ความสำคัญของคืนนิสฟุชะอ์บานนั้น ก็เป็น อีกประเด็นหนึ่ง ที่มีการถกเถียงกันค่อนข้างมาก จากทางด้านของตัวบทหะดีษและสายรายงาน ซึ่งนักวิชาการได้ระบุและอธิบายเอาไว้ค่อนข้างต่างกัน จนกระทั่งนักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า
ความประเสริฐของค่ำคืนนิสฟูชะอ์บาน
รวบรวมโดย อ.รอฟีกี มูฮำหมัด
ความสำคัญของคืนนิสฟุชะอ์บานนั้น ก็เป็น อีกประเด็นหนึ่ง ที่มีการถกเถียงกันค่อนข้างมาก จากทางด้านของตัวบทหะดีษและสายรายงาน ซึ่งนักวิชาการได้ระบุและอธิบายเอาไว้ค่อนข้างต่างกัน จนกระทั่งนักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า "ไม่มีหะดีษที่ซอเฮี๊ยะฮ์เลยในเรื่องความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอ์บาน" เช่น เชค มูฮำหมัด ญ่ามาลุดดีน อัลกอซีมีย์ ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อิศลาฮุ้ลม่าซาญิด มี่นัลบิดะอ์ วัลอ่าวาเอ็ด"
แต่ท่าน เชคนาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์ ได้โต้ตอบและกล่าวชี้แจงเอาไว้ว่า "มิใช่เป็นเช่นนั้น" เพราะมีหะดีษที่อยู่ในขั้นของหะดีษหะซันหลายบทได้มาสนับสนุนกันเอาไว้ และเลื่อนขั้นสู่หะดีษซอเฮี๊ยะฮ์ลี่ฆอยรี่ฮีได้ เช่น ในหนังสือซอเฮี๊ยะห์อิบนุมาญะฮ์ ดังที่ท่านเชคอัลบานีย์ ได้กล่าวว่า
فَمَا نَقَلَهُ الشَّيْخُ الْقَاسِمِيُّ رَحِمَهُ اللهُ تَعَالَى فِي إِصِلاَحِ الْمَسَاجِدِ (ص 107) عَنْ أَهْلِ التَّعْدِيْلِ وَالتَّجْرِيْحِ أَنَّهُ لَيْسَ فِي فَضْلِ لَيْلَةِ النَّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ ، فَلَيْسَ مِمَّا يَنْبَغِي الاِعْتِمَادُ عَلَيْهِ ، وَلَئِنْ كَانَ أَحَدٌ مِنْهُمْ أَطْلَقَ مِثْلَ هَذَا الْقَوْلِ فَإِنَّمَا أُوْتِيَ مِنْ قِبَلِ التَّسَرُّعِ وَعَدَمِ وَسْعِ الْجُهْدِ لِتَتَبُّعِ الطُّرُقِ عَلَى هَذَا النَّحْوِ اَلَّذِيْ بَيْنَ يَدَيْكَ
ความว่า "สิ่งที่ท่านอัลกอซิมีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดไว้ในหนังสือ อิศลาห์ อัลมะซาญิด (หน้า 107) จากนักวิจารณ์หะดีษที่ว่าไม่มีหะดีษใดซอเฮี๊ยะห์เกี่ยวกับเรื่องนิศฟุชะอฺบานนั้น ไม่ควรนำมาเป็นบรรทัดฐาน และถ้าหากคนใดจากคนพวกเขาได้กล่าวตัดสินเช่นนี้ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินแบบรีบด่วน และไม่ทุ่มเทความพยายามในการตรวจสอบสายรายงานต่างๆ ตามแนวทางที่อยู่ตรงหน้าท่าน" (ดู นาซิรุดดีน อัลอัลบานีย์ อัซซิลซิละฮ์ อัซซ่อฮีฮะห์ เล่ม 3 หน้า 135 หะดีษเลขที่ 1144)
กลุ่มคนที่ตัดสินว่าหะดีษที่พูดถึงความประเสริฐของนิสฟุชะอ์บานเป็นหะดีษเมาดัวะอ์ทั้งหมดนี่ จึงเป็นกลุ่มชนที่สะเพร่าที่สุดครับ หะดีษเหล่านี้ถึงแม้จะมีบางส่วนถึงขั้นเมาดัวะ แต่ก็มิใช่ทั้งหมดจะเป็นเมาดัวะอ์ ขั้นต่ำสุด ก็คือดออีฟและบางหะดีษแข็งแรงจนถึงขั้นซอเฮี๊ยะห์ลี่ฆอยรี่ฮีด้วยซ้ำไป
ก่อนที่เราจะไปดูการตัดสินหะดีษของใคร ก็ขอให้เราได้เลือกดูจากปราชญ์ที่เป็นอุลามาอ์หะดีษโดยแท้จริง ที่ไม่มีอคติในเรื่องของการเพิ่มทัศนะเข้าไปบนตัวบทของหะดีษ เราก็จะพบว่า ปราชญ์หะดีษที่แท้จริงไม่ได้ตัดสินว่าหะดีษที่พูดถึงนิสฟูชะอ์บานนั้นเป็นหะดีษเมาดัวะอ์ แม้กระทั่ง เชคอัลบานีย์ ก็ยังตำหนิผู้ที่ตัดสินโดยรีบด่วนเช่นนั้น
ส่วนหนึ่งจากหะดีษที่อยู่ในขั้นของหะซันด้วยตัวเอง และสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ เช่น
1.หะดีษที่รายงานโดยท่านอับดุลเลาะห์ อิบนิ อัมร์ อิบนิ้ลอาศ ได้รายงานจากท่านร่อซู้ล(ซล.)ว่า ท่านร่อซู้ลได้กล่าวว่า
يطلع الله عز وجل إلى خلقه ليلة النصف من شعبان فيغفر لعباده إلا مشاحن أو قاتل نفس
ความว่า "อัลเลาะห์อัซซ่าวะญัล จะทรงมองมายังบ่าวของพระองค์ในยามค่ำคืนจากครึ่งของเดือนชะอ์บาน(คือคืนนิสฟุชะอ์บาน) และจะทรงอภัยให้แก่บ่าวของพระองค์ เว้นแต่ ผู้ที่เกลียดชังกัน และผู้ที่ฆ่าชีวิตหนึ่ง” (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอะห์มัด ในมุสนัดของท่าน เล่มที่ 2/176)
หะดีษนี้ ท่านอัลฮาฟิซ อัลมุนซิรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ” ว่า หะดีษนี้ เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ เพราะในสายสืบของหะดีษนี้ มีบุคคลที่ไม่ถูกยอมรับจากนักวิชาการหะดีษรวมอยู่ในสายรายงานด้วย นั่นคือ อิบนุละฮีอะห์ ซึ่งเขา(อิบนุละฮีอะห์)นั้น เป็นคนที่ถูกตัดสินว่าด่ออีฟ หะดีษนี้ จึงเป็นหะดีษด่ออีฟตามทัศนะของท่านอัลมุนซีรีย์
แต่ท่านอะห์หมัด มูฮำหมัด ชากิร(ผู้ที่ช่าเราะห์มุสนัดของท่านอีหม่ามอะห์หมัด) และเป็นมู่ฮัดดิษ(นักวิชาการหะดีษ) ได้กล่าวว่า หะดีษนี้ เป็นหะดีษซอเฮี๊ยะฮ์ โดยการสนับสนุนจากหะดีษอื่น
และท่านอัลฮาฟิซ อัลฮัยษะมีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "มัจญ์มะอัสซะวาอิด" ว่า ในหะดีษนี้ มีท่านอิบนุละฮีอะห์ ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ด่ออีฟ แต่เขา(อิบนุละฮีอะห์) พร้อมทั้งนักรายงานท่านอื่นๆนั้น เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และหะดีษนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหะดีษอื่นๆอีก จึงทำให้หะดีษนี้ ถูกยกระดับจากหะดีษด่ออีฟ ขึ้นไปอยู่ในหะดีษฮะซัน (ดูหนังสือ มัจญ์มะอัสซะวาอิด กล่าวโดย อัลฮาฟิส อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 8 หน้า 65)
หะดีษนี้ จึงเป็นหะดีษ "หะซัน" ดังได้กล่าวมาแล้ว
2.ท่านอุสมาน บิน อะบิ้ลอาศ(รด.)ได้รายงานว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า
إذا كان ليلة النصف من شعبان نادى مناد هل من مستغفر فأغفر له هل من سائل فأعطيه فلا يسأل أحد شيئا إلا أعطيه إلا زانية بفرجها أو مشرك
ความว่า "เมื่อถึงคืนนิสฟุชะอ์บาน จะมีผู้ป่าวประกาศ(คือมาลาอีกะห์)ทำการประกาศ(คำบัญชาของอัลเลาะห์ต้าอาลา) ว่า มีผู้ใดจะขออภัยโทษหรือไม่ ฉันจะอภัยโทษให้แก่เขา มีผู้ใดจะขอสิ่งใดหรือไม่ ฉันจะให้แก่เขา ดังนั้น จะไม่มีผู้ที่ขอสิ่งใด เว้นแต่ ฉันจะประทานให้แก่เขา นอกเสียจาก หญิงที่ทำซินาด้วยอวัยวะเพศของนาง หรือ ผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบัยฮะกีย์ ดูชุอะบุ้ลอีมาน เล่ม 3 หน้า 383)
ท่านอีหท่ามซู่ยูตีย์ได้กล่าวว่า หะดีษนี้ "เป็นหะดีษหะซัน" โดยได้รับการสนับสนุน และยกระดับจากหะดีษข้างต้น (ดูหนังสือ อัลญาเมี๊ยะอ์ อัศศ่อฆีร เล่ม 1 หน้า 76 ของท่านอีหม่ามซูยูตีย์)
และหะดีษเดียวกันนี้ ท่านอีหม่ามอัตฎอบรอนีย์ ก็ได้รายงานไว้เช่นกัน ในหนังสือ "อัลเอาซัฎ" และท่านอีหม่ามอิบนุฮิบบาน ใน "ซอเฮี๊ยะอิบนุฮิบบาน" และท่านอิบนุมาญะห์ ได้รายงานด้วยสำนวนเดียวกันนี้จากท่านอบูมูซา อัลอัชอารีย์(รด.) และแม้ว่าสายรายงานดังกล่าวจะมีผู้ที่ด่ออีฟรวมอยู่ด้วย เช่น อัลวะลีด อิบนิ มุสลิม อัดดิมัชกีย์ และ อิบนุละฮีอะห์ แต่ท่านอัลฮาฟิซ นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "มัจญ์มะอัสซะวาอิด" (เล่ม 8 หน้า 65) ว่า "สิ่งที่ท่านอัตฎอบรอนีย์ได้รายงานไว้ในหนังสือ อัลกะบีร และอัลเอาซัฎ ซึ่งรายงานที่ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือทั้งสองเล่มนั้น ผู้รายงานเป็นผู้ที่เชื่อถือได้"
และการที่สายสืบของหะดีษดังกล่าวด่ออีฟนั้น ก็ไม่จำเป็นว่าตัวบทของหะดีษ จะด่ออีฟตามไปด้วย เพราะตัวบทดังกล่าวมีรายงานมาจากสายอื่นเช่นกัน ซึ่งมีผลทำให้หะดีษดังกล่าวเลื่อนขั้นจากหะดีษด่ออีฟขึ้นมาสู่หะดีษหะซันได้ ซึ่งสายรายงานอื่นที่มาทำให้ตัวบทหะดีษนั้น เกิดความแข็งแรง เขาเรียกว่า "มู่ตาบาอาต หรือ อาดิด" ซึ่งการที่หะดีษด่ออีฟ(โดยสายสืบของมัน)ถูกรายงานมาหลายสายรายงานเช่นนี้ จะกลายเป็นหะดีษ "หะซันลี่ฆอยรี่ฮี" นั้น เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิชาการหะดีษ
ดังที่ท่านอีหม่ามนะวะวีย์(รฮ.)ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "เอานุ้ลบารีย์" ว่า
ความว่า "หะดีษด่ออีฟในกรณีที่มีหลายสายรายงานนั้น จะถูกเลื่อนระดับจากด่ออีฟขึ้นไปสู่ระดับหะซัน"
ดัวยเหตุนี้ ท่านอัลมู่บารอกฟูรีย์(เจ้าของหนังสือตั๊วะห์ฟะตุ้ลอะห์วาซีย์ ผู้ที่ช่าเราะห์สุนันของท่านติรมีซีย์)จึงได้กล่าวว่า
ความว่า "ท่านพึงรู้เถิดไว้ว่า แท้จริงแล้ว มีหลายหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอ์บาน ซึ่งเมื่อประมวลบรรดาหะดีษเหล่านี้แล้ว ย่อมชี้ให้เห็นว่า บรรดาหะดีษต่างๆเหล่านี้นั้น มีที่มา ดังนั้นบรรดาหะดีษเหล่านี้ย่อมเป็นหลักฐานยืนยัน(ถึงความประเสริฐของค่ำคืนนี้) ต่อผู้ที่อ้างว่า ความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอ์บานนั้น มิได้รับการยืนยันจากหะดีษใดเลย วัลลอฮุอะลัม" (ดูหนังสือ ตั๊วะห์ฟะตุ้ลอะห์วาซีย์ 3/365)
จากตรงนี้จึงสรุปได้ว่า คืนนิสฟุชะอ์บานนั้น ก็เป็นอีกคืนหนึ่ง ที่ถือว่า มีความประเสริฐ และเป็นคืนที่อัลเลาะห์(ซบ.)นั้น จะทรงอภัยโทษให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์
3.ท่านท่านมู่อาซ บิน ญะบัล(รด.) ได้รายงานจากท่านนบี(ซล.)ว่า
يطلع الله إلَى خلقه في ليلة النصف من شعبان فيغفر لجميع خلقه إلا لمشرك أو مشاحن
ความว่า "อัลเลาะฮ์จะทรงมองมายังปวงบ่าวของพระองค์ในคืนนิศฟุชะอ์บาน และพระองค์ก็จะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขาทั้งหมด นอกจากผู้ที่ตั้งภาคี และผู้ที่บาดหมางต่อกัน” (บันทึกโดยท่านอิบนุฮิบบาน และท่านอิบนุฮิบานกล่าวว่า หะดีษนี้ "เป็นหะดีษซอเฮี๊ยะฮ์" ดูซอเฮียะฮ์อิบนุฮิบบาน บิตัรตีบ อิบนุบัลบาน ตะห์กีก : ชัยค์ ชุอัยบ์ อัลอัรน่าอูฏ เบรุต : มุอัสซะซะฮ์ อัรริซาละห์ พิมพ์ครั้ง 2 (ฮ.ศ.1414/ค.ศ.1993) เล่ม 12 หน้า 481 และชัยค์ ชุอัยบ์ อัลอัรน่าอูฏ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า หะดีษนี้ซอเฮียะฮ์ โดยมีหะดีษอื่นมาสนับสนุน)
นั่นหมายถึงว่า เดิมทีหะดีษบทนี้ เป็นหะดีษ "หะซัน" แต่ได้รับการสนับสนุนจากหะดีษอื่น จึงเลื่อนขั้นเป็น "ซอเฮี๊ยะห์ลี่ฆอยรี่ฮี"
จริงๆแล้วยังมีหะดีษอีกมากมายที่พูดถึงความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอ์บาน แต่ทั้ง 3 หะดีษนี้ ก็ถือว่า เป็นการพอเพียงแล้ว สำหรับผู้ที่มีอีหม่าน ที่เขาจะทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับมัน และเพียงพอแล้วที่จะยืนยันถึงความประเสริฐของ "คืนนิสฟุชะอ์บาน"
เรื่องอ่านยาซีน 3 จบ
การฟื้นฟูซุนนะห์ของท่านร่อซู้ล(ซล.)นั้น เป็นเรื่องที่นักวิชาการมองต่างมุมกันมากมาย กลุ่มหนึ่งจำกัดแค่ ซุนนะห์ที่ท่านนบีทำแบบอย่างไว้ จึงไม่ยอมรับกับทัศนะอื่น และจะต้องทำในแบบที่ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทำไว้เท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งมีมุมมองว่า ซุนนะห์บางอย่าง สามารถกระทำได้โดยไม่เจาะจงเวลา เช่น เรื่องการอ่านกุรอ่าน ทำได้ทุกที่และไม่มีเวลาต้องห้าม และสามารถนำมาฟื้นฟูในช่วงเวลาที่มีความประเสริฐได้ เช่นที่บรรดามุสลิมที่ดำเนินตามมัสฮับของท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ ก็จะนิยามอ่านยาซีนกันสามจบ แล้วทำการขอดุอาอ์กันในขณะที่มีการอ่านจบแล้ว
เหล่านี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันสักนิดว่า การอ่านกุรอาน และการดุอาอ์ในช่วงเวลา หรือ ในค่ำคืนที่มีความประเสริฐนั้น ไม่ได้เป็นข้อห้าม มิหนำซ้ำยังเป็นเรื่องที่สนับสนุนให้กระทำได้ เช่น หลังละหมาด 5 เวลา ช่วงระหว่าอาซานกับอิกอมะห์ ช่วงที่ฝนตก ในณะที่คอเต็บนั่งระหว่าง 2 คุตบะห์ ฉนั้น หากคนๆหนึ่งชอบที่จะทำการอ่านอัลกุรอ่านและการขอดุอาอ์ในช่วงเวลาหนึ่งๆอยู่เป็นประจำ เช่น หลังละหมาดตะฮัจญุด เขาก็จะทำการขอแต่ต้นนี้แหละ โดยมิได้เข้าใจว่า มันเป็นความจำเป็นต้องทำแบบนั้น แต่ถือเอาความสดวก หรือ ที่ต้นที่ตัวเองชอบ แบบนี้ ไม่ถือเป็นบิดอะห์แต่อย่างใด เพราะเขามิได้เข้าใจว่า ต้องต้นนี้เท่านั้น เพียงแต่เป็นความสดวก และเป็นความชอบส่วนตัวเท่านั้น อย่างนี้ไม่เป็นบิดอะห์
ส่วนการที่คนหนึ่งไปจำกัดว่า ต้องขอต้นนั้น ต้นนี้ ในช่วงเวลาเหล่านี้ โดยไม่มีตัวบททางศาสนามารับรอง เช่นนี้แหละที่ศาสนาไม่อนุญาติ เป็นบิดอะห์อย่างแน่นอน
แต่หากเป็นการยึดถือเอาเรื่องของความสดวกมาเป็นเกณฑ์ อย่างเช่นที่บ้านเรา มักจะอ่านยาซีนกันบ่อยๆ ก็เพราะมันเป็นต้นที่สดวก ทุกคนอ่านได้ สามารถอ่านไปพร้อมๆกันได้ อีกทั้งเป็นต้นที่มีฟ่าดีลัตอยู่บ้าง จึงถือเอาต้นนี้แหละอ่านกันเพื่อให้ทุกคนได้ทำอิบาดะห์ไปพร้อมๆกัน โดยความเข้าใจของพวกเขา มิได้เข้าใจว่า "ต้องยาซีนเท่านั้น" ต้นอื่นก็อ่านได้ อย่างนี้ "ไม่ถือเป็นบิดอะห์" อย่างแน่นอน
การฟื้นฟู อิบาดะห์ในค่ำคื้นนี้ ในมุมมองของผม ถือเป็นที่อนุญาตเนื่องจากความประเสริฐของมัน แต่ให้เราทำความเข้าใจกันให้ดีว่า การอ่านยาซีนนั้น ไม่ใช่ซูเราะห์มู่ตะค๊อสซิเซาะห์(เป็นซูเราะห์ที่ถูกจำกัดให้อ่านในค่ำคืนนี้) แต่หากเราสามารถอ่านได้ทุกๆต้น โดยไม่จำกัด และไม่จำเป็นต้องอ่าน 3 จบ เท่านั้น อ่านได้เท่าที่เรามีความสามารถ / ฉนั้น หากเราต้องการอ่านเพิ่มก็ทำได้ / แต่เป็นที่น่าสักเกตุคือ ที่บ้านเราไม่ทำการอ่านให้มากกว่านี้ เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะเรื่องของเวลา และความสดวกของผู้คน หรือ บางทีอาจเพราะไม่ไหวอ่านกันซะมากกว่า แค่ 3 จบนี้ก็แย่กันแล้ว ก็เลยเลือกยึดถือกันเอาความสดวก ไหนๆ ก็ออกมาร่วมกันทำความดีแล้ว ก็เอาสัก 3 จบ นี่คือ สิ่งทีเกิดขึ้น มิใช่เป็นการจำกัดแค่ 3 จบ ตายตัวเท่านั้น
มุมมองของนักวิชาการที่มีต่อคำคืนอันประเสริฐนี้
1.ท่านอิมามชาฟีอีย์(รฮ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุมม์ ว่า
وَبَلَغَنَا أَنَّهُ كَانَ يُقَالُ : إِنَّ الدُّعَاءَ يُسْتَجَابُ فِي خَمْسِ لَيَالٍ : فِي لَيْلَةِ الْجُمُعَةِ ، وَلَيْلَةُ الأَضْحَى ، وَلَيْلَةِ الفَطْرِ ، وَأَوَّلِ لَيْلَةٍ مِنْ رَجَبٍ ، وَلَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ ... وَأَنَا أَسْتَحِبُّ كُلَّ مَا حَكَيْتُ فِي هَذِهِ الليَالِيْ مِنْ غَيْرِ أَنْ تَكُوْنَ فَرْضاً
ความว่า "ได้รับทราบมาถึงเราว่า แท้จริงดุอาอฺนั้นจะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืนอีดอัฏฮา คืนอีดิลฟิตร์ คืนแรกของเดือนร่อญับ และคืนนิศฟูชะอฺบาน ... ดังนั้น ฉันรัก(ที่จะกระทำ)สิ่งที่ฉันได้รายงานในบรรดาคืนเหล่านี้ โดยไม่ได้เป็นเรื่องบังคับแต่อย่างใด” (ดู อัลอุมม์, ตะห์กีก : ริฟอัต เฟาซีย์ อับดุลมุฏฏอลิบ มันซูเราะฮ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ฮ.ศ.1422/ค.ศ.2001 เล่ม 2 หน้า 485 )
2.ท่านอิบนุตัยมียะฮ์(รฮ.)ได้กล่าวว่า
لَيْلَةُ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ فَقَدْ رُوِيَ فِي فَضْلِهَا مِنَ الأَحَادِيْثِ الْمَرْفُوْعَةِ وَالآثَارِ مَا يَقْتَضِيْ : أَنَّهَا لَيْلَةٌ مُفَضَّلَةٌ وَأَنَّ مِنَ السَّلَفِ مَنْ كَانَ يَخُصُّهَا بِالصَّلاَةِ فِيْهَا...لَكِنَّ الَّذِيْ عَلَيْهِ كَثِيْرٌ مِنْ أَهْلِ الْعِلْمِ؛ أَوْ أَكْثُُرُهُمْ مِنْ أَصْحَابِنَا وَغَيْرِهِمْ : عَلَى تَفْضِيْلِهَا، وَعَلَيْهِ يَدُلُّ نَصُّ أَحْمَدَ، لِتَعَدُّدِ الأَحَادِيْثِ الوَارِدَةِ فِيْهَا، وَمَا يُصَدِّقُ ذَلِكَ مِنَ الآثَارِ السَّلَفِيَّةِ، وَقَدْ رُوِيَ بَعْضُ فَضَائِلِهَا فِي الْمَسَانِيْدِ وَالسُّنَنِ. وَإِنْ كَانَ قَدْ وُضِعَ فِيْهَا أَشْيَاءُ أُخَرُ
ความว่า "คืนนิศฟุชะอฺบานนั้น ได้ถูกรายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของมันจากบรรดาหะดีษมัรฟัวะอ์ และบรรดาร่องรอยการกรำทำของสลัฟ ซึ่งบ่งชี้ว่า คืนนิสฟุชะอ์บานนั้น เป็นคืนที่มีความประเสริฐ และยังมีสลัฟบางส่วนเจาะจงการละหมาดเป็นพิเศษในคืนนิสฟุชะอ์บาน ... แต่ทัศนะของนักวิชาการมากมายหรือส่วนมากจากปราชญ์ของเราและอื่นๆ ถือว่า คืนนิสฟุชะอ์บานนั้น มีความประเสริฐ และคำพูดของอิหม่ามอะห์หมัดก็ได้ระบุไว้ เพราะมีหลายหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับมัน และยังมีคำพูดของเหล่าสลัฟมายืนยัน และความประเสริฐบางประการของคืนนิสฟุชะอ์บานนั้น ได้ถูกรายงานไว้ในตำราหะดีษต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมีการกุบางอย่างขึ้นมาในหะดีษเหล่านั้นด้วยก็ตาม"
(ดู อิบนุตัยมียะฮ์ อิกตะฎออฺ อัศศิร่อฏิลมุสตะกีม ตะห์กีก : นาซิร บิน อับดิลกะรีม อัลอักล์ ริยาฎ : มักตะบะฮ์ อัรรุชด์ เล่ม 2 หน้า 631)
และท่านอิบนุตัยมียะห์(รฮ.)ยังได้กล่าวไว้ใน "มัจญ์มัวะอ์ อัลฟ่าตาวา" ของท่านอีกว่า
وَأَمَّا لَيْلَةُ النِّصْفِ فَقَدْ رُوِيَ فِي فَضْلِهَا أَحَادِيْثُ وَآثَارُ، وَنُقِلَ عَنْ طَائِفَةٍ مِنَ السَّلَفِ أَنَّهُمْ كَانُوْا يُصَلُّوْنَ فِيْهَا، فَصَلاَةُ الرَّجُلِ فِيْهَا وَحْدَهُ قَدْ تَقَدَّمَهُ فِيْهِ سَلَفٌ وَلَهُ فِيْهِ حُجَّةٌ فَلاَ يُنْكَرُ مِثْلُ هَذَا، أَمَّا الصَّلاَةُ جَمَاعَةً فَهَذَا مَبْنِيٌّ عَلَى قَاعِدَةٍ عَامَّةٍ فِي الاِجْتِمَاعِ عَلَى الطَّاعَاتِ وَالْعِبَادَاتِ
ความว่า "สำหรับคืนนิสฟุชะอ์บานนั้น ได้มีบรรดาหะดีษและคำกล่าวของซอฮาบะห์ที่รายงานถึงความประเสริฐของมัน และได้ถูกถ่ายทอดรายงานจากปราชญ์สลัฟกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ทำการละหมาด(สุนัต)ในคืนนิสฟุชะอ์บาน ดังนั้น การที่ชายคนหนึ่งได้ทำการละหมาดคนเดียวนั้น ก็ได้มีสลัฟกระทำมาก่อนหน้าแล้ว ซึ่งถือเป็นหลักฐานยืนยันแก่เขา ดังนั้น จึงไม่มีการตำหนิการกระทำเช่นนี้ สำหรับการละหมาดเป็นญะมาอะฮ์(ในคืนนิศฟุชะอฺบาน)นั้น ดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนหลักการทั่วไปในการร่วมกันทำการฏออัตและอิบาดะฮ์”
(ดู มัจญ์มัวะอ์ อัลฟ่าตาวา อิบนุตัยมียะห์ อัลมะดีนะฮ์อัลมุเนาวะฮ์ : มุญัมมะอ์ อัลมาลิก ฟะฮัด ฮ.ศ.1425/ค.ศ.2004 เล่ม 23 หน้า 132)
3.ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุฮะญัร(รฮ.)ได้กล่าวเช่นกันว่า
رَوَى الْخَطِيْبُ فِي غُنْيَةِ الْمُلْتَمِسِ بِإِسْنَادٍ إِلَى عُمَرَ بْنِ عَبْدِ الْعَزِيْزِ أَنَّهُ كَتَبَ إِلَى عَدِيِّ بْنِ أَرْطاَة : عَلَيْكَ بِأَرْبَعِ لَيَالٍ فِي السَّنَةِ ، فَإِنَّ اللهَ يَفْرَغُ فِيْهِنَّ الرَّحْمَةَ : أَوَّلِ لَيْلَةِ مِنْ رَجَبٍ ، وَلَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ ، وَلَيْلَةِ الْفِطْرِ ، وَلَيْلَةِ النَّحْرِ .
ท่านอัลคอฏีบ ได้รายงานไว้ในหนังสือ ฆุนยะฮ์ อัลมุลตะมิส ด้วยสายรายงานถึงท่าน อุมัร บิน อับดุลอะซีซ ว่า ท่านได้ทำการเขียนสารถึงอะดีย์ บิน อัรเฏาะอะฮ์ ความว่า : “ในหนึ่งปีนั้นท่านจงหมั่นเอาใจใส่ใน 4 คืน เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงประทานความเมตตาในคืนเหล่านั้น คือ คืนแรกของเดือนร่อญับ คืนนิศฟุชะอฺบาน คืนอีดิลฟิตร์ และคืนอีดิลอัฏฮา”
4.ท่านอิบนุ อัลฮาจญ์ กล่าวว่า
وَبِالْجُمْلَةِ فَهَذِهِ الَّلْيَلَةُ وَإِنْ لمَ ْتَكُنْ لَيْلَةَ الْقَدْرِ فَلَهَا فَضْلٌ عَظِيْمٌ وَخَيْرٌ جَسِيْمٌ ، وَكَانَ السَّلَفُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُعَظِّمُوْنَهَا وَيُشَمِّرُوْنَ لَهَا قَبْلَ إِتْيَانِهَا ، فَمَا تَأْتِيْهِمْ إِلاَّ وَهُمْ مُتَأَهِّبُوْنَ لِلِقَائِهَا وَالْقِيَامِ بِحُرْمَتِهَا ، عَلَى مَا قَدْ عُلِمَ مِنْ اِحْتِرَامِهِمْ لِلشَّعَائِرِ
ความว่า "โดยสรุปแล้ว ค่ำคืน(นิสฟุขะอ์บาน)นี้ แม้ว่ามันมิไม่ใช่คืนลัยละตุลก๊อดร์ แต่สำหรับความประเสริฐของมันแล้ว ถือว่า มีความประเสริฐอย่างยิ่งและเป็นคืนแห่งความดีอันใหญ่หลวง เพราะชาวสลัฟจะให้ความสำคัญกับค่ำคืนนี้ และพวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับคืนนิสฟุชะอ์บานก่อนที่มันจะมาถึง ดังนั้น คืนนิสฟุชะอ์บานจะไม่มาถึงนอกเสียจากว่าพวกเขาจะเตรียมพร้อมที่จะพบกับค่ำคืนนั้นและให้เกียรติตามที่รู้กันแล้ว(ข้างต้น)ว่าพวกเขาให้เกียรติต่อเอกลักษณ์ต่างๆ(ของคืนนิสฟุชะอ์บาน)” (ดู อิบนุลฮาจญ์ มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด อัลอับดะรีย์ อัลมัดค็อล ไคโร : มักตะบะฮ์ ดารุตตุร็อษ เล่ม 1 หน้า 299)
นี่จึงเป็นบทสรุปที่ชัดเจนว่า แม้ว่ามันไม่ใช่ลัยล่าตุ้ลกอดร์ แต่มันก็เป็นอีกค่ำคืนหนึ่งที่มีความประเสริฐ