ชิมอาหาร เสียศีลอดไหม?
ชิมอาหาร เสียศีลอดไหม?
ตอบโดย: อ.อาลี กองเป็ง
การชิมอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ทำไห้เสียบวช
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า ไม่เป็นไรหรอก ที่คนหนึ่งจะชิมรสชาติอาหาร และอาหารที่เขาต้องการซื้อ
ท่านหะซันเคี้ยวลูกนัทไห้ลูกท่านทาน ในขณะซึ่งท่านบวช ตราบใดการชิมแกงหรืออาหาร ไม่เข้าสู่ลำคอ งั้นขณะเราทำอาหารอาจมีกลิ่นหอม เราอาจดมหรือสูดเข้าจะมูกก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามแก่ผู้ถือศีลอด เฉกเช่นเดียวกันพ่อครัวหรือแม่ครัวทำอาหารสะฮูรหรืออาหารเพื่อละศีลอดก็ไม่เสียหากไม่เข้าสู่ลำคอ
ข้อควรระวัง
เมื่อชิมรสชาติแล้ว ต้องสลายรสอาหารโดยการบ้วนทิ้งแล้วบ้วนปากไห้สอาด มิฉะนั้นหากเรากลืนน้ำลายพร้อมรสชาติของอาหารเข้าสู่ในลำคอ เท่ากับเรานำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไปข้างใน ซึ่งเป็นข้อห้ามในการถือศีลอด
สิ่งที่ทำให้เสียการถือศีลอด
1. การกินการดื่มโดยเจตนา
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْر
ِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ
ความว่า “และพวกเจ้าจงกินจงดื่มจนกระทั่งเส้นด้ายขาว (แสงเงิน) เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นด้ายดำ (แสงทอง) เมื่อยามรุ่งอรุณ แล้วจงถือศีลอดให้ครบสมบูรณ์จนถึงพลบค่ำ …” (2/187)
คือ การถือศีลอดจากการกินการดื่ม ดังนั้นเมื่อผู้ถือศีลอดกินและดื่มในเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน แน่นอน การถือศีลอดของเขาก็จะใช้ไม่ได้และเจาะจงการกระทำเช่นนั้นด้วยการมีเจตนา เพราะผู้ถือศีลอดนั้น เมื่อการกระทำโดยการหลงลืมหรือโดยทำผิดหรือโดยการถูกบังคับก็ไม่เป็นอะไรแก่เขา ดังมีหลักฐานต่อไปนี้
ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( إِذَا نَسِيَ فَأَكَلَ أَوْ شَرِبَ فَلْيُتِمَّ صَوْمَهُ ، فَإِنَّمَا أَطْعَمَهُ اللهُ وَسَقَاهُ )
رواه البخاري ومسلم
ความว่า “เมื่อเขาลืมแล้วเขาได้กินและดื่มก็จงให้การถือศีลอดของเขาดำเนินต่อไป เพราะแน่แท้อัลลอฮฺได้ให้อาหารแก่เขาและให้น้ำดื่มแก่เขา” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม
และท่านนะบีได้กล่าวอีกว่า
( إِنَّ اللهَ وَضَعَ عَنْ أُمَّتِيْ الْخَطَأَ وَالنِّسْيَانَ وَمَا اسْتُكْرِهُوْا عَلَيْهِ )
أخرجه الطحاوي والحاكم والدارقطني وسنده صحيح
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เอาโทษจากประชาชาติของฉันในความผิดพลาด การหลงลืมและการถูกบังคับ” บันทึกโดย : อัฎฎ่อฮาวีย์ อัลฮากิม และอัดดารุกุฎนีย์และเป็นสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ
2. การอาเจียนโดยตั้งใจ
เพราะผู้ที่อาเจียนออกมาเองไม่เป็นอะไรแก่เขา ท่านนะบีกล่าวว่า
(مَنْ ذَرَعَهُ القَّيْءُ فَلَيْسَ عَلَيْهِ قَضَاءٌ ، وَمَنْ اسْتَقَاءَ فَلْيَقْضِ )
رواه أحمد وأبوداود والترمذي وصحح إسناده شيخ الإسلام ابن تيمية
ความว่า “ผู้ใดที่อาเจียนออกมาเองไม่จำเป็นต้องถือศีลอดใช้ และผู้ใดที่ตั้งใจให้อาเจียนออกมาจะต้องถือศีลอดใช้” บันทึกโดย : อะบูดาวู๊ด อัตติรมีซีย์ และอะหมัด และว่าเป็นสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ
3. การมีประจำเดือนและการมีเลือดหลังคลอดบุตร
เมื่อสตรีมีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังคลอดบุตรในส่วนหนึ่งของเวลากลางวัน ถึงแม้ว่าจะปรากฎขึ้นในช่วงต้นหรือช่วงสุดท้ายของเวลากลางวัน เธอจะต้องแก้ศีลอดและถือศีลอดใช้ในวันอื่น หากเธอถือศีลอดในวันนั้นก็จะใช้ไม่ได้
ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
( أَلَيْسَ إِذَا حَاضَتْ لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ ؟ قُلْنَ : بَلَى ، قَالَ : فَذَلِكَ نُقْصَانُ دِيْنِهَا )
وفي رواية : ( تَمْكُثُ الَّليَالِي مَا تُصَلِّيْ ، وَتُفْطِرُ فِي رَمَضَانَ ، فَهَذَانُقْصَانُ دِيْنِهَا )
رواه مسلم عن ابن عمروعن أبي هريرة
ความว่า “เมื่อพวกเธอมีประจำเดือนพวกเธอมิได้ละหมาดและมิได้ถือศีลอดมิใช่หรือ ? พวกเธอตอบว่าถูกต้องค่ะ ท่านนะบีกล่าวต่อไปว่า นั่นแหละการมีศาสนาของพวกเธอลดน้อยลง” และอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “พวกเธอรอคอยอยู่หลายคืนไม่ทำละหมาดและไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และนี่คือการมีศาสนาของพวกเธอลดน้อยลง” บันทึกโดย : มุสลิม จากรายงานของอิบนอุมัร และอะบีฮุรอยเราะฮฺ
มีคำสั่งให้ชดใช้การถือศีลอดในรายงานหะดีษจากมุอาซะฮฺ กล่าวว่า “ฉันได้ถามท่านหญิงอาอิชะฮฺ ว่า ทำไมหญิงที่มีประจำเดือนจึงถือศีลอดใช้และไม่ละหมาดใช้ ? ท่านหญิงย้อนถามว่า เธอเป็นชาวฮะรูรียะฮฺหรือ ? เธอตอบว่า ฉันมิได้เป็นชาวฮะรูรียะฮฺ แต่ฉันขอถามเช่นนั้น ท่านหญิงตอบว่า เราเคยประสบมาเช่นนั้น และเราถูกใช้ให้ถือศีลอดใช้ แต่เราไม่ถูกใช้ให้ละหมาดใช้” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม
4. การฉีดยาบำรุงกำลัง
คือ การนำส่วนประกอบของอาหารบางประเภทเข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยมีความมุ่งหมายเพื่อบำรุงกำลังคนป่วย บางคนการกระทำชนิดนี้ทำให้เสียการถือศีลอดเพราะเป็นการนำอาหารเข้าไปในร่างกาย ส่วนเมื่อมีการฉีดยาบำรุงกำลังเข้าไปในเส้นเลือด โดยมิได้ฉีดเข้าไปในกระเพาะอาหารก็เสียศีลอดเช่นเดียวกัน เพราะมันได้ทำหน้าที่แทนอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนมากของผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวเป็นเวลานานจะมีการให้อาหารโดยการฉีดคลูโคสและน้ำเกลือ
5. การร่วมประเวณี
อัชเชากานีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัดดะรอรีย์ อัลมุฎีย์ยะฮฺ” (2/22) ว่า การร่วมประเวณีนั้นได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่าทำให้เสียศีลอด ถ้าหากเกิดขึ้นโดยเจตนา แต่ถ้าเกิดขึ้นโดยการหลงลืม นักวิชาการบางคนเห็นว่าควรจัดอยู่ในจำพวกที่กินและดื่มโดยการหลงลืม
อิบนุลก็อยยิม ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ซาดุลมะอ๊าด” (2/60) ว่า อัลกุรอานได้ชี้แนวไว้ว่า การร่วมประเวณีทำให้เสียศีลอดเหมือนกับการกินการดื่ม ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเห็นพ้องต้องกัน
หลักฐานในการนี้ปรากฎในอัลกุรอานในอายะฮฺที่ว่า
ความว่า “บัดนี้จงสมสู่นางได้แล้วและจงแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติแก่พวกเจ้า”
คือได้ทรงอนุญาตให้มีการสมสู่กัน ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจจากหลักฐานนี้ว่าเป็นการถือศีลอดจากการร่วมประเวณีและการกินและการดื่ม ด้วยเหตุนี้ผู้ใดที่ทำให้การถือศีลอดของเขาเสียด้วยการร่วมประเวณี เขาจะต้องถือศีลอดใช้และเสียค่าไถ่บาป (กั้ฟฟาเร๊าะฮฺ)
หลักฐานดังกล่าวก็คือ มีรายงานของอะบูฮุรอยเราะฮฺ จากท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
“มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี และกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันเสียหายหมดแล้ว ท่านนะบีถามว่า อะไรที่ทำให้ท่านเสียหาย ? เขาตอบว่า ฉันได้ร่วมประเวณีกับภริยาของฉันในเดือนรอมฎอน ท่านนะบีได้ถามเขาต่อไปว่า ท่านมีความสามารถที่จะปล่อยทาสไหม ? เขาตอบว่า ไม่ครับ ! ท่านนะบีถามอีกว่าท่านมีความสามารถที่จะให้อาหารแก่คนมิสกีน 60 คนไหม ? เขาตอบว่า ไม่ครับ ! ท่านนะบีจึงบอกแก่เขาว่าจงนั่งอยู่ที่นี่แล้วเขาก็นั่งลง แล้วท่านนะบี ได้เข้าไปเอาถุงหนึ่ง มีอินทผลัมเต็มถุง แล้วพูดขึ้นว่า เอาไปทำศ่อดะเกาะฮฺ เขาจึงพูดว่าระหว่างภูเขาสองลูกสีดำนี้มีใครยากจนมากกว่าฉันหรือ ? ท่านนะบีจึงหัวเราะจนกระทั่งมองเห็นเขี้ยวของท่าน ท่านนะบีได้กล่าวว่าเอาไปเถอะ แล้วเอาไปให้ครอบครัวของท่านกินกัน“
บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม และคนอื่นๆ