การถือศีลอด คือ การละเว้นจากการกิน ดื่ม ร่วมประเวณี และทุกๆอย่างที่ทำให้ศีลอดเสีย เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก โดยมีเจตนาเพื่อถือศีลอดและแสวงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ
ทำไมอิสลามต้องมีการถือศีลอด? คำถามที่คนสงสัยมากที่สุด
การถือศีลอด คือ การละเว้นจากการกิน ดื่ม ร่วมประเวณี และทุกๆอย่างที่ทำให้ศีลอดเสีย เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก โดยมีเจตนาเพื่อถือศีลอดและแสวงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ
การถือศีลอดเป็นข้อหนึ่งของหลักปฏิบัติของอิสลาม 5 ประการ
1.ต้องปฏิญาณตนต่อพระเจ้า
2.ต้องดำรงละหมาด 5 เวลา คือ ตอนรุ่งอรุณ ตอนบ่าย ตอนตะวันคล้อย ตอนตะวันตกดิน และยามค่ำคืน
3.ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลาม
4.ต้องจ่ายซะกาต
5.ต้องทำหัจญ์ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะฮ์
การถือศีลอด ตามความหมายทางศาสนาของ อิสลาม คือ การงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ และการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอนของทุกปีซึ่งอาจ จะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน โดยมีเจตนาว่าทำเพื่ออัลลอฮฺ
เป้าหมายของการถือศีลอด
1. เพื่อให้เกิดความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ทั้งที่ลับที่แจ้ง
2. เพื่อให้เกิดสุขภาพดี
3. เพื่อได้รู้ถึงสภาพคนยากจน และเกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
4. เพื่อให้ใกล้ชิดศาสนา มีศรัทธาที่เข้มแข็ง
ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอด คือ
1. เป็นมุสลิม
2. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
3. บรรลุศาสนภาวะ
4. มีสุขภาพดี
5. ไม่เดินทาง
6. สตรีที่ไม่มีรอบเดือน
7. ไม่มีเลือดนิฟาส (เลือดหลังจากคลอดบุตร)
ผลดีของการถือศีลอด
1) ประการแรกก็คือ เพื่อเป็นการฝึกให้เกิดความรู้สึกยับยั้งตนเองและเกรงกลัวพระเจ้า (หรือที่เรียกกันว่า ตักวา=ความยำเกรง ) โดยปกติแล้ว แรงกระตุ้นให้ทำบาปนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการมีความต้องการเยี่ยงสัตว์มากเกิน พอดี แต่การถือศีลอดจะช่วยลดความรู้สึกทางด้านนี้ลง ด้วยเหตุนี้ ท่านนบีจึงได้แนะนำชายหนุ่มที่ยังไม่สามารถแต่งงานและไม่สามารถควบคุมความ ความต้องการทางเพศของตัวเองได้ให้ถือศีลอด เพราะการถือศีลอดจะช่วยลดอารมณ์ทางเพศลง
2) การถือศีลอดทำให้คนร่ำรวยและคนมีอันจะกิน รู้สึกถึงความหิวและความกระหาย ความรู้สึกเช่นนี้ด้วยตัวเองจะทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความทุกข์ยากของคน จนและมีจิตใจที่อยากจะช่วยเหลือคนเหล่านั้น นอกจากนี้แล้ว อิสลามยังได้แนะนำให้ทำทานแก่คนยากจนและคนตกทุกข์ได้ยากในเดือนนี้เป็นพิเศษ ด้วย และก่อนที่เดือนแห่งการถือศีลอดจะสิ้นสุดลง อิสลามก็วางข้อกำหนดไว้อย่างเข้มงวดให้มุสลิมทุกคนต้องจ่าย "ซะกาตฟิฏเราะฮฺ" (ซึ่งเป็นข้าวสารประมาณ 3 ลิตร)แก่คนยากจนหรือคนไม่มีจะกินเพื่อให้คนเหล่านี้มีอาหารสำหรับฉลองวัน เทศกาล "อีดิล ฟิฏริ" หากใครไม่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ อัลลอฮฺก็จะยังไม่รับการถือศีลอดของคนผู้นั้น ดังนั้น การถือศีลอดจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยดึงคนมีอันจะกินให้หันมารับรู้ความ รู้สึกของคนหิวโหยและช่วยเหลือคนเหล่านั้น
3) การถือศีลอดเป็นการฝึกฝนผู้ศรัทธา ให้รู้จักอดทนในการที่จะเผชิญต่อความยากลำบาก ที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราวในชีวิต เช่น การขาดแคลนอาหาร หรือวิกฤตการณ์ต่างๆ
4) การหิวและการอดอาหารนานเกินไปอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ แต่การกินอาหารมากเกินไปนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์มากกว่า ดังนั้น การถือศีลอดในบางครั้งจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพของร่างกาย เป็นการบำบัดโรคบางอย่าง เพราะการอดอาหารจะช่วยลดไขมันที่เกินความต้องการและขับสารพิษบางอย่างออกจาก ร่างกายของมนุษย์ การทดลองและการสังเกตุของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ยืนยันถึงเรื่องนี้แล้ว ท่านนบีได้เคยกล่าวว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างมีซะกาต และซะกาตของร่างกายคือการถือศีลอด" (ซะกาตหมายถึงการซักฟอกให้สะอาดและความเจริญงอกงาม)
5) การถือศีลอดเป็นการปกป้องผู้ถือศีลอดให้พ้นจากบาปต่างๆ เพราะในขณะถือศีลอด ผู้ถือศีลอดไม่เพียงแต่จะต้องงดเว้นจากการกิน การดื่มเท่านั้น แต่ยังจะต้องงดเว้นจากการนินทาว่าร้าย การพูดจาไร้สาระ การคิดและการทำสิ่งชั่วช้าเลวทรามต่างๆด้วย อิสลามถือว่าคนที่ถือศีลอดแต่ยังไม่งดเว้นจากการนินทาว่าร้ายผู้อื่นนั้นจะ ไม่ได้อะไรจากการถือศีลอดนอกไปจากความหิว
6) การถือศีลอดเป็นการฝึกจิตใจให้มีสมาธิแน่วแน่ ในสิ่งที่ตัวเองยืนหยัดศรัทธา
7) ถึงแม้การถือศีลอดจะทำให้ท้องเกิดความหิวกระหาย แต่ขณะเดียวกัน มันก็ทำให้หัวใจเกิดความหิวกระหายที่จะทำดีด้วย
8) การถือศีลอดก่อให้เกิดความเสมอภาคขึ้นในหมู่ประชาชาติมุสลิม เพราะในเดือนรอมฎอน ไม่ว่าใครจะรวยหรือจนขนาดไหน มุสลิมทุกคนต่างก็ต้องอดอาหารตามคำบัญชาของอัลลอฮฺด้วยกันทั้งสิ้น
9) การถือศีลอดเป็นการฝึกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและพระเจ้า บางครั้งบางคนอาจจะทนกับความหิวโหย แอบกินอาหารโดยที่ไม่ให้ใครเห็น แต่พึงระลึกไว้เถอะว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็แล้วแต่ทั้งในที่ลับหรือที่แจ้ง อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรู้ และทรงเห็น
สิ่งที่เป็นซุนนะฮฺในการถือศีลอด ได้แก่ (ซุนนะฮุ คือ ถ้าทำได้บุญกุศล ละทิ้งไม่มีโทษ)
1. รับประทาน อาหารสะฮูรโดยให้ล่าช้าในการรับประทาน ท่านรอซูล ศ๊อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ประชาชาติของฉันยังอยู่ในความดี ในเมื่อพวกเขารีบแก้ศีลอด และ ล่าช้าในการรับประทานอาหารสะฮูร ”
2. รีบละศีลอดเมื่อได้เวลา แก้ศีลอดด้วยอินทผาลัมสุกหรือแห้ง หรือน้ำ โดยรับประทานเป็นจำนวนคี่ ก่อนการแก้ศีลอดให้อ่านดุอาว่า “ อัลลอฮุมมะ ละกะศุมตุ วะอาลาริซกิกะ อัฟตอรตุ ”
3. งดเว้นการปฏิบัติในสิ่งที่ขัดต่อมารยาทของการถือศีลอด เช่น การด่าทอ นินทา การพูด โกหก การพูดในสิ่งที่ไร้สาระ ฯลฯ
4. อ่านอัลกุรอาน
5.ละหมาดกิยาม (ตะรอเวียะฮฺ)ในค่ำคืนของเดือนรอมฎอน
6.การทำเอี๊ยะติกาฟในมัสยิด เฉพาะอย่างยิ่งใน 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน เพื่อแสวงหาคืน อัล ก๊อดรฺ(ลัยละตุ้ลก๊อดรฺ)
7.ทำสิ่งที่เป็นความดีต่างๆให้มาก ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด การกล่าวซิกรุลลอฮฺ และการทำศอดาเกาะฮฺ
8.ควรเป็นคนใจบุญ เห็นอกเห็นใจคนยากคนจน
สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดมี 7 ประการ คือ
1. กินและดื่ม โดยเจตนา
2. อาเจียรโดยเจตนา
3. มีเลือดประจำเดือน
4. มีเลือดอันเนื่องจากการคลอดบุตร
5. หลั่งอสุจิโดยเจตนา
6. สูบบุหรี่
7. สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
การถือศิลอดในทัศนะทางการแพทย์
นักวิชาการอเมริกาคนหนึ่ง ชื่อนายแพทย์ Allan Cott เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ Way Fast ? ” (ทำไม่ต้องถือศิลอด) ซึ่งเป็นผลจากกการวิจัยของเขาจากหลายๆประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการถือศิลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้
1. to feel better physically and mentally. = ทำให้รู้สึกว่ามีสุขภาพและจิตใจที่ดีขึ้น
2. to look and feel younger. = ทำให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น
3. to clean out the body. = ทำให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน
4. to lower blood pressure and cholesterol levels = ช่วยลดความดันโลหิตสูง และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
5. to get more out of sex = ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่ (เซ็กส์)
6.to let the body health itself = ช่วยให้ร่างกายบำบัดตนเอง
7. to relieve the tension = ช่วยลดความตรึงเครียด
8. to sharp the sense = ช่วยให้สติปัญญาเฉียบแหลม
9. to again control of ourself = ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้
10. to slow the aging process = ช่วยชะลอความชรา