การแต่งงานทางโทรศัพท์ถือว่าใช้ได้มั้ย ที่ต้องถามแบบนี้เพราะว่าอยู่กันคนละประเทศซี่งถ้าผู้หญิงขึ้นมาทำงานด้วยก็เกรงว่าจะเกิดฟิตนะห์(กลังใจตัวเอง)อีกทั้งทางฝ่ายผู้หญิงก็ไม่ได้ว่าอะไร(พ่อแม่อนุญาติ)
ถาม: การแต่งงานทางโทรศัพท์ถือว่าใช้ได้มั้ย ที่ต้องถามแบบนี้เพราะว่าอยู่กันคนละประเทศซี่งถ้าผู้หญิงขึ้นมาทำงานด้วยก็เกรงว่าจะเกิดฟิตนะห์(กลังใจตัวเอง)อีกทั้งทางฝ่ายผู้หญิงก็ไม่ได้ว่าอะไร(พ่อแม่อนุญาติ)
ตอบโดย: อ.มุรีด ทิมาเสน
เงื่อนไขของการแต่งงาน (นิกาหฺ)
1. วะลีย์ (ผู้ปกครองฝ่ายหญิง)
2. เจ้าบ่าว
3. พยาน (อย่างน้อย 2 คน)
4. คำเสนอ
5. คำสนอง
ดังนั้น พิธีแต่งงานถามว่า วาญิบ (จำเป็น) จะต้องมีเจ้าบ่าวร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ คำตอบคือ จำเป็นจะต้องมีเจ้าบ่าวพิธีนิกาหฺด้วย
ประการถัดมา เมื่อเจ้าบ่าวจำเป็นจะต้องร่วมพิธีแต่งงาน (นิกาหฺ) แต่ถ้าเจ้าบ่าวไม่อยู่ในพิธีแต่งงาน เพราะเจ้าบ่าวอยู่ต่างประเทศเช่นนี้การแต่งงาน (รับนิกาหฺ) ใช้โทรศัพท์ได้หรือไม่?
คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีไม่สามารถมาลบล้างหุก่มของศาสนาได้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เสียงของเราอาจจะอัดเสียงเอาไว้ล่วงหน้าก็ได้ หรือถ้ามีภาพหากจะอัดเทปไว้ล่วงหน้าก็เป็นได้เหมือนกัน ซึ่งการรับนิกาหฺจะต้องทำให้เห็นอย่างชัดเจน
คำตอบคือ ให้เจ้าบ่าวมอบหมายให้เพื่อนชายของเขาคนใดก็ได้รับนิกาหฺแทนเจ้าบ่าว โดยเจ้าบ่าว (ตัวจริง) มอบหมายแต่งงานแทนเขาให้แก่นายมุหัมมัด (นามสมมติ) พอถึงวันแต่งงานนายมุหัมมัดก็ร่วมพิธีนิกาหฺ โดยรับนิกาหฺแทน (เจ้าบ่าวตัวจริง) ใช้สำนวนที่ว่า
"ฉันรับนิกาหฺน.ส.อาอิชะฮฺ (นามสมมติ) แทนนายสุลัยมาน (สมมติว่าเป็นชื่อของเจ้าบ่าวตัวจริง) ด้วยมะหัรฺที่ตกลงกันไว้" เมื่อนายมุหัมมัดรับนิกาหฺแทนแล้ว เป็นอันว่า การแต่งงานระหว่างนายสุลัยมานกับนางสาวอาอิชะฮฺเป็นอันว่าถูกต้องตามหลักการของศาสนาแล้ว โดยที่เจ้าบ่าวคือนายสุลัยมานไม่ต้องอยู่ในพิธีนิกาหฺเพราะเนื่องจากอยู่ต่างประเทศ
อนึ่ง นายมุหัมมัดที่รับนิกาหฺแทนนายสุลัยมานจะหมดหน้าทีทันที ภายหลังที่รับนิกาหฺแทนเจ้าบ่าวตัวจริง ซึ่งไม่อนุญาตเขาทำหน้าที่เจ้าบ่าวในงานแต่งงานในกรณีอื่นๆ ทั้งสิ้น (ย้ำว่า ในกรณีอื่นๆ ทั้งสิ้น) หวังว่าผู้ถามคงเข้าใจแล้ว แต่ถ้ายังติดใจประเด็นใดอีกก็เขียนเข้ามาถามใหม่ และท้ายนี้ต้องขอมะอัฟที่ตอบคำถามให้ล่าช้ากว่าปรกตินะครับ
والله أعلم