก แต่ถ้าเขาคือผู้ที่ไม่รู้จักศาสนาของอัลลอฮฺ  ในอาคีเราะฮอัลลอฮฺ จะทดสอบเขาโดยให้เข้านรกถ้าเชื่อฟังก็ถือว่าศรัทธา   ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ศรัทธาก็ตอนนั้นรู้แล้วว่ามีทั้งปรโลกทั้งอัลลอฮฺ แล้ว นับประสาอะไรกับโลกนี้ที่ไม่เห็นอะไรเลยก็ยิ่งฝ่าฝืน นี่คือกฎหมายอิสลาม เห็นได้ชัดว่ากฎหมายของอัลลอฮฺ นั้นยุติธรรมที่สุดแล้ว  เพราะถ้าท่านไม่รู้อัลลอฮฺ ไม่เอาโทษ
เป็นที่เอกฉันท์แล้วท่านไม่วา ญิบท่องจำอัลกุรอาน แต่มีคำเรียกร้องให้ท่านเป็นนักกุรอาน เป็นผู้เชี่ยวชาญอัลกุรอาน มีบันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม   ท่านนบีกล่าวไว้ว่า
"แท้ จริงอัลลอฮฺ ได้ยกระดับกลุ่มชนหนึ่งด้วยคัมภีร์นี้ และลดระดับกลุ่มชนหนึ่งด้วยคัมภีร์ คนที่จะสูงส่งด้วยอัลกุรอานก็ด้วยการปฏิบัติตามอัลกุรอาน"
หะดีษบัน ทึกโดยอัลบุคอรียฺรายงานจากท่านอุสมาน อิบนุอัฟฟาน ท่านนบี กล่าวว่า"คนที่ประเสริฐยิ่งในหมู่พวกท่านคือคนที่เรียนรู้ และสอนอัลกุรอาน"
ซึ่งการจะเป็นคนที่ประเสิรฐยิ่งในโลกนี้และโลกหน้าก็ต้องเป็นเรียน รู้และปฏิบัติตามอัลกุรอาน การเรียนนี้มีหลายระดับ ขั้นแรกก็คือการเรียนการอ่านอัลกุรอานต้องพยายาม ซึ่งความพยายามอันนี้แหละที่จะเป็นผลบุญและบรรลุความประเสริฐ เทียบหากว่ามีผู้มอบทุนเรียนจบ ป.เอกและให้งานทำที่อเมริกา ย่อมไม่มีใครจะปฏิเสธลง แต่นี่อัลลอฮฺ บอกว่าเรียนอัลกุรอานได้สวรรค์ หะดีษบันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ท่านนบี กล่าวว่า บรรดาผู้ที่อ่านอัลกุรอานด้วยความเชี่ยวชาญ(ที่เราเรียกกันว่า นักกอรี ที่มาจาก “กอ-รอ-อา”ที่แปลว่าอ่าน ซึ่งที่มากุรอานนั้นมาจาก “กอรออฺ”ที่แปลว่ารวบรวมเพราะเป็นการรวบรวมพระดำรัสของอัลลอฮฺ  แต่บางทรรศนะว่ามาจาก “กอรออา” ที่แปลว่าที่ถูกอ่าน เพราะถูกประทานให้อ่านไม่ใช่ให้เก็บ
ในสมัยนี้กอรี หมายถึงผู้ที่อ่านเก่ง แต่ในสมัยนบีคืออาลิม หะดีษบันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีคนที่ควรเป็นอิหม่ามคือคนที่อ่านอัลกุรอานมาก เพราะกระบวนการเรียนในสมัยนั้นจะไปเรียนกับท่านนบี ทีละสิบอายะฮฺจนสะสมความศรัทธาแล้วจึงย้ายไปอีกสิบอายะฮฺ ซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันค่อนข้างมากที่นักกอรีคือผู้เป็นนักอ่านอัลกุรอานแบบ ละฆู (ทำนอง เป็นรากศัพท์จากภาษามลายูแปลว่าเพลง ดนตรี ไร้สาระ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนทำนองดนตรีอาหรับจริงๆ) และแน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่ละหมาดด้วยความนอบน้อม และบรรดาผู้ที่ละทิ้งสิ่งที่ละฆู (ไร้สาระ) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่จะนำคำว่าทำนองดนตรีมาใช้กับอัลกุรอาน กอรปกับชาวมลายูและไทยที่ไม่สันทัดกับภาษาจึงไม่ขัดข้องที่จะใช้คำว่า ละฆู เพราะเป็นการอ่านโดยไม่ต้องปฏิบัติ
ดังนั้นถ้าสังคมไม่มีนักกอรี สังคมไม่หายนะ แต่ถ้าสังคมขาดนักความหมายอัลกุรอานสังคมต้องหายนะ  แต่ปัจจุบันนี้มันไม่ใช่ นักอัลกุรอานกลับถูกประหารชีวิตในโลกมุสลิม เช่น เชคซัยยิด กุฏูบ นักอธิบายอัลกุรอาน ในประเทศอียิปต์ แต่นักกอรีไปอ่านอีซีกุโบเป็นดารามีคนตามไปฟังเป็นพัน แต่ที่ตามไปฟังนั้นเค้ารำลึกเนื้อหาเพื่อการปฏิบัติหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ต้องตระหนัก นั้นแสดงถึงคุณค่าของอัลกุรอานในสังคมของเรา กลับมาที่หะดีษแรก ที่อัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมกับชาวอัลกุรอานโดยมีซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺกับ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอนนำหน้ามา มีหะดีษว่าสองซูเราะฮฺจะมาเป็นเมฆสองปุยสองก้อน (มีหลายทรรศนะตีความว่ามาเป็นแบบจริงหรือไม่) เพราะสองซูเราะฮฺนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับกฎหมาย 
จนเศาะฮาบะฮฺกล่าวว่า ใครที่ศึกษาเรียนรู้ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺจนเชี่ยวชาญในหมู่พวกเราถึงว่า เป็นอาลิม ท่านนบี บอกว่าสองซูเราะฮฺนี้จะมาโต้เถียงแทนเจ้าของ สองซูเราะฮฺนี้คือผู้ท่องจำ ชำนาญจนปฏิบัติตามสองซูเราะฮฺนี้ บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ท่านนบี กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอานเถิด เพราะมันจะเป็นทนายให้แก่ท่าน การอ่านในที่นี้ไม่ใช่แค่ท่องจำเท่านั้น มิฉะนั้นนักกอรีทั้งหลายก็เป็นชาวสวรรค์กันหมด  หะดีษบันทึกโดยตีรมีซี รายงานว่าท่านนบี กล่าวว่าผู้ที่ไม่มีในหัวใจซึ่งอัลกุรอานเปรียบเสมือนบ้านพัง บ้านรก ไม่มีสัมภาระ ไม่มีใครอยากอยู่มีแต่หยากไย่ ในหัวใจก็จะพบแต่เพียงสิ่งไร้สาระทั้งหลาย 
มีรายงานจากอาบูมูซา อัลอัชอะรี ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า  "อุปมามุอฺมินที่อ่านอัลกุรอานอุปไมยดังผลอัลอุตรุจญะฮฺ  รสชาติของมันดี(อร่อย)และกลิ่นของมันดี(หอม)"
บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิมรายงานโดย
มี ความขัดแย้งว่าคืออะไร บางคนบอกว่าต้นไม้  ท่านนบีบอกว่าอุตรุจญะฮฺคือ ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี มุอฺมินที่อ่านอัลกุรอานจะมีกลิ่นหอม รสชาติดี อัลกุรอานเป็นสัญลักษณ์
อุปมามุอฺมินที่ไม่อ่านอัลกุรอานเปรียบดัง อิทผาลัมที่มีรสชาติดีแต่ไม่มีกลิ่น เมื่อไม่มีกลิ่น เมื่อไม่มีอัลกุรอานจึงเป็นมุอฺมินที่ขาดสัญลักษณ์ ที่จะปรากฏในรูปร่าง ใบหน้า การกระทำ ในถ้อยคำ ปรากฏหมดในชีวิต คนที่ใกล้ชิดอัลกุรอาน จะหอมมากแต่จะหอมเฉพาะคนที่มีความสามารถเท่านั้น เช่น บางคนได้กลิ่นเหล้าแล้วเหม็น ขณะที่บางคนจะหอม หรือคนที่มีไข้เป็นหวัด กินอาหารแล้วไม่มีรสชาดหรือผิดเพี้ยนไป ดังนั้นคนที่เห็นอะไรดีๆ แล้วว่าไม่ดีก็ผิดปกติ คนที่จะรู้ว่าอัลกุรอานหอมก็คือคนที่รู้คุณค่าของอัลกุรอาน ไม่ใช่เอาคนที่ทิ้งอัลกุรอ่านหรือสาปแช่งอัลกุรอานมาดม มุอฺมินถึงไม่อ่านอัลกุรอานก็ยังมีคุณค่าอยู่ดี ดังอิทผาลัมที่ยังไงก็มีคุณค่า แม้คนที่เป็นเบาหวานกินอินทผาลัมก็ไม่มีปัญหา
 
ส่วนอุปมามุนาฟิก ที่อ่านกุรอานอุปมัยใบโหระพาที่ขมแต่กลิ่นนั้นหอม อุปมามุนาฟิกที่ไม่อ่านอัลกุรอานอุปมัยอัลฮัมบาละฮฺ ที่ไม่มีกลิ่นและรสชาติขม
 
ลักษณะหรือสัญลักษณ์ในทุกคนที่นบี ได้อุปมาไว้นี้ คนที่อ่านอัลกุรอานจะได้มาซึ่งกลิ่นหอมที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง นี่เป็นคุณค่าของการอ่านกุรอานที่ได้รับการยกย่องแม้อ่านโดยไม่ศรัทธาและ ปฏิเสธด้วยซ้ำ แสดงว่ากลิ่นหอมเป็นสิ่งที่หลอกกันได้ แต่รสชาดเป็นของจริง ถ้าเราเป็นมุอฺมินแต่ไม่อ่านอัลกุรอาน ก็ยังมีรสชาติดีแต่ถ้าเราไม่ยอมรับแล้วเหลืออะไรก็ไม่ต่างจากมุนาฟิกที่ทั้ง ไม่หอมและขม ใช้ไม่ได้ นี่คือคุณค่าของอัลกุรอานสำหรับคนที่อยากจะถูกนำมาในอาคีเราะฮฺด้วยความสูง ส่ง
สุดท้าย ท่านนบี สอนเพื่อเราจะได้รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไร จากบันทึกของอบูดาวูด และตีรมิซียฺ บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัดด้วย รายงานจากฮับริลละห อิบนี อัมรี บิน เอาศ ท่านนบี กล่าวว่า ในวันกียามะฮฺได้ถูกกล่าวให้แก่เจ้าของกุรอาน อิกเราะอฺ จงอ่าน จงสูงขึ้น จงอ่านตามที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยานี้ แท้จริงตำแหน่งสูงสุดของท่านอยู่ที่อายะฮฺสุดท้ายที่ท่านสามารถอ่านจบได้ ถือว่าอัลกุรอานเป็นธรรมนูญ ที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จในทุกประเด็น แก้ไขทุกปัญหา กุรอานจำเป็นต้องมีพื้นที่ในชีวิตของเรามากกว่าอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นสิ่ง ไร้สาระ หรือวิชาความรู้ทั่วไป มากกว่าลูก มากกว่าครอบครัว
จากการบรรยายของเชคริฎอ อะหมัด สมะดี
https://www.islaminthailand.net/inside.php?id=638
เรียบเรียงโดยสมาชิกค่าย "เราคือสตรีแห่งทางนำรุ่น 1"

 

อัพเดทล่าสุด