การถือศีลอด เป็นหลักข้อ 4 ของอิสลามที่มุสลิมต้องปฏิบัติ การถือศีลอด คือ การงดเว้นการกิน....
การถือศีลอดของชาวมุสลิมมีผลสําคัญอย่างไร ประโยชน์การถือศีลอด รู้แล้วอึ้ง!
การถือศีลอด เป็นหลักข้อ 4 ของอิสลามที่มุสลิมต้องปฏิบัติ การถือศีลอด คือ การงดเว้นการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า บัญญัติใช้แก่ผู้ที่มีความสามารคทั้งชายและหญิง
อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ในซูเราะห์ อัลบะเกาะเราะห์ อายะห์ที่ 183 ว่า :
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
ความว่า: บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
ท่านร่อซูลได้กล่าวถึงการถือศีลอดไว้มีความว่า :
"ผู้ใดละทิ้งการถือศีลอดในวันหนึ่งเดือนรอมฎอน โดยไม่ได้รับการผ่อนผันและมิได้เจ็บป่วย การถือศีลอดตลอด (ชีวิต) ของเขาก็ไม่อาจจะใช้ได้หมด ถึงแม้ว่าเขาจะถือศีลอดก็ตาม"
สำหรับบุคคลที่ละทิ้งการถือศีลอดโดยไม่มีเหตุที่เป็นอุปสรรค เช่น การเดินทาง หรือ ประสบกับโรคร้าย ความเจ็บป่วยต่างๆ ถ้าไม่ถือศีลอดเลยนั้นเขาไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ เพราะเวลาของอิบาดะห์ได้หมดไปแล้ว จำเป็นแก่เขาต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮ ทำการสำนึกผิดต่อความผิดของตัวเองที่ผ่านมา และประกอบการงานที่ดีให้มาก เพราะความผิดทุกอย่างอัลลอฮฺ พร้อมที่จะอภัยโทษให้บ่าวของพระองค์เสมอ เมื่อบ่าวของพระองค์สำนึกผิดและเลิกจากการกระทำสิ่งที่ฝ่าฝืนต่อพระองค์ ด้วยความจริงใจ
- สิ่งแรกที่ต้องเตรียมเพื่อรอมฎอน
- 30 ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน
- การมีเพศสัมพันธ์ เดือนรอมฎอนตอนกลางวัน
ประโยชน์ของการถือศีลอด
มีอายะห์มากหลายในอัลกุรอานได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการถือศีลอด เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺตะอาลา และได้ชี้แจงถึงคุณประโยชน์อันมากมายของการถือศีลอด เช่น ในคำตรัสของพระองค์ในอายะฮฺที่ 35 ของซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ ที่ว่า
إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِوَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَكَثِيراً وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْراً عَظِيماً ﴿٣٥﴾
ความว่า “แท้ จริงบรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิงบรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้วซึ่งการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (33:35)
และคำตรัสของพระองค์ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺในอายะฮฺที่ 184 ว่า
وَأَن تَصُومُواْ خَيْرٌ لَّكُمْ إِن كُنتُمْ تَعْلَمُونَ ﴿١٨٤﴾
ความว่า “และการถือศีลอดของพวกเจ้าเป็นการดียิ่งแก่พวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้” (2:184)
ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวยืนยันไว้อย่างหนักแน่นว่า การถือศีลอดเป็นสิ่งคุ้มกันให้พ้นจากตัณหาและความใคร่ และเป็นโล่ห์ป้องกันให้พ้นจากไฟนรก และอัลลอฮฺตะอาลาทรงจัดประตูสวรรค์ไว้เป็นการเฉพาะสำหรับผู้ถือศีลอด เพราะเขาหักห้ามจิตใจให้ห่างไกลจากตัณหาและความใคร่ และยับยั้งมิให้ประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นความชั่วและความเลวทรามซึ่งเคย ปฏิบัติเป็นประจำ ดังนั้นการถือศีลอดจะทำให้จิตใจเงียบสงบ และนี่คือการตอบแทนอันสมบูรณ์และผลประโยชน์อันมากมาย ซึ่งอัลอะฮาดีสที่ศ่อเฮี้ยะฮฺได้แจกแจงไว้อย่างชัดเจน
1. การถือศีลอดเป็นเกราะคุ้มกัน
ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้ผู้ที่มีความใคร่รุนแรงแต่ไม่มีความสามารถที่จะทำการสมรสได้ให้ถือศีล อด เพราะจะทำให้มันหักห้ามความใคร่อันนี้ได้ และเป็นการระงับยับยั้งพลังของอวัยวะต่างๆ ให้เฉื่อยชาลง เป็นที่ยืนยันว่าการถือศีลอดนั้นมีผลเป็นที่น่าประหลาดต่อการรักษาอวัยวะ ส่วนต่างๆ ภายนอกและพลังภายใน
ดังกล่าวนี้ทั้งหมด ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้กล่าวไว้ว่า
( يَا مَعْشَرَ الشَّبَابِ مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمُ البَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ ،
فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ ، وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ فَإِنَّهُ لُهُ وِجّاءٌ )
رواه البخاري ومسلم عن ابن مسعود
ความว่า “โอ้ บรรดาเยาวชนทั้งหลาย ผู้ใดในหมู่พวกท่านที่มีความสามารถก็จงแต่งงานเสีย เพราะมันจะทำให้สายตาลดต่ำลง และเป็นการป้องกันอวัยวะเพศ (มิให้ล่วงประเวณี) และผู้ใดไม่มีความสามารถก็ให้เขาถือศีลอด เพราะมันจะเป็นเกราะคุ้มกันให้แก่เขา” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม และรายงานจากอิบนุมัสอู๊ด
ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ชี้แจงไว้ว่า แท้จริงสวรรค์นั้นถูกห้อมล้อมไว้ด้วยสิ่งที่น่าเกลียดชัง และแท้จริงนรกนั้นถูกห้อมล้อมไว้ด้วยตัณหาและความใคร่ และเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการถือศีลอดนั้นจะขจัดตัณหา และความใคร่ให้เบาบางลงได้ และไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าการถือศีลอดนั้นเป็นการปิดกั้นระหว่างผู้ถือศีลอด กับไฟนรก ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีอัลอะฮาดีสยืนยันรับรองว่าการถือศีลอดนั้นเป็นการ ป้องกันให้พ้นจากไฟนรก และเป็นเกราะคุ้มกันที่บ่าวจะใช้ปกป้องจากไฟนรก
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
( مَا مِنْ عَبْدٍ يَصُوْمُ يَوْمَاً فِيْ سَبِيْلَ اللهِ إِلا بَاعَدَ اللهُ بِذَلِكَ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفَاً )
رواه البخاري ومسلم عن أبي سعيد الخدري
ความว่า มีรายงานจากอะบีสะอีด อัลคุดรีย์แจ้งว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีบ่าวคนใดถือศีลอดวันหนึ่งในหนทางของอัลลอฮฺ เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกเป็นเวลาถึง 70 ปี”
ผู้ รู้บางคนมีความเห็นว่าบรรดาอัลอะฮาดีษที่ได้นำมากล่าวข้างต้น ได้ชี้แจงถึงคุณประโยชน์ของการถือศีลอดในด้านการต่อสู้ดิ้นรนในทางของอัล ลอฮฺ แต่ความจริงแล้วทุกๆ การถือศีลอดถ้าหากว่าได้กระทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อพระพักตร์ของอัล ลอฮฺตะอาลา โดยสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ชี้แจงไว้แล้วก็จะเป็นไปในหนทางของอัลลอฮฺทั้งสิ้น
2. การถือศีลอดทำให้ได้เข้าสวรรค์
เป็น ที่ทราบกันดีแล้วว่า การถือศีลอดนั้นทำให้ผู้ที่ถือศีลอดห่างไกลจากไฟนรก ดังนั้นเขาก็คงมีโอกาสได้เข้าใกล้สวรรค์อย่างแน่นอน มีรายงานจากอะบีอุมามะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ โปรดชี้แนะให้แก่ฉันถึงการกระทำชนิดหนึ่ง ที่จะทำให้ฉันได้เข้าสวรรค์ ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"عليك بالصوم فانه لامثل له "
ความว่า “ท่านจงถือศีลอดซิ เพราะไม่มีการกระทำชนิดใดเทียบเท่า” บันทึกโดย : อันนะซาอีย์ อิบนฺฮิบบาน และอัลฮากิม และว่าเป็นสายสืบที่ศ่อฮีฮฺ
3. บรรดาผู้ถือศีลอดนั้นจะได้รับค่าตอบแทนของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการคำนวณ
4. สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีเวลาดีใจสองครั้ง
5. กลิ่นปากของผู้ถือศีลอดมีกลิ่นหอม ณ ที่อัลลอฮฺมากกว่ากลิ่นหอมของชะมดเชียง
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : قال الله عز وجل: كل عمل ابن آدم له إلا الصوم فإنه لي وأنا أجزي به، والصيام جُنة فإذا كان يوم صوم أحدكم فلا يرفث ولا يصخب فإن سابه أحد أو قاتله فليقل: إني صائم إني صائم، و الذي نفس محمد بيده لخلوف فم الصائم أطيب عند الله من ريح المسك، للصائم فرحتان يفرحهما: إذا أفطر فرح بفطره وإذا لقي ربه فرح بصومه.
มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “อัล ลอฮฺตะอาลาตรัสว่า การงานทุกชนิดของมนุษย์นั้นเป็นของมนุษย์ นอกจากการถือศีลอดมันเป็นของข้า (อัลลอฮฺ) และข้าจะเป็นผู้ตอบแทนแก่เขา การถือศีลอดเป็นเกราะคุ้มกัน และเมื่อปรากฏว่าวันแห่งการถือศีลอดของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้า เขาอย่าได้พูดจาหยาบคายไร้สาระและอย่าส่งเสียงอึกทึก และถ้าหากคนหนึ่งคนใดด่าเขาหรือทำร้ายเขา ก็จงกล่าวว่าแท้จริงฉันนี้ถือศีลอด ฉันขอสาบานว่าชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงกลิ่นปากของผู้ถือศีลอดนั้นมีกลิ่นหอม ณ ที่อัลลอฮฺมากกว่ากลิ่นหอมของชะมดเชียง สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีเวลาดีใจสองครั้ง เขาจะดีใจในเวลาทั้งสองคือ เมื่อเขาแก้ศีลอดเขาจะดีใจ และเมื่อเขาพบพระเจ้าของเขา เขาจะดีใจเพราะการถือศีลอดของเขา” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม
ในบันทึกของบุคอรียฺกล่าวเสริมว่า “เขา ได้งดเว้นอาหารของเขา เครื่องดื่มของเขา และความใคร่ของเขา เพื่อเรา (อัลลอฮฺ) การถือศีลอดเป็นของข้า (อัลลอฮฺ) และข้าจะตอบแทนแก่เขา และความดีหนึ่งมีผลถึงสิบเท่าของมัน”
และในบันทึกของมุสลิม กล่าวเสริมว่า “ทุกๆ การงานของมนุษย์นั้นจะเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณ ความดีหนึ่งจะมีผลเป็นสิบเท่าถึงเจ็ดร้อยเท่าของมัน อัลลอฮฺ ตรัสว่าเว้นแต่การถือศีลอดมันเป็นของข้า (อัลลอฮฺ) และข้าจะตอบแทนแก่เขา เขางดเว้นความใคร่ของเขาและอาหารของเขาเพื่อข้า และสำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีเวลาดีใจสองครั้ง ครั้งหนึ่งขณะที่เขาแก้ศีลอด และอีกครั้งหนึ่งขณะที่เขาพบพระเจ้าของเขา และ แท้จริงกลิ่นปากของผู้ถือศีลอด ณ ที่อัลลอฮฺมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นหอมของชะมดเชียง”
6. การถือศีลอดและอัลกุรอานจะขอความช่วยเหลือให้แก่เจ้าของของมัน
عن عبدالله بن عمر رضي الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: الصيام والقرآن يشفعان للعبد يوم القيامة يقول الصيام: أي رب منعته الطعام و الشهوة فشفعني فيه: ويقول القرآن: منعته النوم بالليل فشفعني فيه قال: فيشفعان . رواه الطبراني و أحمد في الكبير
ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “การ ถือศีลอดและอัลกุรอานจะขอความช่วยเหลือให้แก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ การถือศีลอดจะพูดขึ้นว่า ใช่จ๊ะพระเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ใช้ให้เขาอดอาหารและระงับความใคร่ ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือข้าพระองค์เพื่อเขาด้วย และอัลกุรอานจะพูดขึ้นว่า ข้าพระองค์ได้ใช้ให้เขาอดนอนในเวลากลางคืน ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือข้าพระองค์เพื่อเขาด้วย พระองค์จะตรัสว่า เจ้าทั้งสองจะได้รับความช่วยเหลือ”
7. การถือศีลอดเพื่อไถ่บาปหรือไถ่โทษ (กั๊ฟฟาเราะฮฺ)
ส่วน หนึ่งจากการที่การถือศีลอดมีคุณประโยชน์เฉพาะตัวคือ อัลลอฮฺตะอาลาทรงทำให้การถือศีลอดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งจากการไถ่บาป (กั๊ฟฟาเราะฮฺ) เช่น การโกนศีรษะในขณะครองเอี๊ยะหฺรอม เพราะเจ็บป่วยหรือมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและไม่มีความสามารถในการจ่ายค่าอัล ฮัดยฺ และการฆ่าตัวประกันผิด และการสาบานเท็จ และการฆ่าสัตว์ในขณะครองเอี๊ยะหฺรอม และการเปรียบเทียบภรรยาว่าเป็นแม่ ดังกล่าวทั้งหมดนี้จะพบเห็นได้ในอายาตต่อไปนี้
وَأَتِمُّواْ الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلّهِ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ وَلاَ تَحْلِقُواْ رُؤُوسَكُمْ حَتَّى يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ فَمَن كَانَ مِنكُممَّرِيضاً أَوْ بِهِ أَذًى مِّن رَّأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِّن صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ فَإِذَا أَمِنتُمْ فَمَن تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِفَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ذَلِكَ لِمَن لَّمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِوَاتَّقُواْ اللّهَ وَاعْلَمُواْ أَنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ ﴿١٩٦﴾
ความว่า “และ พวกเจ้าจงให้การทำฮัจญฺและการทำอุมเราะฮฺครบถ้วนสมบูรณ์เพื่ออัลลอฮฺเถิด ดังนั้นหากพวกสูเจ้าถูกขัดขวางเพราะอุปสรรคก็ให้เชือดสัตว์พลีที่จะหาได้ และอย่าได้โกนศีรษะของพวกเจ้าจนกว่าสัตว์พลีนั้นจะบรรลุถึงที่ของมัน ถ้าผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลงหรือมีความเจ็บปวดที่ศีรษะของเขา ก็ให้มีการชดเชยด้วยการถือศีลอด หรือการทำทาน หรือการเชือดสัตว์ ครั้นเมื่อพวกเข้าปลอดจากการเจ็บป่วยแล้ว เขาประสงค์จะทำอุมเราะฮฺต่อเนื่องไปจนถึงเวลาทำฮัจญฺ (แบบตะมัตตั๊วะ) แล้ว ก็ให้เขาเชือดสัตว์พลีที่พอหาได้ และผู้ใดที่หาไม่ได้ก็ให้ถือศีลอดสามวันระหว่างการทำฮัจญฺและอีกเจ็ดวันเมื่อพวกเจ้ากลับถึงบ้านแล้ว นั่นคือครบสิบวัน ดังกล่าวนั้นสำหรับผู้ที่มิได้เป็นชาวมัสยิดิลหะรอม และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ” (2/196)
وَإِن كَانَ مِن قَوْمٍ بَيْنَكُمْ وَبَيْنَهُمْ مِّيثَاقٌ فَدِيَةٌ مُّسَلَّمَةٌ إِلَى أَهْلِهِ وَتَحْرِيرُ رَقَبَةٍ مُّؤْمِنَةً فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ شَهْرَيْنِ مُتَتَابِعَيْنِ تَوْبَةً مِّنَ اللّهِ وَكَانَ اللّهُ عَلِيماً حَكِيماً ﴿٩٢﴾
ความว่า “และ ถ้าเขาอยู่ในหมู่ชนที่มีพันธะสัญญาระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขาแล้ว ก็ให้มีค่าทำขวัญถูกมอบให้แก่ครอบครัวของเขา และให้มีการปล่อยทาสหญิงมุอฺมินะฮฺคนหนึ่ง ดังนั้นผู้ใดไม่พบก็ให้ถือศีลอดสองเดือนอย่างต่อเนื่อง เป็นการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (4/92)
لاَ يُؤَاخِذُكُمُ اللّهُ بِاللَّغْوِ فِي أَيْمَانِكُمْ وَلَـكِن يُؤَاخِذُكُم بِمَا عَقَّدتُّمُ الأَيْمَانَ فَكَفَّارَتُهُ إِطْعَامُ عَشَرَةِ مَسَاكِينَ مِنْ أَوْسَطِ مَا تُطْعِمُونَأَهْلِيكُمْ أَوْ كِسْوَتُهُمْ أَوْ تَحْرِيرُ رَقَبَةٍ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاَثَةِ أَيَّامٍ ذَلِكَ كَفَّارَةُ أَيْمَانِكُمْ إِذَا حَلَفْتُمْ وَاحْفَظُواْ أَيْمَانَكُمْ كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللّهُلَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ ﴿٨٩﴾
ความว่า “อัล ลอฮฺจะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกเจ้าด้วยคำพูดที่ไร้สาระในการสาบานของพวกเจ้า แต่พระองค์จะทรงเอาโทษแก่พวกเจ้าด้วยคำพูดที่พวกเจ้าปลงใจสาบาน ดังนั้นสิ่งไถ่บาปของมันก็คือการให้อาหารแก่คนยากจนสิบคน ขนาดปานกลางที่พวกเจ้าให้เป็นอาหารแก่ครอบครัวของพวกเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา หรือปล่อยทาสคนหนึ่งให้เป็นอิสระ ดังนั้นผู้ใดไม่พบ (ไม่มีความสามารถ) ก็จงถือบวชสามวัน นั่น คือการไถ่บาปในการสาบานของพวกเจ้า เมื่อพวกเจ้าได้สาบานไว้ และจงรักษาการสาบานของพวกเจ้าไว้ เช่นนั้นแหละอัลลอฮฺได้ทรงชี้แจงอายาตต่าง ๆ ของพระองค์ให้เป็นที่ชัดแจ้งแก่พวกเจ้าแล้ว เพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ” (5/89)
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَقْتُلُواْ الصَّيْدَ وَأَنتُمْ حُرُمٌ وَمَن قَتَلَهُ مِنكُم مُّتَعَمِّداً فَجَزَاء مِّثْلُ مَا قَتَلَ مِنَ النَّعَمِ يَحْكُمُ بِهِ ذَوَا عَدْلٍ مِّنكُمْ هَدْياًبَالِغَ الْكَعْبَةِ أَوْ كَفَّارَةٌ طَعَامُ مَسَاكِينَ أَو عَدْلُ ذَلِكَ صِيَاماً لِّيَذُوقَ وَبَالَ أَمْرِهِ عَفَا اللّهُ عَمَّا سَلَف وَمَنْ عَادَ فَيَنتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُعَزِيزٌ ذُو انْتِقَامٍ ﴿٩٥﴾
ความว่า “โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าฆ่าสัตว์ล่า ขณะที่พวกเจ้ากำลังครองเอี๊ยะหฺรอมอยู่ และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าฆ่ามันโดยเจตนาแล้ว การชดเชยก็คือให้ฆ่าสัตว์ชนิดเดียว (หรือใกล้เคียง) กับที่ถูกฆ่า โดยให้ผู้ที่ยุติธรรมสองคนในหมู่พวกเจ้าเป็นผู้ชี้ขาดตัดสิน เพราะสัตว์พลี (จะต้องนำไปเชือดที่นครมักกะฮฺ) อัลกะอฺบะฮฺ หรือให้มีการไถ่บาปคือให้อาหารแก่คนยากจน หรือสิ่งที่เท่าเทียมกันนั้นคือ การถือศีลอด ทั้ง นี้เพื่อให้เขาได้ลิ้มรสผลภัยแห่งกิจกรรมของเขา อัลลอฮฺทรงอภัยจากสิ่งที่ได้ล่วงเลยมาในอดีต และผู้ใดกลับมากระทำอีก อัลลอฮฺก็จะทรงลงโทษเขาและอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงลงโทษ” (5:95)
وَالَّذِينَ يُظَاهِرُونَ مِن نِّسَائِهِمْ ثُمَّ يَعُودُونَ لِمَا قَالُوا فَتَحْرِيرُ رَقَبَةٍ مِّن قَبْلِ أَن يَتَمَاسَّا ذَلِكُمْ تُوعَظُونَ بِهِ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ خَبِيرٌ﴿٣﴾ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ شَهْرَيْنِ مُتَتَابِعَيْنِ مِن قَبْلِ أَن يَتَمَاسَّا فَمَن لَّمْ يَسْتَطِعْ فَإِطْعَامُ سِتِّينَ مِسْكِيناً ذَلِكَ لِتُؤْمِنُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِوَتِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ وَلِلْكَافِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٌ ﴿٤﴾
ความว่า “และ บรรดาผู้เปรียบเทียบภรรยาของพวกเขาว่าเสมือนแม่ของพวกเขานั้น แล้วพวกเขาจะคืนสู่ถ้อยคำที่พวกเขาได้กล่าวไว้ ดังนั้นการปล่อยทาสหนึ่งคนก่อนที่เขาทั้งสองจะแตะต้องต่อกัน (ร่วมหลับนอน) นั่นคือสิ่งที่พวกเจ้าถูกเตือนเอาไว้ใช้ให้ปฏิบัติ และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถหา (ทาส) ก็ต้องถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน ก่อนที่เขาทั้งสองจะแตะต้องต่อกัน (ร่วมหลับนอน) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้ก็ต้องให้อาหารแก่คนยากจนจำนวนหกสิบคน ทั้งนี้เพื่อจะให้พวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ นั่นคือขอบเขตของอัลลอฮฺ และสำหรับพวกปฏิเสธศรัทธา (ไม่ปฏิบัติตามนั้น) จะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด” (58/3-4)
และ เช่นเดียวกัน การถือศีลอดและการบริจาคทานมีส่วนร่วมกันในการไถ่บาปแห่งการหลงรักของผู้ชาย ในทรัพย์สมบัติ และบุคคลในครอบครัวและเพื่อนบ้านของเขา
มีรายงานจากฮุไซฟะฮฺ อิบนุลยะมาน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุแจ้งว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ความว่า ”การ หลงรักของผู้ชายในครอบครัวของเขา และทรัพย์สมบัติของเขา และเพื่อนบ้านของเขาจะไถ่บาปมันได้ด้วยการละหมาด การถือศีลอด และการบริจาคทาน” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม
8. อัรรอยยานสำหรับบรรดาผู้ถือศีลอด
มีรายงานจากซะฮฺลฺ อิบนฺ ซะอฺดฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
عن سهل بن سعد رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال: إن في الجنة باباً يقال له الريان يدخل منه الصائمون يوم القيامة لا يدخل منه أحد غيرهم فإذا دخلوا أُغلق فلم يدخل منه أحد. رواه البخاري ومسلم و النسائي والترمذي.
ความว่า “แท้จริงในสวนสวรรค์นั้นมีประตู ๆ หนึ่งเรียกว่า “อัรรอยยาน” บรรดา ผู้ถือศีลอดจะเข้าทางประตูนั้นในวันกิยามะฮฺ ไม่มีผู้ใดจะเข้าทางประตูนั้น นอกจากพวกเขาเท่านั้น เมื่อพวกเขาได้เข้าไปแล้วประตูจะถูกปิดลง และจะไม่มีผู้ใดได้เข้าไปอีกเลย “
อีกรายงานหนึ่งแจ้งว่า “เมื่อ คนสุดท้ายของพวกเขาได้เข้าไปแล้วประตูก็จะถูกปิดลง และผู้ใดได้เข้าไปแล้วเขาก็จะได้ดื่มน้ำ และผู้ใดได้ดื่มน้ำแล้วเขาจะไม่กระหายน้ำอีกเลย"