หากขาดบวชแล้วตายไปโดยมิได้ชดใช้ต้องทำอย่างไร


26,685 ผู้ชม

กรณีการถือศีลอด ถ้าหากเขาเสียชีวิตไปโดยยังไม่ได้ชดใช้การถือศิลอดที่ขาด ซึ่งในเรื่องนี้มี 2 กรณีคือ...


หากขาดบวชแล้วตายไปโดยมิได้ชดใช้ต้องทำอย่างไร

กรณีการถือศีลอด ถ้าหากเขาเสียชีวิตไปโดยยังไม่ได้ชดใช้การถือศิลอดที่ขาด ซึ่งในเรื่องนี้มี 2 กรณีคือ

1. บางทีเขาเสียชีวิตไปก่อนที่จะมีความสามารถชดใช้การถือศิลอดได้

2. หรือเสียชีวิตไปภายหลังจากมีความสามารถจะชดใช้ได้แล้ว แต่เขาละเลยยังไม่ชดใช้

หากขาดบวชแล้วตายไปโดยมิได้ชดใช้ต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีแรกไม่มีบาปในเรื่องนี้ติดตัวเขา เพราะเขาไม่ใช้เป็นผู้ละเลย

ส่วนในกรณีที่สอง เขามีบาป เพราะเขาเป็นผู้ละเลย และสุนัตให้วะลี ของเขาถือศิลอดแทนวันที่เขาขาดการถือศิลอด

คำว่า วะลีในที่นี้หมายถึงญาติของเขาคนใดก็ได้ หลักฐานในเรื่องนี้ ได้แก่ฮาดิษที่บุคอรี ( 1851 ) และมุสลิม ( 1174 ) ได้รายงานจากอะอีชะห์ ( ร.ด ) ว่าท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้กล่าวว่า :

"ผู้ใดเสียชีวิตไปในสภาพที่มีการถือศิลอดติดอยู่เหนือเขา ให้วะลีของเขาทำการถือศิลอดแทน"

บุคอรี ( 1852 ) และมุสลิม ( 1148 ) รายงานจาก อิบนิอับบาส ( ร.ด ) ได้กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ( ซ.ล ) แล้วกล่าวว่า :

"โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ มารดาของข้าพเจ้าเสียชีวิตโดยมีการถือศิลอดหนึ่งเดือนติดตัวอยู่ ข้าพเจ้าจะถือศิลอดชดใช้แทนได้ไหม ? ท่านตอบว่า ได้ หนี้ที่ติดอัลเลาะห์อยู่สมควรต้องชดใช้ยิ่ง"

บุคคลที่ไม่ได้เป็นญาติของผู้ตายจะถือศิลอดแทนผู้ตายไม่ได้ เว้นแต่เมื่อได้ขออนุญาตถือศิลอด แทนจากญาตคนใดคนหนึ่งของผู้ตายเสียก่อน ถ้าหากถือศิลอดแทนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยผู้ตายไม่ได้สั่งเอาไว้ การถือศิลอดแทนผู้ตายมีผลใช้ไม่ได้

ในกรณีที่ไมมีผู้ใดถือศิลอดแทนผู้ตาย ให้จ่ายเป็นอาหารแทนวันละหนึ่งมุด ส่วนที่จ่ายเป็นอาหารนี้ให้เอามาจากกองมรดกเหมือนการชดใช้หนี้สินที่ต้องเอามาจากกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกัน ถ้าหากผู้ตายไม่มีมรดก อนุญาตให้จ่ายแทนได้ และถือว่าพ้นตัวผู้ตาย

ติรมีซี ( 817 ) ได้รายงานจาก อิบนุอุมัร ( ร.ด ) ว่า :  "ผู้ใดตายโดยมีการถือศิลอดติดตัวอยู่หนึ่งเดือน ให้มีผู้จ่ายอาหารแทนเขาทุกวันต่อทุกหนึ่งคนยากจน"

และอะบูอาวุด ( 2401 ) ได้รายงานจาก อิบนิอับบาส ( ร.ด ) ว่า :  "เมื่อชายคนหนึ่งป่วยในเดือนรอมาดอน แล้วเขาเสียชีวิต โดยไม่ได้ถือศิลอดให้จ่ายอาหารแทนเขา" (หนังสือ อัลฟิกห์ อัลมันฮะญี 2/ 19 - 20 แปลโดยท่าน อาจารย์ อรุณ  บุญชม) 

www.sunnahstudent.com

อัพเดทล่าสุด