คำเหนียตและคำกล่าวรับซะกาตฟิตเราะห์ พร้อมวิธีการปฎิบัติ (อย่างง่ายๆ)


301,025 ผู้ชม

ซะกาตฟิตเราะห์ เป็นซะกาตที่มีหลักเกณฑ์ในการบริจาคแตกต่างจากซะกาตทั่วๆไป คำเหนียตซะกาตฟิตเราะห์ ดังนี้....


 ซะกาตฟิตเราะห์ เป็นซะกาตที่มีหลักเกณฑ์ในการบริจาคแตกต่างจากซะกาตทั่วๆไป

 คุณสมบัติ

1.เป็นมุสลิม

2. เป็นผู้มีอิสระ ไม่ใช่ทาส

3. มีชีวิตอยู่จนถึงดวงอาทิตย์ตกของวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน หากตายก่อนนั้น ไม่ต้องบริจาค เด็กที่คลอดหลังดวงอาทิตย์ตกของวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ไม่ต้องเสียซะกาตนี้

ผู้บริจาคนั้น เมื่อบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ไปแล้ว ต้องมีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเหลือพอสำหรับตัวเอง และผู้ที่อยู่ในความปกครองของตน ในวันอีดและคืนวันอีดนั้น

วิธีการออกซะกาตฟิตเราะห์

สำหรับประเทศไทย ให้บริจาคด้วยข้าวสารคนละ 1 กันตัง (ปรัชะมาณ 4 ลิตร) โดยเลือกข้าวที่ดี ไม่ใช่ข้าวไม่ดีชนิดที่เราเองไม่ยอมรับประทาน ง่ายๆคือ เราทานข้าวอะไรเราก็ออกซะกาตข้าวนั้น

 คำเหนียตและคำกล่าวรับซะกาตฟิตเราะห์ พร้อมวิธีการปฎิบัติ (อย่างง่ายๆ)

คำเหนียตซะกาตฟิตเราะห์

**สำหรับผู้ให้ซะกาตฟิตเราะห์

- จำเป็นที่เขาจะต้องเหนียต ในขณะตวงข้าวสารด้วยว่า เป็นซะกาตของใคร ? 

เช่น ถ้าตวงให้ตนเอง ให้เหนียตในใจว่า "นี่คือ ซะกาตฟิตเราะห์ของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นฟัรดูเหนือข้าพเจ้าเพื่ออัลเลาะห์ต้าอาลา"

แต่ถ้าตวงให้คนอื่น ก็ให้หนียตว่า "นี่คือ ซะกาตฟิตเราะห์ของ .... (ให้ใส่ชื่อ นาย/นาง) ซึ่งเป็นฟัรดูเหนือ(ตัวเขา/ตัวนาง)เพื่ออัลเลาะห์ต้าอาลา" เป็นต้น

- ให้ตวงเพื่อไปเลย  2.6 หรือ 2.7 โล เพื่อให้ได้ผลบุญเพิ่มขึ้น และเป็นการป้องกัน เพราะหากว่า ไม่ถึงจำนวน ก็ถือว่า ซะกาตนั้นใช้ไม่ได้

- และมื่อนำซะกาตฟิตเราะห์ ไปมอบให้กับผู้รับ แม้ว่าผู้นำไปมอบ มิได้กล่าวออกมาเป็นวาจาว่าเป็นของผู้ใด ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

- ทั้งนี้ เพราะตามมัสฮับชาฟีอีย์นั้น ถือว่า การตั้งเจตนา(เหนียต)ของผู้ออกซะกาตนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) ดังนั้น เมื่อมีเจตนาแล้วในขณะที่ออกซะกาต ก็ย่อมถือว่าใช้ได้ ไม่ว่าจะมีการเปล่งวาจาออกมาหรือไม่ก็ตาม" (ดูหนังสือ อัลมัจญ์มัวะอ์ ชัรฮุ้ลมู่ฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 157-158) 

- แต่ด้วยมารยาทการปฎิบัติแล้ว ให้บอกสักนิดก็ยังดีว่า นี่เป็นซะกาตของนาย .. หรือ นาง .. (ใส่ชื่อ) เพื่อผู้รับจะได้ทราบว่าเป็นของผู้ใด(อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวคับ)

คำเหนียตและคำกล่าวรับซะกาตฟิตเราะห์ พร้อมวิธีการปฎิบัติ (อย่างง่ายๆ)

**สำหรับผู้รับซะกาตฟิตเราะห์

จำเป็นต้องเหนียตรับหรือไม่ ?

- ไม่จำเป็นต้องเหนียต แต่ให้รับได้เลย โดยไม่ต้องเหนียตว่า "ข้าพเจ้ารับซะกาตของนาย .. / นาง .. แต่อย่างใด

- "และหากผู้จ่ายซะกาต ได้จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับโดยในขณะที่จ่ายนั้น ผู้ให้มิได้กล่าวว่า สิ่งนั้นเป็นซะกาต หรือ ไม่ได้พูดอะไรเลย ก็ถือว่าใช้ได้ และเป็นซะกาตที่ลุล่วงแล้ว ดังที่ปวงปราชญ์ในมัสฮับชาฟิอีย์ได้ชี้ขาดเอาไว้" (ดูหนังสือ อัลมัจญ์มัวะอ์ ชัรฮุ้ลมู่ฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 227)

- สุนัตให้ผู้รับซะกาต ขอพรให้แก่ผู้นำซะกาตมามอบให้ว่า :

اجرك الله فيما اعطيت وبارك لك فيما ابقيت 

คำอ่าน : "อาญ่าร่อกั้ลลอฮู่ ฟีมา อะอ์ตอยต้า ว่าบาร่อก้า ล่าก้า ฟีมา อับกอยต้า "

ความหมาย : "ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนแก่ท่าน ในสิ่งที่ท่านได้นำมามอบให้ และขออัลเลาะห์ทรงประทานความเพิ่มพูนในสิ่งที่ท่านคงเหลืออยู่"

- ผู้ให้จะกล่าวตอบอีกทีก็ได้ว่า :

امين ، تقبل الله منا ومنكم

คำอ่าน : อามีน , ต้าก๊อบบะลั่ลลอฮู่ มินนา ว่ามิงกุม

ความหมาย : "ขออัลเลาะห์ทรงตอบรับ(ความดี)ทั้งเราและท่าน"

ที่มา:  โดย รอฟีกี มูฮำหมัด 

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/21774

อัพเดทล่าสุด