ไม้ตุก๊ะ ที่มาที่ไปของการถือไม้ตุก๊ะของคอเต็บเวลาขึ้นคุตบะห์ และจำเป็นต้องถือหรือเปล่า


11 ผู้ชม

ไม้ตุก๊ะ ที่มาที่ไปของการถือไม้ตุก๊ะของคอเต็บเวลาขึ้นคุตบะห์ และจำเป็นต้องถือหรือเปล่า


 คำว่า ตุงกัต (توڠكت) ที่เราเรียกกันว่า ตุก๊ะ นั้นหมายถึง ไม้เท้านั่นเอง อิบนุ อัล-กอยยิมฺ กล่าวว่า : “แท้จริงท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) นั้นในการคุฏบะฮฺวันศุกร์ท่านไม่เคยใช้มือของท่านจับดาบหรือสิ่งอื่น อันที่จริงท่านนบีเคยใช้คันธนูและไม้เท้าค้ำยืนก่อนที่ท่านจะมีมิมบัรฺ และปรากฏว่าในยามสงครามท่านเคยใช้คันธนูค้ำยืนและในวันศุกร์ท่านจะใช้ไม้เท้าค้ำยืน...” (ซาดุลมะอาด เล่มที่ 1 หน้า 117)

บทความที่น่าสนใจ


และปรากฏใน ชัรหฺ อัซซัรฺกอนียฺ อะลัล มะวาฮิบ อัล-ละดุนนียะฮฺ เล่มที่ 7/384 ว่าท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) เคยแสดงคุฏบะฮฺโดยใช้คันธนูค้ำยืนบางครั้งหรือไม้เท้าในบางครั้ง” และใน สุนัน อบีดาวูด ระบุว่า : ปรากฎว่าเมื่อนบียืนแสดงคุฏบะฮฺ ท่านก็เอาไม้เท้าค้ำยืน โดยที่ท่านอยู่บนมิมบัร (อ้างจาก อะหฺสะนุ้ลกะลามฯ เล่มที่ 19 หน้า 498)

ไม้ตุก๊ะ ที่มาที่ไปของการถือไม้ตุก๊ะของคอเต็บเวลาขึ้นคุตบะห์ และจำเป็นต้องถือหรือเปล่า


นักวิชาการสังกัดมัซฮับ อัช-ชาฟิอียฺ ระบุว่า มีสุนนะฮฺให้เคาะฏีบฺใช้คันธนูหรือดาบหรือไม้เท้าหรืออะไรทำนองนั้น อัล-กอฎีย์ หุสัยนฺ และอัล-บะเฆาะวียฺ กล่าวว่า : “ส่งเสริมให้เคาะฏีบจับไม้เท้าในมือซ้าย แต่ปวงปราชญ์ไม่ได้ระบุว่าให้ใช้มือไหนจับในการแสดงคุฏบะฮฺ”

และอัศหาบุชชาฟิอียะฮฺกล่าวว่า : “ส่งเสริมให้เคาะฏีบใช้มืออีกข้างหนึ่งวางลงบนขอบของมิมบัร ถ้าหากไม่มีไม้เท้าก็ให้มืออยู่นิ่งๆ ด้วยการวางมือขวาบนมือซ้าย หรือปล่อยมือทั้งสองข้างและไม่คลื่อนไหวมือทั้งสองตลอดจนการใช้มือข้างหนึ่งข้างใดชี้โบ้ชี้เบ้จนขาดความคุชัวอฺ” (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ เล่มที่ 4 หน้า 399)


จึงสรุปได้ว่าการใช้ไม้ตุก๊ะของเคาะฏีบขณะแสดงคุฏบะฮฺวันศุกร์นั้นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะหับ) เพราะท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) เคยทำ แต่ไม่เป็นวาญิบสำหรับเคาะฏีบในการใช้ไม้ตุก๊ะ กล่าวคือ จะถือไม้ตุก๊ะหรือไม่ถือก็ได้ให้ดูความเหมาะสมและสภาพของเคาะฏีบเอง เพราะการใช้ไม้ตุก๊ะไม่เกี่ยวข้องกับรุก่นของการแสดงคุฏบะฮฺแต่อย่างใด

อัพเดทล่าสุด