จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ


9,139 ผู้ชม

สำหรับบุคคล ที่ลำบาก เขาไม่ต้องจ่ายฟิฏเราะฮฺโดยปราศจากทัศนะใดๆ ที่ขัดแย้ง ส่วนกรณีผู้ที่มีอาหารเพียงน้อยนิด คือมีแค่อาหารที่เขาเก็บไว้ใช้บริโภค


เรียบเรียงโดย   ดร.อุษมาน  อัล-อัมร์

ซะกาตฟิฎเราะฮฺ (ซะกาตฟิตเราะห์) ตามมติฉันท์ของอุละมาอ์ถือเป็นฟัรฏู(จำเป็น) ดั่งรายงานจากท่านอิบนุอุมัร จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺกล่าวว่า :

"ท่านเราะซูล จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ ได้กำหนดการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นผลอินทผลัมจำนวน  1  ทะนาน(ศออ์) หรือ ข้าวบาเล่ย์จำนวน  1  ทะนาน  จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนมิว่าจะเป็นทาส  เป็นไท  ชาย  หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่  และท่านได้สั่งใช้เรื่องดังกล่าวนี้ให้ทุกคนปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ ผู้คนทั้งหลายจะออกไปสู่การละหมาด(อีดุลฟิฏรีย์)”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

           สำหรับบุคคลที่ลำบาก  เขาไม่ต้องจ่ายฟิฏเราะฮฺโดยปราศจากทัศนะใดๆที่ขัดแย้ง  ส่วนกรณีผู้ที่มีอาหารเพียงน้อยนิด คือมีแค่อาหารที่เขาเก็บไว้ใช้บริโภคสำหรับคืนก่อนวันอีดและวันอีด เช่นหากมีข้าวสารจำนวนเท่ากับจำนวน  1  ศออ์ขึ้นไป  ย่อมถือว่าผู้นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจ่ายได้  แต่หากเขาไม่มีข้าวสารหรืออาหารใดๆเลยในเวลาดังกล่าวนั้นถือว่าเขาคือผู้ ลำบาก  และไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตในขณะนั้น  เพราะไม่ครบเงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตคือครบจำนวนนิศอบของซะกาต  นี้คือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่(ญุมหูร)ซึ่งมีเพียงนักวิชาการสายมัซ ฮับหะนะฟีย์เท่านั้นที่เห็นต่างออกไป

           สรุป คือ บรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่ถือว่าหากบุคคลใดมีอาหารหรือข้าวสารไม่ครบนิศอบ(คือ 1 ศออ์ขึ้นไป) ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ  ในที่นี้รวมถึงทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก็ไม่ต้องจ่าย  แต่หากผู้ปกครองสมัครใจจะจ่ายให้ย่อมถือเป็นซุนนะฮฺ เนื่องจากมีปรากฏการกระทำของท่านอุษมาน  บินอัฟฟาน ซึ่งตรงกับทัศนะของบรรดานักวิชาการสายมัซฮับหัมบะลีย์

           สำหรับคนใช้มิว่าเพศหญิงหรือชาย ที่ถูกจ้างวานให้ทำงานโดยมีค่าตอบแทนเป็นรายวัน หรือรายเดือนก็ตาม  กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบการจ่ายซะกาต เพราะถือเป็นผู้มีอาชีพรับจ้าง ซึ่งต้องรับผิดชอบตัวเอง  แต่หากนายจ้างใจบุญประสงค์จะจ่ายซะกาตแทนให้ ก็กระทำได้แต่จำเป็นต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างรับทราบด้วย เพราะการจ่ายซะกาตถือเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง  การกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นการแสดงถึงความเมตตาต่อลูกจ้างนับเป็นการกุศลที่ผู้ กระทำย่อมได้รับการตอบแทนความดีอย่างแน่นอน

อัตราของซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ซะกาตฟิตเราะห์)

           อัตราซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือ 1 ศออ์(ทะนาน)จากชนิดอาหารหลักที่ใช้บริโภคในประเทศ จำนวน 1 ศออ์ ของท่านนบี ศ็อลฯ เท่ากับ  4   มุด (หรือ  4  กอบมือขนาดปานกลาง) นักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.5 กิโลกรัม และบางท่านก็เทียบเท่ากับ 3 กิโลกรัม

           ทั้งนี้จากรายของท่านอิบนุอุมัร จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺว่า : ท่านเราะซูล จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ ได้ กำหนดซะกาตฟิฏเราะฮฺเท่ากับผลอินทผลัม  1  ศออ์ หรือข้าวบาเล่ย์   1  ศออ์ บังคับสำหรับมุสลิมทั้งที่เป็นทาสและเป็นไท  ชาย-หญิง หรือเด็กและผู้ใหญ่  โดยท่านได้สั่งให้ปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนจะเดินทางออกไปละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

สามารถจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ซะกาตฟิตเราะห์) ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่?

           มัซฮับชาฟิอีย์เห็นว่าไม่อนุญาติให้จ่ายเป็นอย่างอื่นนอกจากอาหาร  ซึ่งใช้บริโภคประจำวันในประเทศเท่านั้น

 มัซฮับมาลิกีย์เห็นตรงกับมัซฮับชาฟิอีย์เช่นกัน คือ ให้จ่ายได้เป็นอาหารเท่านั้น

          สำหรับนักวิชาการในสายมัซฮับหัมบะลีย์  เช่นอิบนุกุดามะฮฺกล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-มุฆ์นีย์” ว่า “หาก ผู้ใดสามารถจ่ายเป็นผลอิมทผลัม  ผลองุ่นแห้ง   ข้าวสาลี   ข้าวบาเล่ย์หรือเนยแข็งได้ แต่ใช้สิ่งอื่นแทน การกระทำเช่นนั้นย่อมไม่ถูกอนุญาติ”

 กล่าวอีกว่า “สำหรับเราแล้ว คือตามที่ท่านนบี จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺได้ กำหนดเป็นทานฟิฏเราะฮฺด้วยชนิด(อาหาร)ที่เจาะจงเฉพาะ  มิอาจเทียบเป็นสิ่งอื่นได้ รวมทั้งการออกเป็นราคาอาหารก็เช่นกัน เพราะการที่เอ่ยถึงชนิดอาหาร หลังจากกล่าวถึงบทบัญญัติ เท่ากับเป็นการอธิบายได้อย่างดีถึงสิ่งที่พึงปฏิบัติ”

           สำหรับทัศนะที่แตกต่างไปจากนี้ เช่นท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (เราะหิมะฮุลลอฮฺ) ถือว่าสามารถเทียบค่าของอาหาร(ซะกาตฟิฏเราะฮฺ)นั้นและจ่ายเป็นตัวเงินได้  ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าหากเป็นผลประโยชน์สำหรับบรรดาคนยากจนเอง  ดังปรากฏในตำราของท่าน คือ “อัล-ฟะตาวา อัลกุบรอ”

 ส่วนทัศนะของมัซฮับหะนาฟียะฮฺ ถือว่า สามารถจ่ายเป็นเงินได้ในทุกกรณี

เวลา และสถานที่จ่ายซะกาตฟิฎเราะฮฺ

           คือให้จ่ายในช่วงเวลาก่อนการละหมาดอีด  สำหรับอุละมาอ์สายมัซฮับมาลิกียะฮฺ และหะนาบีละฮฺอนุญาติให้จ่ายล่วงหน้าก่อนวันอีดสัก  2-3 วันได้

           ส่วนอุละมาอ์สายชาฟิอียะฮฺมีทัศนะว่าสามารถจ่ายได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนรอมฏอน  แต่ที่ดีที่สุดควรจ่ายก่อนการละหมาดอีด

           เช่นกันตามทัศนะของอุละมาอ์สานหะนาฟียะฮฺ อนุญาติให้จ่ายในเวลาก่อนเดือนรอมฏอนได้  ดังนั้นหากใครไม่จ่ายกระทั่งเวลาล่วงเลยจนหมดรอมฏอนไปแล้ว ถือว่าบุคคลนั้นยังมีภาระและบาปติดค้างคาอยู่กับตัวที่เขาจำเป็นต้องสะสาง  คือหากชดใช้เมื่อความผิดบาปก็หมดไปเมื่อนั้น

           สำหรับเรื่องสถานที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้น  มีปรากฏในตำรา “อัล-มุเดาวะนะฮฺ” ถามว่า หากบุคคลผู้นั้นเป็นชาวแอฟริกา และเขาเดินทางมายังประเทศอียิปต์ในช่วงที่ต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺพอดี  เขาจะต้องจ่ายซะกาตที่ไหน ? อิม่ามมาลิกตอบว่า “เขาอยู่ที่ไหน ก็ให้จ่ายที่นั้น  แต่หากครอบครัวของเขาที่แอฟริกาจะจ่ายแทนให้แก่เขา  ก็ถือว่าสามารถทำได้”

           เช่นกันท่านอิบนุกุดามะฮฺ (เราะหิมะฮุลลอฮฺ)ให้ทัศนะว่า ในกรณีของซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้นจำเป็นต้องแจกจ่ายไปในประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่ เท่านั้น  ไม่ว่าสมบัติของเขาจะมีอยู่ในประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม”

           ซึ่งทัศนะที่หนักแน่นที่สุดของอุละมาอ์สานชาฟิอียะฮฺ  คือซะกาต(ฟิฏเราะฮฺ)มิสามารถเคลื่อนย้าย(ไปจ่ายในอีกท้องที่หนึ่งได้)  ส่วนทัศนะรองถือว่าอนุญาติทำได้ทั้งนี้เพื่อให้ถึงแก่บรรดาคนยากจน(ฟุกอ รออ์)เป็นสำคัญตามที่ปรากฏในอายะฮฺ  ซึ่งเป็นทัศนะของบรรดาอุละมาอ์มากมายหลายท่านด้วยกัน เช่นคำกล่าวของท่านอัร-รูยานีย์ในหนังสือ “อัล-บะห์รุ” ว่า  : อนุญาติให้เคลื่อนย้ายได้แน่นอน  สำหรับบุคคลที่ประสงค์จะจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺของเขาให้แก่ญาติซึ่งอยู่ต่าง ถิ่น  ทั้งที่ในประเทศที่เขาอาศัยอยู่นั้นก็มีคนยากจนอยู่  โดยมีเงื่อนไขว่าประเทศที่เขาอาศัยอยู่ขณะนั้นต้องไม่เดือดร้อนหรือจำ เป็น(ต่อซะกาต)มากกว่า  แต่หากความจำเป็นเท่าๆกันระหว่างญาติของเขากับคนยากจนในท้องที่นั้น  ก็ให้เขาแบ่งครึ่งและแจกจ่ายไปทั้งสองฝ่ายนั้นได้ – อัลลอฮุอะอ์ลัม .

           บรรดาอุละมาอ์สายหะนาฟียะฮฺกล่าวว่า : อนุญาติให้ปฏิบัติได้หากประเทศที่เขาส่งซะกาตไปนั้นมีความจำเป็นมากกว่า  โดยเฉพาะในประเทศดังกล่าวนั้นมีญาติอาศัยอยู่ และญาติก็มีฐานะลำบากด้วย

 แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าซะกาตนั้นจะต้องถึงไปยังคนยากจนก่อนเวลาละหมาดเป็นสำคัญ

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ซะกาตฟิตเราะห์)

          ซะกาตฟิฏเราะฮฺสามารถแจกจ่ายไปให้แก่บุคคลทั้ง  8  ประเภทเช่นเดียวกับในกรณีของซะกาตุลมาล  นี้คือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่(ญุมหูร)

           ขณะที่อุละมาอ์สายมาลิกียะฮฺมีทัศนะตามสายรายงานของอิม่ามอะห์มัด คือการแจกจ่ายซะกาตเจาะจงเฉพาะบุคคลที่ยากจน(ฟุเกาะรออ์)และขัดสน(มะซากีน)

           ส่วนอิม่ามอัช-ชาฟิอีย์เห็นว่า ซะกาตฟิฏเราะฮฺสามารถแจกจ่ายให้แก่บุคคลประเภทต่างๆเหมือนเช่นซะกาตุลมา ลนั้นได้  และไม่อนุญาตแก่บุคคลประเภทอื่น

           ท่านอิม่ามมาลิกกล่าวว่า ไม่มีข้อห้ามอันใดที่บุคลลหนึ่งๆจะมอบซะกาตของตัวเอง และซะกาตของครอบครัวของเขาให้แก่คนยากจนคนเดียวกัน

           และมีระบุว่าอิม่ามอะหมัดอนุญาติให้แจกจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺจำนวนศออ์หนึ่งให้ แก่บุคคลหลายคน หรือจะจ่ายฟิฏเราะฮฺจำนวนหลายศออ์ให้แก่บุคคลคนเดียวก็ได้

 สำหรับบุคคลที่มิพึงได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺมี  5  ประเภทด้วยกัน คือ

     1. คนร่ำรวย หรือบุคคลที่ไม่มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับเงิน หรือการทำงานหาปัจจัยใดๆอีกแล้ว  เนื่องปรากฏหะดีษหนึ่งที่ท่านนบี จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ กล่าวว่า "การบริจาคทานมิอาจให้แก่คนร่ำรวย และบุคคลที่มีความเข้มแข็งสมบูรณ์อยู่แล้ว” (หะดีษหะซัน บันทึกโดยอะหมัด  อบูดาวุด  อัต-ติรมิซีย์ และอัด-ดารอมีย์)

     2. ทาส หรือทาสี เนื่องเขาอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของผู้เป็นนายอยู่แล้ว และสภาพของตัวเขาเองก็มิอาจถือครองทรัพย์สินใดๆได้ด้วย

     3. บุคคลในตระกูลบนูฮาชิม หรือบนูอัล-มุฏเฏาะลิบ  เนื่องคำกล่าวของท่านนบี จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงทานบริจาค(เศาะดะเกาะฮฺ)ไม่สมควรได้แก่ลูกหลานของมุฮัมมัด  เพราะแท้จริงแล้วมันคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องด่างพร้อย” (บันทึกโดยมุสลิม)

     4. บุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้เลี้ยงดูของผู้จ่ายซะกาต  หมายถึงเขาจะจ่ายซะกาตนั้นให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครองในนามของคนยากจน(ฟุ เกาะรออ์)หรือคนขัดสน(มิสกีน)มิได้

     5. บุคคลผู้ปฏิเสธ(หรือกาฟิร) เนื่องหะดีษหนึ่งท่านนบี จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ด้วยเงินแทนอาหารได้หรือไม่ และใครมีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ กล่าวว่า

“...ดัง นั้นพึงบอกให้พวกเขาทราบเถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้พวกเขาบริจาคประเภทหนึ่ง  ซึ่งรับมาจากบรรดาผู้ร่ำรวยของพวกเขา เพื่อแจกจ่ายในระหว่างบรรดาคนยากจนของพวกเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

www.islammore.com

อัพเดทล่าสุด