ดุอาอฺถือศีลอดเดือนรอมฎอน อัลฮัมดุลิลลาห์ ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ให้เราได้พบกับเดือนรอมฎอน เดือนแห่งความประเสริฐ...
ดุอาอฺถือศีลอดเดือนรอมฎอน
อัลฮัมดุลิลลาห์ ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ให้เราได้พบกับเดือนรอมฎอน เดือนแห่งความประเสริฐ เมื่อมีผู้ยืนยันว่า เห็นเดือนรอมฎอน (ฮิลาล) สำนักจุฬาราชมนตรียอมรับและประกาศว่าพรุ่งนี้ คือ เดือนรอมฎอน นั้นหมายความว่า พรุ่งนี้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะต้องถือศีลอดทุกคน
- คืนแรกของเดือนรอมฎอน มุสลิมควรเตรียมและทำสิ่งสำคัญอะไรบ้าง
- รวมบทดุอาอฺในเดือนรอมฎอน ที่มุสลิมจำเป็นต้องใช้
ดุอาอฺถือศีลอดเดือนรอมฎอน คำเนียตถือศีลอด มี 2 แบบ (ให้เนียตในเวลากลางคืน ก่อนแสงอรุณขึ้น)
แบบที่ 1 : คำเนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือน แนะนำให้เนียตทั้งเดือนในคืนแรกกันลืม
เนียตว่า " ข้าพเจ้าถือศีลอด ทั้งเดือนรอมฎอน เพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา"
แบบที่ 2 : คำเนียตถือศีลอดทุกวัน
เนียตว่า " ข้าพเจ้าถือศีลอด ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎู เดือนรอมฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา "
อ่านว่า : “นะวัยตุเชาม่าฆ่อดิน อันอ่าดาอิ ฟัรดิ ร่อมาฎอนน่า ฮาซิฮิสซ่าน่ะติ ลิ้ลลาฮิตาอาลา”
เนียตว่า “ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา”
ดุอาอฺละศีลอด
คำอ่าน: “อัลลอฮุมม่า ละกะซุมตุ วะบิกาอามันตุ, วะอะลาริซกิก้า อัฟตอรตุ ,บิเราะห์ มะตีก้า ญาอัรฮะมรรอฮิมีน”
ความหมาย: “โอ้อัลลอฮ์ ฉันถือศีลอดเพื่อพระองค์ ฉันศรัทธาต่อพระองค์ท่าน และฉันละศีลอด ด้วยริสกีของพระองค์ ด้วยความเมตตาของพระองค์ท่าน โอ้ผู้ทรงเมตตายิ่ง”
เดือนรอมฎอน คือ เดือนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอ่านให้เป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคนพึงยึดถือปฏิบัติไว้ให้มั่น ชาวมุสลิมจึงยึดถือว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีความประเสริฐ การปฏิบัติศาสนพิธีและท่องคำภีร์อัลกุรอ่านในเดือนรอมฎอนนี้จึงปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษ
การถือศีลอดต้องตั้งเจตนาว่า “ข้าพเจ้าตั้งใจถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา” ในการถือศีลอดทุกๆ คืน ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า และต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
ข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอด
1. รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา
2. ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านอัลกุรอ่าน
3. เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ควรทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก
4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร
5. รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก
6. เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
7. ไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ (การละหมาดในเดือนรอมฏอน) ทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ
8. แบ่งปันอาหารให้ผู้ที่ถือศีลอด
9. พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ
10. ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน
ข้อห้ามขณะถือศีลอด
1. ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2. ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3. ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4. ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา
ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม